สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
พลาดมาก็ขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ ขัดแย้งกับวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องประเทศ
อาชญากรรมรุกราน (crime of aggression)
1. การใช้กองกำลังรุกรานประเทศอื่นที่ขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติ
แม้จะมีการกำหนดความหมายอย่างล่าช้าไปถึงแปดปี แต่ธรรมนูญกรุงโรมโดยประเทศสมาชิกก็ประสบความสำเร็จในการกำหนดความหมายของอาชญากรรมรุนรานโดยการแก้ไขธรรมนูญกรุงโรม ปี ค.ศ. 2010 โดยเพิ่มข้อ ‘8 bis’ โดยลักษณะการกระทำที่เป็นความผิดอาชญากรรมรุกรานมีหลายอย่าง เช่น การโจมตีโดยกองกำลังติดอาวุธของรัฐหนึ่งต่อรัฐอื่น การยึดครองดินแดนรัฐอื่น การผนวกดินแดนของรัฐอื่นเป็นของตน การทิ้งระเบิด
ในดินแดนอื่น การปิดกั้นท่าเรือหรือชายฝรั่งของรัฐอื่น การยอมให้รัฐอื่นใช้ดินแดนของตนเองเพื่อรุกรานประเทศที่สาม เป็นต้น องค์ประกอบสำคัญที่จะเป็นความผิดอาชญากรรมรุกราน คือ การรุกรานรัฐอื่นดังกล่าวต้องเป็นการละเมิดอย่างชัดแจ้งต่อกฎบัตรสหประชาชาติ
การใช้กองกำลังทหารที่ไม่ละเมิดต่อกฎบัตรสหประชาชาติ จึงไม่เป็นความผิดอาชญากรรมรุกราน ที่สากลยอมรับมีสองกรณี[3] คือ
1. การใช้กองกำลังเพื่อป้องกันตัวเอง (self-defence) เช่นประเทศอื่นมารุกรานเรา เราก็กำลังทหารป้องกันตนเองได้ หรือ
2. การใช้กองกำลังรักษาสันติภาพ (UN peace keeping or peace-enforcement mission) ที่ได้รับอนุมัติโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เช่น ทหารใส่หมวกฟ้าตรายูเอ็น (blue helmets) ไปปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพในประเทศต่างๆ
แม้จะมีความพยายามตีความว่าการส่งกำลังไปประเทศอื่นเพื่อวัตถุประสงค์ทางมนุษยธรรม (huminitarian intervention) จะเป็นการชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ยังมีข้อโต้แย้งอยู่[4]
หากไม่ใช่กรณีการใช้กำลังป้องกันประเทศตนเอง หรือ การรับภารกิจใส่หมวกฟ้า (blue helmets) จากสหประชาชาติ การใช้กองกำลังในประเทศอื่น เสี่ยงที่จะเป็นการกระทำความผิดอาชญากรรมรุกราน
2. เหล้าเก่าในขวดใหม่
ย้อนอดีตที่มาสักนิดการลงโทษทางอาญากับผู้สั่งให้มีการใช้กำลังทหารรุกรานประเทศอื่น เริ่มต้นครั้งแรกภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง โดยศาลทหารระหว่างประเทศที่นูเรมแบร์กได้ดำเนินคดีกับพลพรรคนาซีผู้สั่งการรุกรานประเทศอื่นด้วยข้อหา ‘อาชญากรรมต่อสันติภาพ’ (crimes against peace) ร่วมกับข้อหาอื่นๆ
ข้อหาอาชญากรรมต่อสันติภาพ (crime against peace) คือ การวางแผน เตรียมการและการทำสงครามรุกรานประเทศอื่น หรือทำสงครามที่ขัดแย้งกับสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
เรียกได้ว่า อาชญากรรมต่อสันติภาพนำมาใช้ลงโทษผู้นำและพรรคพวกเยอรมันผู้รุกรานประเทศอื่นๆในยุโรปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และข้อหาเดียวกันนี้นำไปใช้กับผู้นำญี่ปุ่น ผู้ก่อสงครามในเอเชียแปซิฟิกในการพิจารณาคดีของศาลทหารระหว่างประเทศที่โตเกี่ยว (Tokyo IMT) เช่นเดียวกัน[5]
ต่อมาเนื้อหาของความผิดอาชญากรรมต่อสันติภาพ (crime against peace) ได้ถูกนำบรรจุในขวดใหม่ที่ชื่อ อาชญากรรมรุกราน (crime of aggression) และบัญญัติเป็นความผิดในธรรมนูญกรุงโรมตั้งแต่ ค.ศ. 1998 โดยมีเนื้อหาสำคัญคล้ายกับอาชญากรรมต่อสันติภาพหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
3. อาชญากรรมรุกรานเอาผิดเฉพาะผู้นำทางการเมืองหรือทางการทหาร
อาชญากรรมรุกรานเป็นอาชญากรรมของผู้นำ (leadership crime)[6] จึงเป็นอาชญากรรมที่ลงโทษเฉพาะระดับผู้นำ (leader)[7] ไม่ว่าจะเป็นผู้นำทางการเมืองหรือผู้นำทางการทหาร ดังนั้นผู้ที่เข้าข่ายเป็นผู้กระทำความผิด คือ ผู้นำประเทศ หรือผู้นำทางทหาร
ทหารหรือบุคคลผู้รับคำสั่งไปรุกรานประเทศอื่นจะไม่มีความผิดฐานอาชญากรรมรุกราน เว้นแต่ ถ้าทหารหรือกองกำลังเหล่านั้นไปฆ่าพลเรือนโดยเจตนา ก็อาจจะเป็นความผิดอาชญากรรมสงคราม (war crimes) ได้
4. แล้วจะดำเนินคดีกับผู้ก่ออาชญากรรมรุกรานอย่างไร
สำหรับความผิดสามข้อหา คือ ความผิดล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ และอาชญากรรมสงคราม ศาลอาญาระหว่างประเทศสามารถดำเนินคดีผู้กระทำความผิดดังกล่าวได้ หากการกระทำได้เกิดขึ้นในดินแดนรัฐภาคีธรรมนูญกรุงโรม หรือกระทำโดยคนสัญชาติของรัฐภาคีธรรมนูญกรุงโรม ซึ่งปัจจุบันมีรัฐภาคีทั้งหมด 123 ประเทศ ดังนั้น หากมีความผิดดังกล่าวเกิดขึ้นในดินแดนของ 123 ประเทศเหล่านี้ หรือกระทำโดยคนสัญชาติของประเทศเหล่านี้ ศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจ ดูรายชื่อประเทศที่เป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรม
นอกจากนี้ หากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ที่มีประเทศถาวรห้าชาติ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน มีมติให้คดีใดต้องไปขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศก็มีอำนาจพิจารณาการกระทำความผิดดังกล่าวที่เกิดขึ้นทั่วโลก แม้การกระทำความผิดนั้นจะเกิดขึ้นในประเทศที่ไม่ใช่รัฐภาคีธรรมนูญกรุงโรมก็ตาม[8]
ในการดำเนินคดีความผิดอาชญากรรมรุกรานมีความซับซ้อนขึ้นไปกว่าความผิดสามข้อหาดังกล่าว กล่าวคือ
1. ศาลอาญาระหว่างประเทศจะดำเนินคดีกับผู้ก่ออาชญากรรมรุกรานได้เฉพาะประเทศภาคีที่ยอมรับการแก้ไขเพิ่มเติมนิยามอาชญากรรมรุกรานเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันมีเพียง 43 ประเทศเท่านั้น ดูรายชื่อประเทศ
2. หากเกิดอาชญากรรมรุกรานขึ้นโดยผู้นำ 43 ประเทศเหล่านี้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) จะเป็นผู้พิจารณาเบื้องต้น (a determination) ก่อนว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดอาชญากรรมรุกรานหรือไม่ หากไม่มีมติออกมาภายในหกเดือน อัยการประจำศาลอาญาระหว่างประเทศก็อาจไปขอไฟเขียวจากองค์คณะไต่สวน (pre-trial chamber) ของศาลอาญาระหว่างประเทศ เพื่อสอบสวนดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ อย่างไรก็ดี แม้องค์คณะไต่สวนเปิดไฟเขียวและอัยการเริ่มดำเนินคดีไปแล้ว คณะมนตรีความมั่นคงก็ตามมาขอให้ชะลอการดำเนินคดีไว้ได้อีก[9] ด้วยเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศ
3. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติสามารถมีมติให้ศาลอาญาระหว่างประเทศสอบสวนดำเนินคดีได้กับผู้ก่ออาชญากรรมรุกรานที่เกิดขึ้นได้ทั่วโลก[10] แม้ไม่ใช่เกิดในดินแดนรัฐภาคีหรือโดยสัญชาติรัฐภาคีก็ตาม
4. สหรัฐอเมริกา รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน เป็นประเทศถาวรห้าชาติในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งมีอำนาจ veto หากหนึ่งในห้าประเทศนี้ veto ก็ไม่มีทางมีมติได้
ลองเอาหลักทั้งสี่ข้อมาพิจารณาการดำเนินคดีผู้กระทำความผิดอาชญากรรมรุกราน จะได้คำตอบดังนี้
1. รัสเซีย จีน และสหรัฐอเมริกาไม่เป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรม ส่วนอังกฤษและฝรั่งเศสแม้เป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมแต่ไม่ยอมรับอำนาจการแก้ไขเพิ่มเติมนิยามความผิดอาชญากรรมรุกราน ศาลอาญาระหว่างประเทศจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีในข้อหาอาชญากรรมรุกรานกับผู้นำประเทศมหาอำนาจเหล่านี้เลย
2. แม้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติยังคงมีอำนาจที่จะออกมติให้ศาลอาญาระหว่างประเทศสอบสวนดำเนินคดีกับผู้นำประเทศทั่วโลกที่ก่ออาชญากรรมรุกรานได้ แต่ในความเป็นจริงก็คงมีมติให้ดำเนินคดีกับผู้นำประเทศอื่นที่ไม่ใช่ผู้นำประเทศมหาอำนาจห้าชาติ เพราะหากเกิดอาชญากรรมรุกรานโดยประเทศมหาอำนาจห้าชาติ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน ก็คง veto เพื่อไม่ให้มีมติดำเนินคดีกับผู้นำของตัวเองหรือพรรคพวก แบบเดียวกับที่รัสเซีย veto ไม่ประนามการรุกรานยูเครนที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง และ สหรัฐอเมริกา veto ไม่วิจารณ์การกระทำของอิสราเอล
สรุป
สัจธรรมของสงครามคือความสูญเสีย สงครามได้สร้างแผลอันเจ็บปวดให้กับสังคมโลกมาแล้วหลายครั้งหลายแห่ง โดยเฉพาะแผลใหญ่จากสงครามโลกทั้งสองครั้ง หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง สหประชาชาติถือกำเนิดขึ้นเพื่อเป็นกลไกทางการเมืองและทางกฎหมายระหว่างประเทศที่จะยุติไม่ให้เกิดสงครามขึ้นอีก ปรากฏชัดในข้อ 1.1 ของกฎบัตรสหประชาชาติ ที่ว่า วัตถุประสงค์ของสหประชาติเพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ (To maintain international peace and security)
กฎหมายอาญาระหว่างประเทศพยายามเข้ามามีส่วนในการระงับสงครามโดยการลงโทษผู้ก่ออาชญากรรมต่อสันติภาพและพัฒนามาเป็นการลงโทษผู้ก่ออาชญากรรมรุกรานในปัจจุบัน การกำเนิดขึ้นของศาลอาญาระหว่างประเทศเพื่อเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อยุติสภาวะการไร้การลงโทษ (impunity) กับผู้กระทำความผิดอาญาร้ายแรงระหว่างประเทศ รวมทั้งอาชญากรรมรุกราน
อาชญากรรมรุกราน คือ อาชญากรรมแห่งการแย่งดินแดน เมื่อปลาเล็กทะเลาะกัน กลไกทางกฎหมายอาญาระหว่างประเทศเข้ามาจัดการผู้กระทำความผิดอาชญากรรมรุกรานได้หลายช่องทาง แต่เมื่อปลาใหญ่กินปลาเล็ก หรือเมื่อปลาใหญ่ทะเลาะกันเอง กลไกดังกล่าวดูเหมือนจะทำอะไรไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อปลาใหญ่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดอาชญากรรมรุกรานเสียเอง สภาวะไร้การลงโทษก็ยังคงมีอยู่ต่อไป หากปลาใหญ่นั้นเป็นหนึ่งในห้าปลาถาวรที่คุมบ่อน้ำที่เรียกว่าประชาคมโลกมาแล้ว 77 ปี
คำถาม คือ เมื่อไรจะมีกลไกอื่นที่ยับยั้งสงครามได้อย่างแท้จริง
ปกป้อง ศรีสนิท 2 Mar 2022
https://www.the101.world/crime-of-aggression/
อาชญากรรมรุกราน (crime of aggression)
1. การใช้กองกำลังรุกรานประเทศอื่นที่ขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติ
แม้จะมีการกำหนดความหมายอย่างล่าช้าไปถึงแปดปี แต่ธรรมนูญกรุงโรมโดยประเทศสมาชิกก็ประสบความสำเร็จในการกำหนดความหมายของอาชญากรรมรุนรานโดยการแก้ไขธรรมนูญกรุงโรม ปี ค.ศ. 2010 โดยเพิ่มข้อ ‘8 bis’ โดยลักษณะการกระทำที่เป็นความผิดอาชญากรรมรุกรานมีหลายอย่าง เช่น การโจมตีโดยกองกำลังติดอาวุธของรัฐหนึ่งต่อรัฐอื่น การยึดครองดินแดนรัฐอื่น การผนวกดินแดนของรัฐอื่นเป็นของตน การทิ้งระเบิด
ในดินแดนอื่น การปิดกั้นท่าเรือหรือชายฝรั่งของรัฐอื่น การยอมให้รัฐอื่นใช้ดินแดนของตนเองเพื่อรุกรานประเทศที่สาม เป็นต้น องค์ประกอบสำคัญที่จะเป็นความผิดอาชญากรรมรุกราน คือ การรุกรานรัฐอื่นดังกล่าวต้องเป็นการละเมิดอย่างชัดแจ้งต่อกฎบัตรสหประชาชาติ
การใช้กองกำลังทหารที่ไม่ละเมิดต่อกฎบัตรสหประชาชาติ จึงไม่เป็นความผิดอาชญากรรมรุกราน ที่สากลยอมรับมีสองกรณี[3] คือ
1. การใช้กองกำลังเพื่อป้องกันตัวเอง (self-defence) เช่นประเทศอื่นมารุกรานเรา เราก็กำลังทหารป้องกันตนเองได้ หรือ
2. การใช้กองกำลังรักษาสันติภาพ (UN peace keeping or peace-enforcement mission) ที่ได้รับอนุมัติโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เช่น ทหารใส่หมวกฟ้าตรายูเอ็น (blue helmets) ไปปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพในประเทศต่างๆ
แม้จะมีความพยายามตีความว่าการส่งกำลังไปประเทศอื่นเพื่อวัตถุประสงค์ทางมนุษยธรรม (huminitarian intervention) จะเป็นการชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ยังมีข้อโต้แย้งอยู่[4]
หากไม่ใช่กรณีการใช้กำลังป้องกันประเทศตนเอง หรือ การรับภารกิจใส่หมวกฟ้า (blue helmets) จากสหประชาชาติ การใช้กองกำลังในประเทศอื่น เสี่ยงที่จะเป็นการกระทำความผิดอาชญากรรมรุกราน
2. เหล้าเก่าในขวดใหม่
ย้อนอดีตที่มาสักนิดการลงโทษทางอาญากับผู้สั่งให้มีการใช้กำลังทหารรุกรานประเทศอื่น เริ่มต้นครั้งแรกภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง โดยศาลทหารระหว่างประเทศที่นูเรมแบร์กได้ดำเนินคดีกับพลพรรคนาซีผู้สั่งการรุกรานประเทศอื่นด้วยข้อหา ‘อาชญากรรมต่อสันติภาพ’ (crimes against peace) ร่วมกับข้อหาอื่นๆ
ข้อหาอาชญากรรมต่อสันติภาพ (crime against peace) คือ การวางแผน เตรียมการและการทำสงครามรุกรานประเทศอื่น หรือทำสงครามที่ขัดแย้งกับสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
เรียกได้ว่า อาชญากรรมต่อสันติภาพนำมาใช้ลงโทษผู้นำและพรรคพวกเยอรมันผู้รุกรานประเทศอื่นๆในยุโรปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และข้อหาเดียวกันนี้นำไปใช้กับผู้นำญี่ปุ่น ผู้ก่อสงครามในเอเชียแปซิฟิกในการพิจารณาคดีของศาลทหารระหว่างประเทศที่โตเกี่ยว (Tokyo IMT) เช่นเดียวกัน[5]
ต่อมาเนื้อหาของความผิดอาชญากรรมต่อสันติภาพ (crime against peace) ได้ถูกนำบรรจุในขวดใหม่ที่ชื่อ อาชญากรรมรุกราน (crime of aggression) และบัญญัติเป็นความผิดในธรรมนูญกรุงโรมตั้งแต่ ค.ศ. 1998 โดยมีเนื้อหาสำคัญคล้ายกับอาชญากรรมต่อสันติภาพหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
3. อาชญากรรมรุกรานเอาผิดเฉพาะผู้นำทางการเมืองหรือทางการทหาร
อาชญากรรมรุกรานเป็นอาชญากรรมของผู้นำ (leadership crime)[6] จึงเป็นอาชญากรรมที่ลงโทษเฉพาะระดับผู้นำ (leader)[7] ไม่ว่าจะเป็นผู้นำทางการเมืองหรือผู้นำทางการทหาร ดังนั้นผู้ที่เข้าข่ายเป็นผู้กระทำความผิด คือ ผู้นำประเทศ หรือผู้นำทางทหาร
ทหารหรือบุคคลผู้รับคำสั่งไปรุกรานประเทศอื่นจะไม่มีความผิดฐานอาชญากรรมรุกราน เว้นแต่ ถ้าทหารหรือกองกำลังเหล่านั้นไปฆ่าพลเรือนโดยเจตนา ก็อาจจะเป็นความผิดอาชญากรรมสงคราม (war crimes) ได้
4. แล้วจะดำเนินคดีกับผู้ก่ออาชญากรรมรุกรานอย่างไร
สำหรับความผิดสามข้อหา คือ ความผิดล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ และอาชญากรรมสงคราม ศาลอาญาระหว่างประเทศสามารถดำเนินคดีผู้กระทำความผิดดังกล่าวได้ หากการกระทำได้เกิดขึ้นในดินแดนรัฐภาคีธรรมนูญกรุงโรม หรือกระทำโดยคนสัญชาติของรัฐภาคีธรรมนูญกรุงโรม ซึ่งปัจจุบันมีรัฐภาคีทั้งหมด 123 ประเทศ ดังนั้น หากมีความผิดดังกล่าวเกิดขึ้นในดินแดนของ 123 ประเทศเหล่านี้ หรือกระทำโดยคนสัญชาติของประเทศเหล่านี้ ศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจ ดูรายชื่อประเทศที่เป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรม
นอกจากนี้ หากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ที่มีประเทศถาวรห้าชาติ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน มีมติให้คดีใดต้องไปขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศก็มีอำนาจพิจารณาการกระทำความผิดดังกล่าวที่เกิดขึ้นทั่วโลก แม้การกระทำความผิดนั้นจะเกิดขึ้นในประเทศที่ไม่ใช่รัฐภาคีธรรมนูญกรุงโรมก็ตาม[8]
ในการดำเนินคดีความผิดอาชญากรรมรุกรานมีความซับซ้อนขึ้นไปกว่าความผิดสามข้อหาดังกล่าว กล่าวคือ
1. ศาลอาญาระหว่างประเทศจะดำเนินคดีกับผู้ก่ออาชญากรรมรุกรานได้เฉพาะประเทศภาคีที่ยอมรับการแก้ไขเพิ่มเติมนิยามอาชญากรรมรุกรานเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันมีเพียง 43 ประเทศเท่านั้น ดูรายชื่อประเทศ
2. หากเกิดอาชญากรรมรุกรานขึ้นโดยผู้นำ 43 ประเทศเหล่านี้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) จะเป็นผู้พิจารณาเบื้องต้น (a determination) ก่อนว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดอาชญากรรมรุกรานหรือไม่ หากไม่มีมติออกมาภายในหกเดือน อัยการประจำศาลอาญาระหว่างประเทศก็อาจไปขอไฟเขียวจากองค์คณะไต่สวน (pre-trial chamber) ของศาลอาญาระหว่างประเทศ เพื่อสอบสวนดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ อย่างไรก็ดี แม้องค์คณะไต่สวนเปิดไฟเขียวและอัยการเริ่มดำเนินคดีไปแล้ว คณะมนตรีความมั่นคงก็ตามมาขอให้ชะลอการดำเนินคดีไว้ได้อีก[9] ด้วยเหตุผลทางการเมืองระหว่างประเทศ
3. คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติสามารถมีมติให้ศาลอาญาระหว่างประเทศสอบสวนดำเนินคดีได้กับผู้ก่ออาชญากรรมรุกรานที่เกิดขึ้นได้ทั่วโลก[10] แม้ไม่ใช่เกิดในดินแดนรัฐภาคีหรือโดยสัญชาติรัฐภาคีก็ตาม
4. สหรัฐอเมริกา รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน เป็นประเทศถาวรห้าชาติในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งมีอำนาจ veto หากหนึ่งในห้าประเทศนี้ veto ก็ไม่มีทางมีมติได้
ลองเอาหลักทั้งสี่ข้อมาพิจารณาการดำเนินคดีผู้กระทำความผิดอาชญากรรมรุกราน จะได้คำตอบดังนี้
1. รัสเซีย จีน และสหรัฐอเมริกาไม่เป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรม ส่วนอังกฤษและฝรั่งเศสแม้เป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมแต่ไม่ยอมรับอำนาจการแก้ไขเพิ่มเติมนิยามความผิดอาชญากรรมรุกราน ศาลอาญาระหว่างประเทศจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีในข้อหาอาชญากรรมรุกรานกับผู้นำประเทศมหาอำนาจเหล่านี้เลย
2. แม้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติยังคงมีอำนาจที่จะออกมติให้ศาลอาญาระหว่างประเทศสอบสวนดำเนินคดีกับผู้นำประเทศทั่วโลกที่ก่ออาชญากรรมรุกรานได้ แต่ในความเป็นจริงก็คงมีมติให้ดำเนินคดีกับผู้นำประเทศอื่นที่ไม่ใช่ผู้นำประเทศมหาอำนาจห้าชาติ เพราะหากเกิดอาชญากรรมรุกรานโดยประเทศมหาอำนาจห้าชาติ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน ก็คง veto เพื่อไม่ให้มีมติดำเนินคดีกับผู้นำของตัวเองหรือพรรคพวก แบบเดียวกับที่รัสเซีย veto ไม่ประนามการรุกรานยูเครนที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง และ สหรัฐอเมริกา veto ไม่วิจารณ์การกระทำของอิสราเอล
สรุป
สัจธรรมของสงครามคือความสูญเสีย สงครามได้สร้างแผลอันเจ็บปวดให้กับสังคมโลกมาแล้วหลายครั้งหลายแห่ง โดยเฉพาะแผลใหญ่จากสงครามโลกทั้งสองครั้ง หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง สหประชาชาติถือกำเนิดขึ้นเพื่อเป็นกลไกทางการเมืองและทางกฎหมายระหว่างประเทศที่จะยุติไม่ให้เกิดสงครามขึ้นอีก ปรากฏชัดในข้อ 1.1 ของกฎบัตรสหประชาชาติ ที่ว่า วัตถุประสงค์ของสหประชาติเพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ (To maintain international peace and security)
กฎหมายอาญาระหว่างประเทศพยายามเข้ามามีส่วนในการระงับสงครามโดยการลงโทษผู้ก่ออาชญากรรมต่อสันติภาพและพัฒนามาเป็นการลงโทษผู้ก่ออาชญากรรมรุกรานในปัจจุบัน การกำเนิดขึ้นของศาลอาญาระหว่างประเทศเพื่อเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อยุติสภาวะการไร้การลงโทษ (impunity) กับผู้กระทำความผิดอาญาร้ายแรงระหว่างประเทศ รวมทั้งอาชญากรรมรุกราน
อาชญากรรมรุกราน คือ อาชญากรรมแห่งการแย่งดินแดน เมื่อปลาเล็กทะเลาะกัน กลไกทางกฎหมายอาญาระหว่างประเทศเข้ามาจัดการผู้กระทำความผิดอาชญากรรมรุกรานได้หลายช่องทาง แต่เมื่อปลาใหญ่กินปลาเล็ก หรือเมื่อปลาใหญ่ทะเลาะกันเอง กลไกดังกล่าวดูเหมือนจะทำอะไรไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อปลาใหญ่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดอาชญากรรมรุกรานเสียเอง สภาวะไร้การลงโทษก็ยังคงมีอยู่ต่อไป หากปลาใหญ่นั้นเป็นหนึ่งในห้าปลาถาวรที่คุมบ่อน้ำที่เรียกว่าประชาคมโลกมาแล้ว 77 ปี
คำถาม คือ เมื่อไรจะมีกลไกอื่นที่ยับยั้งสงครามได้อย่างแท้จริง
ปกป้อง ศรีสนิท 2 Mar 2022
https://www.the101.world/crime-of-aggression/
แสดงความคิดเห็น
ทำไมไทยถึงกลัวมากในการส่งทหารไปรบนอกประเทศ
เวียดนาม - ส่งคนมารบที่ช่องบก
เขมร - ทั้งแดงไม่แดง ส่งคนมาปล้นฆ่าหมู่บ้านชายแดน
พม่า - ส่งคนมายึดฐานตชด ไทยแถวๆดอยช้างมูบ
ทั้งหมดส่งทหารประจำการมา
ส่วนทหารไทยที่บุกไปข้ามแดนไป ต้องห้ามเป็นทหารประจำการ ห้ามมีอาวุธหนักสนับสนุน