เห็นน้ำท่วมภาคใต้แล้วสงสารเพื่อนร่วมชาติ ที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากภัยธรรมชาติ
คำถามคือ เรารู้ล่วงหน้าไหม ว่าจะเกิดเหตุการณ์นี้??
รู้แน่นอน กรมอุตุนิยวิทยาไทยพูดถึงเหตุการณ์นี้ครั้งแรกตั้งแต่ช่วงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 และออกประกาศเตือนอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 พ.ย.
จากการที่ผมดูพยากร์อากาศจากหน้าเว็บกรมอุตุประจำ ผมมั่นใจมากว่ากรมอุตุนิยมวิทยาไทยพูดถึงมาล่วงหน้าหลายวัน
จากคลิปการวิเคราะห์ลักษณะอากาศและคลื่นของ ดร. วัฒนา กันบัว ผอ.กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา จะเห็ได้ว่าแบบจำลอง ECMWF คำนวณเหตุการณ์นี้ไว้ล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน นี่เหมือนเห็นอนาคตเลย และแบบจำลองมันก็ถูกต้องมาตลอดจนออกประกาศเตือนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พ.ย.
คำถามคือ ประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยาไทยมีอำนาจ มี power อะไรในประเทศนี้?? ประกาศของกรมอุตุมีคุณค่าแค่ไหนในสายตาของภาครัฐและประชาชนคนทั่วไป เพราะถ้ากรมอุตุออกประกาศออกมา แต่ไม่มีคนมาตอบสนอง ไม่มีคนไปปฏิบัติการเตรียมตัว มันจะมีประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ
สมมติว่าถ้าประกาศของกรมอุตุมีคุณค่า ทุกหน่วยงานของรัฐรับรู้ว่าจะเกิดฝนตกหนัก ต้องมีการเตรียมความพร้อม ต้องยกของขึ้นที่สูง ปภ.ส่งสรรพกำลังไปพร้อมกันที่ภาคใต้ ไม่ใช่มาว่าตอนที่เกิดน้ำท่วมแล้ว บางคนอาจจะคิดว่า ตื่นตูมไปหรือเปล่า จะเกิดขึ้นจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่อย่าลืมว่าแบบจำลองทางสภาพอากาศทุกสำนักคำนวณเหมือนกัน แล้วไม่เปลี่ยนเลยตั้งแต่ 20 พ.ย. ดังนั้นมันก็ต้องเชื่อแบบจำลองแล้วล่ะ (ถ้าไม่เชื่อ ก็แล้วแต่ เพราะถ้าเกิดขึ้นจริงก็จเป็นเหตุการณ์แบบที่เป็นอยู่แล้วไม่มีการเตรียมการป้องกัน ช่วยเหลืออะไรเลย)
รณรงค์ให้คนไทยและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง หมั่นดูพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาจากเว็บ
https://www.tmd.go.th/ เท่านั้น อย่าไปดูที่อื่น มันมีประโยชน์กับตัวของท่าน และจะได้พร้อมช่วยเหลือประชาชน
ฤดูร้อน จะมีการเตือนพายุฤดูร้อน
ฤดูฝน เตือนฝนตกหนัก/พายุหมุนเขตร้อน
ฤดูหนาว เตือนอากาศหนาวเย็น/เตือนฝนตกหนักในภาคใต้
ดูแค่นี้ก็เพียงพอ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือสำหรับการดูพยากรณ์อากาศ
เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา
https://www.tmd.go.th/
ช่อง Youtube ของ ดร.วัฒนา กันบัว
https://www.youtube.com/@wattkan
ประกาศของกรมอุตุไทยมีค่าอะไร? ในเมื่อประชาชนและหน่วยงานรัฐไม่สนใจ จนเกิดภัยพิบัติที่ถูกพยากรณ์ล่วงหน้าแล้ว
คำถามคือ เรารู้ล่วงหน้าไหม ว่าจะเกิดเหตุการณ์นี้??
รู้แน่นอน กรมอุตุนิยวิทยาไทยพูดถึงเหตุการณ์นี้ครั้งแรกตั้งแต่ช่วงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 และออกประกาศเตือนอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 พ.ย.
จากการที่ผมดูพยากร์อากาศจากหน้าเว็บกรมอุตุประจำ ผมมั่นใจมากว่ากรมอุตุนิยมวิทยาไทยพูดถึงมาล่วงหน้าหลายวัน
จากคลิปการวิเคราะห์ลักษณะอากาศและคลื่นของ ดร. วัฒนา กันบัว ผอ.กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา จะเห็ได้ว่าแบบจำลอง ECMWF คำนวณเหตุการณ์นี้ไว้ล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน นี่เหมือนเห็นอนาคตเลย และแบบจำลองมันก็ถูกต้องมาตลอดจนออกประกาศเตือนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พ.ย.
คำถามคือ ประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยาไทยมีอำนาจ มี power อะไรในประเทศนี้?? ประกาศของกรมอุตุมีคุณค่าแค่ไหนในสายตาของภาครัฐและประชาชนคนทั่วไป เพราะถ้ากรมอุตุออกประกาศออกมา แต่ไม่มีคนมาตอบสนอง ไม่มีคนไปปฏิบัติการเตรียมตัว มันจะมีประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ
สมมติว่าถ้าประกาศของกรมอุตุมีคุณค่า ทุกหน่วยงานของรัฐรับรู้ว่าจะเกิดฝนตกหนัก ต้องมีการเตรียมความพร้อม ต้องยกของขึ้นที่สูง ปภ.ส่งสรรพกำลังไปพร้อมกันที่ภาคใต้ ไม่ใช่มาว่าตอนที่เกิดน้ำท่วมแล้ว บางคนอาจจะคิดว่า ตื่นตูมไปหรือเปล่า จะเกิดขึ้นจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่อย่าลืมว่าแบบจำลองทางสภาพอากาศทุกสำนักคำนวณเหมือนกัน แล้วไม่เปลี่ยนเลยตั้งแต่ 20 พ.ย. ดังนั้นมันก็ต้องเชื่อแบบจำลองแล้วล่ะ (ถ้าไม่เชื่อ ก็แล้วแต่ เพราะถ้าเกิดขึ้นจริงก็จเป็นเหตุการณ์แบบที่เป็นอยู่แล้วไม่มีการเตรียมการป้องกัน ช่วยเหลืออะไรเลย)
รณรงค์ให้คนไทยและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง หมั่นดูพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาจากเว็บ https://www.tmd.go.th/ เท่านั้น อย่าไปดูที่อื่น มันมีประโยชน์กับตัวของท่าน และจะได้พร้อมช่วยเหลือประชาชน
ฤดูร้อน จะมีการเตือนพายุฤดูร้อน
ฤดูฝน เตือนฝนตกหนัก/พายุหมุนเขตร้อน
ฤดูหนาว เตือนอากาศหนาวเย็น/เตือนฝนตกหนักในภาคใต้
ดูแค่นี้ก็เพียงพอ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือสำหรับการดูพยากรณ์อากาศ
เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา https://www.tmd.go.th/
ช่อง Youtube ของ ดร.วัฒนา กันบัว https://www.youtube.com/@wattkan