ผมหาเจอเก่าสุดคือปี 2544 เก่ากว่านั้นหาไม่เจอ
แผนที่อากาศประเทศไทย ฤดูหนาวตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา
1. แผนที่อากาศยุคแรก ตั้งแต่ 2544/2001 ถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547/2004
เป็นแผนที่ภูมิประเทศที่เป็นสีฟ้า ๆ เส้นความกดอากาศยังเป็นเหมือนการวาดด้วยมือ แต่เอาจริง ๆ แผนที่อากาศก็วาดมือโดยกรมอุตุนิยมวิทยาอยู่แล้ว 555
แผนที่อากาศวันที่ 19 พฤศจิากยน 2544/2001 อากาศหนาวระลอกวันที่ 20-30 พฤศจิกายน 2544/2001 หากใครยังจำได้ ซึ่งผมโตไม่ทัน
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2547/2004 เหมือนกรมอุตุกำลังคิดว่าแผนที่อากาศแบบใหม่จะเอาสีอะไรดี ยังคิดไม่ทัน ทำให้วันดังกล่าวมีสีประหลาดกว่าเพื่อน
2. แผนที่อากาศยุคที่ 2 ตั้งแต่ 27 พฤศจิกายน 2547/2004 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2550/2007
แผนที่อากาศเวอร์ชั่นนี่ มันเหมือนภาพวาดการ์ตูนอะไรซักอย่าง ดูไม่เหมือนแผนที่อากาศ ตัวเลขความกดอากาศถูกนำไปวาดไว้ข้าง ๆ หมด มันก็ดูโล่ง ๆ ดี แต่ก็อาจจะดูยากหน่อย ว่าตรงประเทศไทยมีความกดอากาศอะไรคลุมอยู่
แผนที่อากาศวันที่ 1 มกราคม 2548 ลมหนาวกำลังแรงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยเส้น 1026 แตะภาคอีสานด้วย ฤดูหนาวปี 47-48 เป็นฤดูหนาวที่เข้าสู่ฤดูหนาวเร็วที่สุดตั้งแต่บันทึกมาคือ 2 ตุลาคม 2547
แผนที่อากาศยุคนี้ก็ได้มีการปรับปรุง เติมสีให้บริเวณประเทศไทย ทำให้เส้นเล็กลง เติมตัวเลขตรงเส้นมากขึ้น
แผนที่อากาศวันที่ 22 ธันวาคม 2548/2005 เส้น 1024 ลึกมาถึงภาคอีสานเลยทีเดียว
3. แผนที่อากาศยุคที่ 3 ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2550/2007 ถึงวันที่ 28 มีนาคม 2550/2007
เปลี่ยนจากการ์ตูนเป็นแผนที่เวอร์ชั่นนี้กะทันหัน เป็นลักษณะภูมิประเทศ มีการแบ่งสีของเส้นความกดอากาศ และวางเลขอยู่ตรงเส้นเหมือนเดิม
แผนที่อากาศวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550/2007 เส้นความกดอากาศ 1024 ลงมาถึงประเทศไทย อากาศในช่วงนั้นก็หนาวเย็นมากทีเดียว
4. แผนที่อากาศยุคที่ 4 ตั้งแต่ 28 มีนาคม 2550/2007 ถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551/2008
แผนที่อากาศเวอร์ชันนี้ ลบภูมิประเทศออก เป็นสีขาว ๆ โล่ง ๆ ก็สบายตาดีนะ แต่ไม่ได้ระบายสีตรงประเทศไทย ก็ดูยากหน่อย
แผนที่อากาศวันที่ 4 ธันวาคม 2550/2007 ในช่วงนั้นมวลอากาศเย็นกำลังแรงก็กำลังแผ่ลงมาใส้ประเทศไทยเลย
5. แผนที่อากาศยุคที่ 5 ตั้งแต่ 18 กุมภาพันธ์ 2551/2008 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2557/2014
ผมก็ไม่แน่ใจว่ากรมอุตุท่านคิดอะไร เอาภูมิประเทศกลับเข้ามาเหมือนเดิม และใช้ยาวหลายปี
แผนที่อากาศวันที่ 31 ธันวาคม 2551 อากาศหนาวกำลังไหลลงมาหาประเทศไทย ปีใหม่ตอนนั้นก็หนาวเย็นมาก
5. แผนที่อากาศยุคที่ 5 ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2557/2014 ถึงวันที่ 13 มกราคม 2560/2017
แผนที่อากาศเวอร์ชันใหม่นี้ เพิ่มมุมมองให้กว้างขึ้นจากแค่ถึงอินโดนีเซีย ขยายกว้างขึ้นเป็นเห็นออสเตรีเลียทั้งหมดและไปถึงตะวันออกของแอฟริกาด้วย ทำให้ตัวหนังสือดูเล็ก ๆ เส้นเล็ก ตัว H L ใหญ่มาก เป็นเวอร์ชันที่ผมไม่ค่อยชอบเลย เพราะมันมองประเทศไทยไม่ชัดเจน
แผนที่อากาศวันที่ 24 มกราคม 2559/2016 อากาศหนาวเย็นในตำนาน หนาวจัด+ฝนตก เส้นความกดอากาศ 1028-1030 เข้าประเทศไทยด้วยนะ
6. แผนที่อากาศยุคที่ 6 ตั้งแต่ 10-12 และ 14-20 มกราคม และวันที่ 8,9 กุมภาพันธ์ 2560/2017
อันนี้ผมไม่แน่ใจว่ามันเป็รยุคหรือเปล่า เพราะมันก็เหมือนว่าเอาภาพวาดที่ไม่ได้เข้าไปปรับแต่งในคอมมาเผยแพร่ แต่อย่างน้อยมันก็เคยถูกเผยแพร่แบบนี้ 555555 สภาพก็คือเหมือนกรมอุตวาดด้วยปากกาเคมีเสร็จปุ๊บ เอามือถือถ่ายรูปแล้วเอามาเผยแพร่ อันนี้ไม่แน่ใจวง่า 10 วันนั้นนั้นมันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ แต่แผนที่อากาศนี้มันก็ถูกบันทึกไว้ตลอดกาลแน่นอน
แผนที่อากาศวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560/2017 มวลอากาสเย็นแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย ก็อากาศเย็นถึงหนาว
7. แผนที่อากาศยุคที่ 7 ตั้งแต่ 21 มกราคม 2560/2017 ถึงวันที่ 2 มกราคม 2563/2020 (ยกเว้นวันที่ 10-12 และ 14-20 มกราคม และวันที่ 8,9 กุมภาพันธ์ 2560/2017)
แผนที่อากาศเวอร์ชันนี้ ลดการมองเห็นหน่อยนึง ปรับตัวหนังสือ ปรับเส้นให้รู้สึกนัวตามากยิ่งขึ้น และมีภูมิประเทศจาง ๆ แต่ผมก็ไม่ชอบอีกอยู่ดี เนื่องจากเห็นประเทศไทยไม่ชัดเลย
แผนที่อากาศวันที่ 7 ธันวาคม 2562/2019 อากาศหนาวที่สุดในปีนั้น ผมยังจำอากาสหนาวในตอนนั้นได้ หนาวจนไม่ไปเรียน ยอมขาดเรียนดีกว่าฝ่าความหนาวออกไปเรียน (ไม่ดีเลยนะ)
8. แผนที่อากาศยุคที่ 8 ตั้งแต่ 3 มกราคม 2563/2020 ถึงปัจจุบัน
ผมชอบแผนที่อากาศยุคนี้มาก เนื่องจากมุมมองพอดี ๆ ไม่กว้างเกินไป ตัวหนังสือและเส้นก็พอดี ๆ แถมมีการระบายสีประเทศไทยให้เห็นชัดเจนอีกด้วย
แผนที่อากาศวันที่ 28 มกราคม 2563 ดูจากแผนที่อากาศ ความกดอากาศไม่แรงเลย แต่มองไปทางขวามีแนวปะทะอากาศอยู่ หากใครจำได้และย้อนหลับไปดูอุณหภูมิในปีนั้นอากาศหนาวเย็นมากเลยนะ เชียงใหม่ลดต่ำลงไปถึง 10 องศา แม้ความกดอากาศจะแค่นี้ก็ตาม
นอกจากนี้ กรมอุตุนิยมวิทยายังได้เพิ่มแผนที่อากาศแบบพิเศษ ที่มีมุมมองให้เห็นแค่ประเทศไทยเท่านั้นมาในยุคใหม่นี้ด้วย
ถ้าเก่ากว่านั้น ก็หาไม่เจอแล้ว แต่เคยเห็นผ่านพยากรณ์อากาศสมัยปี 2528-2530 ของคุณวิทวัจน์ สุนทรวิเนตร์
https://youtu.be/8ufZXnydXX0?si=diMmo3JKoBj5G9db
แผนที่อากาศนี่นับว่าเป็นหลักฐานชั้นต้นทางสภาพอากาศอย่างดี ว่าในอดีตเกิดอะไรขึ้นบ้าง เห็นวิวัฒนาการความแฟชันของกรมอุตุไทยได้เป็นอย่างดี
แล้วทุกคนชอบแผนที่อากาศยุคไหนกันบ้างครับ
ชอบแผนที่อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยายุคไหนกันบ้าง??
แผนที่อากาศประเทศไทย ฤดูหนาวตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา
1. แผนที่อากาศยุคแรก ตั้งแต่ 2544/2001 ถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547/2004
เป็นแผนที่ภูมิประเทศที่เป็นสีฟ้า ๆ เส้นความกดอากาศยังเป็นเหมือนการวาดด้วยมือ แต่เอาจริง ๆ แผนที่อากาศก็วาดมือโดยกรมอุตุนิยมวิทยาอยู่แล้ว 555
แผนที่อากาศวันที่ 19 พฤศจิากยน 2544/2001 อากาศหนาวระลอกวันที่ 20-30 พฤศจิกายน 2544/2001 หากใครยังจำได้ ซึ่งผมโตไม่ทัน
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2547/2004 เหมือนกรมอุตุกำลังคิดว่าแผนที่อากาศแบบใหม่จะเอาสีอะไรดี ยังคิดไม่ทัน ทำให้วันดังกล่าวมีสีประหลาดกว่าเพื่อน
2. แผนที่อากาศยุคที่ 2 ตั้งแต่ 27 พฤศจิกายน 2547/2004 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2550/2007
แผนที่อากาศเวอร์ชั่นนี่ มันเหมือนภาพวาดการ์ตูนอะไรซักอย่าง ดูไม่เหมือนแผนที่อากาศ ตัวเลขความกดอากาศถูกนำไปวาดไว้ข้าง ๆ หมด มันก็ดูโล่ง ๆ ดี แต่ก็อาจจะดูยากหน่อย ว่าตรงประเทศไทยมีความกดอากาศอะไรคลุมอยู่
แผนที่อากาศวันที่ 1 มกราคม 2548 ลมหนาวกำลังแรงแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยเส้น 1026 แตะภาคอีสานด้วย ฤดูหนาวปี 47-48 เป็นฤดูหนาวที่เข้าสู่ฤดูหนาวเร็วที่สุดตั้งแต่บันทึกมาคือ 2 ตุลาคม 2547
แผนที่อากาศยุคนี้ก็ได้มีการปรับปรุง เติมสีให้บริเวณประเทศไทย ทำให้เส้นเล็กลง เติมตัวเลขตรงเส้นมากขึ้น
แผนที่อากาศวันที่ 22 ธันวาคม 2548/2005 เส้น 1024 ลึกมาถึงภาคอีสานเลยทีเดียว
3. แผนที่อากาศยุคที่ 3 ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2550/2007 ถึงวันที่ 28 มีนาคม 2550/2007
เปลี่ยนจากการ์ตูนเป็นแผนที่เวอร์ชั่นนี้กะทันหัน เป็นลักษณะภูมิประเทศ มีการแบ่งสีของเส้นความกดอากาศ และวางเลขอยู่ตรงเส้นเหมือนเดิม
แผนที่อากาศวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550/2007 เส้นความกดอากาศ 1024 ลงมาถึงประเทศไทย อากาศในช่วงนั้นก็หนาวเย็นมากทีเดียว
4. แผนที่อากาศยุคที่ 4 ตั้งแต่ 28 มีนาคม 2550/2007 ถึงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551/2008
แผนที่อากาศเวอร์ชันนี้ ลบภูมิประเทศออก เป็นสีขาว ๆ โล่ง ๆ ก็สบายตาดีนะ แต่ไม่ได้ระบายสีตรงประเทศไทย ก็ดูยากหน่อย
แผนที่อากาศวันที่ 4 ธันวาคม 2550/2007 ในช่วงนั้นมวลอากาศเย็นกำลังแรงก็กำลังแผ่ลงมาใส้ประเทศไทยเลย
5. แผนที่อากาศยุคที่ 5 ตั้งแต่ 18 กุมภาพันธ์ 2551/2008 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2557/2014
ผมก็ไม่แน่ใจว่ากรมอุตุท่านคิดอะไร เอาภูมิประเทศกลับเข้ามาเหมือนเดิม และใช้ยาวหลายปี
แผนที่อากาศวันที่ 31 ธันวาคม 2551 อากาศหนาวกำลังไหลลงมาหาประเทศไทย ปีใหม่ตอนนั้นก็หนาวเย็นมาก
5. แผนที่อากาศยุคที่ 5 ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2557/2014 ถึงวันที่ 13 มกราคม 2560/2017
แผนที่อากาศเวอร์ชันใหม่นี้ เพิ่มมุมมองให้กว้างขึ้นจากแค่ถึงอินโดนีเซีย ขยายกว้างขึ้นเป็นเห็นออสเตรีเลียทั้งหมดและไปถึงตะวันออกของแอฟริกาด้วย ทำให้ตัวหนังสือดูเล็ก ๆ เส้นเล็ก ตัว H L ใหญ่มาก เป็นเวอร์ชันที่ผมไม่ค่อยชอบเลย เพราะมันมองประเทศไทยไม่ชัดเจน
แผนที่อากาศวันที่ 24 มกราคม 2559/2016 อากาศหนาวเย็นในตำนาน หนาวจัด+ฝนตก เส้นความกดอากาศ 1028-1030 เข้าประเทศไทยด้วยนะ
6. แผนที่อากาศยุคที่ 6 ตั้งแต่ 10-12 และ 14-20 มกราคม และวันที่ 8,9 กุมภาพันธ์ 2560/2017
อันนี้ผมไม่แน่ใจว่ามันเป็รยุคหรือเปล่า เพราะมันก็เหมือนว่าเอาภาพวาดที่ไม่ได้เข้าไปปรับแต่งในคอมมาเผยแพร่ แต่อย่างน้อยมันก็เคยถูกเผยแพร่แบบนี้ 555555 สภาพก็คือเหมือนกรมอุตวาดด้วยปากกาเคมีเสร็จปุ๊บ เอามือถือถ่ายรูปแล้วเอามาเผยแพร่ อันนี้ไม่แน่ใจวง่า 10 วันนั้นนั้นมันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ แต่แผนที่อากาศนี้มันก็ถูกบันทึกไว้ตลอดกาลแน่นอน
แผนที่อากาศวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560/2017 มวลอากาสเย็นแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย ก็อากาศเย็นถึงหนาว
7. แผนที่อากาศยุคที่ 7 ตั้งแต่ 21 มกราคม 2560/2017 ถึงวันที่ 2 มกราคม 2563/2020 (ยกเว้นวันที่ 10-12 และ 14-20 มกราคม และวันที่ 8,9 กุมภาพันธ์ 2560/2017)
แผนที่อากาศเวอร์ชันนี้ ลดการมองเห็นหน่อยนึง ปรับตัวหนังสือ ปรับเส้นให้รู้สึกนัวตามากยิ่งขึ้น และมีภูมิประเทศจาง ๆ แต่ผมก็ไม่ชอบอีกอยู่ดี เนื่องจากเห็นประเทศไทยไม่ชัดเลย
แผนที่อากาศวันที่ 7 ธันวาคม 2562/2019 อากาศหนาวที่สุดในปีนั้น ผมยังจำอากาสหนาวในตอนนั้นได้ หนาวจนไม่ไปเรียน ยอมขาดเรียนดีกว่าฝ่าความหนาวออกไปเรียน (ไม่ดีเลยนะ)
8. แผนที่อากาศยุคที่ 8 ตั้งแต่ 3 มกราคม 2563/2020 ถึงปัจจุบัน
ผมชอบแผนที่อากาศยุคนี้มาก เนื่องจากมุมมองพอดี ๆ ไม่กว้างเกินไป ตัวหนังสือและเส้นก็พอดี ๆ แถมมีการระบายสีประเทศไทยให้เห็นชัดเจนอีกด้วย
แผนที่อากาศวันที่ 28 มกราคม 2563 ดูจากแผนที่อากาศ ความกดอากาศไม่แรงเลย แต่มองไปทางขวามีแนวปะทะอากาศอยู่ หากใครจำได้และย้อนหลับไปดูอุณหภูมิในปีนั้นอากาศหนาวเย็นมากเลยนะ เชียงใหม่ลดต่ำลงไปถึง 10 องศา แม้ความกดอากาศจะแค่นี้ก็ตาม
นอกจากนี้ กรมอุตุนิยมวิทยายังได้เพิ่มแผนที่อากาศแบบพิเศษ ที่มีมุมมองให้เห็นแค่ประเทศไทยเท่านั้นมาในยุคใหม่นี้ด้วย
ถ้าเก่ากว่านั้น ก็หาไม่เจอแล้ว แต่เคยเห็นผ่านพยากรณ์อากาศสมัยปี 2528-2530 ของคุณวิทวัจน์ สุนทรวิเนตร์
https://youtu.be/8ufZXnydXX0?si=diMmo3JKoBj5G9db
แผนที่อากาศนี่นับว่าเป็นหลักฐานชั้นต้นทางสภาพอากาศอย่างดี ว่าในอดีตเกิดอะไรขึ้นบ้าง เห็นวิวัฒนาการความแฟชันของกรมอุตุไทยได้เป็นอย่างดี
แล้วทุกคนชอบแผนที่อากาศยุคไหนกันบ้างครับ