เจาะลึกโรคไทรอยด์ ทุกอย่างที่คุณควรรู้

 
โรคไทรอยด์ คืออะไร?
ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ตั้งอยู่ที่ลำคอด้านหน้า ใต้ลูกกระเดือก ลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ ฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมนี้มีบทบาทสำคัญต่อการเผาผลาญ ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย และกระตุ้นการทำงานของระบบต่างๆ เมื่อเกิดความผิดปกติในต่อมไทรอยด์ เช่น การผลิตฮอร์โมนมากหรือน้อยเกินไป หรือการเกิดก้อนที่ต่อมไทรอยด์ จะนำไปสู่โรคไทรอยด์ในรูปแบบต่างๆ

สาเหตุของโรคไทรอยด์
พันธุกรรม: หากคนในครอบครัวเคยมีปัญหาเกี่ยวกับไทรอยด์ ความเสี่ยงที่จะป่วยเพิ่มขึ้น
ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ: ระบบภูมิคุ้มกันอาจกระตุ้นหรือยับยั้งการทำงานของต่อมไทรอยด์จนเกิดความผิดปกติ
พฤติกรรมการใช้ชีวิต: การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือความเครียดอาจเพิ่มโอกาสเกิดโรคไทรอยด์ได้

อาการของโรคไทรอยด์
โรคไทรอยด์แบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก แต่ละประเภทมีอาการแตกต่างกัน
ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroid): ต่อมไทรอยด์ทำงานเกินปกติ
-น้ำหนักลดผิดปกติ
-เหนื่อยง่าย ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก
หัวใจเต้นเร็ว ตาโปน

ไทรอยด์ทำงานน้อย (Hypothyroid): ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป
-น้ำหนักเพิ่ม
-อ่อนเพลีย ขี้หนาว
-ท้องผูก ผิวแห้ง

ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Nodule): มีก้อนเนื้อที่ลำคอซึ่งอาจเป็นเนื้องอกหรือมะเร็ง

วิธีรักษาโรคไทรอยด์
การรับประทานยา
-ยาลดฮอร์โมนสำหรับไทรอยด์เป็นพิษ
-ฮอร์โมนเสริมสำหรับไทรอยด์ทำงานน้อย
-กลืนแร่: ใช้สารไอโอดีน-131 เพื่อควบคุมหรือทำลายการทำงานของต่อมไทรอยด์
การผ่าตัด
-การผ่าตัดเปิดลำคอ
-การผ่าตัดผ่านกล้องทางปาก ซึ่งลดรอยแผลภายนอก
-การป้องกันโรคไทรอยด์

แม้โรคไทรอยด์จะมีปัจจัยทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่การลดความเสี่ยงทำได้ด้วย
รับประทานอาหารที่มีไอโอดีนและธาตุเหล็ก เช่น อาหารทะเล,เนื้อสัตว์,ผักใบเขียว,งดสูบบุหรี่,หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์,พักผ่อนให้เพียงพอ

ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบันโรคไทรอยด์สามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพหากพบอาการผิดปกติควรปรึกษาแพทย์
เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม ที่  HDcare Blog
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่