ปัจจุบันนี้การลดน้ำหนักนั้นเรียกได้ว่ากำลังเป็นเทรนด์เลยนะครับ แต่ทำไมบางคนตั้งใจลดแบบเอาเป็นเอาตาย แต่น้ำหนักก็ไม่ลดสักที ขณะที่บางคนไม่ได้อยากลด แต่น้ำหนักกลับลงเอาๆ แบบนี้ต้องระวังให้ดีนะครับเพราะมันอาจจะเป็นภาวะผิดปกติของร่างกายที่บ่งบอกอาการของโรคบางอย่าง เช่น ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ทั้งภาวะพร่องไทรอยด์และภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน วันนี้พี่หมอจะพาไปรู้จักเจ้าต่อมไทรอยด์กันครับ
ต่อมไทรอยด์คืออะไร ทำหน้าที่อะไร👩⚕
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ อยู่ส่วนหน้าของลำคอ ทำหน้าที่ผลิตและหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ภายใต้การควบคุมของสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) และต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย ซึ่งช่วยควบคุมการลดและเพิ่มของน้ำหนักตัว อัตราการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิของร่างกาย การย่อยอาหาร และช่วยด้านพัฒนาการทางสมองในเด็กทารก
ความผิดปกติของฮอร์โมนไทรอยด์🚫
ความผิดปกติของฮอร์โมนไทรอยด์ แบ่งได้เป็นสองชนิดคือภาวะพร่องไทรอยด์และภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน
🌟ภาวะพร่องไทรอยด์ (Hypothyroidism)
ภาวะพร่องไทรอยด์ (Hypothyroidism) หมายถึงภาวะที่ร่างกายผลิตหรือหลั่งฮอร์โมนได้น้อยกว่าปกติ ทำให้ส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การเผาผลาญของร่างกายลดลง น้ำหนักขึ้น ขี้หนาว เฉื่อยชา เหนื่อยง่าย ท้องผูก ปวดตัว ผิวแห้งและหยาบ ความต้องการทางเพศลดลง ประจำเดือนผิดปกติ หากฮอร์โมนไทรอยด์ลดต่ำลงเป็นอย่างมากอาจทำให้ อุณหภูมิร่างกายต่ำ ซีด หัวใจวาย สับสน ไม่รู้สึกตัว (myxedema coma) และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ภาวะพร่องไทรอยด์เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะ Hashimoto (Hashimoto’s disease) เป็นภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายส่งผลต่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้ลดลง การอักเสบของต่อมไทรอยด์ การรักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน การขาดสารไอโอดีน กรรมพันธุ์ หรือมะเร็งต่อมไทรอยด์ เป็นต้น
🌟ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน (Hyperthyroidism)
ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน (Hyperthyroidism) คือภาวะที่ร่างกายผลิตหรือหลั่งฮอร์โมนมากกว่าปกติ ส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว กระวนกระวาย มือสั่น น้ำหนักลด อยากอาหาร ท้องเสีย ผิวหนังบาง อุ่นและชื้น ประจำเดือนผิดปกติ ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก นอนไม่หลับ ผมร่วง ตาโปน กล้ามเนื้ออ่อนแรง
สาเหตุของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน เช่น ภาวะ Grave (Grave’s disease) เป็นภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายส่งผลต่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปกติ ภาวะก้อนของต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodule) ต่อมไทรอยด์อักเสบ การรับประทานอาหารที่มีสารไอโอดีนมากเกินไป หรือจากมะเร็งต่อมไทรอยด์ ก็ได้เช่นกันครับ
ฮอร์โมนไทรอยด์ส่งผลต่อน้ำหนักอย่างไร?😞
ฮอร์โมนไทรอยด์ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเผาผลาญของร่างกาย หากร่างกายมีฮอร์โมนไทรอยด์น้อยเกินไปก็อาจทำให้การเผาผลาญของร่างกายน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เกิดการสะสมพลังงานในร่างกายมากขึ้น นอกจากนี้ความไม่สมดุลของฮอร์โมนไทรอยด์ก็อาจทำให้เกิดการสะสมของน้ำและเกลือแร่ซึ่งก่อให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินได้ โดยผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องไทรอยด์ทำให้มีน้ำหนักเปลี่ยนแปลงได้แม้มีภาวะพร่องไทรอยด์เพียงเล็กน้อย และหากมีอาการมากขึ้นก็อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักได้ถึง 5-15 กิโลกรัมเลยทีเดียวนะครับ
ส่วนในคนที่ฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ก็อาจเกิดภาวะผอมเกินไป น้ำหนักไม่ขึ้นแม้จะพยายามกินเพิ่มมากขึ้น
การป้องกัน✅
การรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนอย่างเพียงพอสามารถป้องกันภาวะพร่องไทรอยด์จากการขาดสารไอโอดีนได้ และการลดหรืองดการสูบบุหรี่ช่วยลดการเกิดโรคจากไทรอยด์ได้บางส่วน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีวิธีที่แน่นอนที่จะช่วยป้องกันโรคจากไทรอยด์ได้ คนที่มีความเสี่ยงจึงควรรับการตรวจติดตามเป็นระยะ และผู้ที่มีอาการของภาวะไทรอยด์ผิดปกติควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
การรักษาภาวะไทรอยด์ผิดปกติ💊
การรักษาก็มีหลายวิธีนะครับ
1)
การใช้ยา สามารถรักษาได้ทั้งภาวะพร่องไทรอยด์และภาวะไทรอยด์เกิน โดยการใช้ยาต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ มีการติดตามระดับฮอร์โมนไทรอยด์และปรับยาเป็นประจำ ไม่ควรซื้อยากินเอง หรือปรับยาเองอย่างเด็ดขาด
2)
การกลืนแร่รังสีไอโอดีน เป็นการรักษาภาวะไทรอยด์เกินอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ไม่เหมาะกับหญิงตั้งครรภ์และให้นมลูก การรักษาด้วยวิธีนี้อาจก่อให้เกิดภาวะพร่องไทรอยด์เรื้อรังจากการที่เซลล์ต่อมไทรอยด์ถูกทำลายได้
3)
การผ่าตัด ใช้ในกรณีที่ต่อมไทรอยด์มีขนาดใหญ่มาก เกิดภาวะผิดปกติทางตาจากฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติมาก การรักษาวิธีอื่นไม่ได้ผล หรือกลับมาเป็นซ้ำหลังจากรักษาด้วยวิธีอื่นแล้ว หรือไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้
การผ่าตัดมีทั้งการผ่าตัดแบบเปิด และการผ่าตัดแบบไร้แผล
👉การผ่าตัดแบบเปิด (Conventional Thyroidectomy) คือการผ่าตัดและนำต่อมไทรอยด์ออกจากแผลผ่าตัดที่ด้านหน้าลำคอ วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้อย่างแพร่หลาย แพทย์สามารถเห็นความผิดปกติได้ชัดเจน และตัดก้อนไทรอยด์ขนาดใหญ่รวมถึงต่อมน้ำเหลืองข้างเคียงออกไปจนหมด แต่ผู้ป่วยจะมีแผลเป็นที่ด้านหน้าลำคอ ส่งผลต่อความสวยงามและความมั่นใจได้ นอกจากนี้ อาจเกิดผลข้างเคียงต่อเส้นประสาทกล่องเสียงจึงมีผลต่อการพูดได้
👉การผ่าตัดแบบไร้แผล (Scarless Thyroidectomy) พัฒนามาจากการผ่าตัดไทรอยด์แบบแผลเล็กทางรักแร้ แต่วิธีนี้ทำการผ่าตัดได้ยากเพราะระยะทางจากรักแร้และไทรอยด์มีระยะทางไกล และหากจำเป็นต้องผ่าตัดทั้งสองข้างก็จำเป็นต้องผ่าจากรักแร้ทั้งสองข้าง นอกจากนี้ ยังอาจก่อให้เกิดแผลเป็นบริเวณรักแร้ ทำให้ผู้ป่วยไม่มั่นใจเวลาต้องใส่เสื้อไม่มีแขนได้ จึงมีการพัฒนาการผ่าตัดวิธีการใหม่โดยการผ่าตัดผ่านกล้องทางช่องปาก ทำให้ไม่มีแผลเป็นที่สามารถมองเห็นได้ แผลหายเร็ว ไม่เกิดพังผืด เสียเลือดน้อย ไม่กระทบต่อกล่องเสียงของผู้ป่วย ใช้เวลาผ่าตัดไม่นาน และสามารถฟื้นตัวได้เร็ว
อย่างไรก็ตาม วิธีการผ่าตัดแบบไร้แผลก็มีข้อจำกัด โดยไม่แนะนำในผู้ที่ขนาดก้อนใหญ่เกิน 6 ซม. ขึ้นไป ผลการตรวจชิ้นเนื้อพบว่าไม่ใช่มะเร็ง ผู้ป่วยไม่เคยผ่าตัดบริเวณคอหรือคางมาก่อน ไม่เคยรับการฉายแสงบริเวณคอ และการทำงานของต่อมไทรอยด์ไม่ผิดปกติก่อนการผ่าตัด
ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ สามารถส่งผลกระทบถึงน้ำหนักตัวและระบบอื่น ๆ ของร่างกายได้ การปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจและรับการรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนได้นะครับ😊
อ้วนไป ผอมไป เป็นไทรอยด์หรือเปล่า
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่ง ลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ อยู่ส่วนหน้าของลำคอ ทำหน้าที่ผลิตและหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ภายใต้การควบคุมของสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) และต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย ซึ่งช่วยควบคุมการลดและเพิ่มของน้ำหนักตัว อัตราการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิของร่างกาย การย่อยอาหาร และช่วยด้านพัฒนาการทางสมองในเด็กทารก
ความผิดปกติของฮอร์โมนไทรอยด์ แบ่งได้เป็นสองชนิดคือภาวะพร่องไทรอยด์และภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน
🌟ภาวะพร่องไทรอยด์ (Hypothyroidism)
ภาวะพร่องไทรอยด์ (Hypothyroidism) หมายถึงภาวะที่ร่างกายผลิตหรือหลั่งฮอร์โมนได้น้อยกว่าปกติ ทำให้ส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การเผาผลาญของร่างกายลดลง น้ำหนักขึ้น ขี้หนาว เฉื่อยชา เหนื่อยง่าย ท้องผูก ปวดตัว ผิวแห้งและหยาบ ความต้องการทางเพศลดลง ประจำเดือนผิดปกติ หากฮอร์โมนไทรอยด์ลดต่ำลงเป็นอย่างมากอาจทำให้ อุณหภูมิร่างกายต่ำ ซีด หัวใจวาย สับสน ไม่รู้สึกตัว (myxedema coma) และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ภาวะพร่องไทรอยด์เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะ Hashimoto (Hashimoto’s disease) เป็นภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายส่งผลต่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้ลดลง การอักเสบของต่อมไทรอยด์ การรักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน การขาดสารไอโอดีน กรรมพันธุ์ หรือมะเร็งต่อมไทรอยด์ เป็นต้น
🌟ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน (Hyperthyroidism)
ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน (Hyperthyroidism) คือภาวะที่ร่างกายผลิตหรือหลั่งฮอร์โมนมากกว่าปกติ ส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว กระวนกระวาย มือสั่น น้ำหนักลด อยากอาหาร ท้องเสีย ผิวหนังบาง อุ่นและชื้น ประจำเดือนผิดปกติ ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก นอนไม่หลับ ผมร่วง ตาโปน กล้ามเนื้ออ่อนแรง
สาเหตุของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน เช่น ภาวะ Grave (Grave’s disease) เป็นภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายส่งผลต่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปกติ ภาวะก้อนของต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodule) ต่อมไทรอยด์อักเสบ การรับประทานอาหารที่มีสารไอโอดีนมากเกินไป หรือจากมะเร็งต่อมไทรอยด์ ก็ได้เช่นกันครับ
ฮอร์โมนไทรอยด์ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเผาผลาญของร่างกาย หากร่างกายมีฮอร์โมนไทรอยด์น้อยเกินไปก็อาจทำให้การเผาผลาญของร่างกายน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เกิดการสะสมพลังงานในร่างกายมากขึ้น นอกจากนี้ความไม่สมดุลของฮอร์โมนไทรอยด์ก็อาจทำให้เกิดการสะสมของน้ำและเกลือแร่ซึ่งก่อให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินได้ โดยผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องไทรอยด์ทำให้มีน้ำหนักเปลี่ยนแปลงได้แม้มีภาวะพร่องไทรอยด์เพียงเล็กน้อย และหากมีอาการมากขึ้นก็อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักได้ถึง 5-15 กิโลกรัมเลยทีเดียวนะครับ
ส่วนในคนที่ฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ก็อาจเกิดภาวะผอมเกินไป น้ำหนักไม่ขึ้นแม้จะพยายามกินเพิ่มมากขึ้น
การป้องกัน✅
การรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนอย่างเพียงพอสามารถป้องกันภาวะพร่องไทรอยด์จากการขาดสารไอโอดีนได้ และการลดหรืองดการสูบบุหรี่ช่วยลดการเกิดโรคจากไทรอยด์ได้บางส่วน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีวิธีที่แน่นอนที่จะช่วยป้องกันโรคจากไทรอยด์ได้ คนที่มีความเสี่ยงจึงควรรับการตรวจติดตามเป็นระยะ และผู้ที่มีอาการของภาวะไทรอยด์ผิดปกติควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
การรักษาภาวะไทรอยด์ผิดปกติ💊
การรักษาก็มีหลายวิธีนะครับ
1) การใช้ยา สามารถรักษาได้ทั้งภาวะพร่องไทรอยด์และภาวะไทรอยด์เกิน โดยการใช้ยาต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ มีการติดตามระดับฮอร์โมนไทรอยด์และปรับยาเป็นประจำ ไม่ควรซื้อยากินเอง หรือปรับยาเองอย่างเด็ดขาด
2) การกลืนแร่รังสีไอโอดีน เป็นการรักษาภาวะไทรอยด์เกินอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ไม่เหมาะกับหญิงตั้งครรภ์และให้นมลูก การรักษาด้วยวิธีนี้อาจก่อให้เกิดภาวะพร่องไทรอยด์เรื้อรังจากการที่เซลล์ต่อมไทรอยด์ถูกทำลายได้
3) การผ่าตัด ใช้ในกรณีที่ต่อมไทรอยด์มีขนาดใหญ่มาก เกิดภาวะผิดปกติทางตาจากฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติมาก การรักษาวิธีอื่นไม่ได้ผล หรือกลับมาเป็นซ้ำหลังจากรักษาด้วยวิธีอื่นแล้ว หรือไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้
การผ่าตัดมีทั้งการผ่าตัดแบบเปิด และการผ่าตัดแบบไร้แผล
👉การผ่าตัดแบบเปิด (Conventional Thyroidectomy) คือการผ่าตัดและนำต่อมไทรอยด์ออกจากแผลผ่าตัดที่ด้านหน้าลำคอ วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้อย่างแพร่หลาย แพทย์สามารถเห็นความผิดปกติได้ชัดเจน และตัดก้อนไทรอยด์ขนาดใหญ่รวมถึงต่อมน้ำเหลืองข้างเคียงออกไปจนหมด แต่ผู้ป่วยจะมีแผลเป็นที่ด้านหน้าลำคอ ส่งผลต่อความสวยงามและความมั่นใจได้ นอกจากนี้ อาจเกิดผลข้างเคียงต่อเส้นประสาทกล่องเสียงจึงมีผลต่อการพูดได้
👉การผ่าตัดแบบไร้แผล (Scarless Thyroidectomy) พัฒนามาจากการผ่าตัดไทรอยด์แบบแผลเล็กทางรักแร้ แต่วิธีนี้ทำการผ่าตัดได้ยากเพราะระยะทางจากรักแร้และไทรอยด์มีระยะทางไกล และหากจำเป็นต้องผ่าตัดทั้งสองข้างก็จำเป็นต้องผ่าจากรักแร้ทั้งสองข้าง นอกจากนี้ ยังอาจก่อให้เกิดแผลเป็นบริเวณรักแร้ ทำให้ผู้ป่วยไม่มั่นใจเวลาต้องใส่เสื้อไม่มีแขนได้ จึงมีการพัฒนาการผ่าตัดวิธีการใหม่โดยการผ่าตัดผ่านกล้องทางช่องปาก ทำให้ไม่มีแผลเป็นที่สามารถมองเห็นได้ แผลหายเร็ว ไม่เกิดพังผืด เสียเลือดน้อย ไม่กระทบต่อกล่องเสียงของผู้ป่วย ใช้เวลาผ่าตัดไม่นาน และสามารถฟื้นตัวได้เร็ว
อย่างไรก็ตาม วิธีการผ่าตัดแบบไร้แผลก็มีข้อจำกัด โดยไม่แนะนำในผู้ที่ขนาดก้อนใหญ่เกิน 6 ซม. ขึ้นไป ผลการตรวจชิ้นเนื้อพบว่าไม่ใช่มะเร็ง ผู้ป่วยไม่เคยผ่าตัดบริเวณคอหรือคางมาก่อน ไม่เคยรับการฉายแสงบริเวณคอ และการทำงานของต่อมไทรอยด์ไม่ผิดปกติก่อนการผ่าตัด
ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ สามารถส่งผลกระทบถึงน้ำหนักตัวและระบบอื่น ๆ ของร่างกายได้ การปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจและรับการรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนได้นะครับ😊