นอนไม่หลับ เสี่ยง โรคไทรอยด์
ร่างกายมนุษย์เราเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่ต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมง การที่ได้พักผ่อนนอนหลับ ก็เปรียบเสมือนเครื่องจักรได้พักบ้าง การนอนหลับที่ไม่เพียงพอ จะเป็นปัจจัยเสี่ยงของสารพัดโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือแม้แต่โรคไทรอยด์ ส่วนการนอนหลับ ก็ควรเป็นการนอนหลับที่มีคุณภาพด้วย คือ หลับสนิท หลับลึก แบบไม่ฝัน วันก่อนผู้เขียนได้อ่านบทความจากศูนย์นิทราเวช ระบุว่า คนไทยที่มารักษา 80% มาด้วยภาวะนอนกรนบ้าง หยุดหายใจขณะนอนบ้าง ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุทำให้นอนไม่เพียงพอ หรือ นอนไม่มีคุณภาพ และอีก 20% เป็นการนอนไม่หลับซึ่งมาจากหลายสาเหตุ เช่น อาการป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดัน ต้องตื่นมาเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ กลางคืน ทำให้หลับยาก ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยไทรอยด์ เพราะนอกจากอาการนอนไม่หลับแล้ว ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ร่วมอีกด้วย
แล้วโรคไทรอยด์เป็นพิษ เกิดจากอะไร ?
“ไทรอยด์” เป็นหนึ่งในต่อมไร้ท่อที่สำคัญมากในร่างกายเรา ทำหน้าที่ช่วยผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเจ้าตัวฮอร์โมนนี้มีความเกี่ยวข้องกับระบบต่าง ๆ ฉะนั้นถ้าหากการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ ย่อมต้องส่งผลกระทบต่อทุกอวัยวะแทบทุกระบบในร่างกาย ! และเมื่อ ไทรอยด์เป็นพิษ นั่นหมายถึง ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักตัว ลดลง อย่างผิดปกติ หัวใจเต้นเร็ว เต้นผิดปกติ เหงื่อออกง่าย ฉุนเฉียว เป็นต้น
หน้าที่ความสำคัญของไทรอยด์
· รักษาอุณหภูมิให้ร่างกาย
· ช่วยเผาผลาญสารอาหาร ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน เพื่อให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ
· กระตุ้นการทำงานของระบบหัวใจ และหลอดเลือดต่าง ๆ โดยส่วนหนึ่งจะผ่านระบบประสาทอัตโนมัติ
· ช่วยประสานกับฮอร์โมนอื่น ๆ ในร่างกาย
ด้วยเหตุนี้ ต่อมไทรอยด์จึงมีความสำคัญไม่แพ้อวัยวะอื่น ๆ และหากต่อมไทรอยด์เกิดความผิดปกติ จึงส่งผลโดยตรงต่อร่างกาย ซึ่งสามารถจำแนกความผิดปกติออกได้ 3 กลุ่ม ดังนี้ :-
· ต่อมไทรอยด์โต โดยจะมีก้อนยื่นออกมาบริเวณลำคอ แต่ยังสามารถผลิตฮอร์โมนได้ตามปกติ
· ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย เกิดจากภาวะที่ฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือด อยู่ในระดับน้อยเกินไป
· ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เกิดจากภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป จนระดับฮอร์โมนในเลือดสูงกว่าปกติ
เรามาดูกันสิว่า เจ้าตัวไทรอยด์เป็นพิษ อาการจะเป็นอย่างไรบ้าง ?
อาการไทรอยด์เป็นพิษ ถือเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ที่อาการมักไม่ค่อยแสดงออกมาชัดเจน เราเองต้องหมั่นสังเกตอาการท่าน ไม่ว่าจะเป็นการซัก-ถาม และแน่นอน อาการไทรอยด์ที่พบได้บ่อยมากที่สุด คือ อาการคอพอก แต่ก็ยังมีสัญญาณอาการอื่น ๆ ที่เกิดจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ได้แก่ :-
· นอนไม่หลับ นอนหลับยาก
· คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว
· มีปัญหาในเรื่องสายกา เช่น ตาโปน เห็นภาพซ้อน
· อาการผมร่วง สุขภาพผมเปลี่ยนไป เปราะง่าย
· กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะบริเวณต้นขา ต้นแขน
· หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที โดยเฉพาะผู้สูงอายุ
· น้ำหนักลด แต่มีความอยากอาหารมากขึ้น
อาการที่เขียนมาข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งในหลายอาการที่เกิดจากไทรอยด์เป็นพิษ หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ และแน่นอนคุณผู้อ่านอาจจะมีคำถามแล้วว่า กลุ่มเสี่ยงของโรคไทรอยด์ มีอะไรบ้าง ?
กลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ
· กรรมพันธุ์ (พันธุกรรม) คนในครอบครัวมีประวัติเป็นไทรอยด์
· การดื่มแอลกอฮอล์
· อดหลับ อดนอน พักผ่อนไม่เพียงพอบ่อย ๆ
· สูบบุหรี่
เมื่อเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ เราควรต้องระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน และอาหารที่เหมาะกับโรคไทรอยด์ ควรเป็นอาหารที่ปรุงแต่งน้อย โดยเน้นอาหารที่มาจากธรรมชาติ ซึ่งยังคงคุณค่าสารอาหารไว้มาก ไม่ว่าจะเป็นข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง แป้งไม่ขัดขาว และควรเลือกทานผลไม้ที่ไม่หวานเกินไป อาจจะเน้นทานกล้วย เพราะกล้วยมีสารที่ช่วยลด แลคติก เอซิด (Lactic Acid ) ช่วยลดความเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไทรอยด์ และเลี่ยงพวกชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง และพวกเบียร์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
เรามาดูกันว่า อาหารประเภทไหนที่เหมาะกับคนที่เป็นไทรอยด์เป็นพิษ :-
· ธาตุเหล็ก
ถือเป็นสารอาหารที่ทำให้การทำงานของต่อมไทรอยด์ทำงานได้ดีขึ้น โดยเราควรเน้นด้วยอาหารประเภท ถั่วเหลือง เมล็ดฟักทอง ผักโขม
· ธาตุไอโอดีน
ถือเป็นสารอาหารสำคัญต่อระบบการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะช่วยให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้ดีขึ้น โดยเน้นทานอาหารจำพวก สาหร่ายทะเล เมล็ดงา และเห็ดต่าง ๆ
· วิตามิน บี
วิตามิน บี 2 วิตามิน บี 3 และวิตามิน บี 6 ล้วนเป็นวิตามินที่มีความจำเป็นต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ โดยเน้นทานอาหารประเภท ถั่วอัลมอนด์ อาหารธัญพืช นมสด และเนื้อปลา
อย่างไรก็ตาม การเลือกรับประทานอาหารของผู้ป่วยไทรอยด์ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน และควรที่จะเอาใจใส่เป็นพิเศษ และสำหรับผู้ที่สงสัยตัวเองว่าเข้าข่ายโรคไทรอยด์เป็นพิษหรือไม่ เช่นทานอาหารปกติ แต่น้ำหนักตัวลด ตัวบวม เฉื่อยชา นอนไม่หลับ ถือว่าไม่ปกติแล้ว ต้องรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อหาแนวทางรักษาต่อไปค่ะ พบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีค่ะ
…….
(เครดิต : 10 foods for your thyroid,
https://facty.com/food/nutrition/10-foods-for-your-thyroid/7/?da=true&dalnit=1), ศูนย์นิทราเวช,
https://medical-magazine.com/18-signs-you-may-need-your-thyroid-checked/
#KINN_Holistic_Healthcare
นอนไม่หลับ เสี่ยง โรคไทรอยด์
ร่างกายมนุษย์เราเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่ต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมง การที่ได้พักผ่อนนอนหลับ ก็เปรียบเสมือนเครื่องจักรได้พักบ้าง การนอนหลับที่ไม่เพียงพอ จะเป็นปัจจัยเสี่ยงของสารพัดโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือแม้แต่โรคไทรอยด์ ส่วนการนอนหลับ ก็ควรเป็นการนอนหลับที่มีคุณภาพด้วย คือ หลับสนิท หลับลึก แบบไม่ฝัน วันก่อนผู้เขียนได้อ่านบทความจากศูนย์นิทราเวช ระบุว่า คนไทยที่มารักษา 80% มาด้วยภาวะนอนกรนบ้าง หยุดหายใจขณะนอนบ้าง ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุทำให้นอนไม่เพียงพอ หรือ นอนไม่มีคุณภาพ และอีก 20% เป็นการนอนไม่หลับซึ่งมาจากหลายสาเหตุ เช่น อาการป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดัน ต้องตื่นมาเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ กลางคืน ทำให้หลับยาก ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยไทรอยด์ เพราะนอกจากอาการนอนไม่หลับแล้ว ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ร่วมอีกด้วย
แล้วโรคไทรอยด์เป็นพิษ เกิดจากอะไร ?
“ไทรอยด์” เป็นหนึ่งในต่อมไร้ท่อที่สำคัญมากในร่างกายเรา ทำหน้าที่ช่วยผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเจ้าตัวฮอร์โมนนี้มีความเกี่ยวข้องกับระบบต่าง ๆ ฉะนั้นถ้าหากการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ ย่อมต้องส่งผลกระทบต่อทุกอวัยวะแทบทุกระบบในร่างกาย ! และเมื่อ ไทรอยด์เป็นพิษ นั่นหมายถึง ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น เป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักตัว ลดลง อย่างผิดปกติ หัวใจเต้นเร็ว เต้นผิดปกติ เหงื่อออกง่าย ฉุนเฉียว เป็นต้น
หน้าที่ความสำคัญของไทรอยด์
· รักษาอุณหภูมิให้ร่างกาย
· ช่วยเผาผลาญสารอาหาร ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน เพื่อให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ
· กระตุ้นการทำงานของระบบหัวใจ และหลอดเลือดต่าง ๆ โดยส่วนหนึ่งจะผ่านระบบประสาทอัตโนมัติ
· ช่วยประสานกับฮอร์โมนอื่น ๆ ในร่างกาย
ด้วยเหตุนี้ ต่อมไทรอยด์จึงมีความสำคัญไม่แพ้อวัยวะอื่น ๆ และหากต่อมไทรอยด์เกิดความผิดปกติ จึงส่งผลโดยตรงต่อร่างกาย ซึ่งสามารถจำแนกความผิดปกติออกได้ 3 กลุ่ม ดังนี้ :-
· ต่อมไทรอยด์โต โดยจะมีก้อนยื่นออกมาบริเวณลำคอ แต่ยังสามารถผลิตฮอร์โมนได้ตามปกติ
· ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย เกิดจากภาวะที่ฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือด อยู่ในระดับน้อยเกินไป
· ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เกิดจากภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป จนระดับฮอร์โมนในเลือดสูงกว่าปกติ
เรามาดูกันสิว่า เจ้าตัวไทรอยด์เป็นพิษ อาการจะเป็นอย่างไรบ้าง ?
อาการไทรอยด์เป็นพิษ ถือเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ที่อาการมักไม่ค่อยแสดงออกมาชัดเจน เราเองต้องหมั่นสังเกตอาการท่าน ไม่ว่าจะเป็นการซัก-ถาม และแน่นอน อาการไทรอยด์ที่พบได้บ่อยมากที่สุด คือ อาการคอพอก แต่ก็ยังมีสัญญาณอาการอื่น ๆ ที่เกิดจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ได้แก่ :-
· นอนไม่หลับ นอนหลับยาก
· คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว
· มีปัญหาในเรื่องสายกา เช่น ตาโปน เห็นภาพซ้อน
· อาการผมร่วง สุขภาพผมเปลี่ยนไป เปราะง่าย
· กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะบริเวณต้นขา ต้นแขน
· หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที โดยเฉพาะผู้สูงอายุ
· น้ำหนักลด แต่มีความอยากอาหารมากขึ้น
อาการที่เขียนมาข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งในหลายอาการที่เกิดจากไทรอยด์เป็นพิษ หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ และแน่นอนคุณผู้อ่านอาจจะมีคำถามแล้วว่า กลุ่มเสี่ยงของโรคไทรอยด์ มีอะไรบ้าง ?
กลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ
· กรรมพันธุ์ (พันธุกรรม) คนในครอบครัวมีประวัติเป็นไทรอยด์
· การดื่มแอลกอฮอล์
· อดหลับ อดนอน พักผ่อนไม่เพียงพอบ่อย ๆ
· สูบบุหรี่
เมื่อเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ เราควรต้องระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน และอาหารที่เหมาะกับโรคไทรอยด์ ควรเป็นอาหารที่ปรุงแต่งน้อย โดยเน้นอาหารที่มาจากธรรมชาติ ซึ่งยังคงคุณค่าสารอาหารไว้มาก ไม่ว่าจะเป็นข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง แป้งไม่ขัดขาว และควรเลือกทานผลไม้ที่ไม่หวานเกินไป อาจจะเน้นทานกล้วย เพราะกล้วยมีสารที่ช่วยลด แลคติก เอซิด (Lactic Acid ) ช่วยลดความเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไทรอยด์ และเลี่ยงพวกชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง และพวกเบียร์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
เรามาดูกันว่า อาหารประเภทไหนที่เหมาะกับคนที่เป็นไทรอยด์เป็นพิษ :-
· ธาตุเหล็ก
ถือเป็นสารอาหารที่ทำให้การทำงานของต่อมไทรอยด์ทำงานได้ดีขึ้น โดยเราควรเน้นด้วยอาหารประเภท ถั่วเหลือง เมล็ดฟักทอง ผักโขม
· ธาตุไอโอดีน
ถือเป็นสารอาหารสำคัญต่อระบบการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะช่วยให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้ดีขึ้น โดยเน้นทานอาหารจำพวก สาหร่ายทะเล เมล็ดงา และเห็ดต่าง ๆ
· วิตามิน บี
วิตามิน บี 2 วิตามิน บี 3 และวิตามิน บี 6 ล้วนเป็นวิตามินที่มีความจำเป็นต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ โดยเน้นทานอาหารประเภท ถั่วอัลมอนด์ อาหารธัญพืช นมสด และเนื้อปลา
อย่างไรก็ตาม การเลือกรับประทานอาหารของผู้ป่วยไทรอยด์ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน และควรที่จะเอาใจใส่เป็นพิเศษ และสำหรับผู้ที่สงสัยตัวเองว่าเข้าข่ายโรคไทรอยด์เป็นพิษหรือไม่ เช่นทานอาหารปกติ แต่น้ำหนักตัวลด ตัวบวม เฉื่อยชา นอนไม่หลับ ถือว่าไม่ปกติแล้ว ต้องรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อหาแนวทางรักษาต่อไปค่ะ พบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีค่ะ
…….
(เครดิต : 10 foods for your thyroid, https://facty.com/food/nutrition/10-foods-for-your-thyroid/7/?da=true&dalnit=1), ศูนย์นิทราเวช, https://medical-magazine.com/18-signs-you-may-need-your-thyroid-checked/
#KINN_Holistic_Healthcare