กระทรวงดีอี เผย 10 อันดับข่าวปลอมที่คนให้ความสนใจสูงสุด พบประเด็น ธ.ก.ส. เปิดลงทะเบียนสินเชื่อผ่านบัญชี TikTok ปลอม มาแรงอันดับ 1 รองลงมาคือ ป.ป.ท.เปิดให้ลงทะเบียนคุ้มครองสิทธิเหยื่อคอลเซ็นเตอร์ผ่านเพจปลอม
นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ในฐานะโฆษกกระทรวงฯ กล่าวถึงผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 1-7 พฤศจิกายน 2567 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 854,009 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 579 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 229 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 79 เรื่อง โดยในจำนวนนี้เป็นข่าวปลอมเกี่ยวกับอาชญากรรมออนไลน์ที่ได้รับความสนใจจากประชาชนมากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่
อันดับที่ 1 : เรื่อง ธ.ก.ส. เปิดลงทะเบียนสินเชื่อ ผ่านบัญชี Tiktok baac.thailand5
อันดับที่ 2 : เรื่อง ป.ป.ท. เปิดให้ลงทะเบียนคุ้มครองสิทธิเหยื่อคอลเซ็นเตอร์ ผ่านเพจ สำนักงานรัฐภาคที่ 2
อันดับที่ 3 : เรื่อง ธ.ก.ส. เปิดบัญชีไลน์ Admin BAAC Thailand
อันดับที่ 4 : เรื่อง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพิ่มช่องทางการติดต่อ ไอดีไลน์ pea1143
อันดับที่ 5 : เรื่อง ธนาคารออมสินเปิดเพจเฟซบุ๊ก สินเชื่อ ฉุกเฉิน
อันดับที่ 6 : เรื่อง ปปง. เปิดลงทะเบียนคุ้มครองสิทธิ เพื่อเฉลี่ยทรัพย์คืนผู้เสียหาย ผ่านเพจ Notify the public
อันดับที่ 7 : เรื่อง ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เปิดเพจ News releases for the economy and society รับให้คำปรึกษาออนไลน์
อันดับที่ 8 : เรื่อง กระทรวงดิจิทัลฯ เปิดให้ประชาชนยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์คืนผ่านเพจ เพื่อพี่น้องไทย
อันดับที่ 9 : เรื่อง สมัครกรุงไทยใจป้ำ สินเชื่อเพื่อเดอะแบก อนุมัติไวใน 1 วัน ดอกเบี้ย 5.50-11%
อันดับที่ 10 : เรื่อง CIB ร่วมกับเพจศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เปิดช่องทางให้ประชาชนติดต่อขอรับเงินคืนจากการถูกหลอกลวงทางออนไลน์
“เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ประชาชนสนใจมากที่สุด จาก 10 อันดับข้างต้น พบว่าเป็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานรัฐ สถาบันการเงินของรัฐ โดยเฉพาะโครงการสินเชื่อ และโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยาผู้เสียหายจากคดีอาชญากรรมออนไลน์ ซึ่งทั้งหมดมีผลกระทบต่อประชาชน ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ความวิตกกังวล และอาจทำให้ประชาชน ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ สร้างความเสียหายทั้งทรัพย์สินและข้อมูลส่วนบุคคลได้ ซึ่งส่งผลกระทบกับประชาชนทั่วประเทศเป็นวงกว้าง หากมีการแชร์ส่งต่อกันไปในสังคม” นายเวทางค์ กล่าว
สำหรับอันดับ 1 เรื่อง “ธ.ก.ส. เปิดลงทะเบียนสินเชื่อ ผ่านบัญชี Tiktok baac.thailand5” กระทรวงดีอี ได้ประสานงานตรวจสอบข้อเท็จจริง ร่วมกับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กระทรวงการคลัง พบว่าเป็นข้อมูลเท็จ ซึ่งเป็นการแอบอ้างโดยไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากธนาคารไม่มีการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวแก่ลูกค้า ผ่านช่องทางออนไลน์ใดๆทั้งสิ้น และบัญชี Tiktok ที่ใช้ชื่อว่า baac.thailand5 ไม่ใช่ช่องทางการติดต่อหรือเกี่ยวข้องกับ ธ.ก.ส. จึงขอเตือนให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ โดยประชาชนสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารจาก ธ.ก.ส. สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.baac.or.th
http://www.baac.or.thหรือโทร. 0-2555-0555
อย่างไรก็ตาม ข่าวปลอมที่ถูกแพร่กระจายบนสื่อออนไลน์ โซเชียล หากขาดความรู้เท่าทัน ส่งต่อข้อมูลข่าวปลอม ทำให้เกิดการหลงเชื่อ สร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือข้อมูลส่วนบุคคล และอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง ดังนั้นจึงควรตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าวหรือลิงก์เว็บไซต์ให้แน่ชัด
สามารถแจ้งเบาะแส ข่าวปลอม และอาชญากรรมออนไลน์ทุกรูปแบบ โทรสายด่วน 1111 (24 ชม.)
| Line ID: @antifakenewscenter | เว็บไซต์ www.antifakenewscenter.com
Cr.
https://www.posttoday.com/smart-life/715580
เช็ค 10 อันดับข่าวปลอมเดือนนี้ ธ.ก.ส.ลงทะเบียนสินเชื่อผ่าน TikTok อันดับ 1
นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ในฐานะโฆษกกระทรวงฯ กล่าวถึงผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 1-7 พฤศจิกายน 2567 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 854,009 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 579 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 229 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 79 เรื่อง โดยในจำนวนนี้เป็นข่าวปลอมเกี่ยวกับอาชญากรรมออนไลน์ที่ได้รับความสนใจจากประชาชนมากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่
อันดับที่ 1 : เรื่อง ธ.ก.ส. เปิดลงทะเบียนสินเชื่อ ผ่านบัญชี Tiktok baac.thailand5
อันดับที่ 2 : เรื่อง ป.ป.ท. เปิดให้ลงทะเบียนคุ้มครองสิทธิเหยื่อคอลเซ็นเตอร์ ผ่านเพจ สำนักงานรัฐภาคที่ 2
อันดับที่ 3 : เรื่อง ธ.ก.ส. เปิดบัญชีไลน์ Admin BAAC Thailand
อันดับที่ 4 : เรื่อง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพิ่มช่องทางการติดต่อ ไอดีไลน์ pea1143
อันดับที่ 5 : เรื่อง ธนาคารออมสินเปิดเพจเฟซบุ๊ก สินเชื่อ ฉุกเฉิน
อันดับที่ 6 : เรื่อง ปปง. เปิดลงทะเบียนคุ้มครองสิทธิ เพื่อเฉลี่ยทรัพย์คืนผู้เสียหาย ผ่านเพจ Notify the public
อันดับที่ 7 : เรื่อง ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เปิดเพจ News releases for the economy and society รับให้คำปรึกษาออนไลน์
อันดับที่ 8 : เรื่อง กระทรวงดิจิทัลฯ เปิดให้ประชาชนยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์คืนผ่านเพจ เพื่อพี่น้องไทย
อันดับที่ 9 : เรื่อง สมัครกรุงไทยใจป้ำ สินเชื่อเพื่อเดอะแบก อนุมัติไวใน 1 วัน ดอกเบี้ย 5.50-11%
อันดับที่ 10 : เรื่อง CIB ร่วมกับเพจศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เปิดช่องทางให้ประชาชนติดต่อขอรับเงินคืนจากการถูกหลอกลวงทางออนไลน์
“เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ประชาชนสนใจมากที่สุด จาก 10 อันดับข้างต้น พบว่าเป็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานรัฐ สถาบันการเงินของรัฐ โดยเฉพาะโครงการสินเชื่อ และโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยาผู้เสียหายจากคดีอาชญากรรมออนไลน์ ซึ่งทั้งหมดมีผลกระทบต่อประชาชน ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ความวิตกกังวล และอาจทำให้ประชาชน ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ สร้างความเสียหายทั้งทรัพย์สินและข้อมูลส่วนบุคคลได้ ซึ่งส่งผลกระทบกับประชาชนทั่วประเทศเป็นวงกว้าง หากมีการแชร์ส่งต่อกันไปในสังคม” นายเวทางค์ กล่าว
สำหรับอันดับ 1 เรื่อง “ธ.ก.ส. เปิดลงทะเบียนสินเชื่อ ผ่านบัญชี Tiktok baac.thailand5” กระทรวงดีอี ได้ประสานงานตรวจสอบข้อเท็จจริง ร่วมกับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กระทรวงการคลัง พบว่าเป็นข้อมูลเท็จ ซึ่งเป็นการแอบอ้างโดยไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากธนาคารไม่มีการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวแก่ลูกค้า ผ่านช่องทางออนไลน์ใดๆทั้งสิ้น และบัญชี Tiktok ที่ใช้ชื่อว่า baac.thailand5 ไม่ใช่ช่องทางการติดต่อหรือเกี่ยวข้องกับ ธ.ก.ส. จึงขอเตือนให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ โดยประชาชนสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารจาก ธ.ก.ส. สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ www.baac.or.th http://www.baac.or.thหรือโทร. 0-2555-0555
อย่างไรก็ตาม ข่าวปลอมที่ถูกแพร่กระจายบนสื่อออนไลน์ โซเชียล หากขาดความรู้เท่าทัน ส่งต่อข้อมูลข่าวปลอม ทำให้เกิดการหลงเชื่อ สร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือข้อมูลส่วนบุคคล และอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง ดังนั้นจึงควรตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าวหรือลิงก์เว็บไซต์ให้แน่ชัด
สามารถแจ้งเบาะแส ข่าวปลอม และอาชญากรรมออนไลน์ทุกรูปแบบ โทรสายด่วน 1111 (24 ชม.)
| Line ID: @antifakenewscenter | เว็บไซต์ www.antifakenewscenter.com
Cr. https://www.posttoday.com/smart-life/715580