JJNY : ไทยอยู่ในกลุ่มอินเทอร์เน็ตไม่เสรี│ศก.อ่อนแอ-หนี้ครัวเรือนพุ่ง│ยัน“เกาะกูด”ต้องตีเส้นใหม่│ศาลสั่ง“นาจิบ”ขึ้นให้การ

NGO สหรัฐฯ เผยไทยอยู่ในกลุ่มอินเทอร์เน็ตไม่เสรี-คะแนนต่ำสุดด้านละเมิดสิทธิ์ผู้ใช้งาน
https://www.isranews.org/article/isranews-news/132972-isranews-aaaaIn.html
  
 
สื่อเยอรมนีตีข่าวเสรีภาพอินเทอร์เน็ตประเทศเอเชียแปซิฟิกลดลง อ้างอิงข้อมูล NGO สหรัฐฯ ชี้ไทยอยู่ท้ายตารางภูมิภาค 
อยู่ในกลุ่มไม่มีเสรี ได้แค่ 39 เต็ม 100 ชี้ชัดคะแนนต่ำสุดด้านละเมิดสิทธิ์ผู้ใช้งานได้แค่ 9 เต็ม 40 คะแนน
 
******************************************************************************************
 
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์เสรีภาพอินเทอร์เน็ต อ้างอิงจากสำนักข่าว DW ของเยอรมนี รายงานว่าเสรีภาพอินเทอร์เน็ตยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องเอเชียแปซิฟิก สะท้อนให้เห็นถึงการห่างออกไปจากรัฐบาลที่มีลักษณะของความเป็นประชาธิปไตย
 
โดยเมียนมาที่ได้รับความเสียหายจากสงครามกลางเมืองติดอันดับประเทศที่เลวร้ายที่สุดในโลกในด้านเสรีภาพทางออนไลน์ และปีนี้ยังเป็นปีแรกที่รัฐบาลปักกิ่งติดอันดับรั้งท้ายในรายงานประจำปี Freedom on the Net ซึ่งจัดทำโดยองค์กร Freedom House สหรัฐอเมริกา ที่เผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว 
โดยการสำรวจและการวิเคราะห์นั้นมีการวัดหลากหลายวิธีการที่รัฐบาลและผู้มีบทบาทที่ไม่ใช่หน่วยงานรัฐได้ใช้วิธีการจำกัดสิทธิทางออนไลน์ ปิดกั้นการเข้าถึง จำกัดเนื้อหาและละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว พร้อมกับผลกระทบทางกฎหมายสำหรับการแสดงความเห็นทางออนไลน์
 
โดยประเทศไทยและเวียดนามถูกระบุว่าอยู่ท้ายตาราง 20 ประเทศ อยู่ในกลุ่มที่ไม่มีเสรีทางอินเทอร์เน็ต ในขณะที่ประเทศมาเลเซีย,สิงคโปร์ และอินโดนีเซียระบุว่าเป็นประเทศที่มีความเสรีบางส่วน ส่วนประเทศที่ระบุว่ามีความเสรีทางอินเทอร์เน็ต ทางผู้ทำแบบวิจัยไม่ได้สำรวจประเทศเหล่านี้แค่อย่างใด 
 
สำหรับกัมพูชา มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์มีคะแนนลดลงในรายงานปีนี้ ในขณะที่คะแนนของไทยและเวียดนามยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
โดยคะแนนในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้นพบว่าเมียนมาได้คะแนน 9 คะแนน เวียดนามได้ 22 คะแนน ไทยได้ 39 คะแนน  กัมพูชาได้ 43 คะแนน อินโดนีเซียได้ 49 คะแนน สิงคโปร์ได้ 53 มาเลเซียและฟิลิปปินส์ได้ 60 คะแนน จากคะแนนเต็มทั้งหมด 100 คะแนน  ส่วนประเทศอื่นๆไม่ได้มีการทำแบบสำรวจ
ทั้งนี้เมื่อลงลึกในรายละเอียด 100 คะแนน พบว่ามีการแบ่งคะแนนออกเป็นสามด้านด้วยกันได้แก่ 

1. ในด้านอุปสรรคการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต คะแนนเต็ม 25 คะแนน พบว่าไทยได้แค่ 16 คะแนน 
2. ในด้านการจำกัดเนื้อหาคะแนนเต็ม 35 คะแนน พบว่าไทยได้ 14 คะแนน
และ 3. ในด้านการละเมิดสิทธิ์ผู้ใช้คะแนนเต็ม 40 คะแนน พบว่าไทยได้แค่ 9 คะแนน
 
โดยคะแนนที่ยิ่งน้อยลงหมายความว่าสถานการณ์ประเทศนั้นๆมีความรุนแรงมากขึ้น
 
เรียบเรียงจาก : https://freedomhouse.org/explore-the-map?type=fotn&year=2024



ศก.อ่อนแอ-หนี้ครัวเรือนพุ่ง-เอ็นพีแอลสูง-แบงก์เข้มสินเชื่อ กดดัชนี MPI ก.ย.หดตัว 3.51% 
https://siamrath.co.th/n/577079
 
สศอ.เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ก.ย.67 อยู่ที่ระดับ 92.44 หดตัวร้อยละ 3.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ไตรมาส 3 ปี 67 หดตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.23 หลังการผลิตยานยนต์ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 ทั้งตลาดภายในประเทศและการส่งออก จากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว กำลังซื้ออ่อนแอ หนี้ครัวเรือนและสถานการณ์หนี้สงสัยจะสูญ (NPL) ยังอยู่ในระดับสูง ทำให้สถาบันการเงินยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อและยอดปฏิเสธสินเชื่ออยู่ในระดับสูง พร้อมเสนอแนะผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมไทยเตรียมตัวรับผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เน้นปรับตัวและบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม
 
เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2567 นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
 (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกันยายน 2567 อยู่ที่ระดับ 92.44 หดตัวร้อยละ 3.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 57.47 ส่งผลให้ดัชนี MPI ไตรมาส 3 ปี 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 94.74 หดตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.23 และมีอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 58.29 หดตัวเฉลี่ยร้อยละ 0.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตยานยนต์ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 ทั้งตลาดภายในประเทศและการส่งออก จากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว กำลังซื้ออ่อนแอ หนี้ครัวเรือนสูง และสถานการณ์หนี้สงสัยจะสูญ (NPL) ยังอยู่ในระดับที่สูง ทำให้สถาบันการเงินยังเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อและยอดปฏิเสธสินเชื่ออยู่ในระดับสูง ขณะเดียวกันต้นทุนพลังงานอยู่ในระดับสูง และปัญหาสินค้านำเข้าราคาถูกมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาถูกกว่าสินค้าของไทย โดยเฉพาะการเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางแพลตฟอร์มออนไลน์กระทบผู้ประกอบการไทย ซึ่งสินค้านำเข้าที่ทะลักเข้ามามาก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ และเสื้อผ้า เป็นต้น ขณะที่ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถัง และอากาศยานรบ) ขยายตัวร้อยละ 2.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และไตรมาส 3 ปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 7.05
 
ขณะที่ด้านการเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของไทยเดือนตุลาคม 2567 ส่งสัญญาณเฝ้าระวังเพิ่มขึ้น โดยปัจจัยภายในประเทศส่งสัญญาณเฝ้าระวังเพิ่มขึ้น ตามการลงทุนภาคเอกชนและความเชื่อมั่นทางธุรกิจในภาคการผลิตที่ลดลง ผู้ประกอบการยังคงมีความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากกำลังซื้อที่อ่อนแอ และผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศส่งสัญญาณเฝ้าระวังเพิ่มขึ้น จากภาคการผลิตของสหภาพยุโรปที่ยังคงหดตัว รวมถึงสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา และความกังวลต่อผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี
 
โดยประเด็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐมีผลต่ออุตสาหกรรมไทยนั้น มองว่ามีทั้งได้รับอานิสงส์และอาจจะได้รับผลกระทบ ดังนั้น สศอ. จึงมีข้อเสนอแนะแก่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมไทยเพื่อให้สามารถปรับตัวและบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสม ได้แก่ 1. ปรับตัวสู่เทคโนโลยีพลังงานสะอาด และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน 2. พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิต โดยตรวจสอบและปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดการใช้พลังงาน  หรือการสูญเสียพลังงานในแต่ละขั้นตอนเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต 3.นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิล 4. ผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาดโลก โดยต้องมีความเข้าใจความต้องการและสามารถจัดการกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และ 5. พัฒนาแรงงานโดยสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็นให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร (Reskill) พัฒนาเพื่อยกระดับทักษะที่มีอยู่เดิมให้ดียิ่งขึ้น (Upskill) เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ นำมาประยุกต์ใช้กับการทำงาน (Newskill) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะของแรงงานให้ตรงตามความต้องการของตลาดโลก
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลบวกต่อดัชนีผลผลิตเดือนกันยายน 2567 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่
 
- ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.54 จากน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว น้ำมันเครื่องบิน และน้ำมันเบนซิน เป็นหลัก จากการผลิตกลับมาเป็นปกติในปีนี้หลังผู้ผลิตบางรายหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในปีก่อน
 
- สัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 49.96 จากปลาทูน่ากระป๋อง เป็นหลัก ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากอเมริกา แคนาดา และออสเตรเลีย เพื่อสต็อกสินค้าไว้รองรับความต้องการในช่วงเทศกาลและวันหยุดปลายปี ส่งผลให้ตลาดส่งออกขยายตัว
 
- เครื่องจักรอื่นๆ ที่ใช้งานทั่วไป ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.73 จากเครื่องปรับอากาศ เป็นหลัก ตามสภาพอากาศทั่วโลกที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น ลูกค้าจากสหรัฐอเมริกาเร่งให้ส่งมอบสินค้า และผู้ผลิตพัฒนาสินค้าได้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลลบต่อดัชนีผลผลิตเดือนกันยายน 2567 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่
 
- ยานยนต์ หดตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23.48 จากรถบรรทุกปิคอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก รถยนต์ไฮบริดขนาดมากกว่า 1800 ซีซี เป็นหลัก ตามการหดตัวของตลาดในประเทศและตลาดส่งออก จากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว กำลังซื้ออ่อนแอ หนี้ครัวเรือนสูง และสถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ
 
- ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หดตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.54 จาก Integrated circuits (IC) เป็นหลัก ตามคำสั่งซื้อที่ลดลงและบริษัทแม่ในต่างประเทศยังไม่ฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจ ต่างจากสินค้าเซมิคอนดักเตอร์ที่ค่อยๆฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
 
- คอนกรีต ปูนซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ หดตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.96 จากพื้นสำเร็จรูปคอนกรีตและเสาเข็มคอนกรีต เป็นหลัก ตามการชะลอตัวของโครงการก่อสร้างของภาครัฐและอสังหาริมทรัพย์ในภาคเอกชน ตามภาวะเศรษฐกิจหนี้ครัวเรือนสูง สถาบันการเงินเข้มงวดอนุมัติสินเชื่อ ขณะที่ราคาที่อยู่อาศัยและวัสดุก่อสร้างปรับตัวเพิ่มขึ้น
 
#ข่าววันนี้ #หนี้ครัวเรือน #เอ็นพีแอล #ดัชนีMPI #สยามรัฐ #สยามรัฐออนไลน์ #แบงก์เข้มสินเชื่อ #เลือกตั้ง



ผู้เชี่ยวชาญยืนยัน ปัญหา “เกาะกูด” ต้องตีเส้นใหม่ มิฉะนั้นเสียให้กัมพูชา
https://www.pptvhd36.com/news/การเมือง/235590

ผู้เชี่ยวชาญเปิดเผยว่า ปัญหา “เกาะกูด” ขณะนี้ เกิดจากบันทึกความร่วมมือ MOU 44 และเส้นที่กัมพูชาเป็นฝ่ายลากผ่านเกะกูดทั้งที่ควรอ้อมหลบ
เรื่องของ “เกาะกูด” คือประเด็นใหญ่ที่ถกเถียงกันมายยาวนานมากกว่า 20 ปี เนื่องจากหลายฝ่ายมองว่า เป็นเรื่องอ่อนไหว เป็นเรื่องของความมั่นคง แม้จะบอกว่าเป็นการแบ่งปันผลประโยชน์ใต้ทะเล แต่เชื่อกันว่าอาจทำให้เกิดการเสียดินแดนบริเวณเกาะกูดไป
 
นี่จึงนำไปสู่การคาดการณ์ว่า เรื่องของเกาะกูดนี้ ในท้ายที่สุด จะส่งผลให้เกิดการล่มสลายของรัฐบาลแพทองธารได้ รายการExclusive Talk คุยข้ามช็อตเส้นแบ่งพื้นที่ผลประโยชน์ร่วมไทย-กัมพูชาตอนนี้ลากผ่าครึ่งเกาะกูด โดยใช้ข้ออ้างเรื่องสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสและบันทึกความร่วมมือ MOU 44
 
ที่ผ่านมา อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ส่งสัญญาณชัดเจนว่า ทรัพยากรน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติใต้ทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชาควรนำมาแบ่งผลประโยชน์กัน และควรทำเร่งด่วน เพราะในอีก 10-20 ปีข้างหน้า พลังงานเหล่านี้อาจล้าสมัย อาจไม่มีมูลค่าอีกต่อไป
 
นายทักษิณเคยกล่าวบนเวทีเมื่อเดือน ส.ค. ว่า “เขตทับซ้อนทางทะเล มันไม่ใช่เรื่องเส้นเขตแดน หลักการคือ ประเทศเราอยู่ตรงนี้ มีไหล่ทวีป ลากออกไป 200 ไมล์ทะเล เพื่อนบ้านอย่างกัมพูชาไหล่ทวีปอยู่ตรงนู้น ลากออกมา 2000 ไมล์ทะเล เกยตรงไหนก็เป็นพื้นที่ทับซ้อน ตรงนั้นถ้ามีทรัพยากร ถือว่าแบ่งกันคนละ 50-50 เหมือนที่เราทำกับมาเลเซียมาแล้ว เป็นสิ่งที่คงต้องทำ ไม่อย่างนั้นน้ำมันกับก๊าซธรรมชาติที่มีตรงนั้นไม่เกิน 20 ปีใช้ไม่ได้แล้ว เป็นการทิ้งสมบัติใต้ดิน

ปัญหามีเรื่องเดียว คือต้อง “ตีเส้นใหม่”
 
พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวในรายการเข้มข่าวเย็น ช่วง Exclusive Talk ทางช่อง PPTV HD 36 วันที่ 29 ต.ค. 67 ว่า เรื่องนี้มีความอ่อนไหวสูงมาก เกี่ยวข้องกับอธิปไตยของประเทศไทย เพราะในบันทึกความร่วมมือ MOU 44 มีการพูดถึงเส้นเขตแดนและพื้นที่ทับซ้อน
 
พูดเรื่องเดียวพอสิ พูดทำไมเรื่องเส้นเขตแดน เวลาทำงานแล้วพูดว่าพื้นที่ไหนต้องวัด มันคือเกี่ยวกับเส้นเขตแดน ถึงบอกต้องดูให้ชัดเส้นเขตแดนแต่ละฝ่าย ดึงยังไง ทับซ้อนตรงไหน” พล.ท.ภราดรกล่าว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่