฿฿&& กรณีศึกษาเรื่องท่าน ว. คือ การไม่ปฏิบัติตามพระพุทธดำรัสที่ทรงสอนว่า ถ้ายังไม่รู้จริง ทำไม่ได้ ก็อย่าริไปสอนใคร &&฿฿

ดูพระพุทธศาสนสุภาษิตข้างล่าง -->

"อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺ มนุสาสติ
สุทนฺโต วต ทเมถ อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม."
 = ถ้าสอนผู้อื่นฉันใด พึงทำตนฉันนั้น ผู้ฝึกตนดีแล้ว
ควรฝึกผู้อื่น ได้ยินว่าตนแลฝึกยาก
"อตฺตานเมว ปฐมํ ปฏิรูเป นิเวสเย
อถญฺญมนุสาเสยฺย น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต."
 = บัณฑิตพึงตั้งตนนั่นแล ในคุณอันสมควรก่อน,
พึงสั่งสอนผู้อื่นในภายหลัง จะไม่พึงเศร้าหมอง.
----------------------------------
จาก...(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/ ๓๖.
----------------------------------
.................................................................
ท่านว. ท่านไม่มีความรู้เรื่องการลงทุน ดันเกิดอาการคนองปาก ไปสอนมั่วๆแบบนั้น ก็เลยซวย..(ถ้าท่านรู้หลักการลงทุนซะหน่อย คงไม่แนะนำไปแบบนั้น)
ผมดูทีวีเกี่ยวกับช่องตลาดหุ้น ที่วอลสตรีท ตลอดวัน ทุกๆวัน...เคยเห็นตอนหนึ่งที่บรรดากุรุเซียนหุ้นมาคุยกัน
ตอนหนึ่งเขาพูดว่า ...ใครที่ลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนต่อปี ประมาณ 20 % ต่อปี  หลายปี ติดๆกัน  ก็นับว่าคนนั้น เป็นระดับปรมาจารย์ได้เลย (ประเภทเซียนเรียกซือแป๋ ว่างั้นเถอะ) เพราะทำได้ยากมากๆ ...ไม่อาจจะเป็นไปได้เลย ที่ใครๆจะลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนมากมาย ทันที ปุ๊ปปั๊ป แบบที่ท่านว. บอก
ท่านว. คงไม่รู้ความจริงพื้นฐานเกี่ยวกับผลตอบแทนจากการลงทุน  จึงพูดคนองปากมั่วซั่ว  แนะนำสิ่งผิดๆออกไป และบังเอิญบริษัทไอค่อนที่ท่านแนะนำ กลายเป็นพวกมิจฉาชีพ (ซึ่งประเด็นนี้ ท่านคงไม่รู้ว่าบริษัทนี้เป็นกลุ่มมิจฉาชีพ) .. แต่ที่ท่านแนะนำไปนั้น มันเข้าข่ายผิดกฏกมาย  จึงโดนทนายเดชาจ้องดุดหัวอยู่ตอนนี้ ... รอดหรือไม่รอด  รอดูกัน...
................................................................
{ แต่..จริงๆแล้ว ในพระไตรปิฏก ก็มีการพูดถึงการทำให้ทรัพย์ที่เหลือเก็บเหลือใช้ ให้นำมาลงทุนให้เพิ่มทบทวีมากๆขึ้น  ปรากฏในหลักของ โภควิภาค 4 ที่อยู่ใน ฑีฆนิกาย ปาฏิกวรรค , พระสุตตันตปิฏก ...ซึ่งกล่าวถึง การเอาทรัพย์ที่หาได้มาโดยทางสุจริตนั้น แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ (๑) เอเกน โภเค ภุญฺเชยฺย ใช้จ่ายในการเลี้ยงตนเอง ครอบครัวและบุคคลที่ควรเลี้ยง ส่วนที่ (๒) และ ส่วนที่ (๓) ทฺวีหิ กมฺมํ ปโยชเย เอาสองส่วนนี้ มาทำให้ทรัพย์สินเพิ่มพูนมากขึ้น ซึ่งหมายถึงการรู้จักลงทุนนั่นเอง ซึ่งในสมัยพุทธกาล ยังไม่มีตลาดหุ้น ข้อนี้จึงหมายถึงการรู้จักทำการค้าขาย นั่นแหละ ส่วนที่ (๔) จตุตฺถญฺจ นิธาเปยฺย เก็บไว้ใช้เผื่อยามจำเป็นต้องใช้ในเรื่องที่คาดไม่ถึง }
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่