ใครที่ได้ติดตามข่าวเศรษฐกิจในช่วงไม่กี่วันมานี้ อาจจะตกใจกับค่าเงินบาทพอสมควร เพราะเพียงไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ ค่าเงินบาทแข็งค่า จนหลุดจากกรอบ 33 บาท ลงมาอยู่ในกรอบ 32 บาทแล้ว พร้อมกับค่าเงินบาทที่แข็งทำสถิติใหม่
โดยเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา เงินบาท เปิดตลาดแข็งค่าอยู่ที่ระดับ 32.45 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทำสถิติแข็งค่าสุดรอบ 31 เดือน นับตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2565 (อ้างอิง ห้องค้ากสิกรไทย)
หลายคนอาจสงสัยว่า ค่าเงินบาทแข็ง-ค่าเงินบาทอ่อน คืออะไร เกี่ยวอะไรกับเรา ๆ ทุกคน และค่าเงินบาทแข็งหรืออ่อน จะกระทบกับเรายังไง
Prachachat BITE SIZE พาไปเรียนรู้ด้วยกัน
ทำความเข้าใจ “ค่าเงินบาท”
ก่อนอื่นพามาทำความเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า “ค่าเงินบาท” หรืออัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน คือ ราคาของเงินสกุลหนึ่งเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง มีทั้งสกุลเงินท้องถิ่น กับสกุลเงินต่างประเทศ ซึ่งสำหรับประเทศไทย “ค่าเงินบาท” คือสกุลเงินท้องถิ่น ส่วนสกุลเงินต่างประเทศ ก็ตรงตัว เป็นสกุลเงินที่มาจากต่างประเทศ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์สิงคโปร์ หยวน เยน ริงกิต
อัตราแลกเปลี่ยน เป็นเรื่องสำคัญของคนทำธุรกิจที่ต้องค้าขายกับต่างประเทศ นำเข้า-ส่งออก เพราะต้องรับเงินเป็นสกุลต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน มีผลอย่างมากต่อรายได้ รายจ่าย และผลกำไร-ขาดทุนของธุรกิจ
สำหรับประเทศไทย ระบบอัตราแลกเปลี่ยน ถ้าจำกันได้ช่วงก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 2540 เราใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่แบบอิงตะกร้าเงิน ผูกกับค่าเงินสกุลต่าง ๆ ณ ตอนนั้น ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 24-26 บาท และเราใช้ระบบนี้มาตั้งแต่ปี 2527 ก่อนที่จะเจอแรงโจมตีค่าเงินบาทอย่างหนัก ช่วงปี 2538-ต้นปี 2540 จนเกิดปัญหากับค่าเงินบาท
ทำให้แบงก์ชาติ และกระทรวงการคลัง ตัดสินใจประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็น “ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการบริหารจัดการ (Managed Float)” ตั้งแต่ 2 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน
ระบบดังกล่าว คือ ค่าเงินบาทจะเป็นไปตามกลไกตลาด ความต้องการซื้อ-ขายเงินต่างประเทศ และสะท้อนสภาวะเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้น
ขณะเดียวกัน แบงก์ชาติอาจจะเข้าแทรกแซงบ้าง เท่าที่จำเป็น เพื่อไม่ให้เกิดความผันผวนที่มากเกินไป จนผู้เกี่ยวข้องตั้งรับไม่ทัน
เงินบาท “แข็ง-อ่อน” ใครได้-ใครเสีย ?
เมื่อพูดถึงค่าเงินบาทแล้ว คำที่มักจะคุ้นหู คุ้นตากันบ่อย ๆ เวลาพูดถึงสิ่ง ๆ นี้ คือ ค่าเงินบาทแข็ง หรือ ค่าเงินบาทอ่อน
และเชื่อว่าหลายคนคงสงสัยและสับสนว่า หมายความว่ายังไง แล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้างจากการที่ค่าเงินแข็ง-อ่อน เมื่อเทียบกับสกุลเงินหนึ่ง
ตัวอย่าง : ค่าเงินบาทอยู่ที่ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
หากค่าเงินขยับมาอยู่ที่ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สิ่งนี้คือ ค่าเงินบาทแข็ง คือเราใช้เงินบาทน้อยลงในการแลกสกุลเงินอื่น หรือเงินบาทมีค่ามากขึ้น เงินบาทมีค่าแพงขึ้นในการแลกสกุลเงิน แต่หากค่าเงินขยับไปที่ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จะเป็นค่าเงินบาทอ่อนแทน คือเราใช้เงินบาทมากขึ้นเพื่อแลกสกุลเงินอื่น หรือเงินบาทมีค่าลดลง มีค่าถูกลงในการแลกสกุลเงิน
และค่าเงินที่แข็งหรืออ่อน ก็มีคนที่ได้ประโยชน์ มีคนที่เสียประโยชน์แตกต่างกันไป
กรณีค่าเงินบาทแข็ง คนที่ได้ประโยชน์ส่วนใหญ่เลย คือ คนที่ต้องจ่ายออกไป เช่น ผู้นำเข้า จ่ายเท่าเดิม ได้ของเพิ่มขึ้น หรือนำเข้าเท่าเดิม แต่จ่ายถูกลง นักลงทุน นำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ ในราคาที่ถูกลง คนที่เป็นหนี้ต่างประเทศ จ่ายหนี้เท่าเดิม แต่ใช้เงินบาทน้อยลง หรือคนไทยที่ไปเที่ยว ไปเรียนต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายจะถูกลง เมื่อเทียบเป็นเงินบาท
ส่วนคนที่เสียประโยชน์จากค่าเงินบาทแข็ง คือ ผู้ส่งออก คนทำงานต่างประเทศ เพราะพวกเขาจะแลกเงินต่างประเทศมาเป็นเงินบาทไทยได้น้อยลง
ขณะที่หากค่าเงินบาทอ่อน ผู้ส่งออก คนทำงานต่างประเทศ จะแลกเงินต่างประเทศมาเป็นเงินไทยได้มากขึ้น
แต่คนที่ต้องจ่ายออกไป ก็ต้องใช้เงินมากขึ้น ผู้นำเข้า ต้องจ่ายมากขึ้นเพื่อนำเข้าของปริมาณเท่าเดิม หรือจ่ายเท่าเดิม แต่ได้ของน้อยลง หรือคนที่ต้องจ่ายหนี้ คนที่ไปเที่ยว ไปเรียนต่างประเทศ จะต้องใช้เงินบาทมากขึ้นด้วย
ปัจจัยที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท มีทั้งปัจจัยภายนอกประเทศ เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจและนโยบายการเงินของประเทศหลัก นโยบายการค้าระหว่างประเทศ การเมืองและภูมิรัฐศาสตร์ และปัจจัยภายในประเทศ เช่น ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพด้านต่างประเทศ และเสถียรภาพทางการเมือง
แบงก์ชาติจับตา เงินบาทแข็ง
กลับมาที่สถานการณ์บ้านเรา หลังจากค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง ทำให้หลาย ๆ ฝ่าย ภาคเอกชน หรือคนในรัฐบาล ออกมาเรียกร้องให้แบงก์ชาติรีบดูแลสถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งโดยเร็ว
ห้องค้ากสิกรไทย มอง 3 ปัจจัยหลักที่ทำให้ค่าเงินแข็งไปได้ขนาดนั้น มีตั้งแต่ราคาทองคำ ทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 2,664 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ การประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่ของจีน ทั้งการลดดอกเบี้ย ลด RRR และการออกมาตรการหนุนตลาดหุ้น แรงหนุนทำให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้นแรง
และแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลัก โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ตลาดคาดจะลดดอกเบี้ยในอัตราสูง 50 bps ต่อเนื่องในการประชุมเดือนพฤศจิกายนด้วย
พิมพ์พันธ์ เจริญขวัญ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกว่า ช่วงที่ผ่านมาเงินบาทผันผวนมากขึ้น โดยปรับแข็งค่าขึ้น 3.8% ตั้งแต่ต้นปี และปรับแข็งค่าเร็วอยู่ในกลุ่มนำสกุลภูมิภาคในไตรมาส 3 จากปัจจัยภายนอก
ตั้งแต่การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ หลังธนาคารกลางสหรัฐ (FED) มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากกว่าการคาดการณ์ของตลาด และการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของทางการจีนที่ส่งผลเชิงบวกต่อทิศทางเงินสกุลภูมิภาค
และยังมีปัจจัยในประเทศ ทั้งเงินลงทุนต่างชาติที่เริ่มไหลกลับเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ไทยตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิงหาคม รวมถึงราคาทองคำที่ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดใหม่เมื่อ 25 กันยายนที่ผ่านมา อยู่ที่ 2,670 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ทางแบงก์ชาติ ระบุว่า ติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด และพร้อมเข้าดูแลเมื่อเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนมากผิดปกติ เพื่อลดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเศรษฐกิจจริง
เรื่องอัตราแลกเปลี่ยน บางทีเราคาดเดาได้ยากจากหลายปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
การเข้าใจอัตราแลกเปลี่ยน และการบริหารความเสี่ยง จึงเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อลดความเสียง ลดผลกระทบด้านลบกลับมาที่เงินในกระเป๋าหรือธุรกิจของเรา
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/finance/news-1662944
BITE SIZE : ค่าเงินบาทแข็ง-ค่าเงินบาทอ่อน คืออะไร ใครได้-ใครเสีย ?
โดยเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา เงินบาท เปิดตลาดแข็งค่าอยู่ที่ระดับ 32.45 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทำสถิติแข็งค่าสุดรอบ 31 เดือน นับตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2565 (อ้างอิง ห้องค้ากสิกรไทย)
หลายคนอาจสงสัยว่า ค่าเงินบาทแข็ง-ค่าเงินบาทอ่อน คืออะไร เกี่ยวอะไรกับเรา ๆ ทุกคน และค่าเงินบาทแข็งหรืออ่อน จะกระทบกับเรายังไง
Prachachat BITE SIZE พาไปเรียนรู้ด้วยกัน
ทำความเข้าใจ “ค่าเงินบาท”
ก่อนอื่นพามาทำความเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า “ค่าเงินบาท” หรืออัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน คือ ราคาของเงินสกุลหนึ่งเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง มีทั้งสกุลเงินท้องถิ่น กับสกุลเงินต่างประเทศ ซึ่งสำหรับประเทศไทย “ค่าเงินบาท” คือสกุลเงินท้องถิ่น ส่วนสกุลเงินต่างประเทศ ก็ตรงตัว เป็นสกุลเงินที่มาจากต่างประเทศ เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์สิงคโปร์ หยวน เยน ริงกิต
อัตราแลกเปลี่ยน เป็นเรื่องสำคัญของคนทำธุรกิจที่ต้องค้าขายกับต่างประเทศ นำเข้า-ส่งออก เพราะต้องรับเงินเป็นสกุลต่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน มีผลอย่างมากต่อรายได้ รายจ่าย และผลกำไร-ขาดทุนของธุรกิจ
สำหรับประเทศไทย ระบบอัตราแลกเปลี่ยน ถ้าจำกันได้ช่วงก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 2540 เราใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่แบบอิงตะกร้าเงิน ผูกกับค่าเงินสกุลต่าง ๆ ณ ตอนนั้น ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 24-26 บาท และเราใช้ระบบนี้มาตั้งแต่ปี 2527 ก่อนที่จะเจอแรงโจมตีค่าเงินบาทอย่างหนัก ช่วงปี 2538-ต้นปี 2540 จนเกิดปัญหากับค่าเงินบาท
ทำให้แบงก์ชาติ และกระทรวงการคลัง ตัดสินใจประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็น “ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการบริหารจัดการ (Managed Float)” ตั้งแต่ 2 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน
ระบบดังกล่าว คือ ค่าเงินบาทจะเป็นไปตามกลไกตลาด ความต้องการซื้อ-ขายเงินต่างประเทศ และสะท้อนสภาวะเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้น
ขณะเดียวกัน แบงก์ชาติอาจจะเข้าแทรกแซงบ้าง เท่าที่จำเป็น เพื่อไม่ให้เกิดความผันผวนที่มากเกินไป จนผู้เกี่ยวข้องตั้งรับไม่ทัน
เงินบาท “แข็ง-อ่อน” ใครได้-ใครเสีย ?
เมื่อพูดถึงค่าเงินบาทแล้ว คำที่มักจะคุ้นหู คุ้นตากันบ่อย ๆ เวลาพูดถึงสิ่ง ๆ นี้ คือ ค่าเงินบาทแข็ง หรือ ค่าเงินบาทอ่อน
และเชื่อว่าหลายคนคงสงสัยและสับสนว่า หมายความว่ายังไง แล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้างจากการที่ค่าเงินแข็ง-อ่อน เมื่อเทียบกับสกุลเงินหนึ่ง
ตัวอย่าง : ค่าเงินบาทอยู่ที่ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
หากค่าเงินขยับมาอยู่ที่ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สิ่งนี้คือ ค่าเงินบาทแข็ง คือเราใช้เงินบาทน้อยลงในการแลกสกุลเงินอื่น หรือเงินบาทมีค่ามากขึ้น เงินบาทมีค่าแพงขึ้นในการแลกสกุลเงิน แต่หากค่าเงินขยับไปที่ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จะเป็นค่าเงินบาทอ่อนแทน คือเราใช้เงินบาทมากขึ้นเพื่อแลกสกุลเงินอื่น หรือเงินบาทมีค่าลดลง มีค่าถูกลงในการแลกสกุลเงิน
และค่าเงินที่แข็งหรืออ่อน ก็มีคนที่ได้ประโยชน์ มีคนที่เสียประโยชน์แตกต่างกันไป
กรณีค่าเงินบาทแข็ง คนที่ได้ประโยชน์ส่วนใหญ่เลย คือ คนที่ต้องจ่ายออกไป เช่น ผู้นำเข้า จ่ายเท่าเดิม ได้ของเพิ่มขึ้น หรือนำเข้าเท่าเดิม แต่จ่ายถูกลง นักลงทุน นำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ ในราคาที่ถูกลง คนที่เป็นหนี้ต่างประเทศ จ่ายหนี้เท่าเดิม แต่ใช้เงินบาทน้อยลง หรือคนไทยที่ไปเที่ยว ไปเรียนต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายจะถูกลง เมื่อเทียบเป็นเงินบาท
ส่วนคนที่เสียประโยชน์จากค่าเงินบาทแข็ง คือ ผู้ส่งออก คนทำงานต่างประเทศ เพราะพวกเขาจะแลกเงินต่างประเทศมาเป็นเงินบาทไทยได้น้อยลง
ขณะที่หากค่าเงินบาทอ่อน ผู้ส่งออก คนทำงานต่างประเทศ จะแลกเงินต่างประเทศมาเป็นเงินไทยได้มากขึ้น
แต่คนที่ต้องจ่ายออกไป ก็ต้องใช้เงินมากขึ้น ผู้นำเข้า ต้องจ่ายมากขึ้นเพื่อนำเข้าของปริมาณเท่าเดิม หรือจ่ายเท่าเดิม แต่ได้ของน้อยลง หรือคนที่ต้องจ่ายหนี้ คนที่ไปเที่ยว ไปเรียนต่างประเทศ จะต้องใช้เงินบาทมากขึ้นด้วย
ปัจจัยที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท มีทั้งปัจจัยภายนอกประเทศ เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจและนโยบายการเงินของประเทศหลัก นโยบายการค้าระหว่างประเทศ การเมืองและภูมิรัฐศาสตร์ และปัจจัยภายในประเทศ เช่น ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพด้านต่างประเทศ และเสถียรภาพทางการเมือง
แบงก์ชาติจับตา เงินบาทแข็ง
กลับมาที่สถานการณ์บ้านเรา หลังจากค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง ทำให้หลาย ๆ ฝ่าย ภาคเอกชน หรือคนในรัฐบาล ออกมาเรียกร้องให้แบงก์ชาติรีบดูแลสถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งโดยเร็ว
ห้องค้ากสิกรไทย มอง 3 ปัจจัยหลักที่ทำให้ค่าเงินแข็งไปได้ขนาดนั้น มีตั้งแต่ราคาทองคำ ทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 2,664 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ การประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่ของจีน ทั้งการลดดอกเบี้ย ลด RRR และการออกมาตรการหนุนตลาดหุ้น แรงหนุนทำให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้นแรง
และแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางหลัก โดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ตลาดคาดจะลดดอกเบี้ยในอัตราสูง 50 bps ต่อเนื่องในการประชุมเดือนพฤศจิกายนด้วย
พิมพ์พันธ์ เจริญขวัญ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกว่า ช่วงที่ผ่านมาเงินบาทผันผวนมากขึ้น โดยปรับแข็งค่าขึ้น 3.8% ตั้งแต่ต้นปี และปรับแข็งค่าเร็วอยู่ในกลุ่มนำสกุลภูมิภาคในไตรมาส 3 จากปัจจัยภายนอก
ตั้งแต่การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ หลังธนาคารกลางสหรัฐ (FED) มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมากกว่าการคาดการณ์ของตลาด และการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของทางการจีนที่ส่งผลเชิงบวกต่อทิศทางเงินสกุลภูมิภาค
และยังมีปัจจัยในประเทศ ทั้งเงินลงทุนต่างชาติที่เริ่มไหลกลับเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ไทยตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิงหาคม รวมถึงราคาทองคำที่ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดใหม่เมื่อ 25 กันยายนที่ผ่านมา อยู่ที่ 2,670 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ทางแบงก์ชาติ ระบุว่า ติดตามสถานการณ์ค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด และพร้อมเข้าดูแลเมื่อเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนมากผิดปกติ เพื่อลดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเศรษฐกิจจริง
เรื่องอัตราแลกเปลี่ยน บางทีเราคาดเดาได้ยากจากหลายปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
การเข้าใจอัตราแลกเปลี่ยน และการบริหารความเสี่ยง จึงเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อลดความเสียง ลดผลกระทบด้านลบกลับมาที่เงินในกระเป๋าหรือธุรกิจของเรา
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/finance/news-1662944