WORLD: รู้ไหม ที่สวีเดนและนอร์เวย์
คุณสามารถเข้าป่าไปกางเต็นท์ที่ไหนก็ได้
โดยไม่ต้องขออนุญาตใครทั้งนั้น
แม้แต่ในที่ดินที่มี 'เจ้าของ'
.
เมื่อนึกถึงป่าคุณนึกถึงอะไร? สำหรับคนไทยจำนวนมากพูดถึงป่าก็จะนึกถึงเรื่องผีหรือเรื่องลี้ลับ ป่าไม่ใช่พื้นที่ที่คนทั่วไปจะไปเดินเล่น เพราะการไปเดินป่าซี้ซั้วก็อาจผิดกฎหมายป่าสงวน ทำให้ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล
.
อย่างไรก็ดี บางพื้นที่ในโลกนี้ เขากลับมองว่าป่าคือพื้นที่สาธารณะ ที่คนควรจะรู้สึกว่าเข้าไปเดินเล่นเมื่อไหร่ก็ได้ และมันไม่ใช่ 'สถานที่อันตราย' แบบที่จะต้องกลัวถ้าหากต้องย่างกรายเข้าไป
.
และเรากำลังพูดถึง ‘สวีเดน’ หรือให้ตรงก็คือประเทศยุโรปเหนือโดยรวมๆ ทั้งหมด
.
ประเทศกลุ่มนี้จะมีสิทธิที่เรียกรวมๆ เป็นภาษาอังกฤษว่า ‘Freedom to Roam’ ซึ่งก็ไม่ตรงนัก เพราะแม้แต่โลกภาษาอังกฤษก็ไม่มีคอนเซ็ปต์นี้ และชื่อคอนเซ็ปต์จริงๆ นั้นจะมีในแต่ละภาษา เช่น สวีเดนเรียกว่า ‘Allemansrätten’ นอร์เวย์เรียก ‘Allemannsretten’ ฟินแลนด์เรียก ‘Jokamiehenoikeus’ ซึ่งคำแปลรวมๆ จะแปลว่า 'สิทธิสำหรับมนุษย์ทุกคน'
.
แล้วมันคืออะไร? ไอเดียหลักของสิทธินี้ก็คือ คนทุกคนมีสิทธิ์จะ 'เข้าป่า' ไปเดินเล่น ว่ายน้ำ เก็บเบอร์รี กางเต็นท์ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตใครทั้งนั้น และไม่จำเป็นต้องรู้ด้วยว่าพื้นที่ที่ตัวเองเดินเข้าไปเป็นของสาธารณะหรือเป็นของเอกชน
.
โดยสิทธินี้ไม่ได้เกิดมาลอยๆ แบบรัฐมอบให้ถึงจะมี แต่เป็นสิทธิตามประเพณีมาหลายร้อยปี และในที่สุดก็ถูกบัญญัติออกมาเป็นกฎหมายสมัยใหม่ทับไปอีกทีนั่นเอง
.
สำหรับชาวไทย เราที่เติบโตมากับสังคมไทยที่เดินเข้าป่าไปก็อาจผิดกฎหมายป่าสงวน และคุ้นกับวัฒนธรรมอเมริกันที่เดินซี้ซั้วเข้าไปในที่ดินของใครก็อาจโดนปืนลูกซองยิงขู่ได้ ก็อาจจะงง เพราะนี่เป็นสิ่งที่แทบจะตรงกันข้ามกับความเข้าใจเรื่อง 'สิทธิ' ในที่ดินแบบของเราอย่างสิ้นเชิง
.
แต่ชาวยุโรปเหนือเขามีเหตุผลของเขา และเราจะเล่าให้ฟัง
.
ต้องเข้าใจก่อนว่า ในโซนยุโรปเหนือ พื้นที่ใหญ่สุดเป็นป่า ดินแดนส่วนใหญ่ไม่มีคนอยู่อาศัย ซึ่งแค่ปัจจุบันนี้ ประเทศที่เจริญและประชากรหนาแน่นสุดอย่างสวีเดนนั้นมีพื้นที่พอๆ กับไทย แต่ประชากรของเขามีแค่ 10 ล้านคน ในขณะที่ไทยมีเกือบ 70 ล้านคน
.
ดังนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่มันคือป่า เป็นแบบนี้มาตั้งแต่อดีต และคนของเขาในยุคโบราณก็มีธรรมเนียมการเข้าป่าเพื่อไปเดินเล่นหรือหาของป่าอะไรก็ได้ เพราะป่าคือพื้นที่ที่รัฐไม่ได้อ้างว่าเป็นของตน และห้ามคนทั่วไปเข้าถึง (อย่างที่อังกฤษเป็น)
.
ถ้าจะพูดง่ายๆ สำหรับคนสวีเดน ป่าคือสวนหลังบ้านของทุกคน ที่ใครจะเข้าไปเดินเล่นก็ได้ ซึ่งสวีเดนก็เป็นชาติที่โปรโมตเรื่องนี้ในระดับที่การท่องเที่ยวสวีเดนเคยลิสต์สวีเดนทั้งประเทศไว้บน Airbnb เพื่อจะสื่อว่าใครจะพักที่ไหนก็ได้ในสวีเดน
.
และนั่นรวมถึง 'ที่ที่มีเจ้าของ' ด้วย อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจตาลุกด้วยความสงสัยว่า การอนุญาตให้ใครก็ได้เข้าไปในพื้นที่ที่มีเจ้าของ มันจะไม่ทำให้วุ่ยวายหรอกหรือ?
.
จริงๆ มันมี 'ธรรมเนียม' รวมถึง 'ข้อห้าม' อยู่
.
อย่างแรกเลยคือ ห้ามทิ้งขยะ และไปรบกวนหรือทำอันตรายต้นไม้และสัตว์ป่า นี่คือสิ่งที่เขาเข้าใจร่วมกัน อย่างที่สองคือ ถ้าจะตั้งแคมป์ ก็ห้ามตั้งถาวรและต้องตั้งห่างจาก 'ที่พักอาศัย' ของผู้คน ซึ่งตรงนี้ระเบียบของแต่ละประเทศเรื่องตั้งแคมป์ได้กี่วันก็ต่างกันไป บางประเทศให้ 1 วัน บางประเทศให้ 2 วัน บางประเทศกำหนดว่าระยะห่างจาก 'บ้านคน' ที่จะตั้งแคมป์ได้คือ 70 เมตร บางประเทศบอก 150 เมตร แต่หลักการพื้นฐานนั้นเหมือนกัน
.
นี่คือหลักการพื้นฐาน ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็ต่างกันไปในรายละเอียด บางประเทศก็บอกว่าจะเก็บเบอร์รีหรือเห็ดอะไรกินก็ได้ บางประเทศก็จะมีข้อห้ามเก็บพืชบางชนิดกิน และก็จะมีข้อกำหนดว่าห้ามก่อไฟเป็นอันขาด หรือห้ามก่อไฟในบางฤดู เป็นต้น
.
ประเด็นคือ กฎหมายพวกนี้ไม่ได้ตั้งขึ้นมาลอยๆ มันตั้งขึ้นจากธรรมเนียมปฏิบัติที่สังคมยอมรับร่วมกันมาเป็นร้อยๆ ปี ดังนั้นจึงไม่ยากที่จะทำให้คนปฏิบัติตาม
.
แต่หลายคนก็อาจสงสัยว่า แล้วทำไมพวกประเทศยุโรปเหนือถึงมี 'ธรรมเนียมแปลกๆ' นี้มาแต่แรก
.
ถ้าจะให้คาดเดา ก็น่าจะเป็นเพราะสิ่งแวดล้อมด้วย เนื่องจากประเทศแถบนี้หนาวมาก และมีหน้าหนาวอันมืดมิดและยาวนาน จึงทำให้คน 'ให้คุณค่า' กับชีวิตกลางแจ้งมากๆ เรียกได้ว่าถ้าวันไหนแดดออกและอากาศดี คนก็จะออกมา 'ใช้ชีวิตกลางแจ้ง' กัน และกิจกรรมยอดนิยมก็คือ เดินป่า เดินเขา เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ในประเทศเป็นป่าเขา
.
ผู้คนของเขามีวัฒนธรรมแบบนี้มาตั้งแต่อดีตกาล และคนก็คุ้นชินมาตั้งแต่ก่อนที่พื้นที่ต่างๆ จะ 'มีเจ้าของ' ซึ่งในทางกลับกัน ถ้าคนเห็นว่าป่าถูกถาง ถูกล้อมรั้ว มีการสร้างบ้าน เขาก็จะรู้ว่าคุณไม่สามารถเดินเข้าไปในบริเวณบ้านคนได้ (ไม่ต้องพูดถึงการไปตั้งแคมป์) นี่เป็นธรรมเนียมที่ยอมรับร่วมกันก่อนจะมีกฎหมาย
.
แต่เหนือสิ่งอื่นใด เรากำลังพูดถึงพื้นที่ที่อุณหภูมิเฉลี่ยหน้าร้อนสูงสุดคือ 15 องศาเซลเซียส และหน้าหนาวอุณหภูมิติดลบเป็นเรื่องปกติ และการจะไปกางเต็นท์อยู่กลางแจ้งได้ก็ต้องอึดพอควรเลย ดังนั้นถึงไม่มีกฎหมายห้าม คนที่ทรหดพอที่จะไปกางเต็นท์ตั้งแคมป์ก็มีไม่เยอะอยู่แล้ว
.
ขอบคุณรูปภาพจากเพื่อนสมาชิก
WORLD : รู้ไหม ที่สวีเดนและนอร์เวย์ คุณสามารถเข้าป่าไปกางเต็นท์ที่ไหนก็ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตใครทั้งนั้น
คุณสามารถเข้าป่าไปกางเต็นท์ที่ไหนก็ได้
โดยไม่ต้องขออนุญาตใครทั้งนั้น
แม้แต่ในที่ดินที่มี 'เจ้าของ'
เมื่อนึกถึงป่าคุณนึกถึงอะไร? สำหรับคนไทยจำนวนมากพูดถึงป่าก็จะนึกถึงเรื่องผีหรือเรื่องลี้ลับ ป่าไม่ใช่พื้นที่ที่คนทั่วไปจะไปเดินเล่น เพราะการไปเดินป่าซี้ซั้วก็อาจผิดกฎหมายป่าสงวน ทำให้ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล
.
อย่างไรก็ดี บางพื้นที่ในโลกนี้ เขากลับมองว่าป่าคือพื้นที่สาธารณะ ที่คนควรจะรู้สึกว่าเข้าไปเดินเล่นเมื่อไหร่ก็ได้ และมันไม่ใช่ 'สถานที่อันตราย' แบบที่จะต้องกลัวถ้าหากต้องย่างกรายเข้าไป
.
และเรากำลังพูดถึง ‘สวีเดน’ หรือให้ตรงก็คือประเทศยุโรปเหนือโดยรวมๆ ทั้งหมด
.
ประเทศกลุ่มนี้จะมีสิทธิที่เรียกรวมๆ เป็นภาษาอังกฤษว่า ‘Freedom to Roam’ ซึ่งก็ไม่ตรงนัก เพราะแม้แต่โลกภาษาอังกฤษก็ไม่มีคอนเซ็ปต์นี้ และชื่อคอนเซ็ปต์จริงๆ นั้นจะมีในแต่ละภาษา เช่น สวีเดนเรียกว่า ‘Allemansrätten’ นอร์เวย์เรียก ‘Allemannsretten’ ฟินแลนด์เรียก ‘Jokamiehenoikeus’ ซึ่งคำแปลรวมๆ จะแปลว่า 'สิทธิสำหรับมนุษย์ทุกคน'
.
แล้วมันคืออะไร? ไอเดียหลักของสิทธินี้ก็คือ คนทุกคนมีสิทธิ์จะ 'เข้าป่า' ไปเดินเล่น ว่ายน้ำ เก็บเบอร์รี กางเต็นท์ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตใครทั้งนั้น และไม่จำเป็นต้องรู้ด้วยว่าพื้นที่ที่ตัวเองเดินเข้าไปเป็นของสาธารณะหรือเป็นของเอกชน
.
โดยสิทธินี้ไม่ได้เกิดมาลอยๆ แบบรัฐมอบให้ถึงจะมี แต่เป็นสิทธิตามประเพณีมาหลายร้อยปี และในที่สุดก็ถูกบัญญัติออกมาเป็นกฎหมายสมัยใหม่ทับไปอีกทีนั่นเอง
.
สำหรับชาวไทย เราที่เติบโตมากับสังคมไทยที่เดินเข้าป่าไปก็อาจผิดกฎหมายป่าสงวน และคุ้นกับวัฒนธรรมอเมริกันที่เดินซี้ซั้วเข้าไปในที่ดินของใครก็อาจโดนปืนลูกซองยิงขู่ได้ ก็อาจจะงง เพราะนี่เป็นสิ่งที่แทบจะตรงกันข้ามกับความเข้าใจเรื่อง 'สิทธิ' ในที่ดินแบบของเราอย่างสิ้นเชิง
.
แต่ชาวยุโรปเหนือเขามีเหตุผลของเขา และเราจะเล่าให้ฟัง
.
ต้องเข้าใจก่อนว่า ในโซนยุโรปเหนือ พื้นที่ใหญ่สุดเป็นป่า ดินแดนส่วนใหญ่ไม่มีคนอยู่อาศัย ซึ่งแค่ปัจจุบันนี้ ประเทศที่เจริญและประชากรหนาแน่นสุดอย่างสวีเดนนั้นมีพื้นที่พอๆ กับไทย แต่ประชากรของเขามีแค่ 10 ล้านคน ในขณะที่ไทยมีเกือบ 70 ล้านคน
.
ดังนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่มันคือป่า เป็นแบบนี้มาตั้งแต่อดีต และคนของเขาในยุคโบราณก็มีธรรมเนียมการเข้าป่าเพื่อไปเดินเล่นหรือหาของป่าอะไรก็ได้ เพราะป่าคือพื้นที่ที่รัฐไม่ได้อ้างว่าเป็นของตน และห้ามคนทั่วไปเข้าถึง (อย่างที่อังกฤษเป็น)
.
ถ้าจะพูดง่ายๆ สำหรับคนสวีเดน ป่าคือสวนหลังบ้านของทุกคน ที่ใครจะเข้าไปเดินเล่นก็ได้ ซึ่งสวีเดนก็เป็นชาติที่โปรโมตเรื่องนี้ในระดับที่การท่องเที่ยวสวีเดนเคยลิสต์สวีเดนทั้งประเทศไว้บน Airbnb เพื่อจะสื่อว่าใครจะพักที่ไหนก็ได้ในสวีเดน
.
และนั่นรวมถึง 'ที่ที่มีเจ้าของ' ด้วย อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจตาลุกด้วยความสงสัยว่า การอนุญาตให้ใครก็ได้เข้าไปในพื้นที่ที่มีเจ้าของ มันจะไม่ทำให้วุ่ยวายหรอกหรือ?
.
จริงๆ มันมี 'ธรรมเนียม' รวมถึง 'ข้อห้าม' อยู่
.
อย่างแรกเลยคือ ห้ามทิ้งขยะ และไปรบกวนหรือทำอันตรายต้นไม้และสัตว์ป่า นี่คือสิ่งที่เขาเข้าใจร่วมกัน อย่างที่สองคือ ถ้าจะตั้งแคมป์ ก็ห้ามตั้งถาวรและต้องตั้งห่างจาก 'ที่พักอาศัย' ของผู้คน ซึ่งตรงนี้ระเบียบของแต่ละประเทศเรื่องตั้งแคมป์ได้กี่วันก็ต่างกันไป บางประเทศให้ 1 วัน บางประเทศให้ 2 วัน บางประเทศกำหนดว่าระยะห่างจาก 'บ้านคน' ที่จะตั้งแคมป์ได้คือ 70 เมตร บางประเทศบอก 150 เมตร แต่หลักการพื้นฐานนั้นเหมือนกัน
.
นี่คือหลักการพื้นฐาน ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็ต่างกันไปในรายละเอียด บางประเทศก็บอกว่าจะเก็บเบอร์รีหรือเห็ดอะไรกินก็ได้ บางประเทศก็จะมีข้อห้ามเก็บพืชบางชนิดกิน และก็จะมีข้อกำหนดว่าห้ามก่อไฟเป็นอันขาด หรือห้ามก่อไฟในบางฤดู เป็นต้น
.
ประเด็นคือ กฎหมายพวกนี้ไม่ได้ตั้งขึ้นมาลอยๆ มันตั้งขึ้นจากธรรมเนียมปฏิบัติที่สังคมยอมรับร่วมกันมาเป็นร้อยๆ ปี ดังนั้นจึงไม่ยากที่จะทำให้คนปฏิบัติตาม
.
แต่หลายคนก็อาจสงสัยว่า แล้วทำไมพวกประเทศยุโรปเหนือถึงมี 'ธรรมเนียมแปลกๆ' นี้มาแต่แรก
.
ถ้าจะให้คาดเดา ก็น่าจะเป็นเพราะสิ่งแวดล้อมด้วย เนื่องจากประเทศแถบนี้หนาวมาก และมีหน้าหนาวอันมืดมิดและยาวนาน จึงทำให้คน 'ให้คุณค่า' กับชีวิตกลางแจ้งมากๆ เรียกได้ว่าถ้าวันไหนแดดออกและอากาศดี คนก็จะออกมา 'ใช้ชีวิตกลางแจ้ง' กัน และกิจกรรมยอดนิยมก็คือ เดินป่า เดินเขา เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ในประเทศเป็นป่าเขา
.
ผู้คนของเขามีวัฒนธรรมแบบนี้มาตั้งแต่อดีตกาล และคนก็คุ้นชินมาตั้งแต่ก่อนที่พื้นที่ต่างๆ จะ 'มีเจ้าของ' ซึ่งในทางกลับกัน ถ้าคนเห็นว่าป่าถูกถาง ถูกล้อมรั้ว มีการสร้างบ้าน เขาก็จะรู้ว่าคุณไม่สามารถเดินเข้าไปในบริเวณบ้านคนได้ (ไม่ต้องพูดถึงการไปตั้งแคมป์) นี่เป็นธรรมเนียมที่ยอมรับร่วมกันก่อนจะมีกฎหมาย
.
แต่เหนือสิ่งอื่นใด เรากำลังพูดถึงพื้นที่ที่อุณหภูมิเฉลี่ยหน้าร้อนสูงสุดคือ 15 องศาเซลเซียส และหน้าหนาวอุณหภูมิติดลบเป็นเรื่องปกติ และการจะไปกางเต็นท์อยู่กลางแจ้งได้ก็ต้องอึดพอควรเลย ดังนั้นถึงไม่มีกฎหมายห้าม คนที่ทรหดพอที่จะไปกางเต็นท์ตั้งแคมป์ก็มีไม่เยอะอยู่แล้ว
.