การลงทุนไม่ว่าจะเป็น หุ้น ฟอเร็กซ์ หรือทองคำ ทั้งหมดต้องใช้กราฟและข่าวเศรษฐกิจ เป็นตัวช่วยในการวิเคราะห์การลงทุนในสินทรัพย์นั้นๆ
ดังนั้น วันนี้เราจะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับการวิเคราะห์ต่างๆ
1. การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis)
คือการใช้กราฟในการวิเคราะห์เป็นหลัก โดยกราฟสามารถบ่งบอกถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยใช้เส้นแนวโน้มทำนายราคาในอนาคต ดังนั้น เทรดเดอร์จะต้องวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ก่อนตัดสินใจลงทุน
กราฟ นอกจากจะบอกถึงพฤติกรรมของมนุษย์แล้ว ยังบอกถึงจำนวนเงินลงทุนอีกด้วย กล่าวคือ แรงซื้อและแรงขายไหนมีมากกว่า จะทำให้ราคามีแนวโน้มไปในทิศทางนั้น ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องทราบถึงแรงซื้อขายนั้นๆ โดยเครื่องมือที่เราจะใช้ เพื่อดูแรงซื้อและแรงขายมี คือเครื่องมือ Order Flow
เครื่องมือ Order Flow จะแสดงปริมาณการซื้อขายในแต่ละราคาแบบเรียลไทม์ในทุกแท่งเทียน (K-line)
ตัวอย่างเช่น เมื่อเราเห็นการขายจำนวนมากที่จุดสูงสุด เราจะรู้ว่าได้ว่าตำแหน่งนี้ถึงจุดสูงสุดแล้ว และให้ทำการเปิดสถานะขาย (Sell)
นอกจากนี้ การวิเคราะห์ทางเทคนิค ไม่ได้มีแค่ Order Flow ยังมีอีกมากมายที่ใช้กันทั่วไป เช่น MACD, RSI เป็นต้น
ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้เกิน 1 ถึง 2 เทคนิค เพราะการใช้มากจนเกินไป อาจทำให้เราสับสนกับเทคนิคนั้นๆ
2. การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis)
คือ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลข่าวและสินทรัพย์ ตัวอย่างเช่น ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ การตัดสินใจของธนาคารกลาง และข่าวด่วน เป็นต้น
หากจะวิเคราะห์ตามข่าว จำเป็นต้องเข้าใจเหตุการณ์ ข้อมูล และผลกระทบที่มีต่อแนวโน้มของตลาด รวมถึงความสัมพันธ์กับสินทรัพย์ต่าง ๆ
ตัวอย่างเช่น น้ำมันดิบจะขึ้นราคาก็ต่อเมื่อเศรษฐกิจดี ทองคำเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยและป้องกันเงินเฟ้อ ทองคำมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากขึ้น เมื่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจถดถอย หากไม่เข้าใจสิ่งนี้ คุณจะไม่สามารถเทรดชนข่าวได้
นอกจากนี้ การวิเคราะห์ตามความคาดหวังก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
การวิเคราะห์ตามความคาดหวัง พูดง่ายๆ ก็คือ ความหวังของนักลงทุนต่อตลาด ก่อนที่ข่าวจะถูกประกาศ ราคาตลาดก็ปรับไปบ้างแล้ว และเมื่อประกาศข่าว หากตรงกับความคาดหวัง ราคาตลาดก็จะไม่ผันผวนมากนัก หากไม่ตรงกับความคาดหวังของนักลงทุนละก็......... ราคาในตลาดอาจจะโดนทิ้งดิ่งลงมาได้ เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่คิดว่าตลาดไม่มีความมั่นคงในช่วงนั้น
อีกประเด็นหนึ่งของการวิเคราะห์ข่าว ในช่วงก่อนที่ข้อมูลจะถูกประกาศ ตลาดจะจับตาดูการประกาศข้อมูล ดังนั้น เมื่อมีการประกาศ และคำสั่งซื้อขายในตลาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาสั้น ๆ แพลตฟอร์มที่ สภาพคล่องต่ำอาจทำให้เกิดปัญหาความล่าช้าและ Slippage ดังนั้น การเลือกแพลตฟอร์มที่ไม่มีปัญหาทางด้านนี้เป็นสิ่งสำคัญ
ส่วนนี้ต้องให้ความสำคัญกับสภาพคล่องของโบรกเกอร์ ง่ายที่สุด
ให้ดูว่าโบรกเกอร์มีการเชื่อมต่อกับธนาคารอะไรบ้าง ? มีการเสนอราคากี่ระดับ ? ยกตัวอย่าง โบรกเกอร์ที่ผมใช้อยู่ มีการเชื่อต่อกับธนาคารทั้ง 36 แห่ง และเสนอราคาด้วยความลึกถึง 5 ระดับ จึงสามารถรองรับคำสั่งซื้อขายในตลาดได้อย่างดี แม้ในช่วงที่เกิดแนวโน้มใหญ่ ๆ โดยแทบไม่มีปัญหา Slippage หรือความล่าช้า ทำให้สามารถทำกำไรในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยรวมแล้ว การวิเคราะห์ทางเทคนิคและปัจจัยพื้นฐานไม่มีวิธีใดที่ดีกว่ากัน การวิเคราะห์ทางเทคนิคช่วยหาจุดสำคัญเพื่อหาโอกาสในการซื้อขาย โดยการติดตามปริมาณการซื้อขายเพื่อเข้าใจอารมณ์ตลาด เหมาะสำหรับการเทรดระยะสั้น ส่วนการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานมุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์และข่าวสาร ส่วนการวิเคราะห์ตามความคาดหวัง เหมาะกับแนวโน้มระยะยาว ไม่ว่าคุณจะใช้วิธีใด ทั้งสองวิธีมีความสัมพันธ์กัน และสามารถช่วยเสริมการทำธุรกรรมในตลาดได้อย่างมาก ดังนั้น การผสมผสานทั้งสองวิธีจะช่วยให้คุณเข้าใจตลาดและทำการเทรดได้ดีขึ้น
การวิเคราะห์ทางเทคนิค VS การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ต่างกันอย่างไร?
ดังนั้น วันนี้เราจะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับการวิเคราะห์ต่างๆ
1. การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis)
คือการใช้กราฟในการวิเคราะห์เป็นหลัก โดยกราฟสามารถบ่งบอกถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยใช้เส้นแนวโน้มทำนายราคาในอนาคต ดังนั้น เทรดเดอร์จะต้องวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ก่อนตัดสินใจลงทุน
กราฟ นอกจากจะบอกถึงพฤติกรรมของมนุษย์แล้ว ยังบอกถึงจำนวนเงินลงทุนอีกด้วย กล่าวคือ แรงซื้อและแรงขายไหนมีมากกว่า จะทำให้ราคามีแนวโน้มไปในทิศทางนั้น ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องทราบถึงแรงซื้อขายนั้นๆ โดยเครื่องมือที่เราจะใช้ เพื่อดูแรงซื้อและแรงขายมี คือเครื่องมือ Order Flow
เครื่องมือ Order Flow จะแสดงปริมาณการซื้อขายในแต่ละราคาแบบเรียลไทม์ในทุกแท่งเทียน (K-line)
ตัวอย่างเช่น เมื่อเราเห็นการขายจำนวนมากที่จุดสูงสุด เราจะรู้ว่าได้ว่าตำแหน่งนี้ถึงจุดสูงสุดแล้ว และให้ทำการเปิดสถานะขาย (Sell)
นอกจากนี้ การวิเคราะห์ทางเทคนิค ไม่ได้มีแค่ Order Flow ยังมีอีกมากมายที่ใช้กันทั่วไป เช่น MACD, RSI เป็นต้น
ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้เกิน 1 ถึง 2 เทคนิค เพราะการใช้มากจนเกินไป อาจทำให้เราสับสนกับเทคนิคนั้นๆ
2. การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis)
คือ ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลข่าวและสินทรัพย์ ตัวอย่างเช่น ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ การตัดสินใจของธนาคารกลาง และข่าวด่วน เป็นต้น
หากจะวิเคราะห์ตามข่าว จำเป็นต้องเข้าใจเหตุการณ์ ข้อมูล และผลกระทบที่มีต่อแนวโน้มของตลาด รวมถึงความสัมพันธ์กับสินทรัพย์ต่าง ๆ
ตัวอย่างเช่น น้ำมันดิบจะขึ้นราคาก็ต่อเมื่อเศรษฐกิจดี ทองคำเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยและป้องกันเงินเฟ้อ ทองคำมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากขึ้น เมื่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจถดถอย หากไม่เข้าใจสิ่งนี้ คุณจะไม่สามารถเทรดชนข่าวได้
นอกจากนี้ การวิเคราะห์ตามความคาดหวังก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
การวิเคราะห์ตามความคาดหวัง พูดง่ายๆ ก็คือ ความหวังของนักลงทุนต่อตลาด ก่อนที่ข่าวจะถูกประกาศ ราคาตลาดก็ปรับไปบ้างแล้ว และเมื่อประกาศข่าว หากตรงกับความคาดหวัง ราคาตลาดก็จะไม่ผันผวนมากนัก หากไม่ตรงกับความคาดหวังของนักลงทุนละก็......... ราคาในตลาดอาจจะโดนทิ้งดิ่งลงมาได้ เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่คิดว่าตลาดไม่มีความมั่นคงในช่วงนั้น
อีกประเด็นหนึ่งของการวิเคราะห์ข่าว ในช่วงก่อนที่ข้อมูลจะถูกประกาศ ตลาดจะจับตาดูการประกาศข้อมูล ดังนั้น เมื่อมีการประกาศ และคำสั่งซื้อขายในตลาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาสั้น ๆ แพลตฟอร์มที่ สภาพคล่องต่ำอาจทำให้เกิดปัญหาความล่าช้าและ Slippage ดังนั้น การเลือกแพลตฟอร์มที่ไม่มีปัญหาทางด้านนี้เป็นสิ่งสำคัญ
ส่วนนี้ต้องให้ความสำคัญกับสภาพคล่องของโบรกเกอร์ ง่ายที่สุด ให้ดูว่าโบรกเกอร์มีการเชื่อมต่อกับธนาคารอะไรบ้าง ? มีการเสนอราคากี่ระดับ ? ยกตัวอย่าง โบรกเกอร์ที่ผมใช้อยู่ มีการเชื่อต่อกับธนาคารทั้ง 36 แห่ง และเสนอราคาด้วยความลึกถึง 5 ระดับ จึงสามารถรองรับคำสั่งซื้อขายในตลาดได้อย่างดี แม้ในช่วงที่เกิดแนวโน้มใหญ่ ๆ โดยแทบไม่มีปัญหา Slippage หรือความล่าช้า ทำให้สามารถทำกำไรในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยรวมแล้ว การวิเคราะห์ทางเทคนิคและปัจจัยพื้นฐานไม่มีวิธีใดที่ดีกว่ากัน การวิเคราะห์ทางเทคนิคช่วยหาจุดสำคัญเพื่อหาโอกาสในการซื้อขาย โดยการติดตามปริมาณการซื้อขายเพื่อเข้าใจอารมณ์ตลาด เหมาะสำหรับการเทรดระยะสั้น ส่วนการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานมุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์และข่าวสาร ส่วนการวิเคราะห์ตามความคาดหวัง เหมาะกับแนวโน้มระยะยาว ไม่ว่าคุณจะใช้วิธีใด ทั้งสองวิธีมีความสัมพันธ์กัน และสามารถช่วยเสริมการทำธุรกรรมในตลาดได้อย่างมาก ดังนั้น การผสมผสานทั้งสองวิธีจะช่วยให้คุณเข้าใจตลาดและทำการเทรดได้ดีขึ้น