วิเคราะห์ว่าไทยควรซื้อเครื่องบินรบF-16 Viperคุ้มกว่ากริพเพน เพราะเรื่องความสัมพันธุ์และLink-16ที่คุ้มกว่า

วิเคราะห์ว่ากองทัพอากาศไทยควรซื้อF-16 Block 70/72 Viperรุ่นใหม่คุ้มกว่าGripen  เพราะความสัมพันธุ์ระหว่างประเทศสำคัญ   

และที่สำคัญมากคือเรื่องลิ๊งค์ข้อมูลระหว่างการรบ 
ซึ่งก็คือLink-16ซึ่งทุกประเทศต้องจ่ายค่าSubscriptionอยู่แล้วเพื่อให้ F-16ของไทยสามารถเชื่อมF-16ได้ทั่วโลก 

เหมือนเราจะมีเพื่อนร่วมรบพร้อมกับF-16จำนวน4,000ลำทั่วโลก 
คิดดูว่าจะน่าเกรงขามขนาดไหน ใช้ป้องปรามได้ดีมากๆ  อมยิ้ม36

ซึ่งLink-Tของกริพเพน(Gripen)ลิงค์เยอะๆแบบนี้ไม่ได้
ขอบคุณครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ก่อนอื่นต้องแยกให้ออกว่า Link-T กับ Link-TH มันเป็นคนละตัวกัน แล้วกองทัพอากาศไทยใช้ควร Link ประเภทไหนดี

🛩️📡 Link-T

กองทัพอากาศไทยได้รับเทคโนโลยี Tactical Data Link (Link-T) มาพร้อมกับการจัดหา Jas 39 Gripen C/D จากประเทศสวีเดน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาการรบแบบเครือข่ายเป็นประเทศแรกของโลก โดยสวีเดนติดตั้ง Tactical Data Link แบบแรกบน J-35 Darken ในช่วงทศวรรตที่ 1950 ก่อนที่ชาติ NATO จะเริ่มพัฒนาแนวคิดเรื่องนี้ด้วยซ้ำ และเครื่องบินทุกลำหลังจากนั้นจะถูกติดตั้งเครือข่าย Tactical Data Link มาจนถึงปัจจุบัน

ซึ่ง Link-T มันคือ Link-S รุ่นดัดแปลงของสวีเดนนั่นเอง แล้ว Link-T ที่เรียกในกองทัพอากาศ ซึ่งมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า Link-RTN ในกองทัพเรือ มันคือ Link เดียวกัน เป็น Datalink ของ Saab ซึ่ง Saab พัฒนาและถือลิขสิทธิ์อยู่ นั่นหมายถึงไทยสามารถปรับปรุงแก้ไขอะไรได้ตามที่ต้องการ แต่ต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดในเงื่อนไขของสัญญา แต่ไทยไม่ใช่เจ้าของโดยแท้จริง เพราะสิทธิ์การใช้ สิทธิ์การพัฒนา และลิขสิทธิ์ความเป็นเจ้าของซึ่ง Saab ยังคงเป็นเจ้าของอยู่ แต่กองทัพอากาศ กองทัพเรือ สามารถถือตัวเข้ารหัสได้เอง ใช้เป็น Network ของตัวเอง สามารถพัฒนาต่อได้ภายใต้เงื่อนไข ซึ่งแตกต่างจาก Link-16 ที่แม้ไทยจะได้สิทธิการใช้ แต่ตัวเข้ารหัสต้องมีประเทศในกลุ่ม NATO เป็นผู้ควบคุม
ดังนั้นการใช้ Link-T , Link-RTN จะทำให้ไทยควบคุมการใช้งานได้มากกว่า Link ของ NATO แน่นอน ถือเป็นตัวเลือกที่อิสระกว่า แต่ก็แลกมาด้วยการที่ไทยจะปฏิบัติการร่วมกับชาติอื่นที่ใช้งาน Link-16 ได้ยาก

🛩️📡 Link-TH

เมื่อกองทัพอากาศจัดหา Jas 39 Gripen C/D และ Saab 340 AEW เข้าประจำการ จึงได้รับเทคโนโลยี Tactical Data Link Link-T ที่เป็นส่วนหนึ่งของสัญญา และกองทัพอากาศได้นำองค์ความรู้มาพัฒนาต่อ สร้างเป็น Link ใหม่ของตนเองอีก Link ภายใต้ชื่อ Link-TH ซึ่งมีแผนจะติดตั้งกับอากาศยานของกองทัพอากาศเช่นในปัจจุบันที่เริ่มติดตั้งกับ F-5TH และ T-50TH และกำลังติดตั้งกับ Alphajet และ AT-6

Link-TH เป็น Tactical Data Link ที่กองทัพอากาศพัฒนาต่อยอดร่วมกับบริษัท RV Connex เป็นถือลิขสิทธิ์ของไทยเอง 100% โดยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากสวีเดน มีคุณสมบัติไม่ได้ต่างจาก Link-16 มากนัก แต่มีขีดความสามารถในการแบ่งปันข้อมูลด้วยกันเองระหว่างหมู่บินหรือระหว่างหน่วยต่าง ๆ ในสนามรบ มากกว่าการเน้นการส่งข้อมูลไปมาระหว่างหน่วยในสนามรบและกองบัญชาการแบบ Link-16 เช่นเพื่อให้เห็นภาพก็คือ ปกติเครื่องที่ติด Link-16 จะรับเป้าหมายจากศูนย์บัญชาการภารคพื้นดินหรือเครื่อง AWACS เพื่อเขาทำลายเป้าหมาย แต่ เครื่องที่ติด Link-TH จะสามารถตรวจจับและแลกเปลี่ยนเป้าหมายกันเอง หรือให้เครื่องลำหนึ่งล็อคเป้า อีกลำหนึ่งใช้อาวุธแทนก็ได้ ทำให้เครื่องในหมู่บินหนึ่งอาจจะเปิดเรดาร์เพียงบางลำเพื่อซ่อนพรางได้เช่นกัน

แต่ปัญหาที่สำคัญของการใช้ Link-16 ก็คือการที่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลให้ใช้เครือข่ายได้ทุกครั้ง ซึ่งในกรณีของประเทศไทยคือ USINDOPACCOM หรือกองบัญชาการกองทัพสหรัฐภาคพื้นอินโด-แปซิฟิก ซึ่งจะเป็นผู้ควบคุมเครือข่าย Link-16 ในเอเชียทั้งหมด ดังนั้นผู้ใช้ Link-16 จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติและได้รับรหัสผ่านจาก USINDOPACCOM ของสหรัฐทุกครั้งที่มีการเปิดใช้ Link-16 โดย USINDOPACCOM จะสามารถมองเห็นความเคลื่อนไหวของเครื่องบินของไทยที่ใช้ Link-16 ได้

นอกจากนั้น สหรัฐยังไม่อนุญาตให้มีการใช้ Link สอง Link ในเวลาพร้อม ๆ กัน เช่นถ้าใช้ Link-16 จำเป็นต้องปิด Link-TH หรือถ้าใช้ Link-TH ก็จะไม่สามารถเปิด Link-16 ใช้งานพร้อมกันได้เพื่อความปลอดภัยของการส่งข้อมูล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับชาติที่ต้องการใช้ Link-16 ซึ่งนั่นหมายถึงการที่ประเทศไทยจะไม่สามารถควบคุมและดูแล Link ของตนเองได้ 100% และต้องยกการดูแลให้กับสหรัฐในบางส่วนถ้าต้องการใช้ Link-16 และการติดตั้ง Link-16 พร้อมกับ Link-TH นั้นต้องได้รับอนุมัติจากสหรัฐ และอาจต้องมีค่าใช้จ่ายในการวิจัยและติดตั้ง Link-TH ซึ่งอาจต้องใช้เงินหลายร้อยล้านบาท เนื่องจากต้องทำการวิจัยและรับรองการติดตั้ง Link-TH บนอากาศยานซึ่งจะเป็นครั้งแรกของโลกบนอากาศยานนั้น ๆ สหรัฐจึงมักจะมองและโน้วน้าวว่า จะเป็นการดีกว่าที่ประเทศไทยจะมาใช้ Link-16 เพื่อให้ใช้งานร่วมกับประเทศอื่น ๆ ได้ ดีกว่าจะลงทุนใช้ Link ของตนเองและไม่สามารถปฏิบัติงานร่วมกับใครได้

🛩️📡 Thailand Link

ส่วน Thailand Link ที่กำลังเป็นกระแสในปัจจุบัน ซึ่งกองทัพอากาศกำลังวางแผนพัฒนายกระดับให้เป็น Link แห่งชาติ
แท้จริงมันก็คือ Link-T ที่ได้ลิขสิทธิ์ขาดจากสวีเดน(ขายสิทธิ์ขาดหากซื้อGripen E/F) ไทยได้สิทธิ์ขาดในการพัฒนาโดยปราศจากเงื่อนไขต่างๆ จะทำอะไรกับ Link สุดแต่ใจปรารถนา ปรับแต่งได้ตามอิสระ โดยจะยกโครงการจาก Link-TH มาพัฒนาร่วมด้วย
สรุปคือ Thailand Link คือ Link-T ที่ได้ลิขสิทธิ์ขาดจากสวีเดน + Link-TH ที่กองทัพอากาศพัฒนาเองอยู่เดิม นำมารวมร่างกันและจะเขียนโค๊ดพัฒนาเพิ่มเติมเข้าไปให้สามารถใช้งานครอบคลุมได้ทั้ง 3 เหล่า(บก เรือ อากาศ) ซึ่งจะทำให้เป็น Link แห่งชาติต่อไปในอนาคต








สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
หลายๆท่านคงลืมไปแล้วว่า
ตอน ทอ.ซื้อ Jas 39 ชุดแรก
Saab ให้ทุนการศึกษา ทอ.200 ทุนแถมมาด้วย
และนายทหารที่สอบชิงทุนไปเรียนที่สวีเดนตอนนั้นคือหัวกระทิทั้งนั้น
ผ่านมา 10 ว่าปีนายทหารที่จบจากสวีเดนก็เจริญก้าวหน้าขึ้น

ถ้าเอาเรื่องนี้มาคิดเราก็จะไม่แปลกใจว่าทำไม ทอ.ซื้อ Jas 39 E/F
เพราะเมล็ดพันธุ์ที่ Saab ได้หว่านไว้ตอนนี้งอกงามให้ชื่นใจแล้ว
F 16 C/D ที่เขาพูดถึงบ่อยๆ
ก็แค่เอามาเป็นคู่เทียบเฉยๆแก้เขิลครับ 555
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่