ชีวประวัติ นักบุญ เซเวอรัส ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอันทิโอก (Saint Severus the Great of Antioch - Σεβῆρος - ܣܘܝܪܝܘܣ ܕܐܢܛܝܘܟܝܐ) (تاج السوريان)
“นักบุญ เซเวอรัส ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอันทิโอก (Saint Severus the Great of Antioch) หรือเรียกว่า นักบุญ เซเวอรัส แห่งกาซา (Saint Severus of Gaza) หรือถูกขนานนามว่า มงกุฎแห่งซีเรีย (Crown of Syrians)”
นักบุญเซเวอรัส ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอันทิโอก เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของพระศาสนจักรซีเรียออร์โธด็อกซ์แห่งอันทิโอก กับ พระศาสนจักรซีเรียออร์โธด็อกซ์มาลานคารา เกิดที่เมือง Sozopolis ในจังหวัด Pisidia (ปัจจุบันคือ เมือง Sozopol ประเทศบัลแกเรีย🇧🇬) ราวปีค.ศ. 459 ปู่ของท่านเป็นหนึ่งในบิชอปที่เข้าร่วม “สภาสังคายนาแห่งเอเฟซัส (Ecumenical Council of Ephesus)” ปู่ของท่านมีชื่อว่า “เซเวอรัส” เหมือนกัน ได้เห็นนิมิตว่า มีคนบอกเขาว่า “เด็กที่อยู่ในความดูแลของลูกชายของท่านจะเสริมสร้างศาสนาคริสต์นิกายออร์โธด็อกซ์ และชื่อของเด็กจะใช้ชื่อชื่อท่าน” เมื่อลูกชายของเขามีบุตร จึงเรียกเขาว่า “เซเวอรัส” นักบุญเซเวอรัสรับศีลล้างบาปในพระศาสนจักรแห่งTripoli ในปีค.ศ. 488
สภาสังคายนาแห่งเอเฟซัส (Ecumenical Council of Ephesus)
ท่านศึกษาหลักไวยากรณ์และวาทศิลป์ทั้งภาษากรีกกับภาษาละติน เมืองอเล็กซานเดรีย (Alexandria - الإسكندرية) ประเทศอียิปต์🇪🇬 รวมถึงนิติศาสตร์กับปรัชญาที่โรงเรียนนิติศาสตร์โรมัน ที่เมืองเบรุต ประเทศเลบานอน🇱🇧 ต่อมาท่านเลือกวิถีแห่งการถือสันโดษและบวชเป็นฤาษีในอารามนักบุญโรมานุส (Monastery of Saint Romanus) ที่เมือง Mayoma ในประเทศปาเลสไตน์🇵🇸 และได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์โดยบิชอป Epiphanius จากนั้น ท่านได้สร้างอารามและอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 24 ปีนมัสการพระเจ้า , ถือสันโดษ , ศึกษาพระคัมภีร์ไบเบิล และงานเขียนต่างๆของนักเทววิทยา ท่านเริ่มเขียนและสนับสนุนหลักคำสอนของนิกายออร์โธด็อกซ์ ทำให้ชื่อเสียงของท่านแพร่หลายออกไป
วันหนึ่ง นักบุญเซเวอรัสกำลังเดินเล่นอยู่นอกเมือง มีนักบุญที่ขังตัวเองอยู่คนหนึ่งออกมาจากถ้ำของเขาและร้องตะโกนว่า “ยินดีต้อนรับ เซเวอรัส อาจารย์แห่งพระศาสนจักรออร์โธด็อกซ์และอัครบิดรแห่งอันทิโอก” นักบุญเซเวอรัสประหลาดใจที่เขาเรียกชื่อของท่าน เพราะเขาไม่รู้จักนักบุญคนนี้มาก่อน และเขาพยากรณ์ไว้ว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับท่านนักบุญในอนาคต
ในปีค.ศ. 508 ตัวนักบุญเซเวอรัสพร้อมกับฤาษี 200 คนได้เดินทางไปกรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) และอยู่ที่นั่นประมาณ 3 ปี จนถึงปีค.ศ. 511 หลังจากผ่านไป 1 ปีกับอีกไม่กี่เดือน Flavian ที่ 2 อัครบิดรแห่งอันทิโอกก็ถูกปลดออกจากตำแหน่ง และนักบุญเซเวอรัสได้รับเลือกโดยพระจิตให้สืบตำแหน่งต่อจากเขาของธรรมาสน์ของอัครสาวก ท่านได้รับการสถาปนาเป็นอัครบิดรแห่งอันทิโอกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 512 หลังจากนั้น ท่านได้แสดงถึงความรู้ที่สะสมอยู่ในตัวท่านในการเทศน์กับอธิบายสัจธรรมของความศรัทธาและศีลธรรม
ในช่วงที่นักบุญเซเวอรัสเป็นผู้นำในตำแหน่งอัครบิดร ท่านไม่เคยเบี่ยงเบนจากแนวทางการถือสันโดษและการงดเว้นเรื่องทางเพศ ดังนั้น ท่านจึงละทิ้งการใช้ชีวิตฟุ่มเฟือยของตำแหน่งอัครบิดร แต่กลับอุทิศกำลังในการปฏิรูปและจัดการกิจการของพระศาสนจักรด้วยการไปเยี่ยมเยียนทางสังฆมณฑลและอารามใกล้เคียงด้วยตนเองหรือทางจดหมาย เมื่อ จัสติน ที่ 1 (Justin I) ผู้นับถือลัทธิชาลซีโดเนียน(Chalcedonian) สืบราชสมบัติต่อจาก อาทานาซีอุส (Anastasius) ในปีค.ศ. 518 พระองค์ได้ทรงเรียกหาอัครบิดรผู้ศักดิ์สิทธิ์และทรงให้เกียรติท่านอย่างยิ่งใหญ่เพื่อโน้มน้าวให้ท่านเปลี่ยนจุดยืนและปฏิบัติตามความเชื่อของจักรพรรดิ แต่ท่านนักบุญปฏิเสธ จักรพรรดิทรงโกรธ แต่ท่านนักบุญไม่กลัวความโกรธของพระองค์ ดังนั้นจักรพรรดิจึงทรงสั่งให้สังหารท่าน “Theodora” ภรรยาของจักรพรรดิซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โธด็อกซ์ ทรงทราบว่า จักรพรรดิตั้งใจจะทำอะไร จึงทรงบอกให้ท่านหลบหนีไปจากจักรพรรดิ จักรพรรดิจัสตินที่ 1 จึงขับไล่กลุ่มบิชอปออร์โธด็อกซ์ออกไปเพื่อต่อต้านนักบุญเซเวอรัสที่เดินทางหนีไปที่ประเทศอียิปต์ในวันที่ 25 กันยายน ท่านเดินทางไปทั่วและเยี่ยมชมอารามต่างๆโดยปลอมเป็นฤาษีธรรมดาทั่วไป ท่านทำให้ความศรัทธาของสัตบุรุษในหลักคำสอนออร์โธด็อกซ์เข้มแข็งขึ้น ท่านอาศัยอยู่ในเมืองSakha ในบ้านของผู้นำฆราวาสผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่ชื่อ “Doretheos“ พระเจ้าทรงแสดงหมายสำคัญและอัศจรรย์มากมายผ่านทางท่าน และอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 24 ปี
สภาสังคายนาสากลแห่งชาลซีดอน - Council of Chalcedon - Concilium Chalcedonense
“วันหนึ่งท่านไปที่ทะเลทราย Scete ในพื้นที่ Wadi El Natroun และท่านสวมเครื่องแบบของฤาษีผู้แปลกหน้าเข้าไปในวัด และเกิดอัศจรรย์ครั้งใหญ่ขึ้นที่นั้น หลังจากที่พระสงฆ์วางขนมปัง (Qurban) ไว้บนพระแท่น แล้วเดินไปทั่ววัดเพื่อถวายกำยาน และหลังจากอ่านบทอ่านจดหมายกับพระวรสารแล้ว ท่านก็ยกผ้าคลุมพระแท่น(Ebrospharin [Altar Covering]) ออก กลับไม่พบขนมปังบนจานรองศีล ด้วยเหตุนี้ทำให้พระสงฆ์คนนั้นจึงรู้สึกไม่สบายใจและร้องไห้ออกมา ท่านหันไปหาพระสงฆ์ผู้ทำพิธีบูชาแล้วกล่าวว่า “โอ้ พี่น้องของพ่อ พ่อไม่พบขนมปังในจานรองศีล และพ่อไม่ทราบว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพราะบาปของตัวพ่อเองหรือเพราะบาปของท่าน” ผู้คนที่นั้นต่างร้องไห้ และทันใดนั้น ทูตสวรรค์ของพระเจ้าก็ประจักษ์แก่ตัวพระสงฆ์และบอกเขาว่า“เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นไม่ใช่เพราะบาปของลูกหรือเพราะบาปของพระสงฆ์ผู้ทำพิธีบูชาแต่เพราะท่านถวายขนมปัง (ศีลมหาสนิท) ต่อหน้าอัครบิดร” พระสงฆ์ตอบว่า “แล้วท่านอยู่ที่ไหน? โอ้ ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า” ทูตสวรรค์ชี้ไปที่นักบุญเซเวอรัส นักบุญเซเวอรัสยืนอยู่ที่มุมหนึ่งของวัด และพระสงฆ์จำท่านได้ด้วยพระหรรษทานของพระจิตพระสงฆ์มาหานักบุญเซเวอรัส ซึ่งขอให้ท่านประกอบพิธีกรรมต่อหลังจากที่พวกเขานำท่านไปที่พระแท่นด้วยความเคารพอย่างสูง เมื่อพระสงฆ์ขึ้นไปที่พระแท่นแล้ว เขาก็พบเครื่องบูชาวางอยู่บนจานรองเหมือนเช่นเคย ทุกคนที่นั้นต่างสรรเสริญพระเจ้าและสรรเสริญพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์”
ขนมปัง (Qurban) หรือศีลมหาสนิท (Holy Communion)
ผ้าคลุมพระแท่น (Ebrospharin [Altar Covering])
ในประเทศอียิปต์ นักบุญเซเวอรัสบริหารพระศาสนจักรผ่านผู้แทนหรือจดหมายของท่าน ด้วยพลังที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ท่านเขียนหนังสือเล่มแล้วเล่มเล่าเพื่อต่อต้านลัทธินอกรีตและผู้หลอกลวง ตอบจดหมายและให้ความเห็นส่วนตัวในประเด็นทางกฎหมายเมื่อท่านเผชิญกับปัญหาที่ยากลำบาก ท่านจะค้นหาแสงสว่างในพระคัมภีร์ไบเบิลหรือหันไปถามหามติของสภาเพื่อขอความช่วยเหลือ ในปีค.ศ. 535 ท่านเดินทางไปยังกรุงคอนสแตนติโนเปิลเพื่อตอบรับคำเชิญของจัสติเนียนที่ 1 เพื่อแสวงหาความสามัคคี ที่เมืองหลวง ท่านได้ Anthimus อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลมาอยู่ฝ่ายเขา แต่ช่องว่างระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายยังคงกว้าง จากนั้นท่านก็กลับไปประเทศอียิปต์ซึ่งท่านเสียชีวิตที่นั่น
ในปีค.ศ. 518 เมื่อธรรมาสน์แห่งอันทิโอกว่างลงเนื่องจากการเบียดเบียนนักบุญเซเวอรัสผู้เป็นอัครบิดร ลัทธิชาลซีโดเนียนจึงเข้าควบคุมธรรมาสน์และแต่งตั้งอัครบิดรต่อไปนี้ซึ่งสืบทอดต่อกันมาจนถึงจารีตไบแซนไทน์ - Byzantine (Rum/Antiochene Orthodox) ได้แก่ เปาโล ชาวยิว (Paul the Jew) ค.ศ. 518-521 , ยูโฟรซิอุส(Euphrosius) ค.ศ. 521-528 , เอเฟรมแห่งอามิด (Ephrem of Amid) ค.ศ. 528-546
ร่างของนักบุญเซเวอรัส ผู้ศักดิ์สิทธิ์ถูกนำมาที่เมือง Sakha เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ค.ศ. 538 ที่บ้านของเศรษฐีผู้ชอบธรรมคนหนึ่งชื่อ “Dorotheus” ซึ่งหลบซ่อนอยู่Dorotheus ส่งร่างของท่านนักบุญทางเรือพร้อมกับคนน่าเชื่อถือไปยังอาราม Zujaj ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองอเล็กซานเดรีย
Dorotheus สั่งพวกเขาไม่ให้เข้าไปในอ่าว แต่ให้ไปทางทะเลสาบจนกว่าจะถึงฝั่งเมื่อมาถึงเมือง Kartasa หันหน้าไปทางทิศเหนือ พวกเขาก็แล่นเรือไปทางทิศตะวันตกแต่ไม่พบน้ำลึกพอที่จะแล่นเรือได้ ลูกเรือจึงโศกเศร้าและเป็นกังวล
พระเจ้า ผู้ทรงรักมนุษย์ ทรงรักษาร่างของนักบุญเซเวอรัสจากผู้ที่เกลียดชังท่านพระเจ้าทรงแสดงอัศจรรย์นี้ให้เป็นที่ประจักษ์ พระองค์ทรงทำให้เรือแล่นไปในน้ำตื้นเป็นระยะทาง 6 ไมล์จนกระทั่งเรือแล่นไปถึงฝั่ง
จากนั้นพวกเขานำร่างของท่านนักบุญไปที่อาราม Zujaj และนำไปวางไว้ในสถานที่ที่ Dorotheus สร้างไว้ เมืองอเล็กซานเดรียมีความชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่ง และพระเจ้าทรงแสดงหมายสำคัญและความน่าพิศวงมากมายผ่านร่างของนักบุญเซเวอรัส พระเจ้าทรงยกย่องนักบุญเซเวอรัสหลังจากที่ท่านเสียชีวิตมากกว่าตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่เสียอีก
พระศาสนจักรได้สถาปนาท่านให้เป็นนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักรสากล พระศาสนจักรยังได้ระลึกถึงท่านในวันที่ท่านเสียชีวิต ชีวประวัติของท่านถูกเขียนโดยนักเขียนผู้มีความสามารถ 4 ท่าน ได้แก่ Zachariah Rhetor , ยอห์น อธิการของอารามBar Aphtonya (John, abbot of the Monastery of Bar Aphtonya) , อาทานาซีอุสที่ 1 อัครบิดรแห่งอันทิโอก (Athanasius I, Patriarch of Antioch) และผู้เขียนที่ไม่ประสงค์ออกนามอีกคนหนึ่ง
งานเขียนของนักบุญเซเวอรัสครอบคลุมถึงบรรดาการโต้แย้ง , พิธีกรรม , คำอธิบาย, บทเทศน์ และจดหมาย ซึ่งได้รับความเคารพอย่างสูง งานเขียนเกี่ยวกับพิธีกรรมมีทั้งหมด 14 บท ในบรรดางานเขียนเกี่ยวกับพิธีกรรม มีหนังสือที่ยอดเยี่ยมเล่มหนึ่งที่บรรจุเพลงสรรเสริญหรือเพลงสวดอันยอดเยี่ยมที่เขาแต่งขึ้น เพลงสวดเริ่มต้นด้วยประโยคสั้นๆจากพระคัมภีร์ไบเบิลและต่อเนื่องด้วยสำนวนที่สง่างามซึ่งสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความยำเกรงและความรักต่อพระเจ้า เพลงสวดเหล่านี้มีจำนวน 295 บท งานเขียนประเภทที่ 3 ของท่าน คือ คำอธิบาย ได้แก่ คำอธิบายพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญลูกา , คำอธิบายเรื่องวาระสุดท้ายของโลกโดยประกาศกเอเสเคียล ตลอดจนหัวข้อและข้อพระคัมภีร์ที่อาจพบได้ในบทเทศน์กับจดหมายของเขาซึ่ง “Bar Salibi” อ้างถึงในคำอธิบายพระวรสารของท่าน และโดย “Bar Hebraeus” อ้างถึงในหนังสือของท่านเรื่อง “คลังแห่งความลับ (The Storehouse of Secrets)"
ชีวประวัติ นักบุญ เซเวอรัส ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอันทิโอก (Saint Severus the Great of Antioch - Σεβῆρος - ܣܘܝܪܝܘܣ ܕܐܢܛܝܘܟܝܐ)
“นักบุญ เซเวอรัส ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอันทิโอก (Saint Severus the Great of Antioch) หรือเรียกว่า นักบุญ เซเวอรัส แห่งกาซา (Saint Severus of Gaza) หรือถูกขนานนามว่า มงกุฎแห่งซีเรีย (Crown of Syrians)”
นักบุญเซเวอรัส ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอันทิโอก เป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของพระศาสนจักรซีเรียออร์โธด็อกซ์แห่งอันทิโอก กับ พระศาสนจักรซีเรียออร์โธด็อกซ์มาลานคารา เกิดที่เมือง Sozopolis ในจังหวัด Pisidia (ปัจจุบันคือ เมือง Sozopol ประเทศบัลแกเรีย🇧🇬) ราวปีค.ศ. 459 ปู่ของท่านเป็นหนึ่งในบิชอปที่เข้าร่วม “สภาสังคายนาแห่งเอเฟซัส (Ecumenical Council of Ephesus)” ปู่ของท่านมีชื่อว่า “เซเวอรัส” เหมือนกัน ได้เห็นนิมิตว่า มีคนบอกเขาว่า “เด็กที่อยู่ในความดูแลของลูกชายของท่านจะเสริมสร้างศาสนาคริสต์นิกายออร์โธด็อกซ์ และชื่อของเด็กจะใช้ชื่อชื่อท่าน” เมื่อลูกชายของเขามีบุตร จึงเรียกเขาว่า “เซเวอรัส” นักบุญเซเวอรัสรับศีลล้างบาปในพระศาสนจักรแห่งTripoli ในปีค.ศ. 488
สภาสังคายนาแห่งเอเฟซัส (Ecumenical Council of Ephesus)
ท่านศึกษาหลักไวยากรณ์และวาทศิลป์ทั้งภาษากรีกกับภาษาละติน เมืองอเล็กซานเดรีย (Alexandria - الإسكندرية) ประเทศอียิปต์🇪🇬 รวมถึงนิติศาสตร์กับปรัชญาที่โรงเรียนนิติศาสตร์โรมัน ที่เมืองเบรุต ประเทศเลบานอน🇱🇧 ต่อมาท่านเลือกวิถีแห่งการถือสันโดษและบวชเป็นฤาษีในอารามนักบุญโรมานุส (Monastery of Saint Romanus) ที่เมือง Mayoma ในประเทศปาเลสไตน์🇵🇸 และได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์โดยบิชอป Epiphanius จากนั้น ท่านได้สร้างอารามและอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 24 ปีนมัสการพระเจ้า , ถือสันโดษ , ศึกษาพระคัมภีร์ไบเบิล และงานเขียนต่างๆของนักเทววิทยา ท่านเริ่มเขียนและสนับสนุนหลักคำสอนของนิกายออร์โธด็อกซ์ ทำให้ชื่อเสียงของท่านแพร่หลายออกไป
วันหนึ่ง นักบุญเซเวอรัสกำลังเดินเล่นอยู่นอกเมือง มีนักบุญที่ขังตัวเองอยู่คนหนึ่งออกมาจากถ้ำของเขาและร้องตะโกนว่า “ยินดีต้อนรับ เซเวอรัส อาจารย์แห่งพระศาสนจักรออร์โธด็อกซ์และอัครบิดรแห่งอันทิโอก” นักบุญเซเวอรัสประหลาดใจที่เขาเรียกชื่อของท่าน เพราะเขาไม่รู้จักนักบุญคนนี้มาก่อน และเขาพยากรณ์ไว้ว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับท่านนักบุญในอนาคต
ในปีค.ศ. 508 ตัวนักบุญเซเวอรัสพร้อมกับฤาษี 200 คนได้เดินทางไปกรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) และอยู่ที่นั่นประมาณ 3 ปี จนถึงปีค.ศ. 511 หลังจากผ่านไป 1 ปีกับอีกไม่กี่เดือน Flavian ที่ 2 อัครบิดรแห่งอันทิโอกก็ถูกปลดออกจากตำแหน่ง และนักบุญเซเวอรัสได้รับเลือกโดยพระจิตให้สืบตำแหน่งต่อจากเขาของธรรมาสน์ของอัครสาวก ท่านได้รับการสถาปนาเป็นอัครบิดรแห่งอันทิโอกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 512 หลังจากนั้น ท่านได้แสดงถึงความรู้ที่สะสมอยู่ในตัวท่านในการเทศน์กับอธิบายสัจธรรมของความศรัทธาและศีลธรรม
ในช่วงที่นักบุญเซเวอรัสเป็นผู้นำในตำแหน่งอัครบิดร ท่านไม่เคยเบี่ยงเบนจากแนวทางการถือสันโดษและการงดเว้นเรื่องทางเพศ ดังนั้น ท่านจึงละทิ้งการใช้ชีวิตฟุ่มเฟือยของตำแหน่งอัครบิดร แต่กลับอุทิศกำลังในการปฏิรูปและจัดการกิจการของพระศาสนจักรด้วยการไปเยี่ยมเยียนทางสังฆมณฑลและอารามใกล้เคียงด้วยตนเองหรือทางจดหมาย เมื่อ จัสติน ที่ 1 (Justin I) ผู้นับถือลัทธิชาลซีโดเนียน(Chalcedonian) สืบราชสมบัติต่อจาก อาทานาซีอุส (Anastasius) ในปีค.ศ. 518 พระองค์ได้ทรงเรียกหาอัครบิดรผู้ศักดิ์สิทธิ์และทรงให้เกียรติท่านอย่างยิ่งใหญ่เพื่อโน้มน้าวให้ท่านเปลี่ยนจุดยืนและปฏิบัติตามความเชื่อของจักรพรรดิ แต่ท่านนักบุญปฏิเสธ จักรพรรดิทรงโกรธ แต่ท่านนักบุญไม่กลัวความโกรธของพระองค์ ดังนั้นจักรพรรดิจึงทรงสั่งให้สังหารท่าน “Theodora” ภรรยาของจักรพรรดิซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โธด็อกซ์ ทรงทราบว่า จักรพรรดิตั้งใจจะทำอะไร จึงทรงบอกให้ท่านหลบหนีไปจากจักรพรรดิ จักรพรรดิจัสตินที่ 1 จึงขับไล่กลุ่มบิชอปออร์โธด็อกซ์ออกไปเพื่อต่อต้านนักบุญเซเวอรัสที่เดินทางหนีไปที่ประเทศอียิปต์ในวันที่ 25 กันยายน ท่านเดินทางไปทั่วและเยี่ยมชมอารามต่างๆโดยปลอมเป็นฤาษีธรรมดาทั่วไป ท่านทำให้ความศรัทธาของสัตบุรุษในหลักคำสอนออร์โธด็อกซ์เข้มแข็งขึ้น ท่านอาศัยอยู่ในเมืองSakha ในบ้านของผู้นำฆราวาสผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่ชื่อ “Doretheos“ พระเจ้าทรงแสดงหมายสำคัญและอัศจรรย์มากมายผ่านทางท่าน และอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 24 ปี
สภาสังคายนาสากลแห่งชาลซีดอน - Council of Chalcedon - Concilium Chalcedonense
“วันหนึ่งท่านไปที่ทะเลทราย Scete ในพื้นที่ Wadi El Natroun และท่านสวมเครื่องแบบของฤาษีผู้แปลกหน้าเข้าไปในวัด และเกิดอัศจรรย์ครั้งใหญ่ขึ้นที่นั้น หลังจากที่พระสงฆ์วางขนมปัง (Qurban) ไว้บนพระแท่น แล้วเดินไปทั่ววัดเพื่อถวายกำยาน และหลังจากอ่านบทอ่านจดหมายกับพระวรสารแล้ว ท่านก็ยกผ้าคลุมพระแท่น(Ebrospharin [Altar Covering]) ออก กลับไม่พบขนมปังบนจานรองศีล ด้วยเหตุนี้ทำให้พระสงฆ์คนนั้นจึงรู้สึกไม่สบายใจและร้องไห้ออกมา ท่านหันไปหาพระสงฆ์ผู้ทำพิธีบูชาแล้วกล่าวว่า “โอ้ พี่น้องของพ่อ พ่อไม่พบขนมปังในจานรองศีล และพ่อไม่ทราบว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพราะบาปของตัวพ่อเองหรือเพราะบาปของท่าน” ผู้คนที่นั้นต่างร้องไห้ และทันใดนั้น ทูตสวรรค์ของพระเจ้าก็ประจักษ์แก่ตัวพระสงฆ์และบอกเขาว่า“เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นไม่ใช่เพราะบาปของลูกหรือเพราะบาปของพระสงฆ์ผู้ทำพิธีบูชาแต่เพราะท่านถวายขนมปัง (ศีลมหาสนิท) ต่อหน้าอัครบิดร” พระสงฆ์ตอบว่า “แล้วท่านอยู่ที่ไหน? โอ้ ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า” ทูตสวรรค์ชี้ไปที่นักบุญเซเวอรัส นักบุญเซเวอรัสยืนอยู่ที่มุมหนึ่งของวัด และพระสงฆ์จำท่านได้ด้วยพระหรรษทานของพระจิตพระสงฆ์มาหานักบุญเซเวอรัส ซึ่งขอให้ท่านประกอบพิธีกรรมต่อหลังจากที่พวกเขานำท่านไปที่พระแท่นด้วยความเคารพอย่างสูง เมื่อพระสงฆ์ขึ้นไปที่พระแท่นแล้ว เขาก็พบเครื่องบูชาวางอยู่บนจานรองเหมือนเช่นเคย ทุกคนที่นั้นต่างสรรเสริญพระเจ้าและสรรเสริญพระนามอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์”
ขนมปัง (Qurban) หรือศีลมหาสนิท (Holy Communion)
ผ้าคลุมพระแท่น (Ebrospharin [Altar Covering])
ในประเทศอียิปต์ นักบุญเซเวอรัสบริหารพระศาสนจักรผ่านผู้แทนหรือจดหมายของท่าน ด้วยพลังที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ท่านเขียนหนังสือเล่มแล้วเล่มเล่าเพื่อต่อต้านลัทธินอกรีตและผู้หลอกลวง ตอบจดหมายและให้ความเห็นส่วนตัวในประเด็นทางกฎหมายเมื่อท่านเผชิญกับปัญหาที่ยากลำบาก ท่านจะค้นหาแสงสว่างในพระคัมภีร์ไบเบิลหรือหันไปถามหามติของสภาเพื่อขอความช่วยเหลือ ในปีค.ศ. 535 ท่านเดินทางไปยังกรุงคอนสแตนติโนเปิลเพื่อตอบรับคำเชิญของจัสติเนียนที่ 1 เพื่อแสวงหาความสามัคคี ที่เมืองหลวง ท่านได้ Anthimus อัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลมาอยู่ฝ่ายเขา แต่ช่องว่างระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายยังคงกว้าง จากนั้นท่านก็กลับไปประเทศอียิปต์ซึ่งท่านเสียชีวิตที่นั่น
ในปีค.ศ. 518 เมื่อธรรมาสน์แห่งอันทิโอกว่างลงเนื่องจากการเบียดเบียนนักบุญเซเวอรัสผู้เป็นอัครบิดร ลัทธิชาลซีโดเนียนจึงเข้าควบคุมธรรมาสน์และแต่งตั้งอัครบิดรต่อไปนี้ซึ่งสืบทอดต่อกันมาจนถึงจารีตไบแซนไทน์ - Byzantine (Rum/Antiochene Orthodox) ได้แก่ เปาโล ชาวยิว (Paul the Jew) ค.ศ. 518-521 , ยูโฟรซิอุส(Euphrosius) ค.ศ. 521-528 , เอเฟรมแห่งอามิด (Ephrem of Amid) ค.ศ. 528-546
ร่างของนักบุญเซเวอรัส ผู้ศักดิ์สิทธิ์ถูกนำมาที่เมือง Sakha เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ค.ศ. 538 ที่บ้านของเศรษฐีผู้ชอบธรรมคนหนึ่งชื่อ “Dorotheus” ซึ่งหลบซ่อนอยู่Dorotheus ส่งร่างของท่านนักบุญทางเรือพร้อมกับคนน่าเชื่อถือไปยังอาราม Zujaj ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองอเล็กซานเดรีย
Dorotheus สั่งพวกเขาไม่ให้เข้าไปในอ่าว แต่ให้ไปทางทะเลสาบจนกว่าจะถึงฝั่งเมื่อมาถึงเมือง Kartasa หันหน้าไปทางทิศเหนือ พวกเขาก็แล่นเรือไปทางทิศตะวันตกแต่ไม่พบน้ำลึกพอที่จะแล่นเรือได้ ลูกเรือจึงโศกเศร้าและเป็นกังวล
พระเจ้า ผู้ทรงรักมนุษย์ ทรงรักษาร่างของนักบุญเซเวอรัสจากผู้ที่เกลียดชังท่านพระเจ้าทรงแสดงอัศจรรย์นี้ให้เป็นที่ประจักษ์ พระองค์ทรงทำให้เรือแล่นไปในน้ำตื้นเป็นระยะทาง 6 ไมล์จนกระทั่งเรือแล่นไปถึงฝั่ง
จากนั้นพวกเขานำร่างของท่านนักบุญไปที่อาราม Zujaj และนำไปวางไว้ในสถานที่ที่ Dorotheus สร้างไว้ เมืองอเล็กซานเดรียมีความชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่ง และพระเจ้าทรงแสดงหมายสำคัญและความน่าพิศวงมากมายผ่านร่างของนักบุญเซเวอรัส พระเจ้าทรงยกย่องนักบุญเซเวอรัสหลังจากที่ท่านเสียชีวิตมากกว่าตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่เสียอีก
พระศาสนจักรได้สถาปนาท่านให้เป็นนักปราชญ์แห่งพระศาสนจักรสากล พระศาสนจักรยังได้ระลึกถึงท่านในวันที่ท่านเสียชีวิต ชีวประวัติของท่านถูกเขียนโดยนักเขียนผู้มีความสามารถ 4 ท่าน ได้แก่ Zachariah Rhetor , ยอห์น อธิการของอารามBar Aphtonya (John, abbot of the Monastery of Bar Aphtonya) , อาทานาซีอุสที่ 1 อัครบิดรแห่งอันทิโอก (Athanasius I, Patriarch of Antioch) และผู้เขียนที่ไม่ประสงค์ออกนามอีกคนหนึ่ง
งานเขียนของนักบุญเซเวอรัสครอบคลุมถึงบรรดาการโต้แย้ง , พิธีกรรม , คำอธิบาย, บทเทศน์ และจดหมาย ซึ่งได้รับความเคารพอย่างสูง งานเขียนเกี่ยวกับพิธีกรรมมีทั้งหมด 14 บท ในบรรดางานเขียนเกี่ยวกับพิธีกรรม มีหนังสือที่ยอดเยี่ยมเล่มหนึ่งที่บรรจุเพลงสรรเสริญหรือเพลงสวดอันยอดเยี่ยมที่เขาแต่งขึ้น เพลงสวดเริ่มต้นด้วยประโยคสั้นๆจากพระคัมภีร์ไบเบิลและต่อเนื่องด้วยสำนวนที่สง่างามซึ่งสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความยำเกรงและความรักต่อพระเจ้า เพลงสวดเหล่านี้มีจำนวน 295 บท งานเขียนประเภทที่ 3 ของท่าน คือ คำอธิบาย ได้แก่ คำอธิบายพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญลูกา , คำอธิบายเรื่องวาระสุดท้ายของโลกโดยประกาศกเอเสเคียล ตลอดจนหัวข้อและข้อพระคัมภีร์ที่อาจพบได้ในบทเทศน์กับจดหมายของเขาซึ่ง “Bar Salibi” อ้างถึงในคำอธิบายพระวรสารของท่าน และโดย “Bar Hebraeus” อ้างถึงในหนังสือของท่านเรื่อง “คลังแห่งความลับ (The Storehouse of Secrets)"