นักบุญ เนอร์เซส ที่1 ผู้ยิ่งใหญ่ (Saint Nerses I the Great) หรือเรียกว่า นักบุญ เนอร์เซส ชาวพาร์เธีย (Saint Nerses the Parthian - Ներսէս Պարթև)
นักบุญเนอร์เซสเป็นอัครบิดร ชาวอาร์เมเนียที่มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 4 และเป็นเหลนชายของ “นักบุญเกรโกรี่ ผู้ให้ความกระจ่าง (Saint Gregory the Illuminator)” บิดาของท่าน คือ “Athenogenes“ และ อาของท่าน คือ “Bab” ซึ่งเป็นผู้สืบทอดบัลลังก์ของนักบุญเกรโกรี่เป็นฆราวาสและไม่มีความปรารถนาที่จะเป็นพระสงฆ์ ในฐานะทหารมืออาชีพ พวกเขาไม่แสดงออกทางชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณ และด้วยพฤติกรรมทางโลกของพวกเขาทำให้บรรดาบิชอปชาวอาร์เมเนียเชื่อว่า พวกเขาไม่เหมาะกับตำแหน่งหัวหน้าบิชอป
นักบุญเกรโกรี่ ผู้ให้ความกระจ่าง (Saint Gregory the Illuminator - Գրիգոր Լուսավորիչ)
ดังนั้นพระศาสนจักรจึงหันมาสนใจในตัวนักบุญเนอร์เซส บุตรชายของAthenogenes เพื่อดำรงตำแหน่งนี้ นักบุญเนอร์เซสใช้ชีวิตวัยเด็กในเมือง Caesarea โดยท่านได้แต่งงานกับ Sanducht (สันนิษฐานว่าเป็นลูกสาวของกษัตริย์ Diran) และทั้งคู่ก็มีลูกชายด้วยกัน ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นคริสตชนคาทอลิกที่มีชื่อเสียง นั่นก็คือ“นักบุญอิสอัคแห่งอาร์เมเนีย (Saint Isaac of Armenia)” ซึ่งเป็นปู่ของ “นักบุญวาร์ทัน มามิโกเนียน (Saint Vartan Mamigonian)” นักบุญเนอร์เซสเป็นข้าราชสำนักและดำรงตำแหน่งข้าราชสำนักของกษัตริย์ Arshag ที่ 2 (King Arshag II)
นักบุญอิสอัคแห่งอาร์เมเนีย (Saint Isaac of Armenia) หรือ นักบุญซาฮักแห่งอาร์เมเนีย (Saint Sahak of Armenia - Սահակ Պարթեւ)
นักบุญวาร์ทัน มามิโกเนียน (Saint Vartan Mamigonian - Վարդան Մամիկոնեան)
อย่างไรก็ตาม แม้ท่านจะใช้ชีวิตทางโลก แต่นักบุญเนอร์เซสก็เป็นคริสตชนที่เคร่งครัด ความสัมพันธ์ของท่านกับนักบุญเกรโกรี่ ผู้ให้ความกระจ่างความประทับใจให้กับบรรดาขุนนางในราชวงศ์ที่เข้าเฝ้ากษัตริย์ และพวกขุนนางก็แนะนำให้กษัตริย์โน้มน้าวให้นักบุญเนอร์เซสเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวอาร์เมเนีย นักบุญเนอร์เซสคนสุภาพถ่อมตัว จึงปฏิเสธข้อเสนอของพวกเขา เพราะรู้สึกว่าไม่คู่ควรกับเกียรติดังกล่าว แต่กษัตริย์ยืนกรานว่า นักบุญเนอร์เซสควรได้รับการศีลบวชเป็นสังฆานุกร จากนั้นจึงได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ และในที่สุดก็ได้รับศีลบวชเป็นบิชอป ท่านได้รับศีลบวชโดย “นักบุญยูซีเบียสแห่งซีซาเรีย (Saint Eusebius of Caesarea หรือ Saint Eusebius Pamphilius)” ในปี ค.ศ. 353
นักบุญยูซีเบียสแห่งซีซาเรีย (Saint Eusebius of Caesarea หรือ Saint Eusebius Pamphilius)
นักบุญเนอร์เซส ผู้เป็นอัครบิดรได้สร้างยุคใหม่ในประวัติศาสตร์อาร์เมเนีย ก่อนหน้านี้ พระศาสนจักรได้รับการระบุโดยหลักๆว่า มีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์และขุนนาง ปัจจุบัน นักบุญเนอร์เซสได้ทำให้พระศาสนจักรมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น นักบุญเนอร์เซสได้ทำหน้าที่หัวหน้าบิชอปทันที โดยทำการปรับปรุงวัดเก่า ก่อตั้งวัดใหม่ และดูแลความต้องการทางจิตวิญญาณของฝูงแกะ (สัตบุรุษ) ของท่าน อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นของศาสนาคริสต์ในประเทศอาร์เมเนีย (Armenia)🇦🇲 ผู้คนจำนวนมากปฏิบัติศาสนกิจอย่างเฉื่อยชา ด้วยเหตุนี้ นักบุญเนอร์เซสจึงได้จัดสภาบิชอปที่เมือง Ashdishad และแนะนำการปฏิรูปหลายอย่างเกี่ยวกับการนมัสการพระเจ้า , กฎหมายเกี่ยวกับการแต่งงาน และวันอดอาหาร เพื่อให้ความเชื่อของพระศาสนจักรมีความสม่ำเสมอมากขึ้น
นักบุญเนอร์เซสยังเป็นที่รู้จักจากความห่วงใยในความบริสุทธิ์ทางศีลธรรมและการรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของศีลสมรสกับชีวิตครอบครัว ท่านสร้างโรงเรียน , โรงพยาบาล, สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า , ที่พักพิงสำหรับคนยากจนและคนโรคเรื้อน แล้วท่านกระตุ้นให้สัตบุรุษของท่านรักษาหน่วยงานเหล่านี้ไว้ ดังนั้น นักบุญเนอร์เซสจึงได้รับการขนานนามจากหลายๆคนว่า “เป็นผู้ก่อตั้งองค์กรการกุศลของคริสตชนในประเทศอาร์เมเนีย” และได้รับการยกย่องว่า “เป็นพระสงฆ์ที่มีบทบาทของพระศาสนจักรในฐานะผู้พิทักษ์ชาวอาร์เมเนียด้านจิตวิญญาณ , สังคม และการศึกษา”
ในฐานะผู้นำ นักบุญเนอร์เซสยังมีส่วนร่วมในชีวิตทางการเมืองของประเทศอาร์เมเนียและเป็นหนึ่งในที่ปรึกษาหลักของกษัตริย์ Arshag ในช่วงปี ค.ศ. 353-359 อย่างไรก็ตาม การที่กษัตริย์ Arshag ยึดมั่นในนโยบายทางศาสนา (ลัทธิเอเรียน - Arianism) ซึ่งเป็นพันธมิตรของพระองค์ ของทางจักรพรรดิโรมัน ซึ่งเป็นนโยบายที่ขัดแย้งกับความเชื่อของนักบุญเนอร์เซสในศาสนาคริสต์นิกายออร์โธด็อกซ์ ทำให้จำเป็นต้องปลดนักบุญเนอร์เซสออกไป ท่านถูกเนรเทศไปเป็นเวลา 9 ปี เมื่อท่านกลับมากษัตริย์ Bab พระราชโอรสของกษัตริย์ Arshag ก็ขึ้นครองราชย์ ความขัดแย้งระหว่างของทั้งสองทวีความรุนแรงขึ้นในอีกไม่กี่ปีต่อมา
ความแตกต่างทางศาสนา รวมถึงการที่นักบุญเนอร์เซสประณามความเสื่อมทรามทางศีลธรรมของกษัตริย์ Bab เป็นสาเหตุที่ทำให้นักบุญเนอร์เซสเสียชีวิตกะทันหันก่อนเวลาอันควร ตามคำสั่งของกษัตริย์ นักบุญเนอร์เซสถูกวางยาพิษในปีค.ศ. 373 ท่านถูกฝังที่เมือง Til ใกล้กับหลุมฝังศพของนักบุญผู้เป็นอาของท่าน “นักบุญแอริสดาเจส ที่1 (Saint Arisdages I หรือ Saint Aristakes I - Արիստակէս Ա)” อาสนวิหารที่สร้างขึ้นบนหลุมฝังศพเดิมถูกทำลายในศตวรรษที่ 7 แม้ว่าจะไม่ทราบแน่ชัดว่าที่ใดแต่มีการค้นพบพระธาตุและแจกจ่ายในศตวรรษที่ 13 แถววัดในเมือง Erzinjan และบริเวณใกล้ๆกับหมู่บ้าน Kee ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาราม Dirashen อารามอีกแห่งใกล้กับเมือง Til คือ Chukhdag Hayrabedats อ้างว่า ค้นพบพระธาตุของนักบุญเนอร์เซสในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 7 เช่นกัน
CR. :
https://armenianchurch.us/the-saints/catholicos-st-nersess-the-great/
#คริสต์ #ออร์โธด็อกซ์ #คาทอลิก #คริสต์ศรัทธา #ชีวประวัติ #นักบุญเนอร์เซสที่1ผู้ยิ่งใหญ่ #นักบุญเนอร์เซสชาวพาร์เธีย #นักบุญเนอร์เซส #นักบุญ #ประวัติศาสตร์#อาร์เมเนียนออร์โธด็อกซ์ #อาร์เมเนียนคาทอลิก #คาทอลิกตะวันออก #ประเทศอาร์เมเนีย #อาร์เมเนีย #พระธาตุ #orthodox #catholic #ArmenianApostolicChurch #ArmenianCatholicChurch #EasternCatholic #saint #armenia #SaintNersesITheGreat #SaintNersesTheParthian #SaintNerses #ՆերսէսՊարթև
CR. : คริสต์ศรัทธา
https://www.facebook.com/share/p/BtKBdZMaGX7gZdPk/?mibextid=WC7FNe
ชีวประวัติ นักบุญ เนอร์เซส ที่1 ผู้ยิ่งใหญ่ (Saint Nerses I the Great - Ներսէս Ա Մեծ)
นักบุญ เนอร์เซส ที่1 ผู้ยิ่งใหญ่ (Saint Nerses I the Great) หรือเรียกว่า นักบุญ เนอร์เซส ชาวพาร์เธีย (Saint Nerses the Parthian - Ներսէս Պարթև)
นักบุญเนอร์เซสเป็นอัครบิดร ชาวอาร์เมเนียที่มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 4 และเป็นเหลนชายของ “นักบุญเกรโกรี่ ผู้ให้ความกระจ่าง (Saint Gregory the Illuminator)” บิดาของท่าน คือ “Athenogenes“ และ อาของท่าน คือ “Bab” ซึ่งเป็นผู้สืบทอดบัลลังก์ของนักบุญเกรโกรี่เป็นฆราวาสและไม่มีความปรารถนาที่จะเป็นพระสงฆ์ ในฐานะทหารมืออาชีพ พวกเขาไม่แสดงออกทางชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณ และด้วยพฤติกรรมทางโลกของพวกเขาทำให้บรรดาบิชอปชาวอาร์เมเนียเชื่อว่า พวกเขาไม่เหมาะกับตำแหน่งหัวหน้าบิชอป
นักบุญเกรโกรี่ ผู้ให้ความกระจ่าง (Saint Gregory the Illuminator - Գրիգոր Լուսավորիչ)
ดังนั้นพระศาสนจักรจึงหันมาสนใจในตัวนักบุญเนอร์เซส บุตรชายของAthenogenes เพื่อดำรงตำแหน่งนี้ นักบุญเนอร์เซสใช้ชีวิตวัยเด็กในเมือง Caesarea โดยท่านได้แต่งงานกับ Sanducht (สันนิษฐานว่าเป็นลูกสาวของกษัตริย์ Diran) และทั้งคู่ก็มีลูกชายด้วยกัน ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นคริสตชนคาทอลิกที่มีชื่อเสียง นั่นก็คือ“นักบุญอิสอัคแห่งอาร์เมเนีย (Saint Isaac of Armenia)” ซึ่งเป็นปู่ของ “นักบุญวาร์ทัน มามิโกเนียน (Saint Vartan Mamigonian)” นักบุญเนอร์เซสเป็นข้าราชสำนักและดำรงตำแหน่งข้าราชสำนักของกษัตริย์ Arshag ที่ 2 (King Arshag II)
นักบุญอิสอัคแห่งอาร์เมเนีย (Saint Isaac of Armenia) หรือ นักบุญซาฮักแห่งอาร์เมเนีย (Saint Sahak of Armenia - Սահակ Պարթեւ)
นักบุญวาร์ทัน มามิโกเนียน (Saint Vartan Mamigonian - Վարդան Մամիկոնեան)
อย่างไรก็ตาม แม้ท่านจะใช้ชีวิตทางโลก แต่นักบุญเนอร์เซสก็เป็นคริสตชนที่เคร่งครัด ความสัมพันธ์ของท่านกับนักบุญเกรโกรี่ ผู้ให้ความกระจ่างความประทับใจให้กับบรรดาขุนนางในราชวงศ์ที่เข้าเฝ้ากษัตริย์ และพวกขุนนางก็แนะนำให้กษัตริย์โน้มน้าวให้นักบุญเนอร์เซสเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวอาร์เมเนีย นักบุญเนอร์เซสคนสุภาพถ่อมตัว จึงปฏิเสธข้อเสนอของพวกเขา เพราะรู้สึกว่าไม่คู่ควรกับเกียรติดังกล่าว แต่กษัตริย์ยืนกรานว่า นักบุญเนอร์เซสควรได้รับการศีลบวชเป็นสังฆานุกร จากนั้นจึงได้รับศีลบวชเป็นพระสงฆ์ และในที่สุดก็ได้รับศีลบวชเป็นบิชอป ท่านได้รับศีลบวชโดย “นักบุญยูซีเบียสแห่งซีซาเรีย (Saint Eusebius of Caesarea หรือ Saint Eusebius Pamphilius)” ในปี ค.ศ. 353
นักบุญยูซีเบียสแห่งซีซาเรีย (Saint Eusebius of Caesarea หรือ Saint Eusebius Pamphilius)
นักบุญเนอร์เซส ผู้เป็นอัครบิดรได้สร้างยุคใหม่ในประวัติศาสตร์อาร์เมเนีย ก่อนหน้านี้ พระศาสนจักรได้รับการระบุโดยหลักๆว่า มีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์และขุนนาง ปัจจุบัน นักบุญเนอร์เซสได้ทำให้พระศาสนจักรมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น นักบุญเนอร์เซสได้ทำหน้าที่หัวหน้าบิชอปทันที โดยทำการปรับปรุงวัดเก่า ก่อตั้งวัดใหม่ และดูแลความต้องการทางจิตวิญญาณของฝูงแกะ (สัตบุรุษ) ของท่าน อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นของศาสนาคริสต์ในประเทศอาร์เมเนีย (Armenia)🇦🇲 ผู้คนจำนวนมากปฏิบัติศาสนกิจอย่างเฉื่อยชา ด้วยเหตุนี้ นักบุญเนอร์เซสจึงได้จัดสภาบิชอปที่เมือง Ashdishad และแนะนำการปฏิรูปหลายอย่างเกี่ยวกับการนมัสการพระเจ้า , กฎหมายเกี่ยวกับการแต่งงาน และวันอดอาหาร เพื่อให้ความเชื่อของพระศาสนจักรมีความสม่ำเสมอมากขึ้น
นักบุญเนอร์เซสยังเป็นที่รู้จักจากความห่วงใยในความบริสุทธิ์ทางศีลธรรมและการรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของศีลสมรสกับชีวิตครอบครัว ท่านสร้างโรงเรียน , โรงพยาบาล, สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า , ที่พักพิงสำหรับคนยากจนและคนโรคเรื้อน แล้วท่านกระตุ้นให้สัตบุรุษของท่านรักษาหน่วยงานเหล่านี้ไว้ ดังนั้น นักบุญเนอร์เซสจึงได้รับการขนานนามจากหลายๆคนว่า “เป็นผู้ก่อตั้งองค์กรการกุศลของคริสตชนในประเทศอาร์เมเนีย” และได้รับการยกย่องว่า “เป็นพระสงฆ์ที่มีบทบาทของพระศาสนจักรในฐานะผู้พิทักษ์ชาวอาร์เมเนียด้านจิตวิญญาณ , สังคม และการศึกษา”
ในฐานะผู้นำ นักบุญเนอร์เซสยังมีส่วนร่วมในชีวิตทางการเมืองของประเทศอาร์เมเนียและเป็นหนึ่งในที่ปรึกษาหลักของกษัตริย์ Arshag ในช่วงปี ค.ศ. 353-359 อย่างไรก็ตาม การที่กษัตริย์ Arshag ยึดมั่นในนโยบายทางศาสนา (ลัทธิเอเรียน - Arianism) ซึ่งเป็นพันธมิตรของพระองค์ ของทางจักรพรรดิโรมัน ซึ่งเป็นนโยบายที่ขัดแย้งกับความเชื่อของนักบุญเนอร์เซสในศาสนาคริสต์นิกายออร์โธด็อกซ์ ทำให้จำเป็นต้องปลดนักบุญเนอร์เซสออกไป ท่านถูกเนรเทศไปเป็นเวลา 9 ปี เมื่อท่านกลับมากษัตริย์ Bab พระราชโอรสของกษัตริย์ Arshag ก็ขึ้นครองราชย์ ความขัดแย้งระหว่างของทั้งสองทวีความรุนแรงขึ้นในอีกไม่กี่ปีต่อมา
ความแตกต่างทางศาสนา รวมถึงการที่นักบุญเนอร์เซสประณามความเสื่อมทรามทางศีลธรรมของกษัตริย์ Bab เป็นสาเหตุที่ทำให้นักบุญเนอร์เซสเสียชีวิตกะทันหันก่อนเวลาอันควร ตามคำสั่งของกษัตริย์ นักบุญเนอร์เซสถูกวางยาพิษในปีค.ศ. 373 ท่านถูกฝังที่เมือง Til ใกล้กับหลุมฝังศพของนักบุญผู้เป็นอาของท่าน “นักบุญแอริสดาเจส ที่1 (Saint Arisdages I หรือ Saint Aristakes I - Արիստակէս Ա)” อาสนวิหารที่สร้างขึ้นบนหลุมฝังศพเดิมถูกทำลายในศตวรรษที่ 7 แม้ว่าจะไม่ทราบแน่ชัดว่าที่ใดแต่มีการค้นพบพระธาตุและแจกจ่ายในศตวรรษที่ 13 แถววัดในเมือง Erzinjan และบริเวณใกล้ๆกับหมู่บ้าน Kee ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาราม Dirashen อารามอีกแห่งใกล้กับเมือง Til คือ Chukhdag Hayrabedats อ้างว่า ค้นพบพระธาตุของนักบุญเนอร์เซสในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 7 เช่นกัน
CR. : https://armenianchurch.us/the-saints/catholicos-st-nersess-the-great/
#คริสต์ #ออร์โธด็อกซ์ #คาทอลิก #คริสต์ศรัทธา #ชีวประวัติ #นักบุญเนอร์เซสที่1ผู้ยิ่งใหญ่ #นักบุญเนอร์เซสชาวพาร์เธีย #นักบุญเนอร์เซส #นักบุญ #ประวัติศาสตร์#อาร์เมเนียนออร์โธด็อกซ์ #อาร์เมเนียนคาทอลิก #คาทอลิกตะวันออก #ประเทศอาร์เมเนีย #อาร์เมเนีย #พระธาตุ #orthodox #catholic #ArmenianApostolicChurch #ArmenianCatholicChurch #EasternCatholic #saint #armenia #SaintNersesITheGreat #SaintNersesTheParthian #SaintNerses #ՆերսէսՊարթև
CR. : คริสต์ศรัทธา
https://www.facebook.com/share/p/BtKBdZMaGX7gZdPk/?mibextid=WC7FNe