การให้ทานที่ถูกจำกัดด้วยเวลา ได้อานิสงค์อย่างแรง
กาลทาน หรือทานที่ให้ในกาลอันควรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในกาลทานสูตร
อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ว่ามีอยู่ ๕ อย่าง คือ
๑.
อาคันตุกะทาน คือทานที่ให้แก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน หมายความว่าผู้นั้นเป็นผู้มาใหม่ ยังไม่รู้จัก สถานที่และบุคคลในถิ่นนั้น
เราก็ช่วยสงเคราะห์ให้ที่พักหรือข้าวของต่างๆ เพื่อให้เขาได้รับความสะดวกสบาย แม้พระภิกษุที่จรมาจากที่อื่น
ท่านยังไม่รู้จักทางที่จะไปบิณฑบาตเป็นต้น ภิกษุที่อยู่ก่อนหรืออุบาสก อุบาสิกา ก็ช่วยอนุเคราะห์ท่าน ด้วยการถวายอาหารบิณฑบาต
และของใช้ที่จำเป็นแก่สมณะ ทำให้ท่านได้รับความ สะดวกสบายไม่เดือดร้อน อย่างนี้จัดเป็น อาคันตุกะทาน และเป็นกาลทาน
๒.
คมิกะทาน คือทานที่ให้แก่ผู้เตรียมตัวจะไป หมายความว่า ให้แก่บุคคลที่เตรียมตัวจะไปยัง ถิ่นอื่น
สัตบุรุษย่อมสงเคราะห์คนที่จะเดินทางไปนั้น ด้วยค่าพาหนะ หรือ ด้วยยานพาหนะ ตลอดจนเครื่อง อุปโภคบริโภคที่สมควร
๓.
ทุพภิกขทาน คือ ทานที่ให้ในสมัยข้าวยากหมากแพง ผู้คนอดอยาก ได้รับความเดือดร้อน แม้ในสมัยที่น้ำท่วม ไฟไหม้ ผู้คนเดือดร้อนไร้ที่อยู่
การให้ที่พักอาศัย และข้าวของ เครื่องใช้ข้าวปลาอาหาร ในเวลานั้น ก็จัดเป็นกาลทาน
๔.
นวสัสสะทาน การให้ข้าวใหม่แก่ผู้มีศีล
๕.
นวผละทาน การให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล
ที่ข้อ ๔ และข้อ ๕ จัดเป็นกาลทาน เพราะข้าวใหม่ก็ดีผลไม้ที่ออกใหม่ตามฤดูกาลก็ดี มิใช่ว่า จะมีอยู่เสมอตลอดปี
มีเป็นครั้งเป็นคราวตามฤดูกาลเท่านั้น สัตบุรุษย่อมนำข้าวใหม่และผลไม้ที่เพิ่งออกใหม่ ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีล
แล้วจึงบริโภคเองต่อภายหลัง ท่านที่เคยมีชีวิตอยู่ในชนบทคงจะเคยพบเห็น ว่า เวลาที่ข้าวออกรวงเป็นน้ำนม
ชาวนาก็จะเก็บเอารวงข้าวอ่อนมาทำเป็นข้าวยาคูถวายพระ ข้าวแก่อีกนิด ก็เอามาทำเป็นข้าวเม่า ข้าวสุกแล้วก็เอามาสีเป็นข้าวสารหุง
ถวายพระภิกษุผู้ทรงศีลก่อน แม้ชาวสวนเมื่อ ผลไม้แก่จัดเขาก็จะเก็บเอามาถวายพระเสียก่อน แล้วจึงนำออกขายหรือบริโภคเอง
คนที่มิใช่ชาวนาชาวสวน บางคน เมื่อเห็นข้าวใหม่หรือผลไม้ออกใหม่วางขายตามตลาด ก็ซื้อมาแบ่งถวายพระเสียก่อนแล้วจึงบริโภค
นับว่าท่านเหล่านี้ ได้ทำบุญของท่านถูกกาละเทศะเป็นอย่างยิ่ง ตรงต่อคำสอนของพระบรมศาสดา ในข้อ กาลทาน
บางแห่งท่านรวมเอาการให้ข้าวใหม่ และการให้ผลไม้ใหม่ไว้เป็นข้อเดียวกัน แล้วเพิ่มคิลานทาน
คือการให้ทานแก่คนเจ็บไข้ไร้ที่พึ่ง ด้วยยา และอาหารเป็นต้น ซึ่งคิลานทาน นี้ก็สมควรจะเป็นกาลทานได้ เช่นกัน
เพราะเหตุที่กาลทาน เป็นทานที่ให้ในเวลาจำกัดทำไม่ได้โดยสม่ำเสมอ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่าเป็นทานที่มีผลมาก
ยิ่งให้ในผู้มีศีลผู้ประพฤติตรงยิ่งมีผลมาก แม้บุคคลผู้อนุโทนาต่อทานของผู้นั้น หรือช่วยเหลือให้ทานของผู้นั้นสำเร็จผล
ก็ได้รับผล ทั้งบุญของผู้ให้ก็ไม่บกพร่อง เพราะฉะนั้นบุคคลจึงควร ยินดีในการให้ทาน ทานที่บุคคลให้แล้วย่อมมีผลมาก
ทั้งยังติดตามไปเป็นที่พึ่งแก่เขาในโลกหน้าด้วย
🍁 กาลทานสูตร อังคุตตรนิกายปัญจกนิบาต ว่ามีอยู่ ๕ อย่าง คือ
กาลทาน หรือทานที่ให้ในกาลอันควรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในกาลทานสูตร
อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ว่ามีอยู่ ๕ อย่าง คือ
๑. อาคันตุกะทาน คือทานที่ให้แก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน หมายความว่าผู้นั้นเป็นผู้มาใหม่ ยังไม่รู้จัก สถานที่และบุคคลในถิ่นนั้น
เราก็ช่วยสงเคราะห์ให้ที่พักหรือข้าวของต่างๆ เพื่อให้เขาได้รับความสะดวกสบาย แม้พระภิกษุที่จรมาจากที่อื่น
ท่านยังไม่รู้จักทางที่จะไปบิณฑบาตเป็นต้น ภิกษุที่อยู่ก่อนหรืออุบาสก อุบาสิกา ก็ช่วยอนุเคราะห์ท่าน ด้วยการถวายอาหารบิณฑบาต
และของใช้ที่จำเป็นแก่สมณะ ทำให้ท่านได้รับความ สะดวกสบายไม่เดือดร้อน อย่างนี้จัดเป็น อาคันตุกะทาน และเป็นกาลทาน
๒. คมิกะทาน คือทานที่ให้แก่ผู้เตรียมตัวจะไป หมายความว่า ให้แก่บุคคลที่เตรียมตัวจะไปยัง ถิ่นอื่น
สัตบุรุษย่อมสงเคราะห์คนที่จะเดินทางไปนั้น ด้วยค่าพาหนะ หรือ ด้วยยานพาหนะ ตลอดจนเครื่อง อุปโภคบริโภคที่สมควร
๓. ทุพภิกขทาน คือ ทานที่ให้ในสมัยข้าวยากหมากแพง ผู้คนอดอยาก ได้รับความเดือดร้อน แม้ในสมัยที่น้ำท่วม ไฟไหม้ ผู้คนเดือดร้อนไร้ที่อยู่
การให้ที่พักอาศัย และข้าวของ เครื่องใช้ข้าวปลาอาหาร ในเวลานั้น ก็จัดเป็นกาลทาน
๔. นวสัสสะทาน การให้ข้าวใหม่แก่ผู้มีศีล
๕. นวผละทาน การให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล
ที่ข้อ ๔ และข้อ ๕ จัดเป็นกาลทาน เพราะข้าวใหม่ก็ดีผลไม้ที่ออกใหม่ตามฤดูกาลก็ดี มิใช่ว่า จะมีอยู่เสมอตลอดปี
มีเป็นครั้งเป็นคราวตามฤดูกาลเท่านั้น สัตบุรุษย่อมนำข้าวใหม่และผลไม้ที่เพิ่งออกใหม่ ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีล
แล้วจึงบริโภคเองต่อภายหลัง ท่านที่เคยมีชีวิตอยู่ในชนบทคงจะเคยพบเห็น ว่า เวลาที่ข้าวออกรวงเป็นน้ำนม
ชาวนาก็จะเก็บเอารวงข้าวอ่อนมาทำเป็นข้าวยาคูถวายพระ ข้าวแก่อีกนิด ก็เอามาทำเป็นข้าวเม่า ข้าวสุกแล้วก็เอามาสีเป็นข้าวสารหุง
ถวายพระภิกษุผู้ทรงศีลก่อน แม้ชาวสวนเมื่อ ผลไม้แก่จัดเขาก็จะเก็บเอามาถวายพระเสียก่อน แล้วจึงนำออกขายหรือบริโภคเอง
คนที่มิใช่ชาวนาชาวสวน บางคน เมื่อเห็นข้าวใหม่หรือผลไม้ออกใหม่วางขายตามตลาด ก็ซื้อมาแบ่งถวายพระเสียก่อนแล้วจึงบริโภค
นับว่าท่านเหล่านี้ ได้ทำบุญของท่านถูกกาละเทศะเป็นอย่างยิ่ง ตรงต่อคำสอนของพระบรมศาสดา ในข้อ กาลทาน
บางแห่งท่านรวมเอาการให้ข้าวใหม่ และการให้ผลไม้ใหม่ไว้เป็นข้อเดียวกัน แล้วเพิ่มคิลานทาน
คือการให้ทานแก่คนเจ็บไข้ไร้ที่พึ่ง ด้วยยา และอาหารเป็นต้น ซึ่งคิลานทาน นี้ก็สมควรจะเป็นกาลทานได้ เช่นกัน
เพราะเหตุที่กาลทาน เป็นทานที่ให้ในเวลาจำกัดทำไม่ได้โดยสม่ำเสมอ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่าเป็นทานที่มีผลมาก
ยิ่งให้ในผู้มีศีลผู้ประพฤติตรงยิ่งมีผลมาก แม้บุคคลผู้อนุโทนาต่อทานของผู้นั้น หรือช่วยเหลือให้ทานของผู้นั้นสำเร็จผล
ก็ได้รับผล ทั้งบุญของผู้ให้ก็ไม่บกพร่อง เพราะฉะนั้นบุคคลจึงควร ยินดีในการให้ทาน ทานที่บุคคลให้แล้วย่อมมีผลมาก
ทั้งยังติดตามไปเป็นที่พึ่งแก่เขาในโลกหน้าด้วย