อ่านหน้านี้ได้ที่
https://book.watnyanaves.net/buddhadhamma/index.php?cid=613&pid=26
------------------------
พอกดปุ่มคำว่า เจตนา
----------------------
พอเห็นอ้างอิง (อง.ฉกฺก. ๒๒/๓๐๘/๓๗๕) พอกดเข้าไปก็เจอ
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๗. ทานสูตร
ที่อยู่หน้านี้
https://84000.org/tipitaka/read/?22/308/375
-----------
ครับ ชีวิตนี้ ถ้าเข้าถึงพระธรรมได้อย่างนี้ ไม่ต้องเสียเงิน ไม่มีใครเขาปกปิด เผยแพร่ชัดเจน มีที่มาที่ไปอ้างอิงพระไตรปิฎกเล่มนี้หน้านี้ชัดเจนไม่ปกปิด คนที่สอนเป็นพระปฏิบัติดี มีความรู้ ได้รับการขนานนามว่าเป็นนักปราชญ์หมายเลข 1 เป็นผู้มีพระภิกษุในประเทศ และต่างประเทศให้ความเคารพยกย่องในปัญญา เป็นผู้ปฏิบัติดี ครบศีล 227 ข้อ มีที่มาที่ไปชัดเจน มีกุฏิเล็กๆ มีความเมตตากรุณาสูงยิ่ง
- มีพระธรรมให้อ่าน มีท่านกัลยาณมิตรผู้เป็นครูดีอย่างนี้ ชีวิตนี้ในภพนี้ หากไม่ให้ความสนใจ เงี่ยหูฟัง ก็คงเสียดายแย่ครับ
- และเมื่อเปิดเจอ ทานสูตร ก็อ่าน ทานสูตร สักรอบนึง วันหนึ่งๆได้อ่านพระสูตร สักสูตรหนึ่ง ชีวิตนี้ก็ยอดเยี่ยมแล้วในวันนี้อย่างยิ่ง
- ข้อความสำคัญในพระสูตร ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาชื่อนันทมารดาชาวเมืองเวฬุกัณฑกะนั้น
ถวายทักษิณาทานอันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ ในภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรและ
พระโมคคัลลานะเป็นประมุข ก็ทักษิณาทานอันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการเป็น
อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย องค์ ๓ ของทายก องค์ ๓ ของปฏิคาหก องค์ ๓
ของทายกเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทายกก่อนให้ทาน เป็นผู้ดีใจ ๑ กำลัง
ให้ทานอยู่ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส ๑ ครั้นให้ทานแล้วย่อมปลื้มใจ ๑ นี้องค์ ๓ ของ
ทายก องค์ ๓ ของปฏิคาหกเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิคาหกในศาสนานี้
เป็นผู้ปราศจากราคะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ ๑ เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือ
ปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ ๑ เป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ ๑
นี้องค์ ๓ ของปฏิคาหก องค์ ๓ ของทายก องค์ ๓ ของปฏิคาหก ย่อมมีด้วย
ประการดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทักษิณาทานที่ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้แล
...
-------------
น่าสนใจอ่านพระอรรถกถาด้วย ที่นี่
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=308
ใจความสำคัญมีดังนี้...
บทว่า ปุพฺเพว ทานา สุมโน ความว่า เป็นผู้ถึงความโสมนัสตั้งเดือนหนึ่งว่า เราจักถวายทาน. อธิบายว่า บุรพเจตนา ในคำว่า ปุพฺเพว ทานา สุมโน นี้ ย่อมมีแก่ผู้เริ่มต้นทำนา โดยคิดอยู่ว่า เราจักถวายทานด้วยข้าวกล้าที่เกิดจากนานี้ จำเดิมแต่กาลที่เกิดความคิดขึ้นว่า เราจักถวายทาน.
ส่วนมุญจนเจตนา (ความตั้งใจสละ) ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า เมื่อให้ย่อมยังจิตให้ผ่องใสดังนี้ ย่อมมีได้ในเวลาให้ทานเท่านั้น แต่อปรเจตนานี้ว่า ครั้นให้แล้วก็มีจิตปลาบปลื้มดังนี้ ย่อมมีแก่ผู้ระลึกถึงในภายหลัง ในกาลต่อๆ มา.
บทว่า วีตราคา ได้แก่ พระขีณาสพผู้ปราศจากราคะ.
บทว่า ราควินยาย วา ปฏิปนฺนา ความว่า ดำเนินปฏิปทาที่เป็นเหตุนำราคะออกไป. และเทศนานี้เป็นเทศนาอย่างอุกฤษฏ์ แต่มิใช่สำหรับพระขีณาสพอย่างเดียวเท่านั้น แม้พระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน โดยที่สุดแม้สามเณรผู้ถือภัณฑะบวชแล้วในวันนั้น ทักษิณาที่ถวายแล้วย่อมชื่อว่าประกอบไปด้วยองค์ ๖ ทั้งนั้น. เพราะว่า แม้สามเณรก็บวชเพื่อโสดาปัตติมรรคเหมือนกัน.
ความบริบูรณ์แห่งทาน ชื่อว่า ยัญสัมปทา.
บทว่า สญฺญตา ความว่า สำรวมแล้วด้วยคำสำรวมคือศีล.
บทว่า สยํ อาจมยิตฺวาน ความว่า ตนเองล้างมือ ล้างเท้า แล้วล้างหน้า.
บทว่า สเกหิ ปาณิภิ ความว่า ด้วยมือของตน. ปาฐะเป็น สเยหิ ก็มี.
บทว่า สทฺโธ ได้แก่ เชื่อคุณพระรัตนตรัย.
บทว่า มุตฺเตน เจตสา ความว่า มีจิตหลุดพ้นจากความตระหนี่ในลาภเป็นต้น.
บทว่า อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลกํ ได้แก่ เทวโลกที่ปราศจากทุกข์มีแต่สุขและโสมนัสอันโอฬาร.
จบอรรถกถาทานสูตรที่ ๗
-----------------------------------------------------
----จบ กระทู้นี้ครับ
ความสุขของคนแก่ครับ
หนังสือพุทธธรรม - ภาพรวม มัชเฌนธรรมเทศนา - หน้า 18
https://book.watnyanaves.net/buddhadhamma/index.php?cid=613&pid=26
------------------------
พอกดปุ่มคำว่า เจตนา
----------------------
พอเห็นอ้างอิง (อง.ฉกฺก. ๒๒/๓๐๘/๓๗๕) พอกดเข้าไปก็เจอ
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๗. ทานสูตร
ที่อยู่หน้านี้ https://84000.org/tipitaka/read/?22/308/375
-----------
ครับ ชีวิตนี้ ถ้าเข้าถึงพระธรรมได้อย่างนี้ ไม่ต้องเสียเงิน ไม่มีใครเขาปกปิด เผยแพร่ชัดเจน มีที่มาที่ไปอ้างอิงพระไตรปิฎกเล่มนี้หน้านี้ชัดเจนไม่ปกปิด คนที่สอนเป็นพระปฏิบัติดี มีความรู้ ได้รับการขนานนามว่าเป็นนักปราชญ์หมายเลข 1 เป็นผู้มีพระภิกษุในประเทศ และต่างประเทศให้ความเคารพยกย่องในปัญญา เป็นผู้ปฏิบัติดี ครบศีล 227 ข้อ มีที่มาที่ไปชัดเจน มีกุฏิเล็กๆ มีความเมตตากรุณาสูงยิ่ง
- มีพระธรรมให้อ่าน มีท่านกัลยาณมิตรผู้เป็นครูดีอย่างนี้ ชีวิตนี้ในภพนี้ หากไม่ให้ความสนใจ เงี่ยหูฟัง ก็คงเสียดายแย่ครับ
- และเมื่อเปิดเจอ ทานสูตร ก็อ่าน ทานสูตร สักรอบนึง วันหนึ่งๆได้อ่านพระสูตร สักสูตรหนึ่ง ชีวิตนี้ก็ยอดเยี่ยมแล้วในวันนี้อย่างยิ่ง
- ข้อความสำคัญในพระสูตร ...
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาชื่อนันทมารดาชาวเมืองเวฬุกัณฑกะนั้น
ถวายทักษิณาทานอันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ ในภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรและ
พระโมคคัลลานะเป็นประมุข ก็ทักษิณาทานอันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการเป็น
อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย องค์ ๓ ของทายก องค์ ๓ ของปฏิคาหก องค์ ๓
ของทายกเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทายกก่อนให้ทาน เป็นผู้ดีใจ ๑ กำลัง
ให้ทานอยู่ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส ๑ ครั้นให้ทานแล้วย่อมปลื้มใจ ๑ นี้องค์ ๓ ของ
ทายก องค์ ๓ ของปฏิคาหกเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิคาหกในศาสนานี้
เป็นผู้ปราศจากราคะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ ๑ เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือ
ปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ ๑ เป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ ๑
นี้องค์ ๓ ของปฏิคาหก องค์ ๓ ของทายก องค์ ๓ ของปฏิคาหก ย่อมมีด้วย
ประการดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทักษิณาทานที่ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้แล
...
-------------
น่าสนใจอ่านพระอรรถกถาด้วย ที่นี่
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=308
ใจความสำคัญมีดังนี้...
บทว่า ปุพฺเพว ทานา สุมโน ความว่า เป็นผู้ถึงความโสมนัสตั้งเดือนหนึ่งว่า เราจักถวายทาน. อธิบายว่า บุรพเจตนา ในคำว่า ปุพฺเพว ทานา สุมโน นี้ ย่อมมีแก่ผู้เริ่มต้นทำนา โดยคิดอยู่ว่า เราจักถวายทานด้วยข้าวกล้าที่เกิดจากนานี้ จำเดิมแต่กาลที่เกิดความคิดขึ้นว่า เราจักถวายทาน.
ส่วนมุญจนเจตนา (ความตั้งใจสละ) ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า เมื่อให้ย่อมยังจิตให้ผ่องใสดังนี้ ย่อมมีได้ในเวลาให้ทานเท่านั้น แต่อปรเจตนานี้ว่า ครั้นให้แล้วก็มีจิตปลาบปลื้มดังนี้ ย่อมมีแก่ผู้ระลึกถึงในภายหลัง ในกาลต่อๆ มา.
บทว่า วีตราคา ได้แก่ พระขีณาสพผู้ปราศจากราคะ.
บทว่า ราควินยาย วา ปฏิปนฺนา ความว่า ดำเนินปฏิปทาที่เป็นเหตุนำราคะออกไป. และเทศนานี้เป็นเทศนาอย่างอุกฤษฏ์ แต่มิใช่สำหรับพระขีณาสพอย่างเดียวเท่านั้น แม้พระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน โดยที่สุดแม้สามเณรผู้ถือภัณฑะบวชแล้วในวันนั้น ทักษิณาที่ถวายแล้วย่อมชื่อว่าประกอบไปด้วยองค์ ๖ ทั้งนั้น. เพราะว่า แม้สามเณรก็บวชเพื่อโสดาปัตติมรรคเหมือนกัน.
ความบริบูรณ์แห่งทาน ชื่อว่า ยัญสัมปทา.
บทว่า สญฺญตา ความว่า สำรวมแล้วด้วยคำสำรวมคือศีล.
บทว่า สยํ อาจมยิตฺวาน ความว่า ตนเองล้างมือ ล้างเท้า แล้วล้างหน้า.
บทว่า สเกหิ ปาณิภิ ความว่า ด้วยมือของตน. ปาฐะเป็น สเยหิ ก็มี.
บทว่า สทฺโธ ได้แก่ เชื่อคุณพระรัตนตรัย.
บทว่า มุตฺเตน เจตสา ความว่า มีจิตหลุดพ้นจากความตระหนี่ในลาภเป็นต้น.
บทว่า อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลกํ ได้แก่ เทวโลกที่ปราศจากทุกข์มีแต่สุขและโสมนัสอันโอฬาร.
จบอรรถกถาทานสูตรที่ ๗
-----------------------------------------------------
----จบ กระทู้นี้ครับ
ความสุขของคนแก่ครับ