คิดยังไงกับคำสอนที่ว่า "คนดีมักจะเห็นผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าส่วนตน"

โดยส่วนตัวผมไม่ค่อยชอบคำสอนนี้เท่าไหร่ เพราะมันเหมือนสอนให้คน เอาสังคมมาเป็นแรงกดดันตัวเอง ว่า
"ฉันต้องทำดีเพื่อสังคม"  
เมื่อเกิดความกดดันอย่างนี้ สิ่งที่ตามมาก็คือความเหนื่อย ความเครียด หรืออาจจะไม่มีความสุขในตัวเอง

แน่นอนว่าผมก็ไม่ได้เถียงไปหมด ผมก็เห็นด้วยอยู่นิดนึง ก็เข้าใจว่า คนที่ดีต้องมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น ไม่เป็นผู้ตระหนี่ ในน้ำใจ ของตัวเอง
แต่ไม่ใช่เอาความสุขของตัวเอง ไปให้คนอื่น แบบในคำสอน ที่ว่า
" คนดีเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน"

อันนี้พูดเหมือนให้คน ใส่ใจคนรอบข้าง แต่ไม่ใส่ใจตนเอง ไม่รู้ว่าคำสอนนี้ใครเป็นคนคิดหรือมันมาได้ยังไง

ผมว่าควรเปลี่ยนเป็น
"คนดีคือผู้ให้ทาน ทั้งทาง กายวาจา ใจ "

ทานในที่นี้
(ตามคำสอนของพุทธศาสนา)
หมายถึง การที่มีคนหนึ่งสมมุติว่า ก. ต้องการจะแบ่งปัน ข.

ตามหลักคือ ผู้ให้ก็ต้องอยากให้ ผู้รับก็ต้องอยากรับ ต่างฝ่ายต่างยินยอมที่จะกระทำเช่นนั้น


แต่ถ้าเอาตามคำสอนแรก ผู้ให้อาจจะไม่อยากให้ ส่วนผู้รับก็เต็มใจรับ ทำให้ประโยชน์ตกไปอยู่ที่ผู้รับ

แต่จะไม่เหมารวมหรอกนะว่า ผู้ให้ตามคำสอนที่ 1 จะไม่ต้องการให้อะไรใคร เพราะบางคนก็อาจจะต้องการให้จากใจจริงๆ แต่ด้วยคำสอนนั้นเป็นสิ่งปลูกฝังเขา การให้นั้นเขาอาจจะเสียผลประโยชน์บางอย่างไป อันนี้ให้แบบไม่ใส่ใจตัวเองนะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่