หลายคนสงสัยว่าเครื่องช่วยฟังที่ขายกันทั่วไปทั้งออนไลน์และไม่ออนไลน์นั้นดีไหม ผมเลยขออนุญาตเล่าเกี่ยวกับเครื่องช่วยฟังแบบใหม่ที่เรียกว่า OTC (Over-the-Counter) ที่ใครก็สามารถซื้อได้เองโดยไม่ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญนะครับ
เครื่องช่วยฟัง OTC คืออะไร?
ย้อนกลับไปเมื่อสองปีก่อน สหรัฐอเมริกาได้อนุญาตให้มีเครื่องช่วยฟังแบบ OTC ที่ใครก็ซื้อได้เอง คล้าย ๆ กับยาสามัญประจำบ้านอย่างยาพารา เพื่อให้คนที่มีปัญหาการได้ยินในระดับที่ไม่ถึงกับสื่อสารไม่ได้เลย สามารถซื้อมาใช้ได้โดยไม่ต้องรอขั้นตอนทางการแพทย์เหมือนเครื่องช่วยฟังแบบเดิม ทำให้ผู้ผลิตเครื่องช่วยฟังหันมาสนใจตลาดที่แต่เดิมจำกัดอยู่เพียงกลุ่มเล็ก ๆ ทำให้วันนี้เราได้เห็นเครื่องช่วยฟังที่มีราคาถูกลงมาก และสามารถหาซื้อได้ไม่ยากเลย
เครื่องช่วยฟัง OTC ในไทย
ในประเทศไทย ยังไม่มีข้อกำหนดให้แยกเครื่องช่วยฟังแบบเดิมกับแบบ OTC ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องช่วยฟังที่หมอสั่ง หรือเครื่องช่วยฟังที่หมอไม่ให้ใช้ ก็ยังคงเรียกว่า เครื่องช่วยฟังเหมือนกันครับ
เครื่องช่วยฟังราคาถูกดีไหม?
เครื่องช่วยฟังราคาถูก "ดี" แต่อาจจะไม่ใช่ทุกเครื่องและไม่ใช่สำหรับทุกคน หากการได้ยินของคุณไม่ได้มีความซับซ้อนมากนัก เครื่องช่วยฟังราคาถูกที่เลือกมาอย่างดี อาจจะดีกว่าเครื่องช่วยฟังราคาแพงที่ซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์เต็มที่ก็ได้ครับ
คุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพ
น่าจะเป็นเรื่องที่ทุกคนกังวลเกี่ยวกับเครื่องช่วยฟัง OTC หรือ เครื่องช่วยฟังที่ซื้อได้โดยไม่ต้องรอหมอสั่ง
คุณภาพ:
ไม่ว่าจะเป็นเครื่องช่วยฟังแบบเดิมหรือเครื่องช่วยฟัง OTC สิ่งเป็นตัวชี้วัดคุณภาพนั้นไม่แตกต่างกันเลย ซึ่งผมมองว่ามีอยู่แค่ 5 ข้อเท่านั้น
Distortion Control (การควบคุมความผิดเพี้ยน):
เสียงที่เครื่องผลิตมีความผิดเพี้ยนน้อยแค่ไหน สามารถดูค่า THD (Total Harmonic Distortion) ยิ่งน้อยยิ่งดี
Self-Generated Noise (เสียงรบกวนที่เกิดขึ้นเอง):
เสียงรบกวนภายในเครื่องมีมากน้อยแค่ไหน ดูค่า Equivalent Input Noise Level ถ้าต่ำกว่า 30dB ถือว่ารับได้
Latency (ความหน่วง):
ระยะเวลาที่เครื่องใช้ในการประมวลผล หากมากเกินไปจะทำให้รู้สึกว่าเสียงก้อง
Bandwidth (ช่วงความถี่):
ช่วงความถี่ที่เครื่องทำงานได้ ควรมีอย่างน้อย 250Hz ถึง 5,000Hz
Frequency Response Smoothness (ความสม่ำเสมอของการขยายเสียง):
การขยายเสียงในแต่ละช่วงความถี่ควรมีความสม่ำเสมอ หากไม่สม่ำเสมอ เสียงจะผิดเพี้ยน
แล้วอะไรบ้างที่ส่งผลกับคุณภาพของเครื่องช่วยฟัง?
คุณภาพของเครื่องช่วยฟังขึ้นอยู่กับชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต เครื่องช่วยฟังแบบเดิมหรือแบบที่ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญสั่ง จะมีมาตรฐานในการกำหนดคุณภาพที่เข้มงวดกว่า ในขณะที่เครื่องช่วยฟัง OTC อาจจะไม่ได้มีข้อกำหนดมากมายนัก แต่เครื่องช่วยฟัง OTC ที่มีคุณภาพดี จะมีชิ้นส่วนภายในที่เหมือนกับเครื่องช่วยฟังแบบเดิมทุกอย่าง เช่น ลำโพงก็เป็นแบบ Balanced Armature ที่มีแท่งแม่เหล็กสร้างเสียงลอยอยู่ในอากาศ ทำให้ขยับได้เร็วและสร้างเสียงความถี่สูงได้ดีกว่าแผ่นไดอะแฟรมพลาสติกที่ใช้ในเครื่องช่วยฟังราคาถูก แต่ส่วนใหญ่เครื่องช่วยฟัง OTC ที่ใช้อุปกรณ์คุณภาพเดียวกับเครื่องช่วยฟังแบบเดิมจะมีราคาที่สูงกว่า ประมาณ 2000 บาทขึ้นไปครับ
ความปลอดภัย:
เครื่องช่วยฟัง OTC มีข้อกำหนดเรื่องกำลังขยายสูงสุดที่ถูกจำกัดไว้เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายกับการได้ยิน และใช้วิธีการปรับเสียงที่เหมาะกับการสูญเสียการได้ยินแต่ละแบบ โดยอาศัยข้อมูลจาก Biological Based ของรูปแบบการสูญเสียการได้ยินส่วนใหญ่ ซึ่งก็มีอยู่ 4 แบบด้วยกัน การขยายเสียงจึงสามารถตั้งโปรแกรมไว้ล่วงหน้า 4 แบบ คือ ปกติ เน้นเสียงพูด เน้นเสียงสูง และขยายทั้งหมด ผู้ใช้สามารถเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับตนเองและปรับความดังให้พอดีได้
ประสิทธิภาพ:
ผลลัพธ์จากการศึกษาพบว่าสำหรับการสูญเสียการได้ยินในระยะแรก หรือปานกลาง เครื่องช่วยฟัง OTC ให้ผลลัพธ์ที่ไม่แตกต่างจากเครื่องช่วยฟังแบบเดิม
แต่ถ้าการสูญเสียการได้ยินอยู่ในระดับรุนแรง ควรใช้เครื่องช่วยฟังแบบเดิมที่ต้องได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญนะครับ
สำหรับคนที่มีปัญหาแค่ในบางสถานการณ์ หรือยังพอสื่อสารได้ เครื่องช่วยฟัง OTC ก็เป็นทางเลือกที่ดี หากใช้แล้วโอเค ก็ไม่จำเป็นต้องเสียเงินเพิ่มเพื่อซื้อเครื่องช่วยฟังราคาแพงครับ
เครื่องช่วยฟังที่หมอไม่ได้สั่ง: ดีไหม?
ย้อนกลับไปเมื่อสองปีก่อน สหรัฐอเมริกาได้อนุญาตให้มีเครื่องช่วยฟังแบบ OTC ที่ใครก็ซื้อได้เอง คล้าย ๆ กับยาสามัญประจำบ้านอย่างยาพารา เพื่อให้คนที่มีปัญหาการได้ยินในระดับที่ไม่ถึงกับสื่อสารไม่ได้เลย สามารถซื้อมาใช้ได้โดยไม่ต้องรอขั้นตอนทางการแพทย์เหมือนเครื่องช่วยฟังแบบเดิม ทำให้ผู้ผลิตเครื่องช่วยฟังหันมาสนใจตลาดที่แต่เดิมจำกัดอยู่เพียงกลุ่มเล็ก ๆ ทำให้วันนี้เราได้เห็นเครื่องช่วยฟังที่มีราคาถูกลงมาก และสามารถหาซื้อได้ไม่ยากเลย
เครื่องช่วยฟัง OTC ในไทย
ในประเทศไทย ยังไม่มีข้อกำหนดให้แยกเครื่องช่วยฟังแบบเดิมกับแบบ OTC ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องช่วยฟังที่หมอสั่ง หรือเครื่องช่วยฟังที่หมอไม่ให้ใช้ ก็ยังคงเรียกว่า เครื่องช่วยฟังเหมือนกันครับ
เครื่องช่วยฟังราคาถูกดีไหม?
เครื่องช่วยฟังราคาถูก "ดี" แต่อาจจะไม่ใช่ทุกเครื่องและไม่ใช่สำหรับทุกคน หากการได้ยินของคุณไม่ได้มีความซับซ้อนมากนัก เครื่องช่วยฟังราคาถูกที่เลือกมาอย่างดี อาจจะดีกว่าเครื่องช่วยฟังราคาแพงที่ซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้ประโยชน์เต็มที่ก็ได้ครับ
คุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพ
น่าจะเป็นเรื่องที่ทุกคนกังวลเกี่ยวกับเครื่องช่วยฟัง OTC หรือ เครื่องช่วยฟังที่ซื้อได้โดยไม่ต้องรอหมอสั่ง
คุณภาพ:
ไม่ว่าจะเป็นเครื่องช่วยฟังแบบเดิมหรือเครื่องช่วยฟัง OTC สิ่งเป็นตัวชี้วัดคุณภาพนั้นไม่แตกต่างกันเลย ซึ่งผมมองว่ามีอยู่แค่ 5 ข้อเท่านั้น
Distortion Control (การควบคุมความผิดเพี้ยน):
เสียงที่เครื่องผลิตมีความผิดเพี้ยนน้อยแค่ไหน สามารถดูค่า THD (Total Harmonic Distortion) ยิ่งน้อยยิ่งดี
Self-Generated Noise (เสียงรบกวนที่เกิดขึ้นเอง):
เสียงรบกวนภายในเครื่องมีมากน้อยแค่ไหน ดูค่า Equivalent Input Noise Level ถ้าต่ำกว่า 30dB ถือว่ารับได้
Latency (ความหน่วง):
ระยะเวลาที่เครื่องใช้ในการประมวลผล หากมากเกินไปจะทำให้รู้สึกว่าเสียงก้อง
Bandwidth (ช่วงความถี่):
ช่วงความถี่ที่เครื่องทำงานได้ ควรมีอย่างน้อย 250Hz ถึง 5,000Hz
Frequency Response Smoothness (ความสม่ำเสมอของการขยายเสียง):
การขยายเสียงในแต่ละช่วงความถี่ควรมีความสม่ำเสมอ หากไม่สม่ำเสมอ เสียงจะผิดเพี้ยน
แล้วอะไรบ้างที่ส่งผลกับคุณภาพของเครื่องช่วยฟัง?
คุณภาพของเครื่องช่วยฟังขึ้นอยู่กับชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต เครื่องช่วยฟังแบบเดิมหรือแบบที่ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญสั่ง จะมีมาตรฐานในการกำหนดคุณภาพที่เข้มงวดกว่า ในขณะที่เครื่องช่วยฟัง OTC อาจจะไม่ได้มีข้อกำหนดมากมายนัก แต่เครื่องช่วยฟัง OTC ที่มีคุณภาพดี จะมีชิ้นส่วนภายในที่เหมือนกับเครื่องช่วยฟังแบบเดิมทุกอย่าง เช่น ลำโพงก็เป็นแบบ Balanced Armature ที่มีแท่งแม่เหล็กสร้างเสียงลอยอยู่ในอากาศ ทำให้ขยับได้เร็วและสร้างเสียงความถี่สูงได้ดีกว่าแผ่นไดอะแฟรมพลาสติกที่ใช้ในเครื่องช่วยฟังราคาถูก แต่ส่วนใหญ่เครื่องช่วยฟัง OTC ที่ใช้อุปกรณ์คุณภาพเดียวกับเครื่องช่วยฟังแบบเดิมจะมีราคาที่สูงกว่า ประมาณ 2000 บาทขึ้นไปครับ
ความปลอดภัย:
เครื่องช่วยฟัง OTC มีข้อกำหนดเรื่องกำลังขยายสูงสุดที่ถูกจำกัดไว้เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายกับการได้ยิน และใช้วิธีการปรับเสียงที่เหมาะกับการสูญเสียการได้ยินแต่ละแบบ โดยอาศัยข้อมูลจาก Biological Based ของรูปแบบการสูญเสียการได้ยินส่วนใหญ่ ซึ่งก็มีอยู่ 4 แบบด้วยกัน การขยายเสียงจึงสามารถตั้งโปรแกรมไว้ล่วงหน้า 4 แบบ คือ ปกติ เน้นเสียงพูด เน้นเสียงสูง และขยายทั้งหมด ผู้ใช้สามารถเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับตนเองและปรับความดังให้พอดีได้
ประสิทธิภาพ:
ผลลัพธ์จากการศึกษาพบว่าสำหรับการสูญเสียการได้ยินในระยะแรก หรือปานกลาง เครื่องช่วยฟัง OTC ให้ผลลัพธ์ที่ไม่แตกต่างจากเครื่องช่วยฟังแบบเดิม
แต่ถ้าการสูญเสียการได้ยินอยู่ในระดับรุนแรง ควรใช้เครื่องช่วยฟังแบบเดิมที่ต้องได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญนะครับ
สำหรับคนที่มีปัญหาแค่ในบางสถานการณ์ หรือยังพอสื่อสารได้ เครื่องช่วยฟัง OTC ก็เป็นทางเลือกที่ดี หากใช้แล้วโอเค ก็ไม่จำเป็นต้องเสียเงินเพิ่มเพื่อซื้อเครื่องช่วยฟังราคาแพงครับ