สอบถามเครื่องช่วยฟังราคาถูก XINGMA, AXON, อื่น ๆ ใครเคยใช้จริง ดีไหมครับ

อยากซื้อเครื่องช่วยฟังให้พ่อน่ะครับ ลองหาข้อมูลดู มันมีหลากหลายราคามาก
ก็เข้าใจนะครับว่าของราคาแพงหมื่นอัพ คุณภาพต้องดีกว่า  แต่ทีนี้อยากรู้ว่า
ของถูกลงมานี่ประสิทธิภาพเป็นอย่างไรบ้างครับ ใครใช้งานอยู่ครับ ดีไหม
กราฟการได้ยินพ่อผม ช่วง 300 - 1000 Hz => -60 dB
                                 1500 - 2000 Hz => -70 dB
                                 2500 Hz           => -85 dB
                                 4000 Hz up      => -100 dB

ยี่ห้อที่เห็นในเน็ตก็มีพวก XINGMA, AXON, ไม่มียี่ห้อ โฆษณาอย่างเดียวว่าราคาถูก และที่แพง
มาหน่อยก็ Rionet, GN Resound  ส่วนพวกซีเมนต์แพงไปอ่ะคับ  ที่สงสัยคือ
1. คิดว่าเป็นระบบอนาล็อกที่ขยายเสียงอย่างเดียว ในการใช้งานจริงช่วยได้เยอะไหมครับ
    คือกำลังคิดว่าจำเป็นไหมที่จะต้องซื้อรุ่นแพง ๆ เท่านั้น  พอผมก็สูญเสียการได้ยินช่วง
    ความถี่สูง ๆ แต่ที่ดูแต่ละยี่ห้อ ส่วนใหญ่จะทำงานในช่วง 300 - 3000 Hz (หรือ 4000 Hz)
    ซึ่งมันเพียงพอไหมครับ
2. เรื่องวัสดุ การประกอบ พอไปวัดไปวาได้มั้ยครับ ก็รู้ว่าเป็นของจีน แต่คงไม่ห่วยเกินไปมั้ง
3. อยากรู้ว่าคนที่เคยใช้งานรุ่นต่าง ๆ นี้ ภาพรวม โอเคไหมครับ คือสามารถฟังเสียงคนพูด
    คุยกันปกติได้ อาจจะมีคลื่นซ่า ๆ บ้างก็ไม่เป็นไร
4. ตามกราฟสูญเสียการได้ยินพ่อผม ถ้าใช้ระบบอนาล็อก (ขยายเสียงอย่างเดียวทุกย่านความถี่)
    จะมีปัญหามั้ยครับว่าพอเร่งเสียงมากขึ้นเพื่อให้ได้ยินย่านความถี่สูง (3000 - 4000 Hz) แต่
    กลายเป็นว่าเสียงความถี่ช่วง 1000 Hz ดังเกินไป  หรือว่าไม่มีปัญหาอะไรเพราะเสียงคนพูด
    ทั่วไปอยู่ที่ 500 - 2000 Hz อยู่แล้ว

ขอบคุณครับ จะได้เลือกซื้อได้ถูก
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
1. เครื่องช่วยฟัง ทั้งแบบ Analog และ digital ก็ทำหน้าที่ขยายเสียงเช่นเดียวกัน ที่ต่างกันคือ แผงวงจรที่เป็น digital มีความสามารถในการประมวลผลเสียง ร่วมกับ ไมโครโฟน รีซีฟเวอร์ และ แอมปริฟายเออร์ ได้ดีกว่า

ในเครื่องช่วยฟัง ยังมีการแบ่ง channel เพื่อช่วยในการประมวลผลเสียงอีกด้วย
การมีหลาย channel เครื่องจะแบ่งงงานกันทำ สมมุติ มี 3 channel
ก็จะแบ่ง ช่องนึง ไปขยายเสียงในกลุ่มเสียงต่ำ (ซึ่งอาจจะสูญเสียการได้ยินต่างจาก ความถี่อื่นๆ)
อีกช่องนึง ไปขยานเสียงในความถี่กลาง ๆ (ที่ใช้การฟังเสียงพูดคุย)
อีกช่องนึง ไปขยายเสียงในกลุ่มความถี่สูง (ซึ่งผู้สูงอายุส่วนหนึ่ง มีการการได้ยินเสียงสูงน้อยกว่าเสียงอื่น ๆ เราเรียกกันว่า high tone loss)

ที่นี้ กลับมาเรื่องราคา เครื่องถูก ๆ จะมี ช่องสัญญาณเดียว มันก็จะทำหน้าที่ขยายเสียงเท่าๆ กันในทุกความถี่ เสียงที่ออกมาก็จะไม่สอดคล้องกับการสูญเสียการได้ยิน ของผู้ใช้ (ที่มีการสูญเสียการได้ยิน ไม่เท่ากันในทุกกลุ่ม) ก็จะเกิดอาการ พอเบา ก็ไม่ได้ยิน พอดังก็ ดังโจ้ง เลย ปวดหูไปหมด หรือไม่งั้นก็ วี๊ด ตลอดเวลา

2. ในอุตสาหกรรม เครื่องช่วยฟัง วัสดุ ไม่เคยเป็นปัญหา สินค้าราคาถูก หรือแพง ก็ต้องมี โครงสร้างที่ทนทาน ไม่แตกต่างกัน รุ่นแพง ๆ อาจจะทำสวยกว่า วัสดุประกอบ เช่น ท่อนำเสียง และส่วนที่เป็น จุก ที่ใส่ในหูเรา (Tube , ear tip) อาจจะดีกว่า อันนี้เราหามาเปลี่ยนเองได้

3. ถ้าเลือกไม่เหมาะ มันก็จะขยายเสียงอย่างเดียว เสียงพูดหรือเสียงรบกวนก็ถูกขยายพอ ๆ กัน ดังนั้นถ้าอยู่ในที่เงียบอาจจะพอช่วยได้ แต่ถ้าอยู่ในสถานที่มีเสียงรบกวน อาจจะรบกวนมาก (ไม่ใช่แค่ ซ่า นิดหน่อย แล้วจะทนได้)

4. ดูคำตอบและเหตุผลจากข้อ 1

ยินดีให้คำแนะนำเพิ่ม แต่ขอให้ติดต่อหลังไมค์ ดีกว่า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่