หากเรามีปัญหาการได้ยินเมื่อสักห้าปีที่แล้ว เราคงไม่สามารถหาเครื่องช่วยฟังมาใช้ได้ง่ายเหมือนทุกวันนี้
เนื่องจากเครื่องช่วยฟังเคยถูกจัดเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ต้องมีการปรับแต่งอย่างละเอียดโดยผู้เชี่ยวชาญด้านโสตสัมผัสวิทยาเท่านั้น เปรียบเสมือนแว่นสายตาที่ต้องวัดค่าสายตาและตัดเลนส์ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เครื่องช่วยฟังก็ต้องมีการประเมินระดับการสูญเสียการได้ยินของแต่ละคนอย่างละเอียด และปรับแต่งให้เข้ากับสภาพหูของผู้ใช้แต่ละราย เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการช่วยให้ผู้ใช้ได้ยินเสียงต่างๆ ได้ดีขึ้น และที่สำคัญคือเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อระบบการได้ยินที่เหลืออยู่ แบบเดียวกับที่เราไม่สามารถหาซื้อยาแก้ปวดแบบฉีดมาใช้ได้ด้วยตัวเอง
แต่กระบวนการที่ซับซ้อนนี้กลับทำให้เครื่องช่วยฟังมีราคาสูง และเป็นอุปกรณ์ที่เข้าถึงได้อย่างจำกัด ทำให้คนที่มีปัญหาการได้ยินส่วนใหญ่แทบจะเข้าไม่ถึงการบริการด้านนี้เลย จึงเป็นที่มาของการย้อนกลับมามองปัญหาการได้ยินและแนวทางการจัดการด้วยมุมมองที่ต่างไปจากเดิมของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้คนที่มีปัญหาการได้ยินจำนวนมากขึ้นสามารถเข้าถึงเครื่องช่วยฟังได้
มุมมองใหม่ต่อปัญหาการได้ยิน
จากเดิมที่ปัญหาการได้ยินใช้ระดับการสูญเสียเป็นเกณฑ์หลักในการจัดกลุ่ม ตั้งแต่การใช้เครื่องช่วยฟังต้องมีระดับการได้ยินที่เท่าไหร่ ไปจนถึงระดับการได้ยินเท่านี้ ต้องใช้เครื่องช่วยฟังแบบนี้ จะใช้เครื่องช่วยฟังแบบอื่นไม่ได้เพราะไม่เหมาะกับการได้ยิน มาเป็นการให้ความสำคัญกับปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ชีวิตที่เกิดจากการได้ยินที่ลดลงมากขึ้น
การแบ่งกลุ่มคนที่มีปัญหาการได้ยินจึงถูกจัดเป็น 3 กลุ่ม
ตามระดับของปัญหาในการใช้ชีวิตดังนี้
คนที่มีปัญหาบ้างในบางสถานการณ์: กลุ่มนี้มีมากที่สุด (68% ของคนที่มีปัญหาการได้ยิน)
เป็นระยะเริ่มต้นของการสูญเสียการได้ยิน อาจมีปัญหาเฉพาะเวลาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสียงดัง หรือมีเสียงรบกวน เช่น ในโรงพยาบาล ธนาคาร ร้านอาหาร หรือ ห้องประชุม
คนที่มีปัญหาแทบทุกสถานการณ์: กลุ่มนี้มีการสูญเสียการได้ยินในระยะกลาง (30% ของคนที่มีปัญหาการได้ยิน)
มีปัญหาในการฟังเกือบตลอดเวลา แต่อาจยังพอสื่อสารได้ เช่น ได้ยินเสียงพูดคุยแต่ไม่ชัดเจน ต้องให้คู่สนทนาพูดเสียงดังขึ้น หรือต้องอยู่ในที่เงียบสงบจึงจะสื่อสารได้รู้เรื่อง
คนที่มีปัญหาการได้ยินรุนแรง: กลุ่มนี้มีน้อยที่สุด (1-2%)
แต่มีปัญหามากที่สุด อาจไม่ได้ยินเสียงพูดคุยเลย หรือได้ยินเบามากจนไม่สามารถเข้าใจบทสนทนาได้ ต้องอาศัยการอ่านปากหรือการเขียน หากไม่มีอุปกรณ์ช่วย
จะเห็นว่าแต่ละกลุ่มมีความจำเป็นในการใช้เครื่องช่วยฟังต่างกัน กลุ่มที่มีปัญหารุนแรงต้องใช้ตลอดเวลาเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ส่วนกลุ่มที่มีปัญหาเล็กน้อยอาจใช้เฉพาะเวลาที่จำเป็น เช่น เมื่อต้องเข้าร่วมกิจกรรมที่ต้องใช้การฟังเป็นหลัก
ในปี 2017 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอเมริกาจึงเริ่มผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องช่วยฟัง เพื่อให้การเข้าถึงเทคโนโลยีด้านการได้ยินมีความทั่วถึงและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยเสนอร่างกฎหมายให้มีการแบ่งประเภทของเครื่องช่วยฟังออกเป็น เครื่องช่วยฟังที่ต้องมี และไม่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการใช้งาน
OTC Hearing Aids: ทางเลือกใหม่
เพื่อให้คนเข้าถึงเครื่องช่วยฟังได้มากขึ้น องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับเครื่องช่วยฟังที่ผู้ใช้ซื้อและปรับแต่งเองได้ (Over-the-Counter Hearing Aids: OTC Hearing Aids) โดยไม่ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญ เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาการได้ยินระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง และราคาถูกกว่าเครื่องช่วยฟังแบบเดิมมาก ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเครื่องช่วยฟังได้ง่ายขึ้น โดยข้อกำหนดฉบับสมบูรณ์ได้ประกาศใช้เมื่อ 17 ตุลาคม 2022
ทำให้วันนี้เรามีเครื่องช่วยฟัง 2 ประเภท คือ
เครื่องช่วยฟังแบบเดิม: ต้องซื้อและปรับแต่งโดยผู้เชี่ยวชาญ เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาการได้ยินทุกระดับ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาการได้ยินรุนแรงหรือซับซ้อน
เครื่องช่วยฟังแบบ OTC: ซื้อและปรับแต่งเองได้ เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาการได้ยินระยะเริ่มต้นถึงปานกลางที่ปัญหาการฟังยังไม่ถึงขั้นที่ฟังอะไรไม่ได้เลย และต้องการความสะดวกสบายและราคาที่เข้าถึงได้ จึงเป็นสาเหตุที่วันนี้เรามีทางเลือกมากมายเมื่อเทียบกับเมื่อไม่กี่ปีก่อนที่ เครื่องช่วยฟังนอกจากราคาแพงแล้วยังไม่รู้จะไปหาซื้อได้ที่ไหน
สำหรับเครื่องช่วยฟัง OTC มีทั้งแบบตั้งค่าไว้ล่วงหน้า (pre-programmed) และแบบปรับแต่งเองได้ (self-fitting) ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกเครื่องที่เหมาะกับความต้องการและงบประมาณของตนเองได้อีกด้วย ไว้มีโอกาสค่อยมาเล่าที่มาที่ไปของ ขั้นตอนการพัฒนาเครื่องช่วยฟัง OTC อีกครั้งนะครับ
ทำไมเมื่อก่อนเราถึงไม่เห็นเครื่องช่วยฟังขายกันมากมายเหมือนทุกวันนี้
เนื่องจากเครื่องช่วยฟังเคยถูกจัดเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ต้องมีการปรับแต่งอย่างละเอียดโดยผู้เชี่ยวชาญด้านโสตสัมผัสวิทยาเท่านั้น เปรียบเสมือนแว่นสายตาที่ต้องวัดค่าสายตาและตัดเลนส์ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เครื่องช่วยฟังก็ต้องมีการประเมินระดับการสูญเสียการได้ยินของแต่ละคนอย่างละเอียด และปรับแต่งให้เข้ากับสภาพหูของผู้ใช้แต่ละราย เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการช่วยให้ผู้ใช้ได้ยินเสียงต่างๆ ได้ดีขึ้น และที่สำคัญคือเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อระบบการได้ยินที่เหลืออยู่ แบบเดียวกับที่เราไม่สามารถหาซื้อยาแก้ปวดแบบฉีดมาใช้ได้ด้วยตัวเอง
แต่กระบวนการที่ซับซ้อนนี้กลับทำให้เครื่องช่วยฟังมีราคาสูง และเป็นอุปกรณ์ที่เข้าถึงได้อย่างจำกัด ทำให้คนที่มีปัญหาการได้ยินส่วนใหญ่แทบจะเข้าไม่ถึงการบริการด้านนี้เลย จึงเป็นที่มาของการย้อนกลับมามองปัญหาการได้ยินและแนวทางการจัดการด้วยมุมมองที่ต่างไปจากเดิมของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้คนที่มีปัญหาการได้ยินจำนวนมากขึ้นสามารถเข้าถึงเครื่องช่วยฟังได้
มุมมองใหม่ต่อปัญหาการได้ยิน
จากเดิมที่ปัญหาการได้ยินใช้ระดับการสูญเสียเป็นเกณฑ์หลักในการจัดกลุ่ม ตั้งแต่การใช้เครื่องช่วยฟังต้องมีระดับการได้ยินที่เท่าไหร่ ไปจนถึงระดับการได้ยินเท่านี้ ต้องใช้เครื่องช่วยฟังแบบนี้ จะใช้เครื่องช่วยฟังแบบอื่นไม่ได้เพราะไม่เหมาะกับการได้ยิน มาเป็นการให้ความสำคัญกับปัญหาและข้อจำกัดในการใช้ชีวิตที่เกิดจากการได้ยินที่ลดลงมากขึ้น
การแบ่งกลุ่มคนที่มีปัญหาการได้ยินจึงถูกจัดเป็น 3 กลุ่ม
ตามระดับของปัญหาในการใช้ชีวิตดังนี้
คนที่มีปัญหาบ้างในบางสถานการณ์: กลุ่มนี้มีมากที่สุด (68% ของคนที่มีปัญหาการได้ยิน)
เป็นระยะเริ่มต้นของการสูญเสียการได้ยิน อาจมีปัญหาเฉพาะเวลาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสียงดัง หรือมีเสียงรบกวน เช่น ในโรงพยาบาล ธนาคาร ร้านอาหาร หรือ ห้องประชุม
คนที่มีปัญหาแทบทุกสถานการณ์: กลุ่มนี้มีการสูญเสียการได้ยินในระยะกลาง (30% ของคนที่มีปัญหาการได้ยิน)
มีปัญหาในการฟังเกือบตลอดเวลา แต่อาจยังพอสื่อสารได้ เช่น ได้ยินเสียงพูดคุยแต่ไม่ชัดเจน ต้องให้คู่สนทนาพูดเสียงดังขึ้น หรือต้องอยู่ในที่เงียบสงบจึงจะสื่อสารได้รู้เรื่อง
คนที่มีปัญหาการได้ยินรุนแรง: กลุ่มนี้มีน้อยที่สุด (1-2%)
แต่มีปัญหามากที่สุด อาจไม่ได้ยินเสียงพูดคุยเลย หรือได้ยินเบามากจนไม่สามารถเข้าใจบทสนทนาได้ ต้องอาศัยการอ่านปากหรือการเขียน หากไม่มีอุปกรณ์ช่วย
จะเห็นว่าแต่ละกลุ่มมีความจำเป็นในการใช้เครื่องช่วยฟังต่างกัน กลุ่มที่มีปัญหารุนแรงต้องใช้ตลอดเวลาเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ส่วนกลุ่มที่มีปัญหาเล็กน้อยอาจใช้เฉพาะเวลาที่จำเป็น เช่น เมื่อต้องเข้าร่วมกิจกรรมที่ต้องใช้การฟังเป็นหลัก
ในปี 2017 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอเมริกาจึงเริ่มผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องช่วยฟัง เพื่อให้การเข้าถึงเทคโนโลยีด้านการได้ยินมีความทั่วถึงและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยเสนอร่างกฎหมายให้มีการแบ่งประเภทของเครื่องช่วยฟังออกเป็น เครื่องช่วยฟังที่ต้องมี และไม่ต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการใช้งาน
OTC Hearing Aids: ทางเลือกใหม่
เพื่อให้คนเข้าถึงเครื่องช่วยฟังได้มากขึ้น องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับเครื่องช่วยฟังที่ผู้ใช้ซื้อและปรับแต่งเองได้ (Over-the-Counter Hearing Aids: OTC Hearing Aids) โดยไม่ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญ เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาการได้ยินระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง และราคาถูกกว่าเครื่องช่วยฟังแบบเดิมมาก ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเครื่องช่วยฟังได้ง่ายขึ้น โดยข้อกำหนดฉบับสมบูรณ์ได้ประกาศใช้เมื่อ 17 ตุลาคม 2022
ทำให้วันนี้เรามีเครื่องช่วยฟัง 2 ประเภท คือ
เครื่องช่วยฟังแบบเดิม: ต้องซื้อและปรับแต่งโดยผู้เชี่ยวชาญ เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาการได้ยินทุกระดับ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาการได้ยินรุนแรงหรือซับซ้อน
เครื่องช่วยฟังแบบ OTC: ซื้อและปรับแต่งเองได้ เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาการได้ยินระยะเริ่มต้นถึงปานกลางที่ปัญหาการฟังยังไม่ถึงขั้นที่ฟังอะไรไม่ได้เลย และต้องการความสะดวกสบายและราคาที่เข้าถึงได้ จึงเป็นสาเหตุที่วันนี้เรามีทางเลือกมากมายเมื่อเทียบกับเมื่อไม่กี่ปีก่อนที่ เครื่องช่วยฟังนอกจากราคาแพงแล้วยังไม่รู้จะไปหาซื้อได้ที่ไหน
สำหรับเครื่องช่วยฟัง OTC มีทั้งแบบตั้งค่าไว้ล่วงหน้า (pre-programmed) และแบบปรับแต่งเองได้ (self-fitting) ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกเครื่องที่เหมาะกับความต้องการและงบประมาณของตนเองได้อีกด้วย ไว้มีโอกาสค่อยมาเล่าที่มาที่ไปของ ขั้นตอนการพัฒนาเครื่องช่วยฟัง OTC อีกครั้งนะครับ