เมื่อเจริญสมถสมาธิจนถึง สัมมาสมาธิ คือ ฌาน 1 ขึ้นไป ให้เจริญวิปัสสนา พิจารณาให้จิตเบื่อหน่าย คลายกำหนัดในขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จิตวิมุติหลุดพ้นจากกิเลสอวิชชา จิตจะตั้งมั่นดำรงอยู่ไม่เกิด-ดับอีกเพราะเบื่อหน่ายในขันธ์ 5 และจิตวิมุติหลุดพ้นกิเลสอวิชชา
พระพุทธเจ้าให้น้อมจิตที่หลุดพ้นลงในอมตธาตุ คือ ธาตุอันเป็นอมตะ หรือพระนิพพาน คือ ความสงบ ประณีต จิตดับสนิทกิเลสทั้งปวง
ดังพระสูตร ต่อไปนี้
1.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอย่อมพิจารณา เห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะ แห่งจตุตถฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็น อนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ...นิพพาน เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
2. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขาร
ทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้. เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อม
บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ย่อมเป็นโอปปาติกะ ๑- จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะ
ความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์
3. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส
อนึ่ง นรชนบังคับจิตให้กลับจากสังขารธาตุอันเป็นไปในไตรภูมิทั้งปวง น้อมจิตเข้าไปในอมตธาตะว่าธรรมชาติใด คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนแห่งอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกตัณหา ความดับตัณหา ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ธรรมชาตินี้สงบ ประณีต
4. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
[๑๕๘] ดูกรอานนท์ ภิกษุบรรลุ อากาสานัญจายตนฌาน ด้วยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่ง
มีอยู่ในฌานนั้นโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก
เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่มีตัวตน. เธอให้จิตดำเนินไปด้วย
ธรรมเหล่านั้น ครั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าหาธาตุอันเป็นอมตะว่านั้นมีอยู่ นั่นประณีต คือสงบสังขารทั้งปวง สละคืนอุปธิทั้งปวง สิ้นตัณหา ปราศจากราคะดับสนิท นิพพาน เธอตั้งอยู่ในฌานนั้น ย่อมบรรลุการสิ้นอาสวะ ถ้าไม่บรรลุ จะเป็นโอปปาติกะ
5. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
[๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากรูปธาตุ หลุดพ้นแล้ว
จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากเวทนาธาตุ ... จาก
สัญญาธาตุ ... จากสังขารธาตุ ... จากวิญญาณธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เพราะหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึง
ไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
๐ เพราะจิตเบื่อหน่าย คลายกำหนัดจากขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, จิตจึงหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลาย
๐ เพราะหลุดพ้นฯ , จิตจึงดำรงอยู่
เพราะจิตดำรงอยู่, จิตยินดีพร้อมไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบ (ปริพพาน) เฉพาะตน
ดับรอบ คือ ปรินิพพาน
แปลว่า สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว,
ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์
ในห้องพักผู้ป่วยที่รพ.รามคำแหง...
ฝหลวงพ่อเยื้อนท่านได้หลับตาพักอยู่เป็นเวลานานแล้ว...
ตอนแรกก็เข้าใจว่าท่านจำวัดแต่พอดูๆไปเอ๊ะท่านไม่ได้จำวัดนี่นาท่านหลับตาทำสมาธิอยู่ก็เลยนั่งเงียบๆข้างเตียงท่านมีคณะโยมเข้ามากราบท่านแบบเงียบๆเพราะเห็นท่านหลับตาอยู่จึงไม่กล้ารบกวนท่านท่านก็พยักหน้ารับโดยไม่ลืมตาได้สักชั่วโมง...
ท่านก็ขยับองค์แล้วก็บอกว่า
จิตพระอรหันต์น่ะ....
ตายจากโลกไปนานแล้วร่างกายนี้มันเป็นธรรมดาที่ต้องทรุดโทรมขันธ์นี้รอเพียงวันที่จะแยกจากกันไปเมื่อขันธ์ของพระอรหันต์ดับไป
จิตก็เข้าถึงความว่างอันเป็นที่สุด
ไม่เหลือเชื้อแห่งการเกิดขึ้นอีก
เหมือนต้นไม้เมื่อตายต้นไม้มันก็สลายกลายเป็นธาตุทั้ง4 ตามเดิม
ดินก็กลายเป็นดินตามเดิม
น้ำก็กลายเป็นน้ำตามเดิม
ลมก็กลายเป็นลมตามเดิมไฟ
ก็กลายเป็นไฟตามเดิม
แต่จิตจะไม่ตายอีก
เพราะจิตมันตายแล้วตั้งแต่วันที่เข้าถึงสุญญตา"
แล้วท่านก็นิ่งไปอีกพักหนึ่ง
หลวงพ่อเยื้อนขันติพโลวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโรจ. สุรินทร์
“เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว ‘จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง’ จิต ก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูดและพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์ และสว่างของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่า "นิพพาน"
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
พระพุทธเจ้าให้น้อมจิตที่หลุดพ้นลงในอมตธาตุ คือ ธาตุอันเป็นอมตะ หรือพระนิพพาน
พระพุทธเจ้าให้น้อมจิตที่หลุดพ้นลงในอมตธาตุ คือ ธาตุอันเป็นอมตะ หรือพระนิพพาน คือ ความสงบ ประณีต จิตดับสนิทกิเลสทั้งปวง
ดังพระสูตร ต่อไปนี้
1.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอย่อมพิจารณา เห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะ แห่งจตุตถฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็น อนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ...นิพพาน เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
2. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาตินี้สงบ ธรรมชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขาร
ทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท
เป็นที่ดับกิเลส และกองทุกข์ดังนี้. เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อม
บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ย่อมเป็นโอปปาติกะ ๑- จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะ
ความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์
3. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส
อนึ่ง นรชนบังคับจิตให้กลับจากสังขารธาตุอันเป็นไปในไตรภูมิทั้งปวง น้อมจิตเข้าไปในอมตธาตะว่าธรรมชาติใด คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนแห่งอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกตัณหา ความดับตัณหา ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ธรรมชาตินี้สงบ ประณีต
4. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
[๑๕๘] ดูกรอานนท์ ภิกษุบรรลุ อากาสานัญจายตนฌาน ด้วยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่ง
มีอยู่ในฌานนั้นโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก
เป็นไข้ เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่มีตัวตน. เธอให้จิตดำเนินไปด้วย
ธรรมเหล่านั้น ครั้นให้จิตดำเนินไปด้วยธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าหาธาตุอันเป็นอมตะว่านั้นมีอยู่ นั่นประณีต คือสงบสังขารทั้งปวง สละคืนอุปธิทั้งปวง สิ้นตัณหา ปราศจากราคะดับสนิท นิพพาน เธอตั้งอยู่ในฌานนั้น ย่อมบรรลุการสิ้นอาสวะ ถ้าไม่บรรลุ จะเป็นโอปปาติกะ
5. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
[๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากรูปธาตุ หลุดพ้นแล้ว
จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากเวทนาธาตุ ... จาก
สัญญาธาตุ ... จากสังขารธาตุ ... จากวิญญาณธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เพราะหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อม จึง
ไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
๐ เพราะจิตเบื่อหน่าย คลายกำหนัดจากขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, จิตจึงหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลาย
๐ เพราะหลุดพ้นฯ , จิตจึงดำรงอยู่
เพราะจิตดำรงอยู่, จิตยินดีพร้อมไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบ (ปริพพาน) เฉพาะตน
ดับรอบ คือ ปรินิพพาน
แปลว่า สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว,
ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์
ในห้องพักผู้ป่วยที่รพ.รามคำแหง...
ฝหลวงพ่อเยื้อนท่านได้หลับตาพักอยู่เป็นเวลานานแล้ว...
ตอนแรกก็เข้าใจว่าท่านจำวัดแต่พอดูๆไปเอ๊ะท่านไม่ได้จำวัดนี่นาท่านหลับตาทำสมาธิอยู่ก็เลยนั่งเงียบๆข้างเตียงท่านมีคณะโยมเข้ามากราบท่านแบบเงียบๆเพราะเห็นท่านหลับตาอยู่จึงไม่กล้ารบกวนท่านท่านก็พยักหน้ารับโดยไม่ลืมตาได้สักชั่วโมง...
ท่านก็ขยับองค์แล้วก็บอกว่า
จิตพระอรหันต์น่ะ....
ตายจากโลกไปนานแล้วร่างกายนี้มันเป็นธรรมดาที่ต้องทรุดโทรมขันธ์นี้รอเพียงวันที่จะแยกจากกันไปเมื่อขันธ์ของพระอรหันต์ดับไป
จิตก็เข้าถึงความว่างอันเป็นที่สุด
ไม่เหลือเชื้อแห่งการเกิดขึ้นอีก
เหมือนต้นไม้เมื่อตายต้นไม้มันก็สลายกลายเป็นธาตุทั้ง4 ตามเดิม
ดินก็กลายเป็นดินตามเดิม
น้ำก็กลายเป็นน้ำตามเดิม
ลมก็กลายเป็นลมตามเดิมไฟ
ก็กลายเป็นไฟตามเดิม
แต่จิตจะไม่ตายอีก
เพราะจิตมันตายแล้วตั้งแต่วันที่เข้าถึงสุญญตา"
แล้วท่านก็นิ่งไปอีกพักหนึ่ง
หลวงพ่อเยื้อนขันติพโลวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโรจ. สุรินทร์
“เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว ‘จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง’ จิต ก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูดและพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์ และสว่างของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่ง เรียกว่า "นิพพาน"
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล