สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=7016
[๓๗๗] ธรรม ๒ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๒ อย่างควรให้เจริญ ธรรม
๒ อย่างควรกำหนดรู้ ธรรม ๒ อย่างควรละ ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วน
ข้างเสื่อม ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ธรรม ๒ อย่างแทงตลอดได้ยาก
ธรรม ๒ อย่างควรให้บังเกิดขึ้น ธรรม ๒ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๒ อย่างควรทำให้แจ้ง ฯ
[๓๗๘] ธรรม ๒ อย่างที่มีอุปการะมากเป็นไฉน คือ สติ ๑ สัมปชัญญะ ๑
ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก ฯ
[๓๗๙] ธรรม ๒ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑
ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ควรให้เจริญ ฯ
[๓๘๐] ธรรม ๒ อย่างที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน คือ นาม ๑ รูป ๑ ธรรม
๒ อย่างเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ฯ
++++++++++++++++++++++++++++++++++
สมถะ, สมาธิ ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น.
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
[๑๑๒] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็น
วิปัสสนาญาณอย่างไร ฯ
จิตมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจรพิจารณา
อารมณ์นั้นแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็น
อย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่
พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่
พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณา
เห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่เพลิดเพลิน ย่อมคลายกำหนัด
ไม่กำหนัด ย่อมให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณา
เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดย
ความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อม
ละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความเพลิดเพลินได้ เมื่อคลาย
กำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้ดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละ
ความถือมั่นได้ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑๓๖๐-๑๓๙๓ หน้าที่ ๕๖-๕๗.
https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=1360&Z=1393&pagebreak=0
https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=112&items=3
อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :-
https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=112&items=3&mode=bracket
อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :-
https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=31&item=112&items=3
อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :-
https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=31&item=112&items=3
ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :-
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=112
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อาจารย์ผู้บอกกรรมฐานอย่างน้อยที่สุด
ก็ต้องเป็นผู้ไม่เลอะเลือนทั้งในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
https://ppantip.com/topic/38517496/comment9
[ควรเรียนกรรมฐานในสำนักพุทธโอรสกระทั่งถึงท่านผู้ได้ฌาน]
อนึ่ง กุลบุตรผู้มีศีลบริสุทธิ์และตัดปลิโพธได้แล้วอย่างนั้น เมื่อจะเรียนกรรมฐานนี้ ควรเรียนเอาในสำนักพุทธบุตร ผู้ให้จตุตถฌานเกิดขึ้นด้วยกรรมฐานนี้แล แล้วเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุความเป็นพระอรหันต์. เมื่อไม่ได้พระขีณาสพนั้น ควรเรียนเอาในสำนักพระอนาคามี เมื่อไม่ได้แม้พระอนาคามีนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระสกทาคามี, เมื่อไม่ได้แม้พระสกทาคามีนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระโสดาบัน, เมื่อไม่ได้แม้พระโสดาบันนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักของท่านผู้ได้จตุตถฌาน ซึ่งมีอานาปานะเป็นอารมณ์, เมื่อไม่ได้ท่านผู้ได้จตุตถฌานแม้นั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักของพระวินิจฉยาจารย์ ผู้ไม่เลอะเลือนทั้งในบาลีและอรรถกถา.
จริงอยู่ พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระอรหันต์เป็นต้น ย่อมบอกเฉพาะมรรคที่ตนได้บรรลุแล้วเท่านั้น. ส่วนพระวินิจฉยาจารย์นี้เป็นผู้ไม่เลอะเลือน กำหนดอารมณ์เป็นที่สบายและไม่สบายในอารมณ์ทั้งปวงแล้วจึงบอกให้ เหมือนผู้นำไปสู่ทางช้างใหญ่ ในป่าที่รกชัฏฉะนั้น.
จิตวิสุทธิ , วิสุทธิ ๗ และ ญาณ ๑๖
http://ppantip.com/topic/33381826/comment3
วิสุทธิ ๗
http://abhidhamonline.org/visudhi.htm
[๓๗๗] ธรรม ๒ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๒ อย่างควรให้เจริญ ธรรม
๒ อย่างควรกำหนดรู้ ธรรม ๒ อย่างควรละ ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วน
ข้างเสื่อม ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนข้างวิเศษ ธรรม ๒ อย่างแทงตลอดได้ยาก
ธรรม ๒ อย่างควรให้บังเกิดขึ้น ธรรม ๒ อย่างควรรู้ยิ่ง ธรรม ๒ อย่างควรทำให้แจ้ง ฯ
[๓๗๘] ธรรม ๒ อย่างที่มีอุปการะมากเป็นไฉน คือ สติ ๑ สัมปชัญญะ ๑
ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้มีอุปการะมาก ฯ
[๓๗๙] ธรรม ๒ อย่างที่ควรให้เจริญเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑
ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ควรให้เจริญ ฯ
[๓๘๐] ธรรม ๒ อย่างที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน คือ นาม ๑ รูป ๑ ธรรม
๒ อย่างเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ฯ
++++++++++++++++++++++++++++++++++
สมถะ, สมาธิ ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น.
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
[๑๑๒] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็น
วิปัสสนาญาณอย่างไร ฯ
จิตมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจรพิจารณา
อารมณ์นั้นแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็น
อย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่
พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่
พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณา
เห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่เพลิดเพลิน ย่อมคลายกำหนัด
ไม่กำหนัด ย่อมให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณา
เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดย
ความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อม
ละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความเพลิดเพลินได้ เมื่อคลาย
กำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้ดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละ
ความถือมั่นได้ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑๓๖๐-๑๓๙๓ หน้าที่ ๕๖-๕๗.
https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=1360&Z=1393&pagebreak=0
https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=112&items=3
อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :-
https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=112&items=3&mode=bracket
อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :-
https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=31&item=112&items=3
อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :-
https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=31&item=112&items=3
ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :-
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=112
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
อาจารย์ผู้บอกกรรมฐานอย่างน้อยที่สุด
ก็ต้องเป็นผู้ไม่เลอะเลือนทั้งในพระไตรปิฎกและอรรถกถา
https://ppantip.com/topic/38517496/comment9
[ควรเรียนกรรมฐานในสำนักพุทธโอรสกระทั่งถึงท่านผู้ได้ฌาน]
อนึ่ง กุลบุตรผู้มีศีลบริสุทธิ์และตัดปลิโพธได้แล้วอย่างนั้น เมื่อจะเรียนกรรมฐานนี้ ควรเรียนเอาในสำนักพุทธบุตร ผู้ให้จตุตถฌานเกิดขึ้นด้วยกรรมฐานนี้แล แล้วเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุความเป็นพระอรหันต์. เมื่อไม่ได้พระขีณาสพนั้น ควรเรียนเอาในสำนักพระอนาคามี เมื่อไม่ได้แม้พระอนาคามีนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระสกทาคามี, เมื่อไม่ได้แม้พระสกทาคามีนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระโสดาบัน, เมื่อไม่ได้แม้พระโสดาบันนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักของท่านผู้ได้จตุตถฌาน ซึ่งมีอานาปานะเป็นอารมณ์, เมื่อไม่ได้ท่านผู้ได้จตุตถฌานแม้นั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักของพระวินิจฉยาจารย์ ผู้ไม่เลอะเลือนทั้งในบาลีและอรรถกถา.
จริงอยู่ พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระอรหันต์เป็นต้น ย่อมบอกเฉพาะมรรคที่ตนได้บรรลุแล้วเท่านั้น. ส่วนพระวินิจฉยาจารย์นี้เป็นผู้ไม่เลอะเลือน กำหนดอารมณ์เป็นที่สบายและไม่สบายในอารมณ์ทั้งปวงแล้วจึงบอกให้ เหมือนผู้นำไปสู่ทางช้างใหญ่ ในป่าที่รกชัฏฉะนั้น.
จิตวิสุทธิ , วิสุทธิ ๗ และ ญาณ ๑๖
http://ppantip.com/topic/33381826/comment3
วิสุทธิ ๗
http://abhidhamonline.org/visudhi.htm
แสดงความคิดเห็น
วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐาน หลังจากปฏิบัติสมาธิ เพื่อความวิมุตติหลุดพ้นยกจิตสู่อมตธาตุ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อทำสมาธิถึง ฌาน 4 ให้พิจารณา รูป (กาย)
เวทนา (ความสุข ความทุกข์)
สัญญา (ความจำได้)
สังขาร (ความคิดปรุงแต่ง)
วิญญาณ (อาการรู้ของจิตผ่านอายตนะทั้ง 6)
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสิ่งที่แตกสลาย เป็นอนัตตา เป็นของว่างเปล่า
ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่อ “อมตธาตุ”คือ ภาวะที่สงบ ประณีต ระงับสังขาร (ความคิดปรุงแต่งทั้งปวง สละคืนกิเลส อวิชชาทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา (ความอยาก) ความคลายกำหนัดในขันธ์ 5 ความดับ (กิเลส) นิพพาน (จิตเป็นอิสรจากกิเลส)
อ้างอิง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลาย เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะ
อาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอย่อมพิจารณา เห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะ แห่งจตุตถฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็น อนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ...นิพพาน เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพาน ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบ เหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วย
หญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล บรรลุจตุตถฌาน
ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้ กล่าวแล้ว ฯ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต