ฮิปโปลอยตัวสี่ขาได้แค่ 0.3 วินาที

.

.
©  Johan Vermeulen
.
.

.
©  Victoria Wallace
.
.

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
.
Long walk for a hippo
.
.

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
.
Hippos have been recorded to "fly" 
for 0.3 seconds while running fast
.
.


.
ฮิปโป (ฮิปโปโปเตมัส-สะเทินน้ำสะเทินบก)
วิ่งเหยาะๆ ขึ้นจากน้ำและขึ้นไปบนตลิ่งทราย
ที่มีพุ่มไม้รายรอบตลิ่งทรายแห่งนั้น
โดยขาไปในแนวทแยงตอนเคลื่อนตัว
ไปข้างหน้าพร้อม ๆ กัน
© John Trevor Platt / Alamy Stock Photo
.
.
.

ผลการศึกษาพบว่า
ฮิปโปวิ่งเหยาะ ๆ ด้วยความเร็วสูง
จะลอยตัวในอากาศได้ ไม่นานนัก
แต่ใช้เวลาเหินฟ้าเพียง 0.3 วินาทีเท่านั้น
ซึ่งแตกต่างกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น

ฮิปโปมีน้ำหนักพอ ๆ กับรถยนต์กะบะ
(ตัวผู้หนักราว 1,500 กิโลกรัม
ตัวเมียหนักราว 1,300 กิโลกรัม)
แต่นั่นไม่ได้หยุดยั้งความสามารถของพวกมัน
ในการยกตัวขึ้นจากพื้นได้อย่างสมบูรณ์
เมื่อเร่งความเร็วสูงสุดด้วยการวิ่ง
ปรากฎว่าเจ้ายักษ์ใหญ่เหล่านี้
สามารถลอยไปในอากาศได้
เป็นจำนวนหลายตัวเลยทีเดียว

(ตอนฮิปโปเท้าเหยียบลงพื้นคงจะ
สะท้านสะเทือน​เลื่อนลั่นทุกชั้นฟ้า)

การค้นพบนี้มาจากการศึกษาครั้งแรก
เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของฮิปโป 
ซึ่งตีพิมพ์เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2024
ในวารสาร PeerJ
นักวิจัยเปิดเผยว่าฮิปโปโปเตมัส
Hippopotamus amphibius
ใช้การเดินแบบสองจังหวะ
ที่เรียกว่า วิ่งเหยาะ ๆ
ซึ่งแขนขาในแนวทแยง
จะเคลื่อนไปข้างหน้าในเวลาเดียวกัน
ซึ่งจะแตกต่างจากสัตว์สี่ขาอื่น ๆ
เช่น ช้าง ซึ่งเดินแบบสี่จังหวะ
โดยให้ก้าวเท้าหลังซ้ายไปข้างหน้า
ตามด้วยหน้าซ้าย หลังขวา และหน้าขวา
.
.
.

.
.

.
.

.
.

.
.
.

John Hutchinson ผู้เขียนนำการศึกษา
ศาสตราจารย์ด้านชีวกลศาสตร์วิวัฒนาการ
ที่ Royal Veterinary College
ในสหราชอาณาจักร  ให้สัมภาษณ์กับ
WordsSideKick.com  ว่า
 

“ โดยพื้นฐานแล้วฮิปโปทำเพียงวิ่งเหยาะ ๆ
และสิ่งที่ยอดเยี่ยมเกี่ยวกับสิ่งนั้น ก็คือ
พวกมันทำแบบนั้นตลอดช่วงความเร็วทั้งหมด
อย่างที่เราเห็นและบอกได้ว่า
นั่นเป็นเรื่องไม่ธรรมดาสำหรับฮิปโป

สัตว์อื่น ๆ เช่น ม้าและแรด
จะเปลี่ยนจากการวิ่งเหยาะ ๆ
ไปเป็นวิ่งควบไปข้างหน้าเลย

แต่ฮิปโปชอบวิ่งเหยาะ ๆ
แม้จะวิ่งด้วยความเร็วสูง 25 กม./ชม.
ขณะเดียวกันก็ลอยตัวไปในอากาศ
ในระหว่างข่วงเวลานั้นด้วย
แต่ฮิปโปจะยกตัวขึ้นจากพื้นดิน
(ลอยตัว/เหินฟ้า) ได้ครั้งละ 0.3 วินาที
ซึ่งถือว่าเป็น เวลาค่อนข้างมาก
เมื่อพิจารณาว่า ฮิปโป 
ต้องใช้เวลาถึง 3 ก้าวต่อวินาที
 
เพื่อตรวจสอบการเคลื่อนไหวของฮิปโป 
Hutchinson และทีมงานวิจัย
ได้วิเคราะห์ภาพฮิปโปสองตัว
ที่บันทึกไว้ในสวนสัตว์ในอังกฤษ
และฮิปโปอีก 30 ตัวที่บันทึกไว้ใน YouTube
.
.

" หากคุณคลิกดูวิดีโอที่
ฮิปโปเคลื่อนไหวทีละเฟรม
และนี่คือ สิ่งที่เราเห็น
และรู้สึกตื่นเต้นที่ได้เห็น
หากคุณสังเกตจะเห็นว่า
ใช่เลย ว้าว ฮิปโปกำลังบิน
และลอยตัวอยู่ในอากาศ ” 
John Hutchinson กล่าวเสริม

นั่นหมายความว่า
ฮิปโปมีความสามารถ
ด้านกีฬามากกว่า ช้าง
ซึ่งลอยตัวในอากาศไม่ได้

การลอยอยู่ในอากาศ
อาจช่วยให้แขนขาทำหน้าที่
เหมือนสปริงและกักเก็บพลังงาน
ที่ยืดหยุ่นไว้ในเส้นเอ็น
ทำให้ฮิปโปมีท่าเดินกระเด้ง
ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า
และอาจเร็วกว่าอยู่บนพื้นดิน

แต่การยกตัวขึ้นก็มีข้อเสีย
การเคลื่อนไหวทำให้แขนขาตึง
และต้องออกแรงกล้ามเนื้อ
นั่นหมายความว่า
ฮิปโปไม่สามารถตอบสนอง
ต่อสิ่งรอบตัวได้ในช่วง 0.3 วินาที
ขณะที่พวกมันอยู่ในอากาศ

" เมื่อคุณอยู่บนพื้นดิน
คุณไม่สามารถควบคุม
สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้
เครื่องบินขึ้นบินนั้นมีความเสี่ยง 

สัตว์จำนวนมากลอยไปในอากาศ
เมื่อเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงสุด 
แต่พวกมันแทบจะไม่วิ่งเหยาะ ๆ
เมื่อทำเช่นนั้น เพราะจะเกิด
ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นกับแขนขา
ทำให้ร่างกายไม่สมดุล/ไม่มั่นคง
หากพวกมันใช้การเดินที่ถ่ายน้ำหนัก
ไปที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย "
John Hutchinson กล่าวสรุป

นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้อะไรมากมาย
เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของฮิปโป เช่น 
ความเร็วสูงสุดของฮิปโปเหล่านี้ 
เพราะเป็นเรื่องยากที่จะศึกษา
ฮิปโปจำนวนไม่มากที่ถูกกักขัง
และใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในน้ำ
หรือใช้การเคลื่อนไหวแบบถ่อ
(การดันตัวไปข้างหน้าอย่างลำบาก
อาการถ่อคล้ายกับการควบของม้า
ที่เกี่ยวข้องกับการผลักตัวเอง
ไปตามพื้นด้วยเท้าหลัง)

แต่การวิจัยประเภทนี้
เป็นสิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจ
วิวัฒนาการของพวกฮิปโป
และเพื่อให้พวกฮิปโปได้รับการดูแล
จากสัตวแพทย์อย่างเพียงพอ 
.

เรียบเรียง/ที่มา

Livescience
.
.

.
.
.

หมายเหตุ

ช้างลอยตัวพร้อมกันสี่ขา/เหินฟ้าไม่ได้ เพราะ
ช้างเป็นสัตว์บกขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักมาก
- ช้างแอฟริกา (ซึ่งเป็นช้างที่ใหญ่ที่สุด)
- ตัวผู้ 4,000 - 6,000 กิโลกรัม
- ตัวเมีย 2,700 - 3,600 กิโลกรัม
- ช้างเอเชีย
- ตัวผู้ 3,000 - 5,000 กิโลกรัม
- ตัวเมีย 2,000 - 3,500 กิโลกรัม
ช้างบางตัวที่อาจมีน้ำหนักมากกว่า/น้อยกว่านี้
ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น
อายุ สภาพแวดล้อม และสุขภาพ

ช้างลอยตัวทั้งสี่ขาพร้อมกัน/เหินฟ้า
จึงเป็นไปไม่ได้ในทางกายภาพ
ช้างต้องมีอย่างน้อยหนึ่งเท้า
สัมผัสพื้นตลอดเวลาเพื่อรับน้ำหนักตัว

ในขณะวิ่ง ช้างก็ยังคงมีอย่างน้อยหนึ่งเท้า
สัมผัสพื้นดินเสมอ ลักษณะการเคลื่อนไหวนี้
แตกต่างจากสัตว์บางชนิด เช่น ม้า
ที่ลอยตัวทั้งสี่ขาได้ในช่วงสั้น ๆ ขณะวิ่งเร็ว

ข้อมูลเพิ่มเติม

1. รูปแบบการเดิน
ช้างมีรูปแบบการเดินแบบ
lateral sequence
คือ เท้าหลังด้านหนึ่งจะก้าว
ตามด้วยเท้าหน้าด้านเดียวกัน
แล้วจึงสลับไปอีกด้าน

2. ความเร็วของช้าง
ช้างเดินได้ราว 4-5 กิโลเมตร/ชั่วโมง
และวิ่งในระยะสั้นได้เร็ว 25 กิโลเมตร/ชั่วโมง

3. การทรงตัว
ช้างใช้งวงช่วยในการทรงตัวขณะเคลื่อนที่
โดยเฉพาะเมื่อต้องเดินบนพื้นที่ไม่ราบเรียบ

4. ความยืดหยุ่น
แม้ช้างมีร่างกายขนาดใหญ่
แต่ช้างสามารถปีนเขาและลงเนินชัน
ได้อย่างคล่องแคล่ว

5. การว่ายน้ำ
ช้างว่ายน้ำเก่ง โดยใช้ขาทั้งสี่ข้าง
และงวงช่วยในการเคลื่อนที่ในน้ำ

6. การพักผ่อน
ช้างสามารถหลับยืนได้ แต่จะนอนลง
เมื่อต้องการพักผ่อนอย่างเต็มที่
โดยเฉลี่ยนอนประมาณ 2-4 ชั่วโมง/วัน

7. การแบกน้ำหนัก
ช้างแบกน้ำหนักบนหลังได้ไม่เกิน 10-15%
ของน้ำหนักตัว ราว 400-600 กิโลกรัม

8. การดึงและลากของหนัก
ช้างจะดึงและลากได้ราว 2-3 เท่าน้ำหนักตัว
หรือราว 8,000-12,000 กิโลกรัม

.
.
.
น้ำนมฮิปโปสีชมพูจริงหรือไม่
.

.
.

.
.
เรื่องจริงของมหาวิทยาลัย Stanford
.

.
The Stanford Family
Leland, Jane กับ Leland Jr.
ร่วมกันถ่ายภาพที่ Walery Studio
ใน Paris ช่วง 1881-1883
.
.
.

Leland Stanford เคยท้าพนันกัน
แบบสนุก ๆ กับเพื่อน ๆ ว่า
ม้าจะวิ่ง 4 ขาไม่เตะพื้นดินได้ 
(ในช่วงจังหวะหนึ่ง)
ท่านเลยว่าจ้าง
ช่างภาพ Eadweard Muybridge
มาถ่ายภาพม้ากำลังวิ่งต่อเนื่อง
เพื่อพิสูจน์เรื่องนี้
.
.
.
.

.
.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่