#Culture "ภูพระบาท" ชื่อที่มาจากรอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่บนเทือกเขาในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
.
เสาหินและเพิ่งหินขนาดใหญ่ที่ตั้งตระหง่าน และกระจายอยู่บริเวณโดยรอบเหล่านี้เป็นหินทรายของหมวดหินภูพาน (Phu Phan Formation) หินเหล่านี้นั้นนับอายุได้ราว 145 ล้านปี ซึ่งอยู่ในยุคครีเทเซียส "Cretaceous" โดยถูกกระบวนการทางธรรมชาติ ผ่านกาลเวลาแปรเปลี่ยนเสาหินและเพิ่งหินให้กลายเป็นรูปร่างที่แปลกตาแลดูสวยงาม
.
ร่องรอยอายธรรม และกิจกรรมของมนุษย์ที่มีปรากฏขึ้นนั้นย้อนกลับไปได้ในยุคก่อนประวิติศาสตร์ หรือราว 2,000-3,000 ปีก่อน มีการพบภาพเขียนสีมากถึงหลายสิบแห่ง ยังพบการตัดแปลงโขดหิน และเพิงผาธรรมชาติให้กลายเป็นศาสนสถานของผู้คนในวัฒนธรรม "ทวารวดี" ที่สืบต่อกันมาจนถึงวัฒนธรรม "ล้านช้าง" ตามลำดับ ด้วยร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีเหล่านี้ที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางสังคมของมนุษย์ในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี
.
"อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท" โดยกรมศิลปากร ได้ดำเนินการก่อตั้งในปี พ.ศ. 2535 ซึ่งมีโบราณสถานที่น่าสนใจอย่าง "หอนางอุสา" สัญลักษณ์ของอุทยานฯ ด้วยลักษณะเป็นเพิงหินธรรมชาติขนาดใหญ่ที่เกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติ มีความสูง ๑๐ เมตร รูปร่างคล้ายดอกเห็ด ตั้งอยู่กลางลานหินโล่งกว้าง
.
"ถ้ำพระ" ลักษณะเพิงหินเตี้ย เป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธ ด้วยหลักฐานผนังใต้เพิงหินมีการสลักเป็นรูปพระพุทธรูปอยู่รอบด้าน และพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางสมาธิประทับนั่ง พระพุทธรูปยืนขนาดเล็ก 6 องค์ และพระพุทธรูปปางต่างๆ
.
"กู่นางอุสา" ลักษณะเพิงหินธรรมชาติ กว้างประมาณ 3 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 4 เมตร หลักฐานทางโบราณคดีที่ปรากฏอยู่มีสองสมัยคือหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ ภาพเขียนสีบนผนังด้านตะวันตก และหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์คือหลุมสกัดพื้นที่ใต้เพิง
.
"หีบศพพ่อตา" เป็นโบราณสถานเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ถ้ำมือแดง” เป็นเพิงหินธรรมชาติ หลักฐานทางโบราณคดีคือภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และร่องรอยการสกัดพื้นหินใต้เพิง
.
"ถ้ำวัว – ถ้ำคน" เป็นแหล่งภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ฝั่งคือ ถ่ำวัว ภาพเขียนด้วยสีแดงอยู่ในสภาพสีจาง และถ่ำคน มีภาพคน 7 คน ยืนหันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน พื้นภาพลงด้วยสีแดง
.
"โนนสาวเอ้" เป็นแหล่งภาพเขียนสีบนเพิงหินทรายมีลักษณะขนาดใหญ่ขนาดใหญ่ มีที่มาของความเชื่อที่ว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่ๆผู้หญิงใช้เปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาท และมีการค้นพบภาพเขียนสีแบ่งออกได้เป็น 2 สมัย คือภาพก่อนประวัติศาสตร์ และภาพเขียนสีสมัยประวัติศาสตร์
.
ปัจจุบันพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน จังหวัดอุดรธานี ครอบคลุมพื้นที่ 3,430 ไร่ ภายใต้สังกัดหน่วยงานสำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเขตโบราณสถานไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2524
.
วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ "UNESCO" ได้ขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท และแหล่งวัฒนธรรมสีมาวัดพระพุทธบาทบัวบานเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมโดยใช้ชื่อว่า "ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมาสมัยทวารวดี" (Phu Phrabat, a testimony to the Sīma stone tradition of the Dvaravati period)
.
ขอขอบคุณข้อมูล
: กรมศิลปากร
: wikipedia
.
Better Day
กำลังใจเติมให้กันได้ทุกวัน
...
เพื่อนๆ สามารถติดตามเรื่องราวดีๆ Green Green กับ Better Day ได้ที่ Facebook:
https://www.facebook.com/betterdaydotday
ขอบคุณครับ
...
ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมาสมัยทวารวดี "ยูเนสโก" ขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรม 27 ก.ค. 67
#Culture "ภูพระบาท" ชื่อที่มาจากรอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่บนเทือกเขาในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
.
เสาหินและเพิ่งหินขนาดใหญ่ที่ตั้งตระหง่าน และกระจายอยู่บริเวณโดยรอบเหล่านี้เป็นหินทรายของหมวดหินภูพาน (Phu Phan Formation) หินเหล่านี้นั้นนับอายุได้ราว 145 ล้านปี ซึ่งอยู่ในยุคครีเทเซียส "Cretaceous" โดยถูกกระบวนการทางธรรมชาติ ผ่านกาลเวลาแปรเปลี่ยนเสาหินและเพิ่งหินให้กลายเป็นรูปร่างที่แปลกตาแลดูสวยงาม
.
ร่องรอยอายธรรม และกิจกรรมของมนุษย์ที่มีปรากฏขึ้นนั้นย้อนกลับไปได้ในยุคก่อนประวิติศาสตร์ หรือราว 2,000-3,000 ปีก่อน มีการพบภาพเขียนสีมากถึงหลายสิบแห่ง ยังพบการตัดแปลงโขดหิน และเพิงผาธรรมชาติให้กลายเป็นศาสนสถานของผู้คนในวัฒนธรรม "ทวารวดี" ที่สืบต่อกันมาจนถึงวัฒนธรรม "ล้านช้าง" ตามลำดับ ด้วยร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีเหล่านี้ที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางสังคมของมนุษย์ในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี
.
"อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท" โดยกรมศิลปากร ได้ดำเนินการก่อตั้งในปี พ.ศ. 2535 ซึ่งมีโบราณสถานที่น่าสนใจอย่าง "หอนางอุสา" สัญลักษณ์ของอุทยานฯ ด้วยลักษณะเป็นเพิงหินธรรมชาติขนาดใหญ่ที่เกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติ มีความสูง ๑๐ เมตร รูปร่างคล้ายดอกเห็ด ตั้งอยู่กลางลานหินโล่งกว้าง
.
"ถ้ำพระ" ลักษณะเพิงหินเตี้ย เป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธ ด้วยหลักฐานผนังใต้เพิงหินมีการสลักเป็นรูปพระพุทธรูปอยู่รอบด้าน และพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางสมาธิประทับนั่ง พระพุทธรูปยืนขนาดเล็ก 6 องค์ และพระพุทธรูปปางต่างๆ
.
"กู่นางอุสา" ลักษณะเพิงหินธรรมชาติ กว้างประมาณ 3 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 4 เมตร หลักฐานทางโบราณคดีที่ปรากฏอยู่มีสองสมัยคือหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้แก่ ภาพเขียนสีบนผนังด้านตะวันตก และหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์คือหลุมสกัดพื้นที่ใต้เพิง
.
"หีบศพพ่อตา" เป็นโบราณสถานเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ถ้ำมือแดง” เป็นเพิงหินธรรมชาติ หลักฐานทางโบราณคดีคือภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และร่องรอยการสกัดพื้นหินใต้เพิง
.
"ถ้ำวัว – ถ้ำคน" เป็นแหล่งภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ฝั่งคือ ถ่ำวัว ภาพเขียนด้วยสีแดงอยู่ในสภาพสีจาง และถ่ำคน มีภาพคน 7 คน ยืนหันหน้าไปในทิศทางเดียวกัน พื้นภาพลงด้วยสีแดง
.
"โนนสาวเอ้" เป็นแหล่งภาพเขียนสีบนเพิงหินทรายมีลักษณะขนาดใหญ่ขนาดใหญ่ มีที่มาของความเชื่อที่ว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่ๆผู้หญิงใช้เปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาท และมีการค้นพบภาพเขียนสีแบ่งออกได้เป็น 2 สมัย คือภาพก่อนประวัติศาสตร์ และภาพเขียนสีสมัยประวัติศาสตร์
.
ปัจจุบันพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน จังหวัดอุดรธานี ครอบคลุมพื้นที่ 3,430 ไร่ ภายใต้สังกัดหน่วยงานสำนักศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเขตโบราณสถานไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2524
.
วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ "UNESCO" ได้ขึ้นทะเบียนอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท และแหล่งวัฒนธรรมสีมาวัดพระพุทธบาทบัวบานเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมโดยใช้ชื่อว่า "ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมาสมัยทวารวดี" (Phu Phrabat, a testimony to the Sīma stone tradition of the Dvaravati period)
.
ขอขอบคุณข้อมูล
: กรมศิลปากร
: wikipedia
.
Better Day
กำลังใจเติมให้กันได้ทุกวัน
...
เพื่อนๆ สามารถติดตามเรื่องราวดีๆ Green Green กับ Better Day ได้ที่ Facebook: https://www.facebook.com/betterdaydotday
ขอบคุณครับ
...