พ่อบุคลิกเปลี่ยนไป ป่วยเป็นจิตเวชหรือป่าว?

ขอเกริ่นก่อน คุณพ่อของฉันเป็นข้าราชการระดับสูงกระทรวงหนึ่ง ใกล้เกษียณ เดิมเป็นคนบุคลิกที่ใจกว้าง ใจเย็น  และเป็นที่เคารพรักของลูกน้อง เป็นที่รู้จักในวงการราชการด้วยกัน จนกระทั้งคนที่รู้จักรอบตัวพ่อมาบอกว่าบุคลิกพ่อเปลี่ยนไป และที่สังเกตโดยส่วนตัว (ไม่ได้อยู่กับคุณพ่อบ่อยนักจนมาสังเกตอาการตามที่มีคนบอกเล่ามา) ตัวอย่างเช่น

 1.มีอาการพูดวกไปวนมา
 2.อยู่ไม่นิ่ง เดินไป เดินมา กลางคืน ไม่หลับไม่นอน โทรหาลูกน้อง คนรู้จักในเวลาที่ไม่ใช้เวลาติดต่อ หรือขับรถออกจากบ้านในยามวิกาลโดยไม่มีจุดหมาย 
 3.พูดแต่เรื่องในอดีต ที่เป็นปมในใจ และไม่สามารถเก็บความลับอยู่ได้ เช่น เอาเรื่องในครอบครัวไปพูดในที่ทำงาน หรือ เรื่องที่ทำงานที่เป็นปัญหาส่วนตัวมาพูดรวมกันไปหมด ทุกครั้งที่พูดจะมีอาการเศร้าเสียใจ คิดว่าทุกคนไม่รับฟัง
 4.ไม่สามารถยับยั้งชั่งใจได้  เช่น ใช้เงินโดยไม่คิด กดเงินจากวงเงินบัตรเครดิตทั้งหมด มาใช้จ่ายภายในวันเดียว จนบัตรเต็มทุกวง
 5.ไม่รับฟังความคิดเห็นของใคร 
 6.คิดว่าตัวเองเก่งหรือมีทักษะพิเศษเหนือกว่าคนอื่น เช่น มีความรู้ด้าน AI ที่คิดว่าตัวเองสามารถทำได้คนเดียว / เข้าใจในหลักคำสอนพุทธศาสนา
    ในระดับเดียวกับพระพุทธเจ้า
 7.มีอาการหลงลืมในระยะสั้น เช่น ลืมโทรศัพท์ไว้ในห้องน้ำสาธารณะ หรือสถานที่ที่ไปประชุม บ่อยครั้ง และไม่คิดที่จะตามหา จนต้องซื้อใหม่มาทดแทดของที่หายทั้งแว่นตา โทรศัพท์
 8.ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ เช่น ใจร้อนทำเลยโดยไม่ผ่านการคิดวิเคราะห์ใดๆทั้งสิ้น
 
  ด้วยพฤติกรรมข้างต้นที่เอ่ย ที่สัมผัสพฤติกรรมของพ่อโดยส่วนตัวและตามที่คนอื่นบอกเล่ามา ไปในทิศทางเดียวกันว่าพ่อเราต้องป่วยแน่ๆ แต่ไม่แน่ชัดว่าป่วยจิตเวชทางไหน โดยคิดจะพาแกไปพบจิตแพทย์ แต่แกไม่ยอมรับอาการที่เป็นอยู่ ด้วยแกเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ มีอัตตาตนสูง จึงโน้มน้าวได้ยาก ต้องรอแกเกษียณอย่างเดียวเพื่อมารักษา ล่าสุดปีทีผ่านมา กู้เงินจากธนาคารหลายล้านมาลงทุนทำอะไรซักอย่างโดยไม่บอกทางครอบครัวจนธนาคารมีจดหมายทวงถามหนี้มาเพราะไม่ส่งงวดหนี้ดังกล่าว มา 3-4 งวด ไม่มีใครในครอบครัวรู้ จนมีจดหมายมา และมาทราบทีหลังว่าเอาที่ดินบ้านไปค้ำธนาคารไม่ได้บอกครอบครัว อาการที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ อยากรู้ว่าป่วยเป็นจิตเวชประเภทใด มีวิธีโน้มน้าวยังไงที่จะไปพบจิตแพทย์ หนี้สินที่เกิดขึ้นมีสิทธิที่จะยับยั้งไม่ให้แกก่อหนี้เพิ่มได้หรือไม่
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่