“ความอยากหลุดพ้นนี้เป็นธรรมะ”
ถาม : ขอเรียนถามพระอาจารย์ค่ะว่า ความอยากหลุดพ้นถือว่าเป็นความอยากที่เป็นกิเลสไหมคะ
พระอาจารย์ : ไม่เป็นหรอก ความอยากที่เป็นกิเลสมีความอยากในรูปเสียงกลิ่นรส ความอยากร่ำอยากรวย อยากใหญ่อยากโต แต่ความอยากหลุดพ้นความนี่เป็นธรรมะ เป็นมรรค เป็นทาง เป็นฉันทะ เป็นประโยชน์ อยากได้ อยากหลุดพ้น อยากทำบุญทำทาน อยากรักษาศีล อยากไปวัด อยากบวช เป็นความอยากที่ดี เหมือนคนไข้ต้องอยากกินยา อยากหาหมอ อยากไปโรงพยาบาล ถึงจะหายป่วยได้ ถ้าเป็นคนไข้แล้วยังอยากไปเที่ยว ไม่อยากเข้าโรงพยาบาล เดี๋ยวก็ตายเท่านั้น.
สนทนาธรรมบนเขา
วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๑
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ถ้าถามว่า ถ้าคนเขาอยากไปนิพพาน เป็นตัณหาไหม ก็เห็นจะ ๙๙ เปอร์เซ็นต์
ที่ตอบว่า คำว่า อยาก แปลว่า ตัณหา ในเมื่อ อยากไปนิพพาน ก็แสดงว่า เป็นตัณหาเหมือนกัน
ก็เลยบอกว่า นี่แกเทศน์ แล้วแกเดินลงนรกไปเลยนะ แกเทศน์แบบนี้ แกเลิกเทศน์แล้ว ก็เดินย่องไปนรกเลย
สบายไปเสียคนเดียวก่อน ดีกว่ามาชวนชาวบ้านเขาไปอีก
ถ้าต้องการไปนิพพาน เขาเรียกว่า ธรรมฉันทะ มีความพอใจในธรรม
เป็นอาการทรงไว้ซึ่งความดี พวกเราฟังแล้วจำไว้ด้วยนะ ถ้าใครเขาถามจะได้ตอบถูก
คัดลอกจาก หนังสือรวมคำสอนธรรมปฏิบัติ
ของ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วีระ ถาวโรมหาเถร เล่ม ๑ คำสอนธรรมปฏิบัติ หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๓. ฉันทสมาธิสูตร
ว่าด้วยฉันทสมาธิ
[๘๒๕] “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะแล้วได้สมาธิ ได้จิตเอกัคคตา (สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว) นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ
๑. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
ฉันทะ ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป
ความอยากหลุดพ้นถือว่าเป็นความอยากที่เป็นกิเลสไหม
ถาม : ขอเรียนถามพระอาจารย์ค่ะว่า ความอยากหลุดพ้นถือว่าเป็นความอยากที่เป็นกิเลสไหมคะ
พระอาจารย์ : ไม่เป็นหรอก ความอยากที่เป็นกิเลสมีความอยากในรูปเสียงกลิ่นรส ความอยากร่ำอยากรวย อยากใหญ่อยากโต แต่ความอยากหลุดพ้นความนี่เป็นธรรมะ เป็นมรรค เป็นทาง เป็นฉันทะ เป็นประโยชน์ อยากได้ อยากหลุดพ้น อยากทำบุญทำทาน อยากรักษาศีล อยากไปวัด อยากบวช เป็นความอยากที่ดี เหมือนคนไข้ต้องอยากกินยา อยากหาหมอ อยากไปโรงพยาบาล ถึงจะหายป่วยได้ ถ้าเป็นคนไข้แล้วยังอยากไปเที่ยว ไม่อยากเข้าโรงพยาบาล เดี๋ยวก็ตายเท่านั้น.
สนทนาธรรมบนเขา
วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๑
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ถ้าถามว่า ถ้าคนเขาอยากไปนิพพาน เป็นตัณหาไหม ก็เห็นจะ ๙๙ เปอร์เซ็นต์
ที่ตอบว่า คำว่า อยาก แปลว่า ตัณหา ในเมื่อ อยากไปนิพพาน ก็แสดงว่า เป็นตัณหาเหมือนกัน
ก็เลยบอกว่า นี่แกเทศน์ แล้วแกเดินลงนรกไปเลยนะ แกเทศน์แบบนี้ แกเลิกเทศน์แล้ว ก็เดินย่องไปนรกเลย
สบายไปเสียคนเดียวก่อน ดีกว่ามาชวนชาวบ้านเขาไปอีก
ถ้าต้องการไปนิพพาน เขาเรียกว่า ธรรมฉันทะ มีความพอใจในธรรม
เป็นอาการทรงไว้ซึ่งความดี พวกเราฟังแล้วจำไว้ด้วยนะ ถ้าใครเขาถามจะได้ตอบถูก
คัดลอกจาก หนังสือรวมคำสอนธรรมปฏิบัติ
ของ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วีระ ถาวโรมหาเถร เล่ม ๑ คำสอนธรรมปฏิบัติ หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๓. ฉันทสมาธิสูตร
ว่าด้วยฉันทสมาธิ
[๘๒๕] “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะแล้วได้สมาธิ ได้จิตเอกัคคตา (สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว) นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ
๑. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
๒. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. เธอสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
ฉันทะ ความพอใจ คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป