เรียนวิธีเล่นหุ้นมาก็ตั้งเยอะ ทำไมยังขาดทุนซ้ำซาก? นี่คือ 10 สาเหตุที่เป็นไปได้ครับ

โดย Zyo: https://www.youtube.com/@zyobooks
https://www.facebook.com/zyobooks/

เมื่อวานผมเขียนถึงนักเล่นหุ้นส่วนใหญ่แล้ว
วันนี้เลยขอเขียนถึงคนส่วนน้อยบ้างครับ อยากให้กำลังใจและให้ความรู้ใหม่ ๆ ที่อาจช่วยท่านได้
ผมเชื่อเสมอว่าถ้าใครก็ตามที่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง เขามีศักยภาพมากพอที่จะสำเร็จแน่
เพราะความรับผิดชอบ คือ คุณสมบัติสำคัญอันดับหนึ่งของคนที่ประสบความสำเร็จครับ

เม่าเนิร์ด
การที่คุณตั้งหน้าตั้งตาอ่านหนังสือ เสียเงินลงคอร์สเรียน แสดงว่าคุณตั้งใจมาก ๆครับ
คุณมีสำนึกรับผิดชอบต่ออนาคตของตนเองสูงมาก คุณมีดีแล้วข้อหนึ่ง ซึ่งสำคัญที่สุด

ถึงกระนั้น แม้จะมีความรับผิดชอบดีเยี่ยม  แต่วิธีการที่คุณใช้มันผิด คุณก็จะขาดทุนหนักเช่นกัน
แต่อย่างไรก็ตาม การขาดทุนจะไม่ทำร้ายอะไรคุณได้มากเท่าคนที่ไม่รับผิดชอบเลย ถ้าคุณเรียนรู้จากมัน
คนที่มีความรับผิดชอบสูง จะพร้อมเรียนรู้จากความผิดพลาดมากกว่าคนที่ไม่รับผิดชอบ
ดังนั้นถ้าคุณได้เปิดใจเรียนรู้จากความผิดพลาดแล้ว หลังจากนี้ไป คุณมีพัฒนาการที่น่าชื่นใจแน่
ยิ่งคุณอยู่รอดได้นานขึ้น เรียนรู้สิ่งที่จำเป็นต่อความสำเร็จมากขึ้น คุณประสบความสำเร็จแน่นอนครับ

โดยสรุปคือ การตั้งใจเรียนรู้ เป็นเรื่องที่ดีครับ ดีมากด้วย
แต่การขาดทุน ก็เป็นเรื่องปกติเช่นกัน
และการขาดทุนนี่เอง "ที่คัดคนไม่ดีพอ" ออกไป
ถ้าหากคุณยังเชื่อว่าคุณอยากชนะ อยากแก้มือ
การเรียนรู้จากการขาดทุนจึงเป็นเรื่องต่อไปที่คุณควรตั้งใจทำความเข้าใจครับ
มีแต่คนรับผิดชอบ คนที่อยากชนะเท่านั้น ที่กล้าเรียนรู้จากความผิดพลาดครับ
ถ้าคุณกล้าพอ คุณมีโอกาสชนะแน่นอน

มีความรับผิดชอบ + เล่นหุ้นด้วยวิธีการที่ถูกต้อง = ได้กำไรสม่ำเสมอแน่นอน

เม่าเนิร์ด
มาดูสาเหตุการขาดทุนก่อนครับ แล้วค่อย ๆ แก้ทีละเรื่อง
ยิ่งแก้ได้มากเท่าไหร่ คุณจะขาดทุนน้อยลงมากตามเท่านั้นครับ
แค่คุณขาดทุนน้อยลง คุณก็จะมีโอกาสได้กำไรเป็นกอบเป็นกำมากขึ้นตามเท่านั้นครับ

เม่าเนิร์ด
การขาดทุนจากการลงทุนในหุ้นอาจเกิดจากหลายสาเหตุ 
ต่อไปนี้เป็นสาเหตุบางประการที่อาจทำให้นักลงทุนขาดทุนซ้ำซาก:
1. ขาดการวางแผนการลงทุน:
ไม่มีแผนการลงทุนที่ชัดเจนหรือเป้าหมายทางการเงินที่แน่นอน ทำให้การตัดสินใจลงทุนขาดความเป็นระบบ

2. การตามข่าวสารหรือตามแนวโน้มของตลาดมากเกินไป:
การซื้อขายหุ้นตามข่าวสารหรือตามแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงเร็วเกินไปอาจทำให้การตัดสินใจไม่ถูกต้อง

3. ขาดการวิเคราะห์หุ้นอย่างละเอียด:
ไม่ทำการบ้านก่อนการลงทุน ไม่ได้วิเคราะห์พื้นฐานหรือเทคนิคของหุ้นที่ลงทุน ทำให้ไม่เข้าใจถึงมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น

4. การลงทุนโดยใช้ความรู้สึก:
ตัดสินใจลงทุนด้วยอารมณ์หรือความรู้สึก ไม่ใช้ข้อมูลหรือหลักการที่ชัดเจน

5. การจัดการความเสี่ยงไม่ดี:
ไม่มีกลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยง เช่น การใช้ Stop-Loss,
การกระจายความเสี่ยง หรือการประเมินความเสี่ยงของแต่ละหุ้น

6. การไม่เรียนรู้จากความผิดพลาด:
ไม่ทบทวนและวิเคราะห์ความผิดพลาดที่ผ่านมาเพื่อปรับปรุงการลงทุนในอนาคต

7. การลงทุนในหุ้นที่ไม่คุ้นเคย:
ลงทุนในหุ้นหรืออุตสาหกรรมที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ

8. การคาดการณ์ตลาดไม่ถูกต้อง:
การพยายามทำนายทิศทางของตลาดที่มักจะผิดพลาด เนื่องจากตลาดมีความผันผวนสูง

9. การใช้มาร์จิ้นเกินความจำเป็น:
การใช้มาร์จิ้นในการลงทุนที่มากเกินไปทำให้เกิดหนี้สินและความเสี่ยงที่สูงขึ้น

10. การพึ่งพาคำแนะนำจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ:
รับคำแนะนำจากแหล่งที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ ทำให้การตัดสินใจลงทุนไม่ถูกต้อง

การลงทุนในหุ้นต้องใช้การวางแผนและการวิเคราะห์ที่ดี เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำกำไรและลดความเสี่ยงในการขาดทุน

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่