อจ.วิเคราะห์ 200 ส.ว. การเมืองคุมสภาสูง
https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4651751
อจ.วิเคราะห์ 200 ส.ว. การเมืองคุมสภาสูง
หมายเหตุ - ดร.ปุรวิชญ์ วัฒนสุข อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร.วีระ หวังสัจจะโชค อาจารย์ประจำวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
วิเคราะห์ถึงการเลือกสภาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ต่อทิศทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ดร.ปุรวิชญ์ วัฒนสุข
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาพรวมของ ส.ว.ชุดใหม่ ชัดเจนมากว่ามีการบล็อกโหวตอย่างเห็นได้ชัด เพราะช่วงคะแนนในแต่ละกลุ่ม อันดับที่ 1-6 กับ 8-10 มีความต่างกันมาก อันดับ 1-6 ได้คะแนน 40-60 แต่อันดับ 8-10 ได้ 20 คะแนน เห็นแบบนี้เป็น 10 กลุ่ม จึงคิดเป็นอย่างอื่นไม่ได้ว่าเป็นการบล็อกโหวต
เมื่อหน้าตา ส.ว.ออกมาเป็นแบบนี้ จะเห็นได้ว่าเกินกึ่งหนึ่ง อิงกับกลุ่มการเมือง ฉะนั้นนี่จะเป็นอีกหนึ่งตัวแปรทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นอีก 5 ปีข้างหน้า อีกทั้ง ส.ว.สายประชาชน มีคนเข้าไปเพียงเล็กน้อย หากมองในแง่ดี อย่างน้อยคนเหล่านี้ก็ยังสามารถส่งเสียงได้บ้าง เพียงแต่เรื่องการผลักดันกฎหมาย อาจจะยังไม่สามารถทำได้ เพราะเสียงไม่ได้พอ
ส่วนบทบาทของ ส.ว.ชุดใหม่ หลังจากนี้จะเป็นอย่างไร มองว่าจะคล้ายกับช่วงรัฐธรรมนูญปี 2540 คือตอนแรกเข้ากันมาแบบงงๆ สักพักเริ่มจะมีบล็อกที่ชัดเจนมากๆ ขอทํานายล่วงหน้าว่า ในช่วงการลงมติเห็นชอบร่างกฎหมาย แก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมถึงการให้ความเห็นชอบองค์กรอิสระ จำนวนคะแนนที่ลงมติ จะมาเป็นบล็อกชัดเจน เหมือนที่เห็นจากคะแนนการเลือก ส.ว. จะเหมือนกับตอนปี 2540 จะเห็นว่า ส.ว.ที่อิงกับการเมือง จะมีแบบแผนการลงคะแนนที่ชัดมากๆ
ฉะนั้น ในท้ายที่สุด อีก 5 ปีข้างหน้า ตามวาระของ ส.ว.ชุดใหม่ คิดว่าบทบาทน่าจะเป็นการเสริมหนุน เกื้อหนุน ให้กับบทบาทของฝ่ายการเมือง โดยในระยะแรกเริ่ม พอจะเห็นเค้าลางได้บ้าง หากมีกฎหมายผ่านมาสู่วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ จะสามารถแกะรอยได้ว่า บล็อกไหนเป็นอย่างไร โหวตอย่างไร และในปลายปีนี้จะชัดยิ่งขึ้น ในช่วงที่มีการเลือกองค์กรอิสระ
ส่วนจํานวนของ ส.ว.ฝ่ายประชาธิปไตยที่เข้ามา จะพอมีบทบาทบ้างหรือไม่ คิดว่าไม่มาก เพราะรูปการณ์จะคล้ายกับช่วงรัฐธรรมนูญปี 2540 อยู่ไปสักพัก จะเป็นบล็อกที่อิงกับพรรคการเมืองชัดมากๆ กับอีกขั้ว
หากพูดกันตามตรง คือ ขั้วตรงข้ามกับนาย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 10-20 คน ดังนั้นขอทำนายล่วงหน้าว่า ส.ว.ชุดใหม่ จะมีลักษณะแบบนี้ มีขาประจำที่คอยคัดง้างกับกลุ่มการเมือง
ส่วนกรณีที่นาย
สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ตกรอบในการเลือก ส.ว.นั้น แสดงว่าคงฐานไม่แข็ง อีกทั้งนาย
สมชายไปลงสมัครในกลุ่มที่ 1 กลุ่มบริหารราชการแผ่นดิน กลุ่มนี้มีแต่ตัวเต็งทั้งนั้น แล้วพอรอบไขว้ ก็ไปไขว้กับสายสื่อมวลชนกับสายประชาสังคม เชื่อว่าคะแนนที่จะแลกไขว้จาก 2 กลุ่มนี้ ค่อนข้างได้มายาก ใช้ชื่อเสียงอดีตนายกฯ ไม่นำพาที่จะได้ และคะแนนก็ได้น้อยอย่างผิดสังเกต เห็นได้เลยว่าตั้งแต่เลือกระดับอำเภอมาจนถึงระดับจังหวัด แรงส่งในระดับพื้นที่ยังพอส่งมาได้ แต่เมื่อเห็นคะแนนในการเลือกระดับประเทศ ชี้ให้เห็นว่าการจัดตั้งและบล็อกโหวตในการเลือก ส.ว.ครั้งนี้มีอยู่จริง
ส่วนผลการเลือก ส.ว.ครั้งนี้ จะส่งผลให้เกิดการต่อรองกัน ระหว่างพรรคการเมืองขั้วรัฐบาลหรือไม่นั้น มองว่าแน่นอน เพราะในบรรดาอำนาจที่ ส.ว.มีเยอะที่สุด คืออำนาจให้ความเห็นชอบองค์กรอิสระ เพราะเป็นองค์กรที่ให้คุณและโทษทางการเมือง ถ้าสามารถกำหนดวางได้ว่าใครจะอยู่ในองค์กรเหล่านี้ จะกำหนดภูมิทัศน์ทางการเมือง ในอีก 5 ปีข้างหน้าได้
ดังนั้น เราจะเห็นการเมืองของการต่อรอง ในการเลือกองค์กรอิสระชัดมาก ว่าจะเอาหรือไม่เอาใคร
ดร.วีระ หวังสัจจะโชค
ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
จากการเลือกกันเองของ ส.ว.ภาพใหญ่ ได้เห็นความวุ่นวายของกติกาและกระบวนการเลือก มีผู้สมัครหลายคนตั้งคำถามต่อการโหวตไม่ว่าจะเป็นคะแนนเสียง ถูกหักหลังบ้าง อีกพวกที่มีการแลกผลประโยชน์กัน
แม้จะวางกติกาให้ได้มาซึ่ง ส.ว.ที่มีความซับซ้อนมากขนาดไหน แต่ยังมีการฮั้วกันได้ ต้องนำไปทบทวนในภาพใหญ่ว่าไม่แตกต่างจากการเลือกตั้งทั่วไป
ส.ว.ในภาพรวมคนที่ได้มีคนเก่งที่ไม่ฝักใฝ่การเมืองหลายคนที่เข้าไปได้จำนวนหนึ่ง สามารถฝากความหวังไว้ได้ไม่น้อย เท่าที่ดูจากรายบุคคลที่รู้จักกัน มีแค่ 20-30 คนเท่านั้น ส่วนคนที่เป็นกลุ่มการเมืองจะมีมากกว่า จะได้คนที่ตรงตามเจตนารมณ์ที่ไม่ฝักใฝ่การเมือง เพียงประมาณ 15% จากคนทั้งหมด 200 คน
แล้วที่เหลือต้องยอมรับจริงๆ ว่ามาจากกลุ่มการเมืองที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น ส.ว.บุรีรัมย์ ได้จำนวนมากสุดถึง 14 คน และจังหวัดที่อยู่ติดกันอย่าง จ.สุรินทร์ได้ 7 คน จ.ศรีสะเกษได้ 5 คน แต่ จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นจังหวัดใหญ่กลับได้ตัวแทน ส.ว.เพียงคนเดียว จะเห็นภาพความไม่สอดคล้องของจังหวัดใหญ่
ดร.วีระ หวังสัจจะโชค
ในส่วนของภาคเหนือ จังหวัดใหญ่อย่าง จ.เชียงใหม่ นครสวรรค์ พิษณุโลก มี ส.ว.เพียง 1 คน แต่จังหวัดเล็กๆ อย่างจังหวัดพิจิตรได้ ส.ว.ถึง 3 คน จ.อุทัยธานีได้ถึง 5 คน จังหวัดที่ได้จำนวน ส.ว.เยอะๆ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีความสัมพันธ์กับทางกลุ่มการเมือง แต่ไม่ใช่ข้อห้ามเพราะว่ากติกาปล่อยให้ทำแบบนี้ได้
ส่วนคนที่ชื่อดังตกรอบ ทั้งอดีตนายกฯ หรือทนายชื่อดัง กรณีของนาย
สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ มองว่าอาจจะเป็นเป้าหลอก ที่พยายามเปลี่ยนกระแสสังคม ไม่ให้ไปโฟกัสว่าคนนี้จะมาเป็นประธานวุฒิสภา เพราะในกลุ่มการเมืองอื่นมีการจัดคนเหมือนกัน ผลของการโหวตมองว่าเป็นความตั้งใจให้นายสมชายได้เพียง 4 คะแนน เพื่อไปหาเป้าคนอื่น หรือไปโหวตให้คนอื่น ในส่วนของ ส.ว. 200 คน สัดส่วนเป็นฝ่ายของนักการเมืองแน่นอน ถ้ามองจำนวนตัวแทนแต่ละจังหวัดที่ออกมา
ส.ว.ชุดใหม่ถือว่าทำงานได้ มีความชอบธรรมมากกว่า 250 คน ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร เพราะอย่างน้อยที่สุดก็มีกระบวนการคัดสรรมาในระดับหนึ่ง เพื่อให้เกิดความชอบธรรมเป็นการเลือก
เมื่อเห็น ส.ว. 200 คน โอกาสจะแก้ไขรัฐธรรมนูญที่อาศัยคะแนนเสียง 1 ใน 3 ก็มีความเป็นไปได้สูง เพราะว่ากลุ่มที่กลัวมากๆ ใน ส.ว.คือกลุ่มข้าราชการเกษียณ เรียกรวมๆ ว่าเป็นกลุ่มพลังอนุรักษนิยม ที่อาจจะขวางต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะเห็นว่ากลุ่มนี้เข้ามาได้ไม่เยอะมาก เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มาจากการจัดตั้งของฝ่ายการเมือง เพราะฉะนั้นถ้าฝ่ายการเมืองเอาด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส.ว.ชุดนี้ก็จะไปด้วยกัน
ส่วนการเลือก ส.ว.ครั้งนี้ คงคิดว่าจะเป็นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ไทยและคงจะไม่มีอีกแล้ว เพราะว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องแก้ไขที่มาของ ส.ว. ให้มีความชอบธรรมมากกว่านี้
คงหนีไม่พ้นว่าควรนำโมเดลการเลือก ส.ว.ตามรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาใช้ใหม่ เพื่อเปิดให้ประชาชนเลือกตั้ง แต่ใช้วิธีการนับคะแนนและการแบ่งเขตที่แตกต่างจาก ส.ส. จะได้กลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่เป็นฝ่ายการเมือง
วิกฤตหนัก น้ำต้นทุนผลิตประปา ภาพรวมทั้งจังหวัด เหลือ 34% ปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_777777800437
นครราชสีมา เข้าสู่ฤดูฝนแล้ว วิกฤตหนัก น้ำต้นทุนผลิตประปา ภาพรวมทั้งจังหวัด เหลือ 34% ปริมาณน้ำที่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ เขื่อนลำแชะ ไม่มีน้ำไหลลงเขื่อน
28 มิ.ย. 67 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวนาในพื้นที่ท้ายเขื่อนลำแชะ หนึ่งใน 4 เขื่อนหลักของจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา เริ่มทำการปลูกข้าวนาปีด้วยการหว่านแห้งกันบ้างแล้ว หลังจากที่เริ่มต้นฤดูฝนที่ผ่านมา พอจะมีฝนตกลงมาในพื้นที่การเกษตรพอที่จะเริ่มฤดูกาลทำนา เพื่อเตรียมรอรับน้ำที่ทางเขื่อนลำแชะจะปล่อยลงมาสมทบในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมนี้
นาย
พงศ์ฤทธิ์ ชื่นอารมณ์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำแชะ เปิดเผยถึงสถานการณ์ภายในเขื่อนลำแชะว่า ปริมาณน้ำภายในเขื่อนล่าสุดเหลืออยู่ที่ประมาณ 96 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 35 ของความจุทั้งหมดที่ 275 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือเป็นปริมาณน้ำที่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ
เนื่องจากตั้งแต่เริ่มต้นฤดูฝนที่ผ่านมาแทบจะไม่มีฝนตกพอที่จะให้น้ำไหลลงสู่เขื่อนได้มากนัก มีน้ำไหลเข้าสู่อ่างเพียง 7 ล้านลูกบาศก์เมตร เมตรเท่านั้น เพราะฝนที่ตกส่วนใหญ่จะอยู่นอกพื้นที่รับน้ำ และตอนนี้ฝนหายไปจากพื้นที่รับน้ำเลยก็ว่าได้ แต่ก็ยังถือว่าไม่น่าจะเป็นปัญหาต่อการจ่ายน้ำเพื่อเริ่มต้นฤดูฝนในปีนี้
โดยเฉพาะการเพาะปลูกข้าวนาปีที่มีพื้นที่อยู่กว่า 95,000 ไร่ แต่อาจจะต้องรอลุ้นว่าในปีนี้จะมีฝนตกมากกว่าปกติจากภาวะลานินญ่า รวมถึงมีพายุจรเข้ามาในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นบ้างหรือไม่ เพื่อให้ทางเขื่อนพอได้รับน้ำไว้บริหารจัดการในปีหน้าได้อย่างเพียงพอ ซึ่งคาดการณ์ว่าปีนี้จะเริ่มต้นส่งน้ำเพื่อทำนาปีได้ภายในกลางเดือนหน้า หรือเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลาง รวม 27 แห่ง ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ล่าสุด วันนี้ (28 มิ.ย.67) มีปริมาณน้ำเหลืออยู่ในอ่างรวม 463.121 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 37.94 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 1,220.32 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีปริมาณน้ำที่สามารถใช้การได้เพียง 400.306 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 34.57 เท่านั้น
โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ 1. อ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ.สีคิ้ว มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 89.403 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 28.43 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 314.49 ล้านลูกบาศก์เมตร, 2. อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 83 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 53.55 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 155 ล้านลูกบาศก์เมตร,
3. อ่างเก็บน้ำมูลบน อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 54.508 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 38.66 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 141 ล้านลูกบาศก์เมตร และ 4. อ่างเก็บน้ำชำแชะ อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 96.944 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 35.25 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 275 ล้านลูกบาศก์เมตร.
JJNY : อจ.วิเคราะห์ 200 ส.ว.│วิกฤตหนัก ปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์│สมาคมแบงก์ไทยแจงด่วน!│ฝนตกลมแรงพัง หลังคาสนามบินอินเดีย
https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4651751
ดร.วีระ หวังสัจจะโชค อาจารย์ประจำวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
วิเคราะห์ถึงการเลือกสภาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ต่อทิศทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ดร.ปุรวิชญ์ วัฒนสุข
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาพรวมของ ส.ว.ชุดใหม่ ชัดเจนมากว่ามีการบล็อกโหวตอย่างเห็นได้ชัด เพราะช่วงคะแนนในแต่ละกลุ่ม อันดับที่ 1-6 กับ 8-10 มีความต่างกันมาก อันดับ 1-6 ได้คะแนน 40-60 แต่อันดับ 8-10 ได้ 20 คะแนน เห็นแบบนี้เป็น 10 กลุ่ม จึงคิดเป็นอย่างอื่นไม่ได้ว่าเป็นการบล็อกโหวต
เมื่อหน้าตา ส.ว.ออกมาเป็นแบบนี้ จะเห็นได้ว่าเกินกึ่งหนึ่ง อิงกับกลุ่มการเมือง ฉะนั้นนี่จะเป็นอีกหนึ่งตัวแปรทางการเมืองที่จะเกิดขึ้นอีก 5 ปีข้างหน้า อีกทั้ง ส.ว.สายประชาชน มีคนเข้าไปเพียงเล็กน้อย หากมองในแง่ดี อย่างน้อยคนเหล่านี้ก็ยังสามารถส่งเสียงได้บ้าง เพียงแต่เรื่องการผลักดันกฎหมาย อาจจะยังไม่สามารถทำได้ เพราะเสียงไม่ได้พอ
ส่วนบทบาทของ ส.ว.ชุดใหม่ หลังจากนี้จะเป็นอย่างไร มองว่าจะคล้ายกับช่วงรัฐธรรมนูญปี 2540 คือตอนแรกเข้ากันมาแบบงงๆ สักพักเริ่มจะมีบล็อกที่ชัดเจนมากๆ ขอทํานายล่วงหน้าว่า ในช่วงการลงมติเห็นชอบร่างกฎหมาย แก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมถึงการให้ความเห็นชอบองค์กรอิสระ จำนวนคะแนนที่ลงมติ จะมาเป็นบล็อกชัดเจน เหมือนที่เห็นจากคะแนนการเลือก ส.ว. จะเหมือนกับตอนปี 2540 จะเห็นว่า ส.ว.ที่อิงกับการเมือง จะมีแบบแผนการลงคะแนนที่ชัดมากๆ
ฉะนั้น ในท้ายที่สุด อีก 5 ปีข้างหน้า ตามวาระของ ส.ว.ชุดใหม่ คิดว่าบทบาทน่าจะเป็นการเสริมหนุน เกื้อหนุน ให้กับบทบาทของฝ่ายการเมือง โดยในระยะแรกเริ่ม พอจะเห็นเค้าลางได้บ้าง หากมีกฎหมายผ่านมาสู่วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ จะสามารถแกะรอยได้ว่า บล็อกไหนเป็นอย่างไร โหวตอย่างไร และในปลายปีนี้จะชัดยิ่งขึ้น ในช่วงที่มีการเลือกองค์กรอิสระ
ส่วนจํานวนของ ส.ว.ฝ่ายประชาธิปไตยที่เข้ามา จะพอมีบทบาทบ้างหรือไม่ คิดว่าไม่มาก เพราะรูปการณ์จะคล้ายกับช่วงรัฐธรรมนูญปี 2540 อยู่ไปสักพัก จะเป็นบล็อกที่อิงกับพรรคการเมืองชัดมากๆ กับอีกขั้ว
หากพูดกันตามตรง คือ ขั้วตรงข้ามกับนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 10-20 คน ดังนั้นขอทำนายล่วงหน้าว่า ส.ว.ชุดใหม่ จะมีลักษณะแบบนี้ มีขาประจำที่คอยคัดง้างกับกลุ่มการเมือง
ส่วนกรณีที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ตกรอบในการเลือก ส.ว.นั้น แสดงว่าคงฐานไม่แข็ง อีกทั้งนายสมชายไปลงสมัครในกลุ่มที่ 1 กลุ่มบริหารราชการแผ่นดิน กลุ่มนี้มีแต่ตัวเต็งทั้งนั้น แล้วพอรอบไขว้ ก็ไปไขว้กับสายสื่อมวลชนกับสายประชาสังคม เชื่อว่าคะแนนที่จะแลกไขว้จาก 2 กลุ่มนี้ ค่อนข้างได้มายาก ใช้ชื่อเสียงอดีตนายกฯ ไม่นำพาที่จะได้ และคะแนนก็ได้น้อยอย่างผิดสังเกต เห็นได้เลยว่าตั้งแต่เลือกระดับอำเภอมาจนถึงระดับจังหวัด แรงส่งในระดับพื้นที่ยังพอส่งมาได้ แต่เมื่อเห็นคะแนนในการเลือกระดับประเทศ ชี้ให้เห็นว่าการจัดตั้งและบล็อกโหวตในการเลือก ส.ว.ครั้งนี้มีอยู่จริง
ส่วนผลการเลือก ส.ว.ครั้งนี้ จะส่งผลให้เกิดการต่อรองกัน ระหว่างพรรคการเมืองขั้วรัฐบาลหรือไม่นั้น มองว่าแน่นอน เพราะในบรรดาอำนาจที่ ส.ว.มีเยอะที่สุด คืออำนาจให้ความเห็นชอบองค์กรอิสระ เพราะเป็นองค์กรที่ให้คุณและโทษทางการเมือง ถ้าสามารถกำหนดวางได้ว่าใครจะอยู่ในองค์กรเหล่านี้ จะกำหนดภูมิทัศน์ทางการเมือง ในอีก 5 ปีข้างหน้าได้
ดังนั้น เราจะเห็นการเมืองของการต่อรอง ในการเลือกองค์กรอิสระชัดมาก ว่าจะเอาหรือไม่เอาใคร
ดร.วีระ หวังสัจจะโชค
ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
จากการเลือกกันเองของ ส.ว.ภาพใหญ่ ได้เห็นความวุ่นวายของกติกาและกระบวนการเลือก มีผู้สมัครหลายคนตั้งคำถามต่อการโหวตไม่ว่าจะเป็นคะแนนเสียง ถูกหักหลังบ้าง อีกพวกที่มีการแลกผลประโยชน์กัน
แม้จะวางกติกาให้ได้มาซึ่ง ส.ว.ที่มีความซับซ้อนมากขนาดไหน แต่ยังมีการฮั้วกันได้ ต้องนำไปทบทวนในภาพใหญ่ว่าไม่แตกต่างจากการเลือกตั้งทั่วไป
ส.ว.ในภาพรวมคนที่ได้มีคนเก่งที่ไม่ฝักใฝ่การเมืองหลายคนที่เข้าไปได้จำนวนหนึ่ง สามารถฝากความหวังไว้ได้ไม่น้อย เท่าที่ดูจากรายบุคคลที่รู้จักกัน มีแค่ 20-30 คนเท่านั้น ส่วนคนที่เป็นกลุ่มการเมืองจะมีมากกว่า จะได้คนที่ตรงตามเจตนารมณ์ที่ไม่ฝักใฝ่การเมือง เพียงประมาณ 15% จากคนทั้งหมด 200 คน
แล้วที่เหลือต้องยอมรับจริงๆ ว่ามาจากกลุ่มการเมืองที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น ส.ว.บุรีรัมย์ ได้จำนวนมากสุดถึง 14 คน และจังหวัดที่อยู่ติดกันอย่าง จ.สุรินทร์ได้ 7 คน จ.ศรีสะเกษได้ 5 คน แต่ จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นจังหวัดใหญ่กลับได้ตัวแทน ส.ว.เพียงคนเดียว จะเห็นภาพความไม่สอดคล้องของจังหวัดใหญ่
ดร.วีระ หวังสัจจะโชค
ในส่วนของภาคเหนือ จังหวัดใหญ่อย่าง จ.เชียงใหม่ นครสวรรค์ พิษณุโลก มี ส.ว.เพียง 1 คน แต่จังหวัดเล็กๆ อย่างจังหวัดพิจิตรได้ ส.ว.ถึง 3 คน จ.อุทัยธานีได้ถึง 5 คน จังหวัดที่ได้จำนวน ส.ว.เยอะๆ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีความสัมพันธ์กับทางกลุ่มการเมือง แต่ไม่ใช่ข้อห้ามเพราะว่ากติกาปล่อยให้ทำแบบนี้ได้
ส่วนคนที่ชื่อดังตกรอบ ทั้งอดีตนายกฯ หรือทนายชื่อดัง กรณีของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ มองว่าอาจจะเป็นเป้าหลอก ที่พยายามเปลี่ยนกระแสสังคม ไม่ให้ไปโฟกัสว่าคนนี้จะมาเป็นประธานวุฒิสภา เพราะในกลุ่มการเมืองอื่นมีการจัดคนเหมือนกัน ผลของการโหวตมองว่าเป็นความตั้งใจให้นายสมชายได้เพียง 4 คะแนน เพื่อไปหาเป้าคนอื่น หรือไปโหวตให้คนอื่น ในส่วนของ ส.ว. 200 คน สัดส่วนเป็นฝ่ายของนักการเมืองแน่นอน ถ้ามองจำนวนตัวแทนแต่ละจังหวัดที่ออกมา
ส.ว.ชุดใหม่ถือว่าทำงานได้ มีความชอบธรรมมากกว่า 250 คน ที่มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร เพราะอย่างน้อยที่สุดก็มีกระบวนการคัดสรรมาในระดับหนึ่ง เพื่อให้เกิดความชอบธรรมเป็นการเลือก
เมื่อเห็น ส.ว. 200 คน โอกาสจะแก้ไขรัฐธรรมนูญที่อาศัยคะแนนเสียง 1 ใน 3 ก็มีความเป็นไปได้สูง เพราะว่ากลุ่มที่กลัวมากๆ ใน ส.ว.คือกลุ่มข้าราชการเกษียณ เรียกรวมๆ ว่าเป็นกลุ่มพลังอนุรักษนิยม ที่อาจจะขวางต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะเห็นว่ากลุ่มนี้เข้ามาได้ไม่เยอะมาก เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มาจากการจัดตั้งของฝ่ายการเมือง เพราะฉะนั้นถ้าฝ่ายการเมืองเอาด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส.ว.ชุดนี้ก็จะไปด้วยกัน
ส่วนการเลือก ส.ว.ครั้งนี้ คงคิดว่าจะเป็นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ไทยและคงจะไม่มีอีกแล้ว เพราะว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องแก้ไขที่มาของ ส.ว. ให้มีความชอบธรรมมากกว่านี้
คงหนีไม่พ้นว่าควรนำโมเดลการเลือก ส.ว.ตามรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาใช้ใหม่ เพื่อเปิดให้ประชาชนเลือกตั้ง แต่ใช้วิธีการนับคะแนนและการแบ่งเขตที่แตกต่างจาก ส.ส. จะได้กลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่เป็นฝ่ายการเมือง
วิกฤตหนัก น้ำต้นทุนผลิตประปา ภาพรวมทั้งจังหวัด เหลือ 34% ปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_777777800437
นครราชสีมา เข้าสู่ฤดูฝนแล้ว วิกฤตหนัก น้ำต้นทุนผลิตประปา ภาพรวมทั้งจังหวัด เหลือ 34% ปริมาณน้ำที่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ เขื่อนลำแชะ ไม่มีน้ำไหลลงเขื่อน
28 มิ.ย. 67 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวนาในพื้นที่ท้ายเขื่อนลำแชะ หนึ่งใน 4 เขื่อนหลักของจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา เริ่มทำการปลูกข้าวนาปีด้วยการหว่านแห้งกันบ้างแล้ว หลังจากที่เริ่มต้นฤดูฝนที่ผ่านมา พอจะมีฝนตกลงมาในพื้นที่การเกษตรพอที่จะเริ่มฤดูกาลทำนา เพื่อเตรียมรอรับน้ำที่ทางเขื่อนลำแชะจะปล่อยลงมาสมทบในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมนี้
นายพงศ์ฤทธิ์ ชื่นอารมณ์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำแชะ เปิดเผยถึงสถานการณ์ภายในเขื่อนลำแชะว่า ปริมาณน้ำภายในเขื่อนล่าสุดเหลืออยู่ที่ประมาณ 96 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 35 ของความจุทั้งหมดที่ 275 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือเป็นปริมาณน้ำที่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ
เนื่องจากตั้งแต่เริ่มต้นฤดูฝนที่ผ่านมาแทบจะไม่มีฝนตกพอที่จะให้น้ำไหลลงสู่เขื่อนได้มากนัก มีน้ำไหลเข้าสู่อ่างเพียง 7 ล้านลูกบาศก์เมตร เมตรเท่านั้น เพราะฝนที่ตกส่วนใหญ่จะอยู่นอกพื้นที่รับน้ำ และตอนนี้ฝนหายไปจากพื้นที่รับน้ำเลยก็ว่าได้ แต่ก็ยังถือว่าไม่น่าจะเป็นปัญหาต่อการจ่ายน้ำเพื่อเริ่มต้นฤดูฝนในปีนี้
โดยเฉพาะการเพาะปลูกข้าวนาปีที่มีพื้นที่อยู่กว่า 95,000 ไร่ แต่อาจจะต้องรอลุ้นว่าในปีนี้จะมีฝนตกมากกว่าปกติจากภาวะลานินญ่า รวมถึงมีพายุจรเข้ามาในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นบ้างหรือไม่ เพื่อให้ทางเขื่อนพอได้รับน้ำไว้บริหารจัดการในปีหน้าได้อย่างเพียงพอ ซึ่งคาดการณ์ว่าปีนี้จะเริ่มต้นส่งน้ำเพื่อทำนาปีได้ภายในกลางเดือนหน้า หรือเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลาง รวม 27 แห่ง ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ล่าสุด วันนี้ (28 มิ.ย.67) มีปริมาณน้ำเหลืออยู่ในอ่างรวม 463.121 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 37.94 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 1,220.32 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีปริมาณน้ำที่สามารถใช้การได้เพียง 400.306 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 34.57 เท่านั้น
โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ 1. อ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ.สีคิ้ว มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 89.403 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 28.43 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 314.49 ล้านลูกบาศก์เมตร, 2. อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 83 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 53.55 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 155 ล้านลูกบาศก์เมตร,
3. อ่างเก็บน้ำมูลบน อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 54.508 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 38.66 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 141 ล้านลูกบาศก์เมตร และ 4. อ่างเก็บน้ำชำแชะ อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ 96.944 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 35.25 ของความจุกักเก็บทั้งหมด 275 ล้านลูกบาศก์เมตร.