เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมคนถึงคิดไม่เหมือนกัน ทั้งๆที่ก็มองสิ่งเดียวกันแต่ทำไมถึงคิดต่างกัน? เคยเป็นรึเปล่าคะ แบบว่า เรากำลังคุยกับเพื่อนอยู่แล้วถามว่ารู้จักดาราคนนี้มั้ย? แต่เพื่อนตอบว่าไม่รู้จัก แล้วเราก็บอกทันทีว่า ทำไมไม่รู้จักเนี้ยย ไปอยู่ที่ไหนมา เราว่าทุกคนหน้าจะเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้ หรือ คล้ายๆแบบนี้กันบ้างนะคะแต่เรามองว่ามันก็ไม่ได้แปลกอะไร ในมุมมองของเราเองเรามองว่าต่อให้เรารู้จัก แต่คนอื่นก็ไม่จำเป็นต้องรู้จักเหมือนกับเรา หรือต่อให้คนอื่นรู้จัก แต่เราไม่รู้จักเลยมันก็ไม่แปลกอยู่ดี เหมือนเป็นเรื่องปกติของคนเราที่ต่างคนต่างก็ไม่ได้มีมุมมองที่เหมือนกัน อย่างเราชอบ k-pop แต่เธอชอบ t-pop ซึ่งเราและเธอต่างก็ไม่ได้ชอบเหมือนกัน และไม่จำเป็นที่จะต้องชอบเหมือนกัน มันเลยทำให้เรามีข้อสงสัยขึ้นมาว่าเอ้ะ!! ในเมื่อสิ่งที่เรามองมันคือสิ่งเดียวกันแต่ทำไมความคิดเห็นเราถึงต่างกันจัง แต่เรามองว่าทุกปัจจัยมีผลต่อกันค่ะ เราเคยไปเจอมาว่า พันธุกรรมนี่สำคัญเลยนะคะ ต่อมาก็จิตใจและสังคม คนเราต่อให้เติบโตมาในบ้านเดียวกัน ตัวติดกันเหมือนเงา แต่ถ้าพันธุกรรมแตกต่างกัน ก็มีกระบวนการคิดไม่เหมือนกันค่ะ อย่างพี่เป็นเด็กทั่วไป แต่น้องเป็นเด็กพิเศษ แม้จะเป็นฝาแฝดกัน โตชนิดที่ว่า copy กันมาเลย แต่ก็ตอบสนองต่อสิ่งเร้า และ มีความคิดแตกต่างกันแล้ว เช่น คนที่เคยไปศึกษาที่ต่างประเทศก็จะมีมุมมองหลากหลายมากกว่าคนศึกษาในประเทศ หรืออย่างการอยู่ร่วมกันในสังคมย่อมต้องมีเรื่องที่เรามีความเห็นแตกต่างจากคนอื่น เพราะแต่ละคนเติบโตมาในสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน มีแนวความคิด ความเชื่อ วัฒนธรรม และประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกัน เวลาที่เราสื่อสารกับคนอื่นแล้วคนอื่นมีความเห็นไม่เหมือนกับเราถือเป็นเรื่องธรรมดา และความเห็นที่แตกต่างไม่จำเป็นต้องทะเลาะกันเสมอไป การสอนให้เด็กนักเรียนรู้วิธีการจัดการตั้งแต่ยังเล็กเป็นสิ่งสำคัญการมีความเห็นต่างถือเป็นเรื่องปกติ คนที่เห็นต่างถือเป็นเรื่องปกติ คนที่เห็นต่างจากเราไม่ใช่ศัตรู เพราะแต่ละคนมีความแตกต่างทางความคิด ทุกคนมีความคิดเห็นเป็นของตัวเอง การจัดการให้มุ่งเน้นไปที่ตัวปัญหา ไม่ใช่เรื่องของบุคคล ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการ confict นั้น เราอาจได้สิ่งที่เราต้องการหรือเสียบางอย่างที่เราต้องการไปก็ได้ถ้าเหตุการณ์รุนแรงขึ้น ใช้อารมณ์ต่อกัน การพยายามเอาชนะจะทำให้เราทะเลาะกับอีกฝ่าย ซึ่งสร้างความโกรธเกลียด แตกแยก แต่หากเราแก้ปัญหาด้วยวิธีที่เหมาะสมจนผ่านแต่ละเหตุการณ์ไปได้จะทำให้เรามีประสบการฌ์บทเรียน และมีการเติบโตด้านจิตใจและความคิด
ขั้นตอนการจัดการกับ confict
1.ควบคุมอารมรืตัวเองให้สงบก่อน (cool down) เมื่อเรากับคนอื่นมีความเห็นต่างกัน บ่อยครั้งที่เรารู้สึกโกรธ ไม่พอใจ เสียใจ หากเรายังควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ เราจะแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกไป นอกจากไม่เป็นการแก้ปัญหายิ่งยุ่งยากขึ้น เช่น ต่อว่าด่าทออีกฝ่าย ใช้กำลัง วิธีที่จะช่วยให้เราสงบอารมณ์ได้ เช่น ควบคุมลมหายใจ นับ1-10 แยกตัวออกไปจากสิ่งที่กระตุ้นให้โกรธ เมื่อต่างฝ่ายต่างสงบลง ค่อยกลับมาคุยกันใหม่ จะได้ใช้สติปัยยาและเหตุผลในการแก้ปัญหา
2.ประเมินว่าอะไรที่ปัญหา (สิ่งที่เป็น confict) ทั้งสองฝ่ายที่มีความคิดเห็นต่างกัน ต้องฟังสิ่งที่อีกฝ่ายพูด ให้คนอื่นช่วยเป็นตัวกลางให้ (Modulator) คือ ช่วยถามคำถามเพื่อให้กระจ่างขึ้น (clarify) ถามสิ่งที่แต่ละฝ่ายเข้าใจ เข้าใจตัวเองและอีกฝ่ายมากขึ้น (อารมณ์และความคิด) ประนีประนอมไม่ให้เป็นการทะเลาะกัน หลีกเลี่ยงการใช้ความรุงแรง
3.บอกอีกฝ่ายว่าเราคิดและรู้สึกอย่างไร บอกความต้องการของเรา วิธีการพูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกของเรา ควรใช้คำที่ดี โดยไม่ตำหนิต่อว่าอีกฝ่าย ให้มุ่งเน้นที่ตัวพฤติกรรมการกระทำมากว่าที่ตัวบุลคล วิธีการพูดแบบนี้จะช่วยให้อีกฝ่ายยอมรับเปิดใจฟังเรามากขึ้น ตัวอย่างเช่น "เราไม่ชอบที่เธอวาดรูปประกอบรายงานไม่เหมือนกับที่ตกลงกันไว้ โดยไม่บอกกันก่อน" พยายามอย่าขุดคุ้ยหรือวกกลับไปคุยเรื่องในอดีตที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาในปัจจุบัน ควรเน้นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้
4.ฟังความคิด ความรู้สึกและความต้องการของอีกฝ่ายอย่างตั้งใจเราต้องพยายามลดอคติ ไม่ควรตั้งธงในใจ เพราะจะทำให้เราไม่พยายามเข้าใจอีกฝ่าย เมื่อเราฟังอีกฝ่ายด้วยความตั้งใจ ลองมองในมุมมองของเขา เราจะเข้าใจเขาได้มากขึ้น ทำให้เวลาคิดวิธีแก้ปัญหาร่วมกัน จะแก้ได้ตรงจุดและได้ผลดี ข้อมูลที่ควรได้จากอีกฝ่ายคือ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ เหตุผลที่ทำให้เขาคิดและต้องการแบบนั้น สิ่งที่เขากังวลหรือไม่เห็นด้วยกับเราเพราะอะไร มีส่วนไหนบ้างที่พอจะเห็นด้วยตรงกัน และสิ่งสำคัญเราไม่ควรเอาเหตุผลของตัวเองเป็นหลัก
สงสัย!! ตั้งคำถาม!! ทำไมทุกคนถึงมีความคิดที่ต่างกัน?
ขั้นตอนการจัดการกับ confict
1.ควบคุมอารมรืตัวเองให้สงบก่อน (cool down) เมื่อเรากับคนอื่นมีความเห็นต่างกัน บ่อยครั้งที่เรารู้สึกโกรธ ไม่พอใจ เสียใจ หากเรายังควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ เราจะแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกไป นอกจากไม่เป็นการแก้ปัญหายิ่งยุ่งยากขึ้น เช่น ต่อว่าด่าทออีกฝ่าย ใช้กำลัง วิธีที่จะช่วยให้เราสงบอารมณ์ได้ เช่น ควบคุมลมหายใจ นับ1-10 แยกตัวออกไปจากสิ่งที่กระตุ้นให้โกรธ เมื่อต่างฝ่ายต่างสงบลง ค่อยกลับมาคุยกันใหม่ จะได้ใช้สติปัยยาและเหตุผลในการแก้ปัญหา
2.ประเมินว่าอะไรที่ปัญหา (สิ่งที่เป็น confict) ทั้งสองฝ่ายที่มีความคิดเห็นต่างกัน ต้องฟังสิ่งที่อีกฝ่ายพูด ให้คนอื่นช่วยเป็นตัวกลางให้ (Modulator) คือ ช่วยถามคำถามเพื่อให้กระจ่างขึ้น (clarify) ถามสิ่งที่แต่ละฝ่ายเข้าใจ เข้าใจตัวเองและอีกฝ่ายมากขึ้น (อารมณ์และความคิด) ประนีประนอมไม่ให้เป็นการทะเลาะกัน หลีกเลี่ยงการใช้ความรุงแรง
3.บอกอีกฝ่ายว่าเราคิดและรู้สึกอย่างไร บอกความต้องการของเรา วิธีการพูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกของเรา ควรใช้คำที่ดี โดยไม่ตำหนิต่อว่าอีกฝ่าย ให้มุ่งเน้นที่ตัวพฤติกรรมการกระทำมากว่าที่ตัวบุลคล วิธีการพูดแบบนี้จะช่วยให้อีกฝ่ายยอมรับเปิดใจฟังเรามากขึ้น ตัวอย่างเช่น "เราไม่ชอบที่เธอวาดรูปประกอบรายงานไม่เหมือนกับที่ตกลงกันไว้ โดยไม่บอกกันก่อน" พยายามอย่าขุดคุ้ยหรือวกกลับไปคุยเรื่องในอดีตที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาในปัจจุบัน ควรเน้นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้
4.ฟังความคิด ความรู้สึกและความต้องการของอีกฝ่ายอย่างตั้งใจเราต้องพยายามลดอคติ ไม่ควรตั้งธงในใจ เพราะจะทำให้เราไม่พยายามเข้าใจอีกฝ่าย เมื่อเราฟังอีกฝ่ายด้วยความตั้งใจ ลองมองในมุมมองของเขา เราจะเข้าใจเขาได้มากขึ้น ทำให้เวลาคิดวิธีแก้ปัญหาร่วมกัน จะแก้ได้ตรงจุดและได้ผลดี ข้อมูลที่ควรได้จากอีกฝ่ายคือ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ เหตุผลที่ทำให้เขาคิดและต้องการแบบนั้น สิ่งที่เขากังวลหรือไม่เห็นด้วยกับเราเพราะอะไร มีส่วนไหนบ้างที่พอจะเห็นด้วยตรงกัน และสิ่งสำคัญเราไม่ควรเอาเหตุผลของตัวเองเป็นหลัก