ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาภาพของนักลงทุนต่างชาติยังคงทยอยขายออกจากตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องไปแล้วกว่า 1 ล้านล้านบาท จากที่ถือครองระดับ 33 ล้านล้านบาท แล้วทำไมนักลงทุนต่างชาติถึงยังคงขายหุ้นไทยจนทุกวันนี้ มิติแรกหากดูจาก EPS และ GDP ของหุ้นไทยก็ยังโตอยู่ในระดับต่ำ โดยพบว่า EPS ตลาดหุ้นโลกโตเฉลี่ย 7% EPS NASDAQ 13% ส่วน SET สร้าง EPS เติบโต 5.2%
ขณะที่เศรษฐกิจไทย หรือ GDP ไทย ก็เติบโตอย่างเชื่องช้ากว่าประเทศอื่นๆ หลังเจอวิกฤตโควิด และความเสียหายก็ถือว่าหนักหนากว่า เหตุการณ์วิกฤตในอดีต ทั้ง ต้มยำกุ้งที่ร้ายแรงที่สุดเสียด้วยซ้ำ (ต้มยำกุ้ง วิกฤตซัพไพรม์ น้ำท่วม และโควิด) GDP ประเทศไทยมีขนาดมูลค่า 17.9 ล้านล้านบาท
มิติถัดมา แล้วจีดีพีไทย ผ่านการภาคการผลิตเพื่อจะดูว่าอุตสาหกรรมมาจาก AI Adoption หรือจาก TECH และ Non TECH กี่เปอร์เซ็นต์ พบว่าโครงสร้างจีดีพีไทย มาจากผลิตอุตสาหกรรม 30% บริการหรือท่องเที่ยว 60% และเกษตร 10% ซึ่งโครงสร้างนี้ไม่ได้แตกต่างกันมากนักกับประเทศอื่นๆ
และหากแบ่งจำนวนประชากรไทยที่มีกว่า 70 ล้านคน และมี 39.9 ล้านคนเป็นกลุ่มคนทำงานกลับพบว่า ในกลุ่มคนทำงานมีสัดส่วนถึง 30% ที่อยู่ในภาคเกษตรแต่กลับที่สร้าง GDP เพียง 10%และ 15% อยู่ในภาคอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วน 30% ดูแล้วประสิทธิภาพของคนวัยทำงานยังน้อยอยู่
ไม่เพียงเท่านี้หากดูอีกมิติในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทยผลิตอะไร เป็น Tech และ non Tech กี่เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน ซึ่งหากดู ไต้หวัน สัดส่วน Tech 20% และ non Tech 10% เป็น 2.เกาหลีใต้ สัดส่วน Techกว่า 10% หรือแม้แต่ สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย ก็แซงหน้าไทย ขณะที่ไทย มีสัดส่วน Tech เพียง 3% และ non Tech กว่า 20% ซึ่งจากความเชื่อมโยงกับการเติบโตของจีดีพีไทย และ การเติบโต EPS ของบริษัทจดทะเบียนไทย โดยสรุปแล้วเหมือนจะไม่มีเลยที่มีธุรกิจ New S Curve ที่เป็น Tech
ประเด็นถัดมาประเทศไทยในกลุ่ม TECH ที่มีสัดส่วนเพียง 3% ของภาคการผลิต ก็ยังเป็นการผลิตชิ้นส่วนเพียง HDD เท่านั้น แต่ประเทศเพื่อนบ้านพัฒนาไประดับ SDD แล้ว ก็ยังโดนประเทศอื่นๆ ช่วงชิงความได้เปรียบไปแล้ว ในขณะที่ภาคการบริการ ของไทยก็ยังอยู่ในระดับ traditional ไม่ได้อยู่ในระดับ Modle, R&D consult ด้วย ซึ่งเป็นการอธิบายภาพผ่านมุมมองต่างชาติ
ซึ่งต่างชาติไม่ดูเพียง PE Ratio ของดัชนีหุ้นไทยที่อยู่ระดับ 13.7 เท่า ซึ่งเมื่อเทียบหุ้นสหรัฐที่อยู่ระดับ 19-20 เท่า หุ้นอินเดีย อยู่ที่ระดับ 20 เท่า มิตินี้แม้หุ้นไทยถูกกว่าเพื่อนบ้านก็ตาม โดยสรุปต่างชาติไม่ได้มองหุ้นไทยเพียงมิติ EPS PE และ GDP แล้ว และก็คงไม่แปลกใจว่าหุ้นไทยจะหมดเสน่ห์ลงเรื่อยๆ หากยังปล่อยให้โครงสร้างของตลาดหุ้นไทยยังเป็นอยู่แบบนี้
และล่าสุดยังเห็นการปรับตัวของนักลงทุนในประเทศ เพื่อจะขยับตัวและขยายการลงทุนไปต่างประเทศที่สร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นไทย และมีอนาคตกว่าแล้ว คือ การจัดตั้งสมาคมนักลงทุนประเทศไทย โดยมี “เซียนมี่ - ทิวา ชินธาดาพงศ์ ” เป็นนายกสมาคม จุดประสงค์หนึ่งก็เพื่อสร้างตัวตนในการเข้าไปพบปะบริษัทขนาดใหญ่ที่น่าสนใจต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีนซึ่งมีอนาคตที่ดีเป็นต้น
สุดท้ายนี้คงต้องย้ำกันอีกครั้งว่า โครงสร้างหุ้นไทยที่ดูแล้วไม่ได้สร้างเสน่ห์จริงๆในสายตาต่างชาติ ฉะนั้นการจะชูมิติ หุ้นไทย PE ถูกกว่าเพื่อนบ้านคงไม่ได้แล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่จะฝากไว้กับว่าที่ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์คนที่ 14 ที่จะต้องมารับภาระหนักและใหญ่หลวงครั้งนี้ ซึ่งจะต้องเป็นบุคคลที่ยอมสละเวลา และทุ่มสพกำลังอย่างแท้จริง รวมทั้งจะต้องเป็นผู้ที่เห็นปัญหาอย่างถ่องแท้ถึงจะฟันฝ่าวิกฤตตลาดหุ้นไทยในครั้งนี้ได้
ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Web :
https://www.mitihoon.com/
Facebook :
https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube :
https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon
ที่มา :
https://www.mitihoon.com/2024/06/02/462132/
หุ้นไทยหมดเสน่ห์จริงหรือ?
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาภาพของนักลงทุนต่างชาติยังคงทยอยขายออกจากตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องไปแล้วกว่า 1 ล้านล้านบาท จากที่ถือครองระดับ 33 ล้านล้านบาท แล้วทำไมนักลงทุนต่างชาติถึงยังคงขายหุ้นไทยจนทุกวันนี้ มิติแรกหากดูจาก EPS และ GDP ของหุ้นไทยก็ยังโตอยู่ในระดับต่ำ โดยพบว่า EPS ตลาดหุ้นโลกโตเฉลี่ย 7% EPS NASDAQ 13% ส่วน SET สร้าง EPS เติบโต 5.2%
ขณะที่เศรษฐกิจไทย หรือ GDP ไทย ก็เติบโตอย่างเชื่องช้ากว่าประเทศอื่นๆ หลังเจอวิกฤตโควิด และความเสียหายก็ถือว่าหนักหนากว่า เหตุการณ์วิกฤตในอดีต ทั้ง ต้มยำกุ้งที่ร้ายแรงที่สุดเสียด้วยซ้ำ (ต้มยำกุ้ง วิกฤตซัพไพรม์ น้ำท่วม และโควิด) GDP ประเทศไทยมีขนาดมูลค่า 17.9 ล้านล้านบาท
มิติถัดมา แล้วจีดีพีไทย ผ่านการภาคการผลิตเพื่อจะดูว่าอุตสาหกรรมมาจาก AI Adoption หรือจาก TECH และ Non TECH กี่เปอร์เซ็นต์ พบว่าโครงสร้างจีดีพีไทย มาจากผลิตอุตสาหกรรม 30% บริการหรือท่องเที่ยว 60% และเกษตร 10% ซึ่งโครงสร้างนี้ไม่ได้แตกต่างกันมากนักกับประเทศอื่นๆ
และหากแบ่งจำนวนประชากรไทยที่มีกว่า 70 ล้านคน และมี 39.9 ล้านคนเป็นกลุ่มคนทำงานกลับพบว่า ในกลุ่มคนทำงานมีสัดส่วนถึง 30% ที่อยู่ในภาคเกษตรแต่กลับที่สร้าง GDP เพียง 10%และ 15% อยู่ในภาคอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วน 30% ดูแล้วประสิทธิภาพของคนวัยทำงานยังน้อยอยู่
ไม่เพียงเท่านี้หากดูอีกมิติในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทยผลิตอะไร เป็น Tech และ non Tech กี่เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน ซึ่งหากดู ไต้หวัน สัดส่วน Tech 20% และ non Tech 10% เป็น 2.เกาหลีใต้ สัดส่วน Techกว่า 10% หรือแม้แต่ สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย ก็แซงหน้าไทย ขณะที่ไทย มีสัดส่วน Tech เพียง 3% และ non Tech กว่า 20% ซึ่งจากความเชื่อมโยงกับการเติบโตของจีดีพีไทย และ การเติบโต EPS ของบริษัทจดทะเบียนไทย โดยสรุปแล้วเหมือนจะไม่มีเลยที่มีธุรกิจ New S Curve ที่เป็น Tech
ประเด็นถัดมาประเทศไทยในกลุ่ม TECH ที่มีสัดส่วนเพียง 3% ของภาคการผลิต ก็ยังเป็นการผลิตชิ้นส่วนเพียง HDD เท่านั้น แต่ประเทศเพื่อนบ้านพัฒนาไประดับ SDD แล้ว ก็ยังโดนประเทศอื่นๆ ช่วงชิงความได้เปรียบไปแล้ว ในขณะที่ภาคการบริการ ของไทยก็ยังอยู่ในระดับ traditional ไม่ได้อยู่ในระดับ Modle, R&D consult ด้วย ซึ่งเป็นการอธิบายภาพผ่านมุมมองต่างชาติ
ซึ่งต่างชาติไม่ดูเพียง PE Ratio ของดัชนีหุ้นไทยที่อยู่ระดับ 13.7 เท่า ซึ่งเมื่อเทียบหุ้นสหรัฐที่อยู่ระดับ 19-20 เท่า หุ้นอินเดีย อยู่ที่ระดับ 20 เท่า มิตินี้แม้หุ้นไทยถูกกว่าเพื่อนบ้านก็ตาม โดยสรุปต่างชาติไม่ได้มองหุ้นไทยเพียงมิติ EPS PE และ GDP แล้ว และก็คงไม่แปลกใจว่าหุ้นไทยจะหมดเสน่ห์ลงเรื่อยๆ หากยังปล่อยให้โครงสร้างของตลาดหุ้นไทยยังเป็นอยู่แบบนี้
และล่าสุดยังเห็นการปรับตัวของนักลงทุนในประเทศ เพื่อจะขยับตัวและขยายการลงทุนไปต่างประเทศที่สร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าหุ้นไทย และมีอนาคตกว่าแล้ว คือ การจัดตั้งสมาคมนักลงทุนประเทศไทย โดยมี “เซียนมี่ - ทิวา ชินธาดาพงศ์ ” เป็นนายกสมาคม จุดประสงค์หนึ่งก็เพื่อสร้างตัวตนในการเข้าไปพบปะบริษัทขนาดใหญ่ที่น่าสนใจต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีนซึ่งมีอนาคตที่ดีเป็นต้น
สุดท้ายนี้คงต้องย้ำกันอีกครั้งว่า โครงสร้างหุ้นไทยที่ดูแล้วไม่ได้สร้างเสน่ห์จริงๆในสายตาต่างชาติ ฉะนั้นการจะชูมิติ หุ้นไทย PE ถูกกว่าเพื่อนบ้านคงไม่ได้แล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่จะฝากไว้กับว่าที่ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์คนที่ 14 ที่จะต้องมารับภาระหนักและใหญ่หลวงครั้งนี้ ซึ่งจะต้องเป็นบุคคลที่ยอมสละเวลา และทุ่มสพกำลังอย่างแท้จริง รวมทั้งจะต้องเป็นผู้ที่เห็นปัญหาอย่างถ่องแท้ถึงจะฟันฝ่าวิกฤตตลาดหุ้นไทยในครั้งนี้ได้
ติดตามช่องทางมิติหุ้นเพื่อรับข่าวสารตลาดทุนได้ตามลิงค์ด้านล่าง
Web : https://www.mitihoon.com/
Facebook : https://www.facebook.com/mitihoon
Youtube : https://www.youtube.com/@mitihoonofficial7770
Tiktok : www.tiktok.com/@mitihoon
ที่มา : https://www.mitihoon.com/2024/06/02/462132/