โดย Zyo:
https://www.facebook.com/zyobooks
"ติดดอย" คืออะไรก่อน?
เป็นศัพท์เฉพาะของนักเล่นหุ้นที่ใช้อธิบายถึง "ความยากลำบาก" ในการหลุดพ้นจากการขาดทุนหนักครับ
แค่ไหนถึงจะเรียกว่าติดดอย? อันนี้ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของแต่ละคน
แต่ถ้าจะให้ชัด ผมว่าต้องดูตารางนี้ประกอบจะเห็นภาพตรงกัน
ขออธิบายจากประสบการณ์ของผมนะ
ผมมองว่าจะใช้คำว่า "ติดดอย" ก็ต่อเมื่อ "ลงยาก"
ถ้าจะให้เก็ทตารางนี้ ให้มองว่า "ติดดอย" ก็เหมือนการ "ขุดหลุม" ฝังตัวเอง ยิ่งขุดลึก ก็ยิ่งปีนขึ้นยาก
สำหรับผมนะ ขาดทุนยังไม่เกิน 10% ถือว่า ยังไม่ติดดอย
เพราะ "การทำคืน" นั้นยังง่ายอยู่
ง่ายยังไง? ที่ง่ายเพราะ การได้กำไร 10% จากการเทรด/ลงทุน นั้น มันไม่ยากเลย
เปรียบง่าย ๆ เหมือนการวิ่งมาราธอน ทำกำไรให้ได้ 10% ก็เหมือนวิ่งให้ได้ 1 กิโล คนส่วนใหญ่ ไก่อ่อนก็ทำได้ไม่ยาก
แต่ถ้าเกิน 10% แล้ว "งานเริ่มหิน" เริ่มยากที่จะทำคืนแบบง่าย ๆ แล้วครับ
ลองดูผลงานตัวเองก้ได้ครับ คุณได้กำไร 20% บ่อยมั้ย?
ถ้าบ่อย? ทำได้ทุก1-2 เดือน โอเคเลยคุณสามารถขยับได้ไปที่ยอมขาดทุน 15%
แต่ถ้ากลับไปนึกย้อนดู/พลิกบันทึกการเทรดดูแล้วพบว่า "หายากมาก" แทบไม่มี -- คุณต้องเจียมตัวว่าจากนี้ไปคุณไม่ควรปล่อยให้การขาดทุนเสียหายเกินกว่า 10% อีกต่อไป ถ้ายังอยากอยู่รอด
งานนี้มันเป็นเรื่องของ "คุณกับคุณ" แล้วว่าจะตั้งกฎกับตัวเองอย่างไร
ถ้าคุณมี "คุณสมบัติของผู้ชนะ" คุณจะทำในสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เพื่อให้คุณเป็นผู้ชนะ
สรุปคือ ถ้าขาดทุนไม่เกิน 10% แสดงว่ายังไม่ติดดอย คุณยังเอาคืนได้อยู่
แต่ถึงกระนั้น ยังมีอีกเงื่อนไขหนึ่งที่จำเป็นต้องเอามาพิจารณาด้วย เพื่อให้ครอบคลุม
นั่นคือ "เงินเดิมพัน" ของคุณ ต้องไม่โตเกินไป ต้องไม่กระจุก
บางคนบอกว่าฉันขาดทุน 10% แต่โทษที ฉันซื้อหุ้นหมดพอร์ตแค่ตัวเดียว แบบนี้ "ขุดหลุมฝังตัวเองลึกมาก ๆ" เพราะตามหลักการแล้วคุณควรแบ่งเงินซื้อกระจายด้วยเงินเท่า ๆ กัน 10 ตัว จึงจะถูกต้อง
การแบ่งเงินกระจาย 10 ตัว มันช่วย "ป้องกันพอร์ตของคุณ -- ไม่ให้ถูกทำลาย ไวเกินไป" นี่คือเจตนาของเรื่องนี้
ถ้าคุณแบ่งเงินกระจายซื้อ 10 ตัว โดยปกติคุณไม่น่าจะขาดทุนทุกตัว 10% หรอก มันก็จะมีแค่ตัวเดียว สองตัว
การตัดขาดทุน 10% กับตัวสองตัว จึงไม่ "เจ็บหนัก" มากเกินไปนัก
นี่คือหลักการครับ
"การขาดทุน" เป็นบทเรียนแรกและสำคัญที่ตลาดพยายามจะสอนมือใหม่ให้รู้จัก "ความเสี่ยงของตลาด"
คุณจำเป็นต้องยอมรับและหาทางแก้โจทย์นี้ให้ได้ ถ้าอยากจะไปต่อครับ
เพราะเส้นทางการเทรดนั้น ความท้าทายไม่ได้มีแค่การขาดทุน มันยังมีอีกหลายเรื่องที่คุณต้องเรียนรู้ครับ
แต่ทั้งนี้ ถ้าคุณเข้าใจที่มาและรู้จักจัดการการขาดทุนได้ดี อะไร ๆ จากนี้ก็จะง่ายขึ้นครับ
แนะนำให้อ่านอีบุ๊ค Trader’s Journey: กว่าจะสำเร็จ...นักเทรดต้องเจออะไรบ้าง? :
https://www.mebmarket.com/ebook-270047-Traderrsquos-Journey
(นักลงทุนมือใหม่ที่เชื่อว่า การขาดทุน 50% ต้องทำคืนแค่ 50% ก็พอ ถือเป็นความเข้าใจผิดนะครับ
คุณต้องทำคืนถึง 100% จึงจะกลับมาเท่าทุน -- ถามตรง ๆ เลยว่า คุณทำกำไรได้ 100% เมื่อไหร่? ทำได้ประจำมั้ย?
ถ้าทำไม่เคยได้เลย ไม่รู้วิธีทำซ้ำ คุณก็ไม่ควรปล่อยให้การขาดทุนลงหนักถึง 50% !!!)
##"ติดดอย" ถือเป็นเรื่องผิดพลาดมั้ย?
ตอบจากประสบการณ์ผมนะ เป็นเรื่องปกตินะ มัน "ควรจะเป็น" อยู่แล้ว เพราะ 6 สาเหตุหลักนี้:
1.
**ขาดความรู้และประสบการณ์**:
นักลงทุนมือใหม่มักจะไม่มีความเข้าใจที่เพียงพอเกี่ยวกับตลาดและเครื่องมือทางการเงินที่คุณกำลังใช้
เรามีแค่ความโลภสูงแต่ความรู้และประสบการณ์ต่ำมาก
เมื่อไม่รู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์หุ้นหรือกลยุทธ์การลงทุนทำให้การตัดสินใจทางการเงินไม่แม่นยำและนำไปสู่การขาดทุนได้ง่าย
2.
**ไม่มีแผนการลงทุนที่ชัดเจน**:
นักลงทุนมือใหม่มักจะไม่มีแผนการลงทุนที่เป็นระบบและยึดถือการตัดสินใจที่เป็นเหตุเป็นผล
จึงมักจะซื้อขายตามอารมณ์หรือคำแนะนำที่ไม่ได้รับการตรวจสอบทำให้การลงทุนขาดความเสถียรภาพ
3.
**การตัดสินใจโดยใช้อารมณ์**:
ความกลัวและความโลภเป็นอารมณ์ที่มีอิทธิพลมากในการตัดสินใจ
นักลงทุนมือใหม่อาจจะไม่กล้าตัดสินใจขายเมื่อราคาหุ้นลดลงเนื่องจากกลัวขายแล้วราคาเด้งกลับ
หรือซื้อตามกระแสเมื่อราคาหุ้นขึ้นสูงเนื่องจากกลัวพลาดโอกาส
4.
**ขาดการวางแผนการบริหารความเสี่ยง**:
การไม่เข้าใจถึงการบริหารความเสี่ยง เช่น การตั้ง Stop-loss หรือการกระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุน
ทำให้นักลงทุนมือใหม่มีโอกาสที่จะขาดทุนหนักเมื่อตลาดเคลื่อนไหวในทางตรงกันข้ามกับที่คาดการณ์
5.
**การใช้เลเวอเรจมากเกินไป**:
นักลงทุนมือใหม่อาจใช้เลเวอเรจหรือการยืมเงินเพื่อการลงทุนโดยไม่เข้าใจถึงความเสี่ยงที่มากขึ้น
ซึ่งหากการลงทุนไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์อาจจะขาดทุนเกินกว่าที่มีอยู่ในพอร์ตการลงทุน
6.
**การติดตามข่าวสารที่ไม่ครบถ้วน**:
การได้รับข้อมูลหรือคำแนะนำจากแหล่งที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ
หรือการติดตามข่าวสารอย่างขาดความเข้าใจสามารถนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด
(การถือหุ้นผู้แพ้เอาไว้ ก็เหมือนการรดน้ำให้ปุ๋ยกับ "วัชพืช" - ปีเตอร์ ลินช์)
ภาพจาก Theinvestingbeast
##ติดดอยแล้ว ควรทำอะไร และไม่ควรทำอะไรต่อ?
5 เรื่องที่ควรทำ และ 5 เรื่องไม่ควรทำ เมื่อรู้ชัดว่า "ติดดอย" :
### สิ่งที่ควรทำ
1.
**หยุดพักและตั้งสติ**:
หากคุณรู้สึกเครียดหรืออารมณ์ไม่ดี การหยุดพักและทำใจให้สงบเป็นสิ่งสำคัญ อย่าตัดสินใจภายใต้อารมณ์ที่รุนแรง
2.
**ทบทวนแผนการลงทุน**:
กลับมาดูแผนการลงทุนของคุณว่ามีจุดไหนที่ผิดพลาดและต้องแก้ไข อย่าเพิ่งเปลี่ยนแผนอย่างฉับพลันโดยไม่มีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน
3.
**เรียนรู้จากความผิดพลาด**:
วิเคราะห์การลงทุนที่ผ่านมาและหาสาเหตุว่าทำไมถึงขาดทุน การเรียนรู้จากความผิดพลาดจะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงปัญหาเดิมในอนาคต
4.
**ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ**:
หากคุณรู้สึกไม่มั่นใจในการตัดสินใจของตนเอง การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการเงินหรือนักลงทุนที่มีประสบการณ์จะช่วยให้คุณได้คำแนะนำที่มีค่า.
5.
**การจัดการเงินลงทุน**:
พิจารณาการจัดการเงินลงทุนของคุณใหม่ ว่าควรปรับลดความเสี่ยงอย่างไร การมีแผนการจัดการความเสี่ยงที่ดีจะช่วยป้องกันไม่ให้ขาดทุนหนักในอนาคต.
(เมื่อคุณรู้ตัวว่า "กำลังอยู่ในหลุม(อุปมา-การขาดทุน)"
สิ่งที่สำคัญที่สุดที่คุณจำเป็นต้องทำ คือ หยุดขุดหลุม! หยุดขุดต่อ! (อุปมา-การถัวเฉลี่ยขาดทุน)) -- Warren Buffett
(และหาทางปีนกลับขึ้นไป!!)
### สิ่งที่ไม่ควรทำ
1.
**ตัดสินใจโดยอารมณ์**:
อย่าทำการตัดสินใจในช่วงที่คุณอยู่ภายใต้อารมณ์เชิงลบ การตัดสินใจที่ด่วนและไม่รอบคอบอาจทำให้สถานการณ์แย่ลง.
2.
**เพิ่มการลงทุนเพื่อกู้คืนขาดทุนทันที**:
การพยายามลงทุนเพิ่มเติมเพื่อกู้คืนเงินที่ขาดทุนในทันทีนั้นมีความเสี่ยงสูง และอาจนำไปสู่การขาดทุนเพิ่มเติม.
3.
**ละเลยการทำการบ้าน**:
อย่าละเลยการศึกษาและวิเคราะห์ตลาดหรือสินทรัพย์ที่คุณลงทุน การทำการบ้านอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณมีข้อมูลในการตัดสินใจที่ดีขึ้น.
4.
**ติดตามข่าวลือ**:
อย่าติดตามข่าวลือหรือคำแนะนำจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ การลงทุนควรใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือและผ่านการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ.
5.
**หมดกำลังใจ**:
อย่าหมดกำลังใจจากการขาดทุน การลงทุนมีความเสี่ยงและการขาดทุนเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ การมีใจสู้และเรียนรู้จากประสบการณ์จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในระยะยาว.
การบริหารจัดการกับการขาดทุนอย่างมีสติและมีแผนจะช่วยให้คุณสามารถกลับมาในสภาพที่แข็งแรงและทำให้การลงทุนของคุณประสบความสำเร็จในระยะยาวได้ครับ
5 เรื่องที่ควรทำ และ 5 เรื่องไม่ควรทำ เมื่อรู้ชัดว่า "ติดดอย"
"ติดดอย" คืออะไรก่อน?
เป็นศัพท์เฉพาะของนักเล่นหุ้นที่ใช้อธิบายถึง "ความยากลำบาก" ในการหลุดพ้นจากการขาดทุนหนักครับ
แค่ไหนถึงจะเรียกว่าติดดอย? อันนี้ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของแต่ละคน
แต่ถ้าจะให้ชัด ผมว่าต้องดูตารางนี้ประกอบจะเห็นภาพตรงกัน
ขออธิบายจากประสบการณ์ของผมนะ
ผมมองว่าจะใช้คำว่า "ติดดอย" ก็ต่อเมื่อ "ลงยาก"
ถ้าจะให้เก็ทตารางนี้ ให้มองว่า "ติดดอย" ก็เหมือนการ "ขุดหลุม" ฝังตัวเอง ยิ่งขุดลึก ก็ยิ่งปีนขึ้นยาก
สำหรับผมนะ ขาดทุนยังไม่เกิน 10% ถือว่า ยังไม่ติดดอย
เพราะ "การทำคืน" นั้นยังง่ายอยู่
ง่ายยังไง? ที่ง่ายเพราะ การได้กำไร 10% จากการเทรด/ลงทุน นั้น มันไม่ยากเลย
เปรียบง่าย ๆ เหมือนการวิ่งมาราธอน ทำกำไรให้ได้ 10% ก็เหมือนวิ่งให้ได้ 1 กิโล คนส่วนใหญ่ ไก่อ่อนก็ทำได้ไม่ยาก
แต่ถ้าเกิน 10% แล้ว "งานเริ่มหิน" เริ่มยากที่จะทำคืนแบบง่าย ๆ แล้วครับ
ลองดูผลงานตัวเองก้ได้ครับ คุณได้กำไร 20% บ่อยมั้ย?
ถ้าบ่อย? ทำได้ทุก1-2 เดือน โอเคเลยคุณสามารถขยับได้ไปที่ยอมขาดทุน 15%
แต่ถ้ากลับไปนึกย้อนดู/พลิกบันทึกการเทรดดูแล้วพบว่า "หายากมาก" แทบไม่มี -- คุณต้องเจียมตัวว่าจากนี้ไปคุณไม่ควรปล่อยให้การขาดทุนเสียหายเกินกว่า 10% อีกต่อไป ถ้ายังอยากอยู่รอด
งานนี้มันเป็นเรื่องของ "คุณกับคุณ" แล้วว่าจะตั้งกฎกับตัวเองอย่างไร
ถ้าคุณมี "คุณสมบัติของผู้ชนะ" คุณจะทำในสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เพื่อให้คุณเป็นผู้ชนะ
สรุปคือ ถ้าขาดทุนไม่เกิน 10% แสดงว่ายังไม่ติดดอย คุณยังเอาคืนได้อยู่
แต่ถึงกระนั้น ยังมีอีกเงื่อนไขหนึ่งที่จำเป็นต้องเอามาพิจารณาด้วย เพื่อให้ครอบคลุม
นั่นคือ "เงินเดิมพัน" ของคุณ ต้องไม่โตเกินไป ต้องไม่กระจุก
บางคนบอกว่าฉันขาดทุน 10% แต่โทษที ฉันซื้อหุ้นหมดพอร์ตแค่ตัวเดียว แบบนี้ "ขุดหลุมฝังตัวเองลึกมาก ๆ" เพราะตามหลักการแล้วคุณควรแบ่งเงินซื้อกระจายด้วยเงินเท่า ๆ กัน 10 ตัว จึงจะถูกต้อง
การแบ่งเงินกระจาย 10 ตัว มันช่วย "ป้องกันพอร์ตของคุณ -- ไม่ให้ถูกทำลาย ไวเกินไป" นี่คือเจตนาของเรื่องนี้
ถ้าคุณแบ่งเงินกระจายซื้อ 10 ตัว โดยปกติคุณไม่น่าจะขาดทุนทุกตัว 10% หรอก มันก็จะมีแค่ตัวเดียว สองตัว
การตัดขาดทุน 10% กับตัวสองตัว จึงไม่ "เจ็บหนัก" มากเกินไปนัก
นี่คือหลักการครับ
"การขาดทุน" เป็นบทเรียนแรกและสำคัญที่ตลาดพยายามจะสอนมือใหม่ให้รู้จัก "ความเสี่ยงของตลาด"
คุณจำเป็นต้องยอมรับและหาทางแก้โจทย์นี้ให้ได้ ถ้าอยากจะไปต่อครับ
เพราะเส้นทางการเทรดนั้น ความท้าทายไม่ได้มีแค่การขาดทุน มันยังมีอีกหลายเรื่องที่คุณต้องเรียนรู้ครับ
แต่ทั้งนี้ ถ้าคุณเข้าใจที่มาและรู้จักจัดการการขาดทุนได้ดี อะไร ๆ จากนี้ก็จะง่ายขึ้นครับ
แนะนำให้อ่านอีบุ๊ค Trader’s Journey: กว่าจะสำเร็จ...นักเทรดต้องเจออะไรบ้าง? : https://www.mebmarket.com/ebook-270047-Traderrsquos-Journey
(นักลงทุนมือใหม่ที่เชื่อว่า การขาดทุน 50% ต้องทำคืนแค่ 50% ก็พอ ถือเป็นความเข้าใจผิดนะครับ
คุณต้องทำคืนถึง 100% จึงจะกลับมาเท่าทุน -- ถามตรง ๆ เลยว่า คุณทำกำไรได้ 100% เมื่อไหร่? ทำได้ประจำมั้ย?
ถ้าทำไม่เคยได้เลย ไม่รู้วิธีทำซ้ำ คุณก็ไม่ควรปล่อยให้การขาดทุนลงหนักถึง 50% !!!)
##"ติดดอย" ถือเป็นเรื่องผิดพลาดมั้ย?
ตอบจากประสบการณ์ผมนะ เป็นเรื่องปกตินะ มัน "ควรจะเป็น" อยู่แล้ว เพราะ 6 สาเหตุหลักนี้:
1. **ขาดความรู้และประสบการณ์**:
นักลงทุนมือใหม่มักจะไม่มีความเข้าใจที่เพียงพอเกี่ยวกับตลาดและเครื่องมือทางการเงินที่คุณกำลังใช้
เรามีแค่ความโลภสูงแต่ความรู้และประสบการณ์ต่ำมาก
เมื่อไม่รู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์หุ้นหรือกลยุทธ์การลงทุนทำให้การตัดสินใจทางการเงินไม่แม่นยำและนำไปสู่การขาดทุนได้ง่าย
2. **ไม่มีแผนการลงทุนที่ชัดเจน**:
นักลงทุนมือใหม่มักจะไม่มีแผนการลงทุนที่เป็นระบบและยึดถือการตัดสินใจที่เป็นเหตุเป็นผล
จึงมักจะซื้อขายตามอารมณ์หรือคำแนะนำที่ไม่ได้รับการตรวจสอบทำให้การลงทุนขาดความเสถียรภาพ
3. **การตัดสินใจโดยใช้อารมณ์**:
ความกลัวและความโลภเป็นอารมณ์ที่มีอิทธิพลมากในการตัดสินใจ
นักลงทุนมือใหม่อาจจะไม่กล้าตัดสินใจขายเมื่อราคาหุ้นลดลงเนื่องจากกลัวขายแล้วราคาเด้งกลับ
หรือซื้อตามกระแสเมื่อราคาหุ้นขึ้นสูงเนื่องจากกลัวพลาดโอกาส
4. **ขาดการวางแผนการบริหารความเสี่ยง**:
การไม่เข้าใจถึงการบริหารความเสี่ยง เช่น การตั้ง Stop-loss หรือการกระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุน
ทำให้นักลงทุนมือใหม่มีโอกาสที่จะขาดทุนหนักเมื่อตลาดเคลื่อนไหวในทางตรงกันข้ามกับที่คาดการณ์
5. **การใช้เลเวอเรจมากเกินไป**:
นักลงทุนมือใหม่อาจใช้เลเวอเรจหรือการยืมเงินเพื่อการลงทุนโดยไม่เข้าใจถึงความเสี่ยงที่มากขึ้น
ซึ่งหากการลงทุนไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์อาจจะขาดทุนเกินกว่าที่มีอยู่ในพอร์ตการลงทุน
6. **การติดตามข่าวสารที่ไม่ครบถ้วน**:
การได้รับข้อมูลหรือคำแนะนำจากแหล่งที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ
หรือการติดตามข่าวสารอย่างขาดความเข้าใจสามารถนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด
(การถือหุ้นผู้แพ้เอาไว้ ก็เหมือนการรดน้ำให้ปุ๋ยกับ "วัชพืช" - ปีเตอร์ ลินช์)
ภาพจาก Theinvestingbeast
##ติดดอยแล้ว ควรทำอะไร และไม่ควรทำอะไรต่อ?
5 เรื่องที่ควรทำ และ 5 เรื่องไม่ควรทำ เมื่อรู้ชัดว่า "ติดดอย" :
### สิ่งที่ควรทำ
1. **หยุดพักและตั้งสติ**:
หากคุณรู้สึกเครียดหรืออารมณ์ไม่ดี การหยุดพักและทำใจให้สงบเป็นสิ่งสำคัญ อย่าตัดสินใจภายใต้อารมณ์ที่รุนแรง
2. **ทบทวนแผนการลงทุน**:
กลับมาดูแผนการลงทุนของคุณว่ามีจุดไหนที่ผิดพลาดและต้องแก้ไข อย่าเพิ่งเปลี่ยนแผนอย่างฉับพลันโดยไม่มีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน
3. **เรียนรู้จากความผิดพลาด**:
วิเคราะห์การลงทุนที่ผ่านมาและหาสาเหตุว่าทำไมถึงขาดทุน การเรียนรู้จากความผิดพลาดจะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงปัญหาเดิมในอนาคต
4. **ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ**:
หากคุณรู้สึกไม่มั่นใจในการตัดสินใจของตนเอง การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการเงินหรือนักลงทุนที่มีประสบการณ์จะช่วยให้คุณได้คำแนะนำที่มีค่า.
5. **การจัดการเงินลงทุน**:
พิจารณาการจัดการเงินลงทุนของคุณใหม่ ว่าควรปรับลดความเสี่ยงอย่างไร การมีแผนการจัดการความเสี่ยงที่ดีจะช่วยป้องกันไม่ให้ขาดทุนหนักในอนาคต.
(เมื่อคุณรู้ตัวว่า "กำลังอยู่ในหลุม(อุปมา-การขาดทุน)"
สิ่งที่สำคัญที่สุดที่คุณจำเป็นต้องทำ คือ หยุดขุดหลุม! หยุดขุดต่อ! (อุปมา-การถัวเฉลี่ยขาดทุน)) -- Warren Buffett
(และหาทางปีนกลับขึ้นไป!!)
### สิ่งที่ไม่ควรทำ
1. **ตัดสินใจโดยอารมณ์**:
อย่าทำการตัดสินใจในช่วงที่คุณอยู่ภายใต้อารมณ์เชิงลบ การตัดสินใจที่ด่วนและไม่รอบคอบอาจทำให้สถานการณ์แย่ลง.
2. **เพิ่มการลงทุนเพื่อกู้คืนขาดทุนทันที**:
การพยายามลงทุนเพิ่มเติมเพื่อกู้คืนเงินที่ขาดทุนในทันทีนั้นมีความเสี่ยงสูง และอาจนำไปสู่การขาดทุนเพิ่มเติม.
3. **ละเลยการทำการบ้าน**:
อย่าละเลยการศึกษาและวิเคราะห์ตลาดหรือสินทรัพย์ที่คุณลงทุน การทำการบ้านอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณมีข้อมูลในการตัดสินใจที่ดีขึ้น.
4. **ติดตามข่าวลือ**:
อย่าติดตามข่าวลือหรือคำแนะนำจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ การลงทุนควรใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือและผ่านการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ.
5. **หมดกำลังใจ**:
อย่าหมดกำลังใจจากการขาดทุน การลงทุนมีความเสี่ยงและการขาดทุนเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ การมีใจสู้และเรียนรู้จากประสบการณ์จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในระยะยาว.
การบริหารจัดการกับการขาดทุนอย่างมีสติและมีแผนจะช่วยให้คุณสามารถกลับมาในสภาพที่แข็งแรงและทำให้การลงทุนของคุณประสบความสำเร็จในระยะยาวได้ครับ