ถ้าคิดในมุมมองของคนทั่วไป อะไรที่ไม่เหมาะไม่ควร หรือทำให้
เดือดร้อนไม่พอใจ เราก็มักจะมองว่านั่นเป็นสิ่งไม่ดี หรือชั่วร้าย
ในทางตรงกันข้าม ถ้าเห็นว่าเหมาะสม เป็นประโยชน์ น่าพอใจ
ก็จะถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ดีสิ่งที่ถูก
แต่ในทางธรรมแล้วไม่ควรใช้มุมมองแบบนั้น เพราะอาจไม่
สอดคล้องกับความเป็นจริง ควรมองในด้านของกุศลหรืออกุศล
คนที่ปฏิบัติตามวิถีทางของพระพุทธเจ้าคือผู้ที่เดินถูกทาง ส่วนผู้ที่
ปฏิบัติผิดไปจากนี้ ไม่นำไปสู่การหลุดพ้นก็เป็นผู้ที่เดินไปผิดทาง
พระพุทธองค์ชี้ทางออกก็เดินไปตามทางนั้น แต่บางคนอาจสับสน
เดินวนเวียนกลับเข้ามาหรือไปผิดทาง ก็แค่คนหลงทาง
กิเลสมีหลายประเภทหลายระดับ โดยรวมๆแล้วเป็นสิ่งสกปรกหรือ
ทำให้จิตหม่นหมอง หรือขัดขวางการเกิดปัญญา
การทำความเข้าใจจิตและกิเลสต่างๆให้ถูกทางจึงมีผลต่อ
ความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม
จิตอกุศลที่ประกอบด้วยกิเลสดูเหมือนมันมาหลอกลวงแต่นั่นไม่ใช่
เรื่องแปลก มันเป็นธรรมดา เพราะก่อนหน้านี้จิตของเราเคยชินกับ
อกุศลกับความหลงผิดมานานแสนนานหลายภพชาติมาแล้ว
เวลาจะทำดีปฏิบัติธรรมก็มาแย้งว่า อย่าเลย เราก็อยู่ไปตามปกติ
ของเราน่ะดีแล้ว
เวลาคิดไม่ดีจะทำอกุศลก็อาจจะมีสติมาเตือนบ้าง แต่จิตอกุศลมันก็
จะหาข้ออ้างต่างๆนานาว่า แค่นี้ไม่เป็นไรหรอกทำไปเถอะ
จะทำดีจะปฏิบัติธรรมเอาไว้ทีหลังก็ได้ เกิดตายวนเวียนมาตั้งนาน
จนนับไม่ได้แล้วเนอะ ขอเวลาเสพสุขนิดๆหน่อยๆจะเป็นไรไป
เหตุใดจึงไม่ควรมองว่าจิตอกุศลเป็นจิตที่ชั่วร้าย หรือพยายาม
ต่อต้านมัน ก็เพราะอาจทำให้กิเลสอีกอย่างเกิดซ้อนขึ้นมา
จากความไม่พอใจหรืออยากจะทำให้มันหายไป แทนที่จะแก้ก็อาจ
กลายเป็นสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นมา หรือตัวหนึ่งหายไปแต่อีกตัว
กลับโผล่ขึ้นมาแทน ให้เน้นที่การปล่อยวางไปก่อนจะดีกว่า
แล้วค่อยหาทางแก้ที่ต้นเหตุที่ทำให้เกิดอกุศลจิตนั้น
เจ้าของกระทู้จะยกตัวอย่างให้เห็นภาพ อย่างเช่น มีต้นไม้ต้นหนึ่ง
ถ้าในอุดมคติของเรา ต้นไม้เจริญเติบโตเป็นพุ่มสวยงามมันก็ต้อง
มีกิ่งมียอดงอกกระจายออกไปหลายๆทิศทางรอบต้นของมัน
วันหนึ่งเรามาสังเกตดูก็เห็นว่า มีกิ่งหนึ่งที่ไม่ได้ยื่นยาวออกไปทาง
ด้านของมัน แต่กลับงอกย้อนกลับเข้ามาหรือไปทางอื่น
เราจะคิดเห็นกับกิ่งของต้นไม้อย่างไร มันไม่ดี มันดื้อ มันเจ้าเล่ห์
มันขี้โกง มันชั่วร้าย อย่างนั้นหรือ?
ถ้าไม่คิดอะไรมากก็ตัดออกไป แล้วยังไงต่อ นานๆมันก็งอกออกมา
แบบเดิมอีกใช่ไหม ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
ก็เพราะแก้ไม่ถูกวิธีไม่รู้เหตุที่ทำให้มันเป็นเช่นนั้น การแก้ไขแบบ
ผิดๆหรือไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ จริงเป็นเพียงการชะลอเวลา หรือแก้ไข
เพียงชั่วคราวเท่านั้น
แก้ไขปัญหาอย่างไร ก็ต้องหาเหตุหาปัจจัยที่ทำให้เกิดสิ่งนั้น เช่นว่า
ที่กิ่งไม้มันยื่นยาวไปทางอื่นเพราะมันงอกไปตามทิศทางของแสง
หรือไม่ แล้วจะแก้อย่างไร ลองหันกระถางกลับด้าน หรือจะย้ายมัน
ไปอยู่ที่โล่งที่มีแสงจากทั่วทิศทาง
จิตอกุศลมันก็มีการปรับตัวดิ้นรนเพราะมันยังอยากอยู่ต่อแบบหลงๆ
ของมัน และมีวิธีการเอาตัวรอดแบบเดียวกับต้นไม้ที่กล่าวไปแล้ว
ที่จริงกระบวนการดับทุกข์ที่พระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่าเป็น
ของจริงแท้ 4 อย่าง ก็ใช้ได้กับการแก้ปัญญาดับทุกข์ได้ทุกเรื่อง
แต่การดับทุกข์ในทางธรรมเราใช้ในรูปแบบของอริยสัจ
ต่างกันตรงสิ่งที่จะนำมาใส่ลงไปในแต่ละขั้นตอนว่า อะไรเป็น
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ไม่ควรมองว่าจิตที่มีกิเลสเป็นจิตชั่วร้าย
เดือดร้อนไม่พอใจ เราก็มักจะมองว่านั่นเป็นสิ่งไม่ดี หรือชั่วร้าย
ในทางตรงกันข้าม ถ้าเห็นว่าเหมาะสม เป็นประโยชน์ น่าพอใจ
ก็จะถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ดีสิ่งที่ถูก
แต่ในทางธรรมแล้วไม่ควรใช้มุมมองแบบนั้น เพราะอาจไม่
สอดคล้องกับความเป็นจริง ควรมองในด้านของกุศลหรืออกุศล
คนที่ปฏิบัติตามวิถีทางของพระพุทธเจ้าคือผู้ที่เดินถูกทาง ส่วนผู้ที่
ปฏิบัติผิดไปจากนี้ ไม่นำไปสู่การหลุดพ้นก็เป็นผู้ที่เดินไปผิดทาง
พระพุทธองค์ชี้ทางออกก็เดินไปตามทางนั้น แต่บางคนอาจสับสน
เดินวนเวียนกลับเข้ามาหรือไปผิดทาง ก็แค่คนหลงทาง
กิเลสมีหลายประเภทหลายระดับ โดยรวมๆแล้วเป็นสิ่งสกปรกหรือ
ทำให้จิตหม่นหมอง หรือขัดขวางการเกิดปัญญา
การทำความเข้าใจจิตและกิเลสต่างๆให้ถูกทางจึงมีผลต่อ
ความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม
จิตอกุศลที่ประกอบด้วยกิเลสดูเหมือนมันมาหลอกลวงแต่นั่นไม่ใช่
เรื่องแปลก มันเป็นธรรมดา เพราะก่อนหน้านี้จิตของเราเคยชินกับ
อกุศลกับความหลงผิดมานานแสนนานหลายภพชาติมาแล้ว
เวลาจะทำดีปฏิบัติธรรมก็มาแย้งว่า อย่าเลย เราก็อยู่ไปตามปกติ
ของเราน่ะดีแล้ว
เวลาคิดไม่ดีจะทำอกุศลก็อาจจะมีสติมาเตือนบ้าง แต่จิตอกุศลมันก็
จะหาข้ออ้างต่างๆนานาว่า แค่นี้ไม่เป็นไรหรอกทำไปเถอะ
จะทำดีจะปฏิบัติธรรมเอาไว้ทีหลังก็ได้ เกิดตายวนเวียนมาตั้งนาน
จนนับไม่ได้แล้วเนอะ ขอเวลาเสพสุขนิดๆหน่อยๆจะเป็นไรไป
เหตุใดจึงไม่ควรมองว่าจิตอกุศลเป็นจิตที่ชั่วร้าย หรือพยายาม
ต่อต้านมัน ก็เพราะอาจทำให้กิเลสอีกอย่างเกิดซ้อนขึ้นมา
จากความไม่พอใจหรืออยากจะทำให้มันหายไป แทนที่จะแก้ก็อาจ
กลายเป็นสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นมา หรือตัวหนึ่งหายไปแต่อีกตัว
กลับโผล่ขึ้นมาแทน ให้เน้นที่การปล่อยวางไปก่อนจะดีกว่า
แล้วค่อยหาทางแก้ที่ต้นเหตุที่ทำให้เกิดอกุศลจิตนั้น
เจ้าของกระทู้จะยกตัวอย่างให้เห็นภาพ อย่างเช่น มีต้นไม้ต้นหนึ่ง
ถ้าในอุดมคติของเรา ต้นไม้เจริญเติบโตเป็นพุ่มสวยงามมันก็ต้อง
มีกิ่งมียอดงอกกระจายออกไปหลายๆทิศทางรอบต้นของมัน
วันหนึ่งเรามาสังเกตดูก็เห็นว่า มีกิ่งหนึ่งที่ไม่ได้ยื่นยาวออกไปทาง
ด้านของมัน แต่กลับงอกย้อนกลับเข้ามาหรือไปทางอื่น
เราจะคิดเห็นกับกิ่งของต้นไม้อย่างไร มันไม่ดี มันดื้อ มันเจ้าเล่ห์
มันขี้โกง มันชั่วร้าย อย่างนั้นหรือ?
ถ้าไม่คิดอะไรมากก็ตัดออกไป แล้วยังไงต่อ นานๆมันก็งอกออกมา
แบบเดิมอีกใช่ไหม ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
ก็เพราะแก้ไม่ถูกวิธีไม่รู้เหตุที่ทำให้มันเป็นเช่นนั้น การแก้ไขแบบ
ผิดๆหรือไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ จริงเป็นเพียงการชะลอเวลา หรือแก้ไข
เพียงชั่วคราวเท่านั้น
แก้ไขปัญหาอย่างไร ก็ต้องหาเหตุหาปัจจัยที่ทำให้เกิดสิ่งนั้น เช่นว่า
ที่กิ่งไม้มันยื่นยาวไปทางอื่นเพราะมันงอกไปตามทิศทางของแสง
หรือไม่ แล้วจะแก้อย่างไร ลองหันกระถางกลับด้าน หรือจะย้ายมัน
ไปอยู่ที่โล่งที่มีแสงจากทั่วทิศทาง
จิตอกุศลมันก็มีการปรับตัวดิ้นรนเพราะมันยังอยากอยู่ต่อแบบหลงๆ
ของมัน และมีวิธีการเอาตัวรอดแบบเดียวกับต้นไม้ที่กล่าวไปแล้ว
ที่จริงกระบวนการดับทุกข์ที่พระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่าเป็น
ของจริงแท้ 4 อย่าง ก็ใช้ได้กับการแก้ปัญญาดับทุกข์ได้ทุกเรื่อง
แต่การดับทุกข์ในทางธรรมเราใช้ในรูปแบบของอริยสัจ
ต่างกันตรงสิ่งที่จะนำมาใส่ลงไปในแต่ละขั้นตอนว่า อะไรเป็น
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค