นิโรธ = ดับ
สัมมานิโรธ = การดับชอบตามแบบพระพุทธศาสนา คือมีความเห็นชอบ มีสติ ปล่อยวางกายและจิตใจ เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ เป็นอนาคามีหรืออรหันต์บุคคลแล้ว
เข้าสู่ความดับด้วยการทำสมาธิ
เรียกอีกอย่างว่า
"นิโรธสมาบัติ"
(มีอาการหยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้น สมองหยุดทำงาน)
มิจฉานิโรธ = การดับที่ไม่ใช่สัมมานิโรธ
ก่อนเข้านิโรธยังมีราคะ โทสะ โมหะครบ
เกิดขึ้นได้จากกระบวนการต่างๆ ทั้งใช้สารเคมีและไม่ใช้สารเคมี ทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ
ออกจากนิโรธแล้วกิเลสยังมีอยู่ครบ
(หัวใจหยุดเต้น สมองหยุดทำงาน)
ตย.
สัตว์ที่เข้าสู่ภาวะความดับ หรือมิจฉานิโรธ (หัวใจหยุดเต้น สมองหยุดทำงาน)
ปลาถูกแช่แข็งแล้วฟื้น
ตย. คนเข้าสู่มิจฉานิโรธ เพราะถูกแช่แข็ง
แล้วฟื้นได้ (หัวใจหยุดเต้น สมองหยุดทำงาน)
และไม่กลายเป็นเจ้าหญิงนิทรา สมองไม่ถูกทำลายจากการขาดออกซิเจน ฟื้นมากิเลสยังอยู่ครบ เพราะไม่ใช่สัมมานิโรธ
ความแตกต่างระหว่างผู้เข้านิโรธสมาบัติกับคนตาย
...
กา. ดูกรคฤหบดี เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ วจีสังขารดับก่อน (ที่ฌาน2 ตย.หยุดบริกรรม)
ต่อจากนั้นกายสังขารดับ(ที่ฌาน4 หยุดหายใจ) ต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ ฯ(ที่ฌาน9หรือนิโรธฯ สมองหยุดทำงาน)
[๕๖๕] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา
ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว กับภิกษุผู้เข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธ ทั้งสองนี้มีความต่างกันอย่างไร ฯ
กา. ดูกรคฤหบดี คนที่ตายแล้ว
ทำกาละแล้ว มีกายสังขารดับสงบ
มีวจีสังขารดับสงบ มีจิตตสังขารดับสงบ
มีอายุสิ้นไป ไออุ่นสงบ อินทรีย์
แตกกระจาย
ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
กายสังขารดับสงบ วจีสังขาร
ดับสงบ จิตตสังขารดับสงบ
(แต่) ยังไม่สิ้นอายุ ไออุ่นยังไม่สงบ อินทรีย์
ผ่องใส ดูกรคฤหบดี คนตายแล้ว
ทำกาละแล้ว กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
มีความต่างกันอย่างนี้ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๗๔๗๘-๗๔๙๕. หน้าที่ ๓๒๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=7478&Z=7495&pagebreak=0
หมายเหตุ. นิโรธในกระทู้นี้ หมายถึง
"นิโรธสมาบัติ"
เนื่องจากความบกพร่องของผู้เขียน ทำให้ผู้อ่านสับสน จึงขออธิบายเพิ่มเติม
นิโรธ มี 2 แบบ
1. นิโรธในอริยสัจ 4
นิโรธ (อ่านว่า นิโรด) แปลว่า ความดับ (ทุกข์) คือความสำรอกออก, สลัดทิ้ง, ปลดปล่อย, ไม่มีเยื่อใยสมุทัยอันเป็นบ่อเกิดทุกข์ได้สิ้นเชิง หมายถึง การทำลายสมุทัยและดับสมุทัยคือตัวตัณหาให้สิ้นไปจนไม่เกิดขึ้นได้อีกเหมือนไฟที่สิ้นเชื้อ ด้วยอำนาจการดำเนินตามมรรคจนได้บรรลุมรรคนั้นๆ ตย.การเจริญสติ
เมื่อดับทุกข์ เป็นพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ แล้ว บางท่าน
สามารถเข้านิโรธสมาบัติได้
2. นิโรธสมาบัติ
นิโรธสมาบัติ (อ่านว่า นิโรดสะมาบัด, นิโรดทะ) แปลว่า การเข้านิโรธ, การเข้าถึงความดับ หมายถึงการเข้าถึงความดับสัญญา (ความจำ) และเวทนา (ความรับอารมณ์) ทั้งหมด ซึ่งสามารถดับได้ถึง 7 วัน เรียกว่าเข้านิโรธสมาบัติ เรียกย่อว่า เข้านิโรธ เรียกเต็มว่า เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ตย.ชาวบ้านเข้าใจผิดนำร่างพระอรหันต์ผู้เข้านิโรธสมาบัติไปเผาไฟเพราะนึกว่าว่าปรินิพพานแล้ว
https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4
ทุกท่านครับ
ไม่มี คำว่า "มิจฉานิโรธ" ในพุทธศาสนา
เป็นคำที่ผมบัญญัติขึ้นมาเพื่อใช้เรียก
สภาวะเหมือนตายของคนและสัตว์
แล้วกลับฟื้นคืนชีวิต โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับ
การฝึกตนเพื่อลดละกิเลส ผู้เข้าสู่ภาวะนี้ยังมีกิเลสครบถ้วน
เพื่อใช้เปรียบเทียบกับ นิโรธสมาบัติที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ จึงบัญญัติคำศัพท์ให้ตรงกันข้ามกัน
เช่นเดียวกับ คำตรงข้ามกันในศาสนาพุทธ
เช่น มิจฉาวาจา มิจฉาสมาธิ มิจฉาวิมุตติ ตรงข้ามกับ สัมมาวาจา สัมมาสมาธิ สัมมาวิมุตติ เป็นต้น
#นิพพาน
#สัญญาเวทยิตนิโรธ
#นิโรธสมาบัติ
#สัตว์จำศีล
มิจฉานิโรธ : สัตว์ก็เข้าสู่สภาวะนิโรธได้
สัมมานิโรธ = การดับชอบตามแบบพระพุทธศาสนา คือมีความเห็นชอบ มีสติ ปล่อยวางกายและจิตใจ เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ เป็นอนาคามีหรืออรหันต์บุคคลแล้ว
เข้าสู่ความดับด้วยการทำสมาธิ
เรียกอีกอย่างว่า
"นิโรธสมาบัติ"
(มีอาการหยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้น สมองหยุดทำงาน)
มิจฉานิโรธ = การดับที่ไม่ใช่สัมมานิโรธ
ก่อนเข้านิโรธยังมีราคะ โทสะ โมหะครบ
เกิดขึ้นได้จากกระบวนการต่างๆ ทั้งใช้สารเคมีและไม่ใช้สารเคมี ทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ
ออกจากนิโรธแล้วกิเลสยังมีอยู่ครบ
(หัวใจหยุดเต้น สมองหยุดทำงาน)
ตย.
สัตว์ที่เข้าสู่ภาวะความดับ หรือมิจฉานิโรธ (หัวใจหยุดเต้น สมองหยุดทำงาน)
ปลาถูกแช่แข็งแล้วฟื้น
ตย. คนเข้าสู่มิจฉานิโรธ เพราะถูกแช่แข็ง
แล้วฟื้นได้ (หัวใจหยุดเต้น สมองหยุดทำงาน)
และไม่กลายเป็นเจ้าหญิงนิทรา สมองไม่ถูกทำลายจากการขาดออกซิเจน ฟื้นมากิเลสยังอยู่ครบ เพราะไม่ใช่สัมมานิโรธ
ความแตกต่างระหว่างผู้เข้านิโรธสมาบัติกับคนตาย
...
กา. ดูกรคฤหบดี เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ วจีสังขารดับก่อน (ที่ฌาน2 ตย.หยุดบริกรรม)
ต่อจากนั้นกายสังขารดับ(ที่ฌาน4 หยุดหายใจ) ต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ ฯ(ที่ฌาน9หรือนิโรธฯ สมองหยุดทำงาน)
[๕๖๕] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา
ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว กับภิกษุผู้เข้า
สัญญาเวทยิตนิโรธ ทั้งสองนี้มีความต่างกันอย่างไร ฯ
กา. ดูกรคฤหบดี คนที่ตายแล้ว
ทำกาละแล้ว มีกายสังขารดับสงบ
มีวจีสังขารดับสงบ มีจิตตสังขารดับสงบ
มีอายุสิ้นไป ไออุ่นสงบ อินทรีย์
แตกกระจาย
ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
กายสังขารดับสงบ วจีสังขาร
ดับสงบ จิตตสังขารดับสงบ
(แต่) ยังไม่สิ้นอายุ ไออุ่นยังไม่สงบ อินทรีย์
ผ่องใส ดูกรคฤหบดี คนตายแล้ว
ทำกาละแล้ว กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ
มีความต่างกันอย่างนี้ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๗๔๗๘-๗๔๙๕. หน้าที่ ๓๒๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=7478&Z=7495&pagebreak=0
หมายเหตุ. นิโรธในกระทู้นี้ หมายถึง
"นิโรธสมาบัติ"
เนื่องจากความบกพร่องของผู้เขียน ทำให้ผู้อ่านสับสน จึงขออธิบายเพิ่มเติม
นิโรธ มี 2 แบบ
1. นิโรธในอริยสัจ 4
นิโรธ (อ่านว่า นิโรด) แปลว่า ความดับ (ทุกข์) คือความสำรอกออก, สลัดทิ้ง, ปลดปล่อย, ไม่มีเยื่อใยสมุทัยอันเป็นบ่อเกิดทุกข์ได้สิ้นเชิง หมายถึง การทำลายสมุทัยและดับสมุทัยคือตัวตัณหาให้สิ้นไปจนไม่เกิดขึ้นได้อีกเหมือนไฟที่สิ้นเชื้อ ด้วยอำนาจการดำเนินตามมรรคจนได้บรรลุมรรคนั้นๆ ตย.การเจริญสติ
เมื่อดับทุกข์ เป็นพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ แล้ว บางท่าน
สามารถเข้านิโรธสมาบัติได้
2. นิโรธสมาบัติ
นิโรธสมาบัติ (อ่านว่า นิโรดสะมาบัด, นิโรดทะ) แปลว่า การเข้านิโรธ, การเข้าถึงความดับ หมายถึงการเข้าถึงความดับสัญญา (ความจำ) และเวทนา (ความรับอารมณ์) ทั้งหมด ซึ่งสามารถดับได้ถึง 7 วัน เรียกว่าเข้านิโรธสมาบัติ เรียกย่อว่า เข้านิโรธ เรียกเต็มว่า เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ตย.ชาวบ้านเข้าใจผิดนำร่างพระอรหันต์ผู้เข้านิโรธสมาบัติไปเผาไฟเพราะนึกว่าว่าปรินิพพานแล้ว
https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4
ทุกท่านครับ
ไม่มี คำว่า "มิจฉานิโรธ" ในพุทธศาสนา
เป็นคำที่ผมบัญญัติขึ้นมาเพื่อใช้เรียก
สภาวะเหมือนตายของคนและสัตว์
แล้วกลับฟื้นคืนชีวิต โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับ
การฝึกตนเพื่อลดละกิเลส ผู้เข้าสู่ภาวะนี้ยังมีกิเลสครบถ้วน
เพื่อใช้เปรียบเทียบกับ นิโรธสมาบัติที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ จึงบัญญัติคำศัพท์ให้ตรงกันข้ามกัน
เช่นเดียวกับ คำตรงข้ามกันในศาสนาพุทธ
เช่น มิจฉาวาจา มิจฉาสมาธิ มิจฉาวิมุตติ ตรงข้ามกับ สัมมาวาจา สัมมาสมาธิ สัมมาวิมุตติ เป็นต้น
#นิพพาน
#สัญญาเวทยิตนิโรธ
#นิโรธสมาบัติ
#สัตว์จำศีล