เปรียบเทียบสื่อ VDO กับสื่อประเภทอ่าน เหตุใดอย่างหลังยังเป็นที่นิยม

แม้มีโทรทัศน์ คนก็ยังอ่านหนังสือพิมพ์ เรื่องสั้น และนิยาย 
แม้มี Youtube คนก็ยังอ่าน Pantip Blockdit  เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น 
แม้สื่อวิดิโอ จะตอบโจทย์ ในด้านความไว ของการรับสาร เพียงแค่ฟัง 
และความน่าสนใจจากการมองอากัปกริยาของผู้พูด 
และความชวนมองของบุคคล บรรยากาศต่างๆ 
แต่สื่อด้านการเขียน ยังคงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง 
เหมือนมีดวงอาทิตย์ ก็ย่อมจะต้องมีดวงจันทร์ 
ซึ่งให้ความสุขและประโยชน์ที่แตกต่างกัน 
สื่อด้านการเขียน ยังคงเป็นที่นิยมเพราะ

1.     เป็นพื้นที่อภิปรายที่ได้ความเห็นต่าง จากคนทั่วไป  
สื่อที่ต้องใช้กล้อง อาจทำให้จุดโฟกัสหลักคือ คนที่อยู่บนจอในฐานะยูธูปเป้อร์
 และคอมเม้นท์กลายเป็นรอง แต่สื่อด้านการเขียนนั้น การเขียนคอมเม้นท์ 
มีความสำคัญเท่าๆ กับคอนเทน หรือ บางทีมากกว่าด้วยซ้ำ 
คือ ระดับตอบคำถาม ของผู้ตั้งกระทู้ หรือ ไขข้อสงสัย หรือ 
ให้มุมมองที่แตกต่าง โดยแสดงตรรกะความคิดค้าน อย่างมีการเรียบเรียงที่ดีกว่าการพูด 

2.     เป็นทางออกของกลุ่ม introvert ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว
ไม่ต้องการเป็นที่รู้จัก แต่ยังคงนำเสนอคอนเทนได้
โดยคนกลุ่มนี้ ต้องการให้คอนเทนมีชื่อเสียงมากกว่าตัวตนของเขา 
หลายคนเป็นนักถ่ายภาพที่เก่งมาก แต่เกลียดการถูกถ่ายรูปเป็นที่สุด

3.     เป็นสารตั้งต้นของสื่อวิดิโอ 
การทำวิดิโอ 1 คลิป อาจเร็วกว่าการเขียน 
แต่ก็มีขั้นตอนการเตรียมเนื้อหา 
ซึ่งสื่อด้านการเขียนอาจจุดประเด็น และกลายเป็นแหล่งศึกษาข้อมูล

4.     ประเด็นที่เล็กแต่ลึก เช่น สังคมของคนที่ชอบหนังสือเล่มเดียวกัน 
ดูหนังเรื่องเดียวกัน ชอบต้นบอลสีเดียวกัน 
เป็นจุดเริ่มต้นของคนที่กำลังหา insight & instinct ของตนเอง 
ว่าความจริงเราสนใจอะไร นำไปต่อยอดอย่างไร

5.     อรรถรสที่ต่างจากการเขียนให้นิตยสารที่ต้องผ่านการขัดเกลาหลายรอบ
เพื่อให้โทนภาษา และการสะกดสมบูรณ์แบบ ไม่ผิดเลย
แต่การเขียนในพลาตฟอร์มโซเชี่ยล ยังคงมีข้อได้เปรียบ
เรื่องภาษาที่เป็นธรรมชาติมากกว่า มีข้อผิดพลาดได้มากกว่า
จึงทำงานได้เร็ว แก้ไขเนื้อหาได้เรื่อยๆ หากพบจุดที่ผิด 
ให้ความรู้สึกที่เป็นอิสระกว่า ทั้งต่อผู้เขียนและผู้อ่าน 
 
สิ่งที่สำคัญ คือ พลาตฟอร์ม ด้านการเขียน ไม่จำเป็นต้องทำในสิ่งที่สื่อวิดิโอ ทำได้ดีกว่า
เช่น การสัมภาษณ์ ซึ่งผู้ชมมักจะชอบฟังและได้เห็นใบหน้าท่าทางของผู้ให้สัมภาษณ์
แต่น่าจะต้องทำความเข้าใจวงการคนชอบอ่านจริงๆ
และสิ่งนั้นไม่สามารถแทนได้ในรูปแบบวิดิโอ

1.     การย่อความแบบอินโฟกราฟฟิค สรุป 1 เรื่องในชาร์ตภาพแผ่นเดียว 
2.     ความสวยงามด้านภาษาเขียน 
3.     นำเสนอเรื่องที่การเขียนให้ความเข้าใจดีกว่าการพูด 
4.     ทำวิจัยหาคุณค่าจากคำถาม/ความเห็นของสังคมในเรื่องต่างๆ เช่น การศึกษาภาวะสุขภาพจิตของคนไทย
5.     ช่วยให้คอนเทนต์ครีเอเตอร์กลุ่มงานเขียนเกิดรายได้

พลาตฟอร์มอาจไม่ต้องทำคอนเทนต์แข่งกับ users
แต่ควรจะ...
- สร้างระบบการจัดการให้ผู้สร้างคอนเทนต์อยู่ในพลาตฟอร์มได้นาน 
ในลักษณะเป็นพื้นที่ทำงานออนไลน์  หาแรงบันดาลใจ  สนองต่อความชื่นชอบส่วนบุคคล  
- ช่วยทำให้เนื้อหาขึ้นหน้าแรกใน Google เพื่อให้เห็นได้ง่ายสำหรับผู้สนใจเฉพาะทาง
- เปิดให้นักเขียนทำ affiliate marketing เอง 
- สกรีนเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม

การคงอยู่ของนักเขียนและนักอ่าน 
มีเหตุผลสำคัญรองรับ ว่าเหตุใด เขาจึงอยู่ และเหตุใด เขาจึงจากไป
เช่น คุณค่าของเนื้อหา และประโยชน์ที่พวกเขาจะได้รับ
ไม่เพียงพอที่เขาจะใช้เวลาในพลาตฟอร์มโซเชี่ยลมีเดีย
 
เช่นเดียวกับ เฟสบุค  ที่ไม่ทำคอนเทนแข่งกับ users
แต่ทำทุกทางให้โฆษณาปรากฏขึ้นอย่างมีประสิทธิผล 
ผสมผสานกับคอนเทน และความสนใจส่วนบุคคลได้

ในอนาคต สื่อกระแสหลัก อาจถูกท้าทายด้วยสื่อปัจเจกบุคคล
เพราะการทำงานของสื่อกระแสหลักต้องผ่านการกลั่นกรองใช้เวลาค่อนข้างนาน
จัดการโดยทีมงานหลายคน และประเด็นที่นำเสนอต้องใหญ่พอสมควร
ขณะที่การเติบโตของสื่ออิสระจากคอนเทนครีเอเต้อร์ ให้เนื้อหาที่หลากหลายกว่า
และให้อรรถรสที่แตกต่าง เพราะแบบแผนความเป็นทางการน้อยลง
และปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สร้างและผู้รับสารที่เพิ่มขึ้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่