Francesca Rojas ฆาตกรคนแรกของโลกที่ถูกจับกุมด้วยลายนิ้วมือ

.

.
ลายนิ้วมือของ Francesca Rojas
© National Library of Medicine
.
.

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2435
ในเมือง Necochea ซึ่งตั้งอยู่
ในจังหวัด Buenos Aires
ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอาร์เจนตินา
มีการค้นพบเด็กเล็กสองคนถูกฆาตกรรม
อย่างโหดร้ายในบ้านของพวกเขา เหยื่อคือ
Ponciano Carballo Rojas วัย 6 ขวบ
และ Feliza น้องสาววัย 4 ขวบ
ทั้งคู่ถูกกรีดคอด้วยของมีคมก่อนตาย
Francesca Rojas แม่ของเด็กทั้งสองคน
ได้รับบาดเจ็บจากมีดที่คอด้วย
บาดแผลของเธอเป็นรอยเพียงผิวเผิน
เห็นได้ชัดว่าเธอรอดตายจากการโจมตีได้

ในตอนแรก  Francesca Rojas
กล่าวหา Ramón Velázquez เพื่อนบ้าน
ว่าคือ อาชญากรที่ฆ่าลูกทั้งสองคนของเธอ
เพราะเธอไม่ยอมให้เขากู้เงิน
ต่อมาเธอเปลี่ยนคำให้การ
โดยยืนยันว่า Ramón Velázquez
พยายามพรากลูกทั้งสองคนไปขาย
ตามคำแนะนำของสามีเก่าของเธอ
หลังจากที่สามีเก่าได้ทิ้งเธอไปแล้ว
ไม่ว่าความจริงจะเป็นเช่นไร
Ramón Velázquez ก็ถูกจับกุม
ในข้อหาฆาตกรรมเด็ก 2 คน กับ
ข้อหาพยายามฆ่า  Francesca Rojas

Ramón Velázquez ถูกตำรวจสอบปากคำ
และถึงขั้นถูกทรมานเพื่อให้รับสารภาพ
แต่เขาปฏิเสธอย่างฉุนเฉียวเรื่องการฆ่าเด็ก
ตามรายงานข่าวหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งเขียนว่า
Ramón Velázquez  ถูกบังคับให้ค้างคืน
ในห้องขังพร้อมกับศพของเด็ก ๆ
เพื่อพยายามให้รับสารภาพ
อย่างไรก็ตาม Ramón Velázquez 
ยังคงยืนยันความบริสุทธิ์ของตนเอง
พร้อมกับอ้างพยานบุคคลกับสถานทึ่
ที่ไปเที่ยวกับเพื่อน ๆ ในวันเกิดเหตุ
ตอนที่เกิดการฆาตกรรมเด็ก 2 คน

เมื่อต้องเผชิญหน้ากับทางตัน 
ตำรวจท้องที่จึงขอความช่วยเหลือจาก
สถานีตำรวจจังหวัด La Plata
เมืองหลวงของ Buenos Aires
สารวัตร Eduardo Álvarez
จึงถูกส่งไปยัง Necochea
เพื่อดำเนินการสอบสวนต่อไป
ในตอนที่ตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ
ซึ่งในขณะนั้นผ่านไปได้หลายวันแล้ว

Eduardo Álvarez ก็ค้นพบ
ลายนิ้วมือเปื้อนเลือด
ที่บริเวณทางเข้าห้องนอนของเด็ก ๆ
ที่มีการสังหารหมู่เกิดขึ้น
ท่านจึงได้ตัดท่อนไม้
ที่มีลายนิ้วมือออกมาจากผนังไม้
ทั้งยังได้รับลายนิ้วมือของ
Ramón Velázquez กับ Francesca Rojas
โดยให้พิมพ์ลายมือด้วยหมึกบนกระดาษ
แล้วส่งลายนิ้วมือทั้งคู่พร้อมกับท่อนไม้
ไปที่สถานีตำรวจ La Plata เพื่อตรวจสอบ

ในเวลานั้น การใช้ลายนิ้วมือ
เพื่อการตรวจจับอาชญากร
ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นศึกษากันในหลายชาติ
.
.

แต่ลายนิ้วมือกลับถูกใช้
เพื่อจุดประสงค์ระบุตัวตนเป็นหลัก 
ในจีนยุคโบราณ ราว 220 ปีก่อนคริสตกาล 
ลายนิ้วมือถูกนำมาใช้ใน
การตรวจสอบเอกสารของราชการ
ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้บนแผ่นไม้ไผ่  กระดาษ
มักจะมัดรวมกัน/ถูกม้วนแล้วมัดด้วยเชือก
ผนึกด้วยดินเหนียว/ครั่ง
(ถ้ามีการแกะออกก็จะรู้ทันที)
ด้านหนึ่งจะประทับตราชื่อผู้เขียน
(มักใช้หมึกชาดแดงประทับตราชื่อ
เกาหลี ญี่ปุ่น ก็นิยมใช้เช่นกัน)
ส่วนอีกด้านจะมีลายนิ้วมือของผู้เขียน
ผลจากการประดิษฐ์กระดาษในศตวรรษที่ 2
การลงนามในเอกสารด้วยลายนิ้วมือ
กลายเป็นเรื่องธรรมดาในจีน
และต่อมาก็แพร่กระจายไปยังอินเดีย
.
.

นักวิชาการชาวยุโรป
เริ่มศึกษาลายนิ้วมืออย่างจริงจัง
ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา

ในปี พ.ศ. 2229
ศาสตราจารย์ Marcello Malpighi
ด้านกายวิภาคศาสตร์ University of Bologna
ได้แยกแยะประเภทลายนิ้วมือ ออกเป็น
รอยนิ้วมือ วงก้นหอย วงรอบลายนิ้วมือ
.
.

.


จากนั้นในปี พ.ศ. 2331
Johann Christoph Andreas Mayer
นักกายวิภาคศาสตร์ชาวเยอรมัน
กลายเป็นชาวยุโรปคนแรก
ที่สรุปว่าลายนิ้วมือมีเอกลักษณ์เฉพาะ
สำหรับแต่ละคน โอกาสซ้ำกันแทนไม่มีเลย
.
.

.
.

ในปี พ.ศ. 2435 
ตำรวจในเมือง La Plata อาร์เจนตินา
มีฐานข้อมูลลายนิ้วมือที่ใช้งานได้
ชาติแรก/แห่งแรกในโลก
ซึ่งก่อตั้งโดย Juan Vucetich
นักมานุษยวิทยาและนักคณิตศาสตร์
มีพื้นเพมาจากโครเอเชีย
(เมืองขึ้นจักรวรรดิ์ปรัสเซียยุคเรืองอำนาจ)
ทำงานเป็นนักสถิติกับตำรวจกลางใน La Plata
จนกระทั่งเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าสำนักงาน
Anthropometric Identification
(การระบุตัวตนทางมานุษยวิทยา)
ท่านได้รับแรงบันดาลใจในการใช้งาน
จากแนวคิดของ Francis Galton
.
.

.

.
.

ในปี พ.ศ. 2434
Juan Vucetich เริ่มทดลองใช้ลายนิ้วมือ
โดยเริ่มบันทึกลายนิ้วมือของอาชญากร
และพัฒนาระบบการจำแนกประเภท
การระบุตัวนักโทษเป็นรายบุคคล
การใช้ลายนิ้วมือเป็นการใช้งานจริงครั้งแรก
ของวิทยาศาสตร์ลายนิ้วมือ
โดยเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย

เมื่อนักวิเคราะห์ที่ได้รับการฝึกอบรม
จาก Juan Vucetich สักพักหนึ่งแล้ว
ก็เริ่มวิเคราะห์ตัวอย่างลายนิ้วมือ
ที่สารวัตร Eduardo Álvarez ส่งมา
พวกเขาพบว่าลายนิ้วมือบนกรอบประตู
ตรงกับของ Francesca Rojas

เมื่อเผชิญหน้ากับพยานหลักฐานนี้
Francesca  Rojas ก็รับสารภาพว่า
ฆาตกรรมลูกสองคนของเธอเอง
และยอมรับว่าอาการบาดเจ็บของเธอ
เธอแกล้งทำร้ายตนเองหลังจากฆ่าลูกแล้ว
เพื่อเพิ่มโอกาสในการแต่งงานกับ
แฟนหนุ่มคนใหม่ของเธอ
ซึ่งรู้กันดีว่าไม่ชอบเด็ก ๆ
ต่อมาเธอถูกตัดสินว่ามีความผิดจริง
และถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิต

คดีฆาตกรรม Francesca  Rojas
ถือว่าเป็นการฆาตกรรมครั้งแรก
ที่ได้รับการพิสูจน์ด้วยหลักฐานลายนิ้วมือ
คดีนี้พิสูจน์ให้เห็นถึงความศรัทธา
ในลายนิ้วมือของ  Juan Vucetich

ในปีพ.ศ. 2446
อาร์เจนตินาจึงเป็นประเทศแรกในโลก
ที่อาศัยลายนิ้วมือเพียงอย่างเดียว
ในการระบุตัวตน/อาชญากร
ประเทศต่าง ๆ ก็นำระบบลายนิ้วมือ
Dactyloscopy Vucetich
มาใช้ในการสืบสวนทางนิติวิทยาศาสตร์
ซึ่งนำไปสู่การตัดสินลงโทษอาชญากร
ด้วยร่องรอยหลักฐานลายนิ้วมือในที่เกิดเหตุ
.
.

ในปี พ.ศ. 2441
กรณีดังกล่าวแรกสุดเกิดขึ้นในเอเซีย
ในเขต Jalpaiguri รัฐเบงกอลตะวันตก อินเดีย
พบว่าผู้จัดการไร่ชา
นอนตายอยู่บนเตียงโดยมีรอยบาดที่คอ
กล่องส่งของและตู้นิรภัยว่างเปล่า
คาดว่ามีเงินหายไปหลายร้อยรูปี
ผู้ต้องสงสัยคือ ช่างฝีมือ/คนรับใช้ในไร่ชา
เพราะผู้ตายมีชื่อเสียงว่าเป็นนายจ้างโหด ๆ
/อาจจะเป็นแม่ครัวที่เสื้อผ้ามีรอยเลือดจาง ๆ

ในตอนแรกทั้งคู่ ถูกตั้งข้อสงสัยว่า
อาจเป็นผู้กระทำความผิดในไร่ชา
แม่ครัวต้องสงสัยว่าเป็น
ผู้สมรู้ร่วมมือกับฆาตกรด้วย
โดยร่วมมือกับ แก๊งค์ Kabulis
(คำเหยียดว่า ชาวเมือง Kabul อัฟกานิสถาน)
แก้งนี้พเนจรไปตั้งค่ายอยู่ใกล้ ๆ ไร่ชา
แก้งค์นี้ยังเป็นผู้ต้องสงสัยด้วยเช่นกัน

ผลการสอบสวนของตำรวจ
ทำให้พบว่ามีหลักฐานไม่เพียงพอ
ที่จะกล่าวหาแก๊งค์ Kabulis
แม้ว่าญาติของผู้หญิงคนนั้น
จะสนิทสนมกับพวกแก๊งค์ Kabulis
กับญาติสนิทของคนรับใช้คนหนึ่ง
เพิ่งจะได้รับการปล่อยตัวจากคุก
เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน
แต่ไม่มีรายงานยืนยันว่า
ผู้ต้องสงสัยปรากฎตัวในพื้นที่ไร่ชา

ส่วนคราบเลือดบนเสื้อผ้าแม่ครัว
ได้รับการอธิบายจากแม่ครัวว่า
มาจากนกพิราบที่แม่ครัวฆ่า
เพื่อทำอาหารค่ำของเจ้านาย
โดยได้รับการยืนยันผล
จากการวิเคราะห์ผลเลือดทางเคมี

ภายในกล่องส่งของ 
ตำรวจพบไดอารี่
ที่มีรอยเปื้อนสีน้ำตาลจาง ๆ
ปรากฎบนปกด้านนอก
เมื่อตรวจดูอย่างใกล้ชิดด้วยแว่นขยาย
พบว่ารอยเปื้อนเหล่านี้เป็นลายนิ้วมือ
และเมื่อเปรียบเทียบลายนิ้วมือในไดอารี่แล้ว
ก็ตรงกับอดีตคนรับใช้ที่ถูกสอบสวน
จึงถูกจับและนำตัวไปที่กัลกัตตา
เพื่อพิจารณาคดีความผิดข้อหาฆาตกรรม
อย่างไรก็ตาม คนรับใช้ถูกตัดสินว่า
มีความผิดในข้อหาลักทรัพย์เท่านั้น
เนื่องจากไม่มีหลักฐานยืนยันว่า
อดีตคนรับใช้ฆ่าผู้จัดการไร่ชา
.
.

ความคิดในการใช้ลายนิ้วมือ
เพื่อจับกุมอาชญากรในแต่ละประเทศ
ในที่สุดก็ได้กลายมาเป็นนวนิยายเช่นกัน 
ในนวนิยาย Pudd'nhead Wilson
ของ Mark Twain นักเขียนดังสหรัฐ ฯ
ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2436 
ละครในห้องพิจารณาคดีได้เปิดเผยถึง
ความลึกลับของการฆาตกรรม
ที่ไขปริศนาด้วยการระบุลายนิ้วมือ
.
.

.
.

ในทำนองเดียวกัน เรื่องสั้นปี พ.ศ 2446
เรื่อง The Norwood Builder
โดย Arthur Conan Doyle
ผู้เขียนนวนิยาย/เรื่องสั้นแนวนักสืบ
นักสืบชื่อดัง Sherlock Holmes
ไขคดีฆาตกรรมและเปิดโปงคนทำผิด
โดยการใช้ลายนิ้วมือเปื้อนเลือด
.
.

.

.
.

การพัฒนาและการใช้ลายนิ้วมือ
เป็นเครื่องมือในการสืบสวนคดีอาญา
ได้ปฏิวัติแนวทางปฏิบัติการสืบสวนสอบสวน
ในการบังคับใช้กฎหมายทั่วโลก

ตั้งแต่จุดเริ่มต้นในฐานะวิธีการระบุตัวตน
ไปจนถึงบทบาทสำคัญในการแก้ปริศนา
อาชญากรรมในชีวิตจริง/ในนวนิยาย
ลายนิ้วมือยังคงเป็นรากฐานสำคัญ
ของนิติวิทยาศาสตร์/นิติเวชศาสตร์
.

เรียบเรียง/ที่มา

Francesca Rojas
The fingerprint sourcebook
Francisca Rojas
.
.

เรื่องเล่าไร้สาระ

การจำนำข้าวของในโรงรับจำนำ
ในอดีตมักจะเป็นของชาวจีน
หรือของคนสยามเชื้อชาติจีน
ในตั๋วจำนำจะให้พิมพ์หัวแม่มือไว้
ส่วนใหญ่มักจะให้ใช้ซ้ายมือ
เพราะชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน
จะใช้หัวแม่โป้ง/ข้างขวาทำงานหนัก
ลายมือข้างขวามักจะสึก
มักจะเห็นจาง ๆ ไม่ชัดเจนมากนัก

ธรรมเนียมปฏิบัตินี้ทำกันมานาน
จนโรงรับจำนำของรัฐก็ต้องทำตาม
ตามหลักกฎหมาย/ประเพณีปฏิบัติ
ที่ทำกันมาช้านานและชอบด้วยกฎหมาย
ถือว่า ทำได้ ไม่ผิด หรือ ขัดต่อกฎหมาย
แม้ว่าบางคนจะไม่ยอมพิมพ์ลายนิ้วมือ
อ้างว่า รู้หนังสือ มีบัตรประชาชน แนบไว้
แต่โรงรับจำนำก็มีข้อต่อรอง
ที่มีอำนาจเหนือกว่าคนมาจำนำ
ด้วยการไม่ยอมรับการจำนำ
.
.

ส่วนการทำบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง
ก็จะให้ประทับตราหัวแม่มืออีกครั้ง
ในระบบ Digital print Digital Scan
หลังจากที่ทำบัตรประชาชนครั้งแรก
จะเก็บลายนิ้วมือครบทั้งสิบนิ้ว

มีคนถามว่าถ้ามี 11 นิ้ว 12 นิ้ว
จะเก็บลายนิ้วมือด้วยหรือไม่
มีคำตอบว่า ระบบฐานข้อมูลทางการ
มักจะรองรับแค่เลขฐาน 10
เกินกว่านั้นต้องใช้ระบบกระดาษ Manual
แนบเก็บไว้เผื่อใช้งานในภายหลัง
แม้ว่านิ้วที่เกินมักจะเห็นลายมือไม่ชัด
แต่ทั้งนี้ยังขึ้นกับดุลพินิจของ
ผู้ปฏิบัติงาน/ผู้บริหารหน่วยงาน
.
.

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 9 วรรค 2
ลายพิมพ์นิ้วมือที่ลงในเอกสาร
แทนการลงลายมือชื่อ หากมีพยาน
ลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วย 2 คนแล้ว
ให้ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ
มาตรา 9 วรรค 3
ยกเว้นเอกสารที่ทำต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่
(เช่น โอนทะเบียนปืน โอนทะเบียนสัตว์พาหนะ
โอนที่ดินที่สำนักงานที่ดิน)
.
.

ไม่พิมพ์ลายนิ้วมือ
จะผิดอาญาฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานหรือไม่

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368
ผู้ใดทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งสั่งการ
ตามอำนาจที่มีกฎหมายให้ไว้ ไม่ปฏิบัติตาม
คำสั่งนั้นโดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับ
ไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่