JJNY : 5in1 NPL ทะลุ1.09ล.ล.│โรมอึ้งสภาพค่ายผู้ลี้ภัย│"สมชัย"ชี้ 4 ประเด็น│ยูเครนเตรียมนำเข้าไฟฟ้า│รัสเซียพร้อมถ้าจะรบ

‘เครดิตบูโร’ เปิดข้อมูลหนี้เสียรถ-บ้าน ดันยอดNPLพุ่งทะลุ 1.09 ล้านล้าน
https://www.dailynews.co.th/news/3429028/
 
หนี้เสียรถ-บ้านบานฉ่ำ โตกระฉูดเสี่ยงอันตราย ดันยอดเอ็นพีแอลพุ่งทะลุ 1.09 ล้านล้านบาท เครดิตบูโรหวั่นหนี้ค้างใกล้เกิน 90 วันไหลตกชั้นต่อ 6.4 แสนล้านบาท
 
 
นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เปิดเผยว่า ภาพรวมหนี้ครัวเรือนไทยปัจจุบันอยู่ที่ 91.3% ของจีดีพี มีความอันตรายต่อระบบเศรษฐกิจ โดยข้อมูลหนี้สินครัวเรือนที่อยู่ในเครดิตบูโร ในไตรมาสแรกปี 67 มีมากถึง 13.64 ล้านล้านบาท ไม่นับรวมหนี้สหกรณ์ออมทรัพย์และหนี้ กยศ. ในจำนวนหนี้เป็นหนี้ด้อยคุณภาพ (เอ็นพีแอล) หรือหนี้เสีย 1.09 ล้านล้านบาท คิดเป็น 8% ของหนี้รวม ซึ่งมากที่สุดเป็นหนี้เสียรถยนต์ 2.4 แสนล้านบาท เติบโต 32%, หนี้เสียบ้าน 1.99 แสนล้านบาท เติบโต 18%, หนี้เสียของสินเชื่อส่วนบุคคล 2.6 แสนล้านบาท เติบโต 12% และหนี้เสียบัตรเครดิต 64,000 ล้านบาท เติบโต 14.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

ขณะที่หนี้กำลังจะเป็นเอ็นพีแอล หรือมียอดค้างชำระหนี้ไม่เกิน 90 วัน (เอสเอ็ม) ในไตรมาสแรกปี 67 มีทั้งสิ้น​ 6.4 แสนล้านบาท โดยเอสเอ็มไหลมาเพิ่มเร็วและแรง​ จะทำให้เกิดโอกาสเป็น​หนี้เอ็นพีแอล​เพิ่มสูงในอนาคตได้​ แบ่งเป็น เอสเอ็มหนี้บ้าน 1.86 แสนล้านบาท เติบโต 15%, เอสเอ็มหนี้รถยนต์  2.04 แสนล้านบาท เติบโต 7% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยหนี้เอสเอ็มกำลังมาแรงคือหนี้บัตรเครดิตที่เติบโตสูง 32.4%

ส่วนหนี้เสียเอ็นพีแอลที่มีปัญหา ทางด้านสถาบันการเงินได้ให้ความช่วยเหลือผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา (ทีดีอาร์) ในไตรมาสแรกปี 67 อยู่ที่​1.07 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน​ 7.9%

นายสุรพล กล่าวว่า หนี้ในประเทศไทยเป็นการปล่อยกู้โดยสหกรณ์​ออมทรัพย์ให้กับสมาชิกถึง​ 2.3 ล้านล้านบาท​ ในจำนวนนี้​มี 8 แสนล้านบาท เป็นการให้กู้กับกลุ่มอาชีพคุณครูและบุคลากร​ทางการศึกษา​ ซึ่งเป็นเป้าหมายใหญ่ที่ภาครัฐได้เข้ามาเร่งแก้ไข​ปัญหา โดยเฉพาะประเด็นการหักเงินหน้าซองเงินเดือน​ส่งให้เจ้าหนี้จนเหลือไม่ถึง​ 30% ของรายได้​ และมีการไปหักหลังซองเพิ่มต่ออีกจนเหลือไม่พอในการดำรงชีพ

ด้านข้อมูลหนี้ครัวเรือน มีสัดส่วน 28% ของยอดหนี้​ 16.3 ล้านล้านบาท​ เป็นการกู้ไปกินไปใช้ที่เรียกว่า บริโภค​ ซึ่งต้องนำรายได้ในอนาคตมาผ่อนจ่าย​ แต่ถ้ารายได้ติดขัด เช่น เกิดโควิด ได้กระทบต่อรายได้ในการจ่ายหนี้ และดอกเบี้ยแพง จึงเป็นปัญหามีหนี้สะสมเกินศักยภาพ​ ตรงนี้เรียกว่าติดกับดักการเป็นหนี้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม หนี้บ้านเติบโต 3.8% ในไตรมาสแรกและหนี้รถยนต์ติดลบ 1.5% แต่ที่น่ากังวลคือหนี้ธุรกิจกับหนี้เงินเบิกเกินบัญชี (โอดี)

จำนวนบัญชีหนี้ 84.4 ล้านบัญชีของ 13.6 ล้านล้านบาทในระบบของเครดิตบูโรนั้น ส่วนใหญ่ติดลบหมด ยกเว้นบัตรเครดิตเติบโต 1.5% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งการหดตัวในทุกประเภทสินเชื่อ จึงไม่แปลกใจถึงความเข้มงวดในการให้กู้เวลานี้ กติกาคือต้องมีศักยภาพ และศักยภาพคือมีรายได้แน่นอน มั่นคง เพียงพอ สม่ำเสมอ คำถามคือโลกหลังโควิด มีลูกค้าแบบนี้น้อยลงหรือมากขึ้น ข้อมูลจากการสอบถามกันเวลานี้คือรายได้ 5 หมื่นบาทต่อเดือนและมีหนี้ไม่มาก ถึงจะเติมหนี้ได้ คำถามคือคนปล่อยกู้มีความเข้มในการประเมินรายได้ลูกค้ามากขึ้น

ที่มา : เฟซบุ๊ก Surapol Opasatien
 


โรม อึ้งสภาพค่ายผู้ลี้ภัยแม่หละ เหมือนชุมชนแออัด 40 ปีเข้าไม่ถึงการศึกษา ยิ่งกว่านักโทษในคุก
https://www.matichon.co.th/politics/news_4573037
 
กมธ.ความมั่นคง ลุยแคมป์แม่หละ พบผู้ลี้ภัยเป็นอยู่แออัด เข้าไม่ถึงการศึกษา ‘โรม’ ลั่น ’40 ปีนานไปแล้ว’ ควรหาทางออก ดึงเข้าระบบแรงงาน-ส่งประเทศที่สาม
 
เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ที่ จ.ตาก คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร นำโดย นายรังสิมันต์ โรม ประธาน กมธ., นายมานพ คีรีภูวดล รองประธาน กมธ., นางจุฬาลักษณ์ ขันสุธรรม, นายปิยรัฐ จงเทพ, นายยูนัยดี วาบา
 คณะ กมธ. เข้าเยี่ยมพื้นที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวเมียนมาที่หลบหนีภัยสู้รบเข้ามาตั้งแต่ปี 2527 รอส่งต่อไปยังประเทศที่สาม เป็นค่ายใหญ่ที่สุดใน 9 ค่าย มีผู้อาศัยประมาณ 40,000 คน และมีปัญหาด้านสิทธิ สถานะ และสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพื้นที่
 
นายรังสิมันต์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เคยคิดภาพศูนย์พักพิงชั่วคราวเป็นพื้นที่โล่งในป่า แต่พบว่าที่นี่ไม่ต่างกับชุมชนแออัด มีความแออัดจริง ผู้คนดิ้นรนในการมีชีวิตในแต่ละวัน พบว่ากลุ่มผู้ใหญ่อาจคุยภาษาไทยไม่ถนัด แต่ถ้าเป็นวัยรุ่นก็คุยเข้าใจเพราะหลายคนผ่านการศึกษาไทยมาบ้าง แต่หลายคนไม่สามารถเรียนต่อระดับสูงได้เพราะค่าใช้จ่ายสูง
 
ผมเคยได้ยินว่าบางครั้งต่างชาติที่ถูกจับดำเนินคดี ถูกคุมขังในเรือนจำ เขายังเข้าถึงสิทธิการศึกษาและได้เรียนจบระดับปริญญาตรีได้ แต่หลายคนที่นี่ การเรียนการสอนภาษาไทยในค่ายยังทำไม่ได้ เป็นเรื่องแปลกมากที่มีการกีดกันเรื่องการศึกษา หากเราทำให้เป็นระบบ เรื่องการศึกษาจะไม่มีใครตกหล่น เขาควรได้รับสิทธินั้น” นายรังสิมันต์กล่าว
 
นายรังสิมันต์กล่าวต่อว่า การที่ กมธ.มาที่ค่ายแม่หละเป็นเรื่องเซอร์ไพรส์หลายส่วน และเราเองก็รู้สึกเซอร์ไพรส์ เพราะเราก็อยากเห็น แต่ในฐานะ กมธ.ที่ติดตามเรื่องชายแดน ถ้าเราไม่ได้เข้ามาที่นี่เลยคิดว่าก็คงไม่ใช่ กมธ.ชายแดน วันนี้ได้เห็นสภาพความจริงแล้ว
 
40 ปีนานไปแล้ว น่าจะมีความชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไร หากจะนำเขาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในช่วงที่ไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ขาดแคลนแรงงาน หากเขาเข้าสู่ระบบ ได้ทำงานหาเงินเสียภาษี เลี้ยงดูตัวเองและประเทศชาติ หากใครประสงค์ไปประเทศที่สามก็ไปได้ แต่ไม่ควรต้องมาอยู่ในสภาพแบบนี้อีกแล้ว” นายรังสิมันต์กล่าว



"สมชัย" ชี้ 4 ประเด็นว่าด้วยการตรวจสอบข้าว 10 ปี
https://siamrath.co.th/n/535767

วันที่ 13 พ.ค.67 นายสมชัย ศรีสุทธิยากร โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก สมชัย ศรีสุทธิยากร ระบุว่า...
 
ว่าด้วยการตรวจสอบข้าว 10 ปี
  
1. ดร.วีรชัย หรือ อ.อ๊อด เอาข้าวที่ไหนมาตรวจ เชื่อได้ไหมว่าเป็นข้าวจากโกดังที่สุรินทร์ ใครจะมีปัญญาเอาออกมา (ชัย โฆษกรัฐบาลกล่าว)
 
คำตอบ คือ เป็นข้าวที่ คุณภูมิธรรม รองนายก เอาออกมาจากโกดัง และ ส่งให้กับทีวีแค่บางช่อง พิธีกรแค่บางคน แต่ในวงการข่าว เขาขอต่อกันอีกที เลยหลุดไปถึง อ. วีรชัย ได้ ของแท้ครับของแท้
 
2. การตรวจของ อ. วีรชัย น่าเชื่อถือแล้วหรือไม่

คำตอบ คือ ไม่ เพราะเป็นการตรวจภายใต้ข้อจำกัดตัวอย่างจำนวนน้อย ขาดการสุ่มอย่างเป็นระบบที่มากพอเพื่อให้ได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทนข้าวทั้งโกดัง อย่างไรก็ตาม ผลที่พบว่ามีสารอะฟลาท็อกซิน 1 ใน 3 ตัวอย่างที่ตรวจ ถือว่ามาก เพราะเท่ากับ 33% ในขณะที่หากจะยอมรับว่าปลอดภัยควรไม่มีเลย หรือ ไม่ควรเกิน 1% ก็ถือว่ามากแล้ว สำหรับมาตรฐานความปลอดภัยของอาหาร
 
3. น่าแปลก ที่รัฐบาลผู้เป็นเจ้าของข้าวในโกดัง ไม่ใยดีต่อชีวิตคน ไม่ใช้อำนาจสั่งการให้ส่งข้าวไปทดสอบทางวิทยาศาสตร์

หน่วยราชการก็ไม่กล้าอาสาตัวเองออกมาตรวจ โยนไปที่กระทรวงพาณิชย์ ว่าไม่ส่งมาให้ กระทรวงพาณิชย์ก็อ้ำอึ้งบอกว่าการประมูลได้มีการตรวจคุณภาพโดยละเอียดแล้ว หรือ คงดูด้วยสายตาใช้ปากของตัวเองชิม

4. การตรวจทางวิทยาศาสตร์ ไม่ได้ใช้เวลามาก ยิ่งเงินแทบไม่ต้องใช้

เพราะเรามีส่วนราชการมากมายที่พร้อมทำ อย่าไม่ตรวจเพียงแค่รักษาหน้ารัฐมนตรี แต่ควรส่งตรวจเพื่อรักษาชีวิต และความเชื่อมั่นในสินค้าข้าวไทยของคนไทยและชาวโลก แต่ขึ้นอยู่กับผู้บริหารประเทศว่าจะมีจิตสำนึก สติและปัญญา หรือไม่ ยิ่งนับวันยิ่งลดน้อยลงหรือเปล่า

https://www.facebook.com/somchaivision/posts/pfbid013kyRX2wPuoHQvHTC8P7eXEnxVbeMys4uK99WeZs6upsnb1gj6KnLBdvsaFj3bFDl


 
ยูเครนเตรียมนำเข้าไฟฟ้ามากเป็นประวัติการณ์
https://tna.mcot.net/world-1364013

เคียฟ 13 พ.ค.- ยูเครนเตรียมนำเข้าไฟฟ้ามากเป็นประวัติการณ์จาก 5 ประเทศในยุโรปในวันนี้ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าได้รับความเสียหายหนักจากปฏิบัติการโจมตีของรัสเซีย
 
กระทรวงพลังงานยูเครนคาดการณ์ว่า จะต้องนำเข้าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็น 19,484 เมกะวัตต์ชั่วโมง ลบสถิติ 18,649 เมกะวัตต์ชั่วโมงที่นำเข้าเมื่อสิ้นเดือนมีนาคมปีนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่ถูกรัสเซียโจมตีภาคพลังงานระลอกแรก โดยเตรียมนำเข้าไฟฟ้าจากโรมาเนีย สโลวาเกีย โปแลนด์ ฮังการี และมอลโดวาในวันนี้
 
ด้านอูเครเนอร์โฮ ที่เป็นบริษัทการไฟฟ้าแห่งชาติของยูเครนแจ้งผ่านแอปพลิเคชันเทเลแกรมว่า ระบบการจ่ายไฟฟ้าเผชิญปัญหาไฟฟ้าผลิตได้ไม่เพียงพอตลอดทั้งวัน สาเหตุเพราะโรงไฟฟ้าได้รับความเสียหายหนัก จึงไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เท่ากับช่วงก่อนถูกโจมตี ส่วนไฟฟ้าช่วยเหลือที่ได้รับจากสหภาพยุโรปหรืออียูถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าตั้งแต่เที่ยงคืนที่ผ่านมาจนถึงเช้าวันนี้ บริษัทจำเป็นต้องจำกัดการจ่ายไฟฟ้าให้แก่ภาคอุตสาหกรรมในเย็นวันนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า หลังจากโรงไฟฟ้าถูกขีปนาวุธโจมตีเป็นครั้งที่ 5 แล้วในปีนี้
 
นายเฮอร์มัน ฮาลูชเชนโก รัฐมนตรีพลังงานยูเครนเผยว่า การโจมตีของรัสเซียทำให้ภาคพลังงานของยูเครนเสียหายมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (มากกว่า 36,810 ล้านบาท) มีทั้งโรงไฟฟ้าพลังความร้อน โรงไฟฟ้าพลังน้ำ และระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้า ส่งผลให้ยูเครนมีกำลังผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนลดลงร้อยละ 80 และต้องเพิ่มกำลังการผลิตจากโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ที่ผลิตไฟฟ้าได้ครึ่งหนึ่งของความต้องการใช้ทั้งประเทศ.-814.-สำนักข่าวไทย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่