จีนมีเป้าหมายใหญ่ที่จะกลายเป็น "ผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับโลก" ภายในปี 2025 ผ่านนโยบาย "Made in China 2025" นานาชาติได้กดดันนโยบายนี้ จนจีนต้องปรับวิธีการนำเสนอ แต่กลยุทธ์นี้ยังคงดำเนินต่อไป
นโยบาย "Made in China 2025" ยังคงมีอยู่ แต่จีนได้ปรับเปลี่ยนการนำเสนอนโยบายดังกล่าวเพื่อลดความกังวลของชาติตะวันตก หลังจากเจอแรงกดดันและการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากจากสหรัฐฯ และพันธมิตรว่านโยบายนี้เป็นการบิดเบือนกติกาการค้าเสรี ที่ผ่านมาจีนจึงไม่ค่อยกล่าวถึงชื่อ "Made in China 2025" โดยตรงมากนัก แต่ยังคงดำเนินนโยบายเดิมภายใต้ชื่ออื่นๆ เช่น "การพัฒนายุทธศาสตร์อุตสาหกรรม" หรือ "แผนงานอุตสาหกรรมแห่งชาติ"
เป้าหมายหลักของจีนที่ต้องการผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงและลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศนั้นยังคงดำเนินต่อไป โดยจีนยังคงให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ นโยบาย และมาตรการต่างๆ แก่อุตสาหกรรมเป้าหมายตามแผนการเดิม แม้จะปรับวิธีการนำเสนอ แต่นโยบายเชิงกลยุทธ์ที่มุ่งสร้างความเป็น "ผู้นำด้านเทคโนโลยี" ของจีนยังคงดำเนินต่อไป ซึ่งยังคงเป็นประเด็นที่ชาติตะวันตกจับตามอง
จุดมุ่งหมายของนโยบาย "Made in China 2025" คืออะไร?
ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก หวังจะเชื่อมช่องว่างทางเทคโนโลยีกับชาติตะวันตก โดยการส่งเสริมผู้ผลิตจีนในตลาดโลก และลดการพึ่งพาเทคโนโลยีนำเข้าด้วย แผนยุทธศาสตร์ Made in China 2025 ภายใต้ 10 อุตสาหกรรมแห่งอนาคตของจีน เช่น รถยนต์ไฟฟ้า โทรคมนาคม หุ่นยนต์ และระบบปัญญาประดิษฐ์
ถือเป็นกลยุทธ์ การพัฒนานวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมการผลิต การประสานเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับภาคอุตสาหกรรม รวมไปถึงการสร้างความเชื่อมั่นให้กับตราสินค้าของจีนในตลาดต่างประเทศ ภายใต้นี้ เงินอุดหนุนจากรัฐบาล รวมถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำและการลดหย่อนภาษี มุ่งไปที่บริษัทเทคโนโลยีขั้นสูงที่ได้รับการสนับสนุน เช่น ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และผู้ผลิตชิป
ยุทธศาสตร์ Made in China 2025 ได้ประกาศออกมาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ของจีนฉบับที่ 13 ได้แบ่งช่วงเวลาการปฏิรูปด้านการผลิตและอุตสาหกรรมของประเทศออกเป็น 3 ระดับขั้น
ขั้นที่ 1 (ปี 2559 - 2568) พัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการผลิต
ขั้นที่ 2 (ปี 2569 - 2578) เพิ่มขีดความสามารถในการสร้างนวัตกรรม
ขั้นที่ 3 (ปี 2579 - 2592) ยกระดับศักยภาพความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมการผลิต
จีนยังตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนว่า ภายในปี 2568 ประเทศวางแผนที่จะบรรลุเป้าหมายการพึ่งพาตนเองได้ 70 เปอร์เซ็นต์ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง ภายในปี 2592 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 100 ปีของการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศจีนกำลังจะกลายเป็นมหาอำนาจด้านการผลิตระดับโลก สิ่งที่น่าจับตาก็คือ จีนจะสามารถทัดเทียมกับสหรัฐฯ ได้หรือไม่?
จีนก้าวหน้าไปถึงเป้าหมายมากน้อยเพียงใด?
จากการเผชิญกับการแรงกดดันเเละเสียงวิพากวิจารณ์จากนานาชาติที่เข้มข้น ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า นโยบายดังกล่าวยังคงมีอยู่และกำลังดำเนินไป โดยเสริมว่าจีนจะไม่ละทิ้งการแสวงหาการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง
แม้จะมองข้ามสโลแกน Made in China 2025 แต่การแข่งขันทางเทคโนโลยีระหว่างจีนและตะวันตกยังไม่สิ้นสุด ยังคงมีการเพิ่มเงินอุดหนุนเพื่อให้ผู้ผลิตรถยนต์ ผู้ผลิตชิป และผู้เล่นเทคโนโลยีขั้นสูงรายอื่นๆ ต่อไป
ผลกระทบต่อการส่งออกไทย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีมุมมองของผลกระทบจากยุทธศาสตร์ Made in China 2025 ต่ออุตสาหกรรมของจีนในอนาคตว่า ความพยายามของจีนในการพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนภายในประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนรับซื้อวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางภายในประเทศนั้น อาจส่งผลต่อการเฟ้นหาวัตถุดิบหรือสินค้าอุตสาหกรรมขั้นกลางจากต่างประเทศจนส่งผลต่อการหยุดชะงักหรือการขาดตอนของห่วงโซ่อุปทานเดิมของประเทศคู่ค้าเดิมของจีน (Regional supply chain disruption) ซึ่งจีนนับเป็นคู่ค้าคัญที่สุดของ SME ไทยในปัจจุบัน
เเต่ระยะยาว ไทยยังมีโอกาสในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แห่งอนาคตของจีนที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ผ่านการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไปเป็น Smart electronics มากยิ่งขึ้น อาทิ แผงวงจรรวมประเภทเซ็นเซอร์ หรือการเป็นศูนย์กลาง Platform ทางด้าน ICT กับบรรษัทจีนในภูมิภาคอาเซียน
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยยังสามารถนำเข้าสินค้าเทคโนโลยีที่ได้เปรียบทางด้านราคามากกว่าประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำอื่นๆ เพื่อมาปรับปรุงกระบวนการผลิตของผู้ประกอบการ SME ไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการเกษตรและเกษตรแปรรูป
Cr.
https://www.thansettakij.com/business/economy/595832
เบื้องหลัง "Made in China 2025" แผนการที่ทำให้โลกตะวันตกกังวล
นโยบาย "Made in China 2025" ยังคงมีอยู่ แต่จีนได้ปรับเปลี่ยนการนำเสนอนโยบายดังกล่าวเพื่อลดความกังวลของชาติตะวันตก หลังจากเจอแรงกดดันและการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากจากสหรัฐฯ และพันธมิตรว่านโยบายนี้เป็นการบิดเบือนกติกาการค้าเสรี ที่ผ่านมาจีนจึงไม่ค่อยกล่าวถึงชื่อ "Made in China 2025" โดยตรงมากนัก แต่ยังคงดำเนินนโยบายเดิมภายใต้ชื่ออื่นๆ เช่น "การพัฒนายุทธศาสตร์อุตสาหกรรม" หรือ "แผนงานอุตสาหกรรมแห่งชาติ"
เป้าหมายหลักของจีนที่ต้องการผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงและลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศนั้นยังคงดำเนินต่อไป โดยจีนยังคงให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ นโยบาย และมาตรการต่างๆ แก่อุตสาหกรรมเป้าหมายตามแผนการเดิม แม้จะปรับวิธีการนำเสนอ แต่นโยบายเชิงกลยุทธ์ที่มุ่งสร้างความเป็น "ผู้นำด้านเทคโนโลยี" ของจีนยังคงดำเนินต่อไป ซึ่งยังคงเป็นประเด็นที่ชาติตะวันตกจับตามอง
จุดมุ่งหมายของนโยบาย "Made in China 2025" คืออะไร?
ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก หวังจะเชื่อมช่องว่างทางเทคโนโลยีกับชาติตะวันตก โดยการส่งเสริมผู้ผลิตจีนในตลาดโลก และลดการพึ่งพาเทคโนโลยีนำเข้าด้วย แผนยุทธศาสตร์ Made in China 2025 ภายใต้ 10 อุตสาหกรรมแห่งอนาคตของจีน เช่น รถยนต์ไฟฟ้า โทรคมนาคม หุ่นยนต์ และระบบปัญญาประดิษฐ์
ถือเป็นกลยุทธ์ การพัฒนานวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมการผลิต การประสานเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับภาคอุตสาหกรรม รวมไปถึงการสร้างความเชื่อมั่นให้กับตราสินค้าของจีนในตลาดต่างประเทศ ภายใต้นี้ เงินอุดหนุนจากรัฐบาล รวมถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำและการลดหย่อนภาษี มุ่งไปที่บริษัทเทคโนโลยีขั้นสูงที่ได้รับการสนับสนุน เช่น ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และผู้ผลิตชิป
ยุทธศาสตร์ Made in China 2025 ได้ประกาศออกมาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ของจีนฉบับที่ 13 ได้แบ่งช่วงเวลาการปฏิรูปด้านการผลิตและอุตสาหกรรมของประเทศออกเป็น 3 ระดับขั้น
ขั้นที่ 1 (ปี 2559 - 2568) พัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการผลิต
ขั้นที่ 2 (ปี 2569 - 2578) เพิ่มขีดความสามารถในการสร้างนวัตกรรม
ขั้นที่ 3 (ปี 2579 - 2592) ยกระดับศักยภาพความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมการผลิต
จีนยังตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนว่า ภายในปี 2568 ประเทศวางแผนที่จะบรรลุเป้าหมายการพึ่งพาตนเองได้ 70 เปอร์เซ็นต์ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง ภายในปี 2592 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 100 ปีของการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศจีนกำลังจะกลายเป็นมหาอำนาจด้านการผลิตระดับโลก สิ่งที่น่าจับตาก็คือ จีนจะสามารถทัดเทียมกับสหรัฐฯ ได้หรือไม่?
จีนก้าวหน้าไปถึงเป้าหมายมากน้อยเพียงใด?
จากการเผชิญกับการแรงกดดันเเละเสียงวิพากวิจารณ์จากนานาชาติที่เข้มข้น ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า นโยบายดังกล่าวยังคงมีอยู่และกำลังดำเนินไป โดยเสริมว่าจีนจะไม่ละทิ้งการแสวงหาการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง
แม้จะมองข้ามสโลแกน Made in China 2025 แต่การแข่งขันทางเทคโนโลยีระหว่างจีนและตะวันตกยังไม่สิ้นสุด ยังคงมีการเพิ่มเงินอุดหนุนเพื่อให้ผู้ผลิตรถยนต์ ผู้ผลิตชิป และผู้เล่นเทคโนโลยีขั้นสูงรายอื่นๆ ต่อไป
ผลกระทบต่อการส่งออกไทย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีมุมมองของผลกระทบจากยุทธศาสตร์ Made in China 2025 ต่ออุตสาหกรรมของจีนในอนาคตว่า ความพยายามของจีนในการพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนภายในประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนรับซื้อวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางภายในประเทศนั้น อาจส่งผลต่อการเฟ้นหาวัตถุดิบหรือสินค้าอุตสาหกรรมขั้นกลางจากต่างประเทศจนส่งผลต่อการหยุดชะงักหรือการขาดตอนของห่วงโซ่อุปทานเดิมของประเทศคู่ค้าเดิมของจีน (Regional supply chain disruption) ซึ่งจีนนับเป็นคู่ค้าคัญที่สุดของ SME ไทยในปัจจุบัน
เเต่ระยะยาว ไทยยังมีโอกาสในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แห่งอนาคตของจีนที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ผ่านการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไปเป็น Smart electronics มากยิ่งขึ้น อาทิ แผงวงจรรวมประเภทเซ็นเซอร์ หรือการเป็นศูนย์กลาง Platform ทางด้าน ICT กับบรรษัทจีนในภูมิภาคอาเซียน
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยยังสามารถนำเข้าสินค้าเทคโนโลยีที่ได้เปรียบทางด้านราคามากกว่าประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำอื่นๆ เพื่อมาปรับปรุงกระบวนการผลิตของผู้ประกอบการ SME ไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการเกษตรและเกษตรแปรรูป
Cr. https://www.thansettakij.com/business/economy/595832