“นิด้าโพล” ปชช.60.84%ค่าแรงที่ปรับขึ้น ไม่คุ้มกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_716086/
“นิด้าโพล” ประชาชน 60.84% เชื่อว่าค่าแรงที่ปรับขึ้น จะไม่คุ้มกับค่าอาหาร ค่าครองชีพที่อาจจะสูงขึ้น แต่ 44.50% เห็นด้วยกับการทยอยปรับขึ้นทั่วประเทศ เริ่มวันที่ 1 ตค. นี้
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “
ค่าแรงขึ้นคุ้มมั๊ย กับ ค่าแกง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3-7 พ.ค.2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง โดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ พบว่า ร้อยละ 44.50 ระบุ เห็นด้วยกับการทยอยปรับขึ้นทั่วประเทศ เริ่มวันที่ 1 ต.ค.นี้ ,
ร้อยละ 25.34 ระบุว่า ควรปรับขึ้นเท่ากันทั่วประเทศทันที ไม่ต้องรอวันที่ 1ต.ค., ร้อยละ 16.41 ระบุไม่เห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าแรง 400 บาท ทั่วประเทศในปีนี้, ร้อยละ 13.05 ระบุ ควรปรับขึ้นทั่วประเทศโดยไม่มีการทยอยปรับ เริ่มวันที่ 1 ต.ค.นี้ และร้อยละ 0.70 ระบุ ไม่ตอบ/ไม่สนใจ,
ส่วนความเชื่อมั่นของประชาชนว่าคณะกรรมการค่าจ้างจะเห็นด้วยกับข้อเสนอของรัฐบาล ร้อยละ 40.23 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น, ร้อยละ 24.12 ระบุ ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 20.84 ระบุ ค่อนข้างเชื่อมั่น,ร้อยละ 10.23 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 4.58 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับความเชื่อมั่นของประชาชนว่ารัฐบาลจะเริ่มทยอยปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ร้อยละ 39.01 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น, ร้อยละ 25.95 ระบุ ไม่เชื่อมั่นเลย, ร้อยละ 23.36 ระบุ ค่อนข้างเชื่อมั่น, ร้อยละ 9.92 ระบุ เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 1.76 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะคุ้มกับค่าอาหารและค่าครองชีพในปัจจุบัน ร้อยละ 60.84 เชื่อว่าค่าแรงที่ปรับขึ้น จะไม่คุ้มกับค่าอาหาร ค่าครองชีพที่อาจจะสูงขึ้น, ร้อยละ 23.97 เชื่อจะคุ้มกับค่าอาหาร ค่าครองชีพที่อาจจะสูงขึ้น,
ร้อยละ 9.46 เชื่อว่าค่าแรงที่ปรับขึ้น ไม่ใช่เหตุผลหลักที่ทำให้ค่าอาหาร ค่าครองชีพสูงขึ้น ร้อยละ 4.89 เชื่อว่าค่าแรงที่ปรับขึ้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับค่าอาหาร ค่าครองชีพที่สูงขึ้น และร้อยละ 0.84 ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ชี้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากโควิดช้า รั้งอันดับท้ายๆ 162 จาก 189 ประเทศในโลก
https://www.matichon.co.th/economy/news_4571346
EIC เผยเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากโควิดช้าเป็นอันดับ 162 จาก 189 ประเทศในโลก
นาย
สมประวิณ มันประเสริฐรองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Economic Intelligence Center (EIC) และรองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานกลยุทธ์องค์กร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด มหาชน กล่าวในงานการประชุมใหญ่หอการค้าไทย 5 ภาค ประจำปี 2567 หัวข้อเสวนาจุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยกับการปรับตัวธุรกิจไทยในภูมิภาค ว่า เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากวิกฤตโควิดได้ช้ากว่าวิกฤตรอบก่อน ๆ และช้ากว่าประเทศส่วนใหญ่ในโลก ณ สิ้นปี 2566 เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากโควิดช้าเป็นอันดับ 162 จาก 189 ประเทศในโลกที่เศรษฐกิจฟื้นกลับไปสู่ระดับก่อนโควิดแล้ว สะท้อนผลกระทบจากปัญหาเชิงโครงสร้างของไทย
นาย
สมประวิณกล่าวว่า สาเหตุหลักๆ อาจมาจาก
1. รายได้ประชาชาติต่อหัวของไทยเติบโตชะลอลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยอยู่ในระดับสูงโดยข้อมูลไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 91.3% ซึ่งประเทศไทยมีสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และอันดับที่ 7 ของโลก (ข้อมูลจากธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ (BIS) ณ ไตรมาส 3/2566)
2. ธุรกิจฟื้นตัวไม่ทั่วถึงและไม่เท่ากัน โดยธุรกิจขนาดเล็กจะฟื้นช้า เปราะบาง และมีสัดส่วนในรายได้ของภาคธุรกิจน้อยลงต่อเนื่อง โดยดัชนีการฟื้นตัวของรายได้ธุรกิจปี 2565 แบ่งเป็นธุรกิจขนาดย่อยและย่อม ขยายตัวติดลบ 0.8% ธุรกิจขนาดกลาง ขยายตัว 3.5% และธุรกิจขนาดใหญ่ ขยายตัว 20.8%
3. ภาคส่งออกไทยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันไม่ทันประเทศอื่น ส่วนหนึ่งเพราะภาคการผลิตไทยยังผูกโยงกับห่วงโซ่อุปทานเก่าอยู่มาก จึงไม่ได้รับอานิสงส์ของความต้องการสินค้าและบริการในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น
4. การลงทุนในประเทศต่ำทั้งการลงทุนภาครัฐและเอกชน โดยการลงทุนต่อจีดีพีของไทยต่ำลงนานกว่า 2 ทศวรรษและต่ำกว่าค่าเฉลี่ยภูมิภาค รวมถึงความสามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนต่างชาติ (FDI) ของไทยต่ำลงเมื่อเทียบประเทศในภูมิภาค ซึ่งไทยมีการลงทุน 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ แต่สิงค์โปร์ มีเม็ดเงินลงทุนเข้าประเทศอยู่ที่ 1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
“
จากสาเหตุดังกล่าว ส่งผลให้ศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่อง จากปี 2560-2565 ขยายตัวเฉลี่ยที่ 3.4% แต่คาดการณ์ปี 2567 ขยายตัวลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ 2.7% ดังนั้น ธุรกิจไทยต้องปรับตัวเพื่อรับเศรษฐกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลง” นาย
สมประวิณกล่าว
นาย
สมประวิณกล่าวว่า แนะนำการเสริมเศรษฐกิจไทย โดยการเพิ่มสภาพคล่องและแก้หนี้ครัวเรือนเปราะบาง และเพิ่มภูมิคุ้มกัน โดยสิ่งที่ต้องเร่งเยียวยา อาทิ 1.มาตรการช่วยเหลือและเยียวยาผ่านการลดรายจ่ายและกระตุ้นเศรษฐกิจ สำหรับกลุ่มคนรายได้น้อย (ทาร์เก็ท) ยังคงมีความจำเป็น เพื่อให้ยังสามารถมีคุณภาพชีวิตและผ่านพ้นผลกระทบจากวิกฤตนี้ไปได้ 2.มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ ช่วยลูกหนี้ผิดนัดชำระที่ยังมีศักยภาพให้โอกาสทยอยหารายได้มาจ่ายคืนหนี้ หรือสร้างแรงจูงใจให้พยายามลดหนี้ให้เร็วขึ้น
“
และ 3.ภาครัฐร่วมมือกับเจ้าหนี้ เร่งแก้หนี้ทั้งในและนอกระบบ ซึ่งให้คำปรึกษาลูกหนี้ เพื่อแก้หนี้อย่างเหมาะสม โดยลดหนี้เก่าและลดการก่อหนี้ใหม่ที่ไม่จำเป็นให้ความรู้สร้างวินัยการเงิน โดยเฉพาะทัศนคติและพฤติกรรมทางการเงิน”นายสมประวิณกล่าว
นาย
สมประวิณกล่าวว่า ขณะที่การเร่งเสริมภูมิคุ้มกันโดยสิ่งที่รัฐบาลควรดำเนินการ อาทิ 1.นโยบายเพิ่มความสามารถในการหารายได้ ได้แก่ การปรับทักษะแรงงาน เพิ่มความสามารถในการผลิต เช่น การสร้างแพลตฟอร์มช่วยปรับทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการจ้างงานยุคใหม่ 2.นโยบายปรับปรุงสวัสดิการขั้นพื้นฐาน และสร้างโอกาสทางการศึกษาเพื่อเป็นทุนในการดำเนินชีวิต และ 3.นโยบายเพิ่มประสิทธิภาพของกลไกภาครัฐที่เข้ามาช่วยจัดการความเสี่ยงที่มีต่อรายได้และฐานะการเงินของคนไทย เช่น ระบบประกันสังคม และระบบความช่วยเหลือจากภาครัฐ
“นอกจากนี้ การจะสร้างเศรษฐกิจไทยอย่างมีกลยุทธ์ ต้องมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ทั่วถึงและยั่งยืน สร้างเครื่องยนต์ใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ลงทุนเชิงกลยุทธ์ ลงทุนมุ่งสู่กรีนทรานฟอร์มเมชั่น ลงทุนกลุ่มเป้าหมายตอบโจทย์ห่วงโซ่อุปทานโลกที่เปลี่ยนไปตามปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ การจัดการเงินทุนเหมาะสม ดึงดูดให้เอกชนลงทุนเพิ่มด้วยแรงจูงใจที่เหมาะสม และทบทวนการจัดสรรงบลงทุนของรัฐบาล รวมถึงสร้างบรรยากาศการลงทุนที่เอื้ออำนวย” นาย
สมประวิณกล่าว
GISTDA เผยเตรียมรับมือ พายุสนามแม่เหล็ก โลก ไทยรุนแรงระดับ 7 เผยผลกระทบ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8227867
GISTDA เผยเตรียมรับมือ พายุสนามแม่เหล็ก โลก ไทยรุนแรงระดับ 7 เผยผลกระทบ 2 อย่าง ประเทศที่อยู่ในเขตละติจูดที่สูงมีโอกาสเห็นแสงเหนือ ดาวเทียมสื่อสารอาจถูกรบกวน
เมื่อวันที่ 12 พ.ค.67 ผู้วสื่อข่าวรายงานว่า GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) เผยแพร่ข้อมูลระบุว่า เตรียมรับมือพายุสนามแม่เหล็กโลกระดับสูงสุดตั้งแต่ค่ำคืนวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 เวลา 4 ทุ่ม โดยประมาณตามเวลาประเทศไทย
มนุษย์กำลังเผชิญกับพายุสนามแม่เหล็กโลก ที่กระทบโลกรุนแรงเป็นนับตั้งแต่มีการติดตามสภาพอวกาศ (space weather) โดยในอดีตเกิดขึ้นใน พ.ศ 2402 หรือ ค.ศ.1859 ประมาณ 165 ปีก่อน คือการเกิดปรากฏการณ์ Carrington event
ครั้งล่าสุด เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2546 หรือ ค.ศ. 2003 หรือประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา เหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า Halloween solar storm โดยในครั้งนี้ สร้างผลกระทบกับระบบไฟฟ้าของประเทศสวีเดนและสร้างความเสียหายให้กับหม้อแปลงไฟฟ้าในแอฟริกาใต้
สำหรับครั้งนี้มาจากบริเวณที่มีการประทุ (AR 3664) ของดวงอาทิตย์ ซึ่งมีขนาดมหึมาเทียบเคียงกับ 2 ครั้งที่กล่าวมา (ตามภาพที่ 1)
ด้วยข้อมูลอัพเดทล่าสุดในปัจจุบัน การประทุที่รุนแรงได้ปล่อยการปลดปล่อยก้อนมวลขนาดใหญ่จากโคโรนาของดวงอาทิตย์ (corona mass ejection : CME) เป็นระยะกว่า 6-7 ระลอก ส่งผลให้เกิดลมสุริยะ (Solar wind) กระทบโลกอย่างต่อเนื่อง (ภาพที่ 2 อ้างอิงจาก NOAA) โดยข้อมูลล่าสุดที่มีการรายงานจาก NOAA ลมสุริยะที่มีความเร็วสูงสุดที่ 835 km/s มีค่าสนามแม่เหล็กสูงสุด (Bt) 74 nT โดยมี Bz เท่ากับ -45 nT ซึ่งแสดงทิศทางมายังโลก
ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์ค่าสนามแม่เหล็กโลก โดยองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (อังกฤษ:National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA) ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อคืนวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมาและช่วงเย็นของวันนี้ (11 พฤษภาคม 2567) ค่าพายุสนามแม่เหล็กโลกซึ่งบ่งบอกด้วยค่า Kp index ขึ้นสู่ระดับสูงสุด Kp index = 9 หรือ ระดับ G5
โดยมีความรุนแรงขั้นสูงสุดของพายุสนามแม่เหล็กโลก (Extreme level) ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกและเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงสุดในวงรอบสุริยะ (Solar cycle) ที่ 25 (ข้อมูล ณ วันที่ 11 พฤษภาคม 2567) ซึ่งจากแบบจำลองของ NOAA บ่งชี้ว่าเรากำลังเผชิญกับพายุสนามแม่เหล็กอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงวันที่ 12 พฤษภาคม 2567
ดร.สิทธิพร ขาญนำสิน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศของ GISTDA เปิดเผยว่า จากการเฝ้าติดตามค่าสนามแม่เหล็กโลกบริเวณพื้นที่ประเทศไทย พบว่าช่วงคืนที่ผ่านมาตรวจวัดค่าสนามแม่เหล็กที่ local k index จากเซ็นเซอร์ที่ติดในประเทศไทย ผลการวิเคราะห์ค่ารุนแรงพายุสนามแม่เหล็กโลกของประเทศไทยอยู่ในระดับที่ 7 หรือระดับ G3 ซึ่งบ่งชี้ว่า ค่าสนามแม่เหล็กบริเวณไทยอยู่ในระดับรุนแรง (Strong level) ดังภาพที่ 3
โดยผลกระทบที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นมีอยู่ 2 อย่าง คือ 1.ประเทศที่อยู่ในเขตละติจูดที่สูง จะมีโอกาสได้รับชม “แสงเหนือ” หรือออโรร่าที่มีสีสันหลากหลาย และพบได้เป็นบริเวณกว้างมากกว่าปกติ และ 2.ดาวเทียมที่ปฏิบัติภารกิจในอวกาศ ดาวเทียมนำทางและดาวเทียมสื่อสารอาจจะมีการถูกรบกวนหรือใช้งานไม่ได้ชั่วคราว รวมไปถึงสัญญาณวิทยุช่วงความถี่สูงในเครือข่าย HF/VHF/UHF และ ระบบไฟฟ้า
ทั้งนี้ ปัจจุบันทาง GISTDA ได้ติดตามสภาพอวกาศ (space weather) ด้วยระบบการพยากรณ์สภาพอวกาศ (space weather forecast system : JASPER ) ซึ่ง GISTDA มีความร่วมมือกับเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ
สำหรับการติดตามเหตุการณ์ในครั้งนี้ เราใช้ข้อมูลที่ได้จากครื่องมือวัดสนามแม่เหล็กโลก (magnetometer) ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง GISTDA กับ National Institute Of Information And Communications Technology หรือ NICT จากประเทศญี่ปุ่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยติดตั้งอยู่ภายในอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ ซึ่งเป็นบริเวณที่ใกล้เส้นศูนย์สูตรแม่เหล็กโลก เพื่อติดตามสภาพอวกาศที่จะกระทบกับประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ทาง GISTDA และเครือข่าย จะติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังสภาพอวกาศที่จะกระทบประเทศไทยอย่างต่อเนื่องและจะอัพเดทข้อมูลเป็นระยะๆ
JJNY : ค่าแรงที่ขึ้นไม่คุ้ม│ชี้ศก.ฟื้นตัวจากโควิดช้า│GISTDA เผยเตรียมรับมือพายุสนามแม่เหล็ก│ญี่ปุ่นจะทำลายยาต้านโควิด
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_716086/
“นิด้าโพล” ประชาชน 60.84% เชื่อว่าค่าแรงที่ปรับขึ้น จะไม่คุ้มกับค่าอาหาร ค่าครองชีพที่อาจจะสูงขึ้น แต่ 44.50% เห็นด้วยกับการทยอยปรับขึ้นทั่วประเทศ เริ่มวันที่ 1 ตค. นี้
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ค่าแรงขึ้นคุ้มมั๊ย กับ ค่าแกง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3-7 พ.ค.2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง โดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ พบว่า ร้อยละ 44.50 ระบุ เห็นด้วยกับการทยอยปรับขึ้นทั่วประเทศ เริ่มวันที่ 1 ต.ค.นี้ ,
ร้อยละ 25.34 ระบุว่า ควรปรับขึ้นเท่ากันทั่วประเทศทันที ไม่ต้องรอวันที่ 1ต.ค., ร้อยละ 16.41 ระบุไม่เห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าแรง 400 บาท ทั่วประเทศในปีนี้, ร้อยละ 13.05 ระบุ ควรปรับขึ้นทั่วประเทศโดยไม่มีการทยอยปรับ เริ่มวันที่ 1 ต.ค.นี้ และร้อยละ 0.70 ระบุ ไม่ตอบ/ไม่สนใจ,
ส่วนความเชื่อมั่นของประชาชนว่าคณะกรรมการค่าจ้างจะเห็นด้วยกับข้อเสนอของรัฐบาล ร้อยละ 40.23 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น, ร้อยละ 24.12 ระบุ ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 20.84 ระบุ ค่อนข้างเชื่อมั่น,ร้อยละ 10.23 ระบุว่า เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 4.58 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับความเชื่อมั่นของประชาชนว่ารัฐบาลจะเริ่มทยอยปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ร้อยละ 39.01 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น, ร้อยละ 25.95 ระบุ ไม่เชื่อมั่นเลย, ร้อยละ 23.36 ระบุ ค่อนข้างเชื่อมั่น, ร้อยละ 9.92 ระบุ เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 1.76 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะคุ้มกับค่าอาหารและค่าครองชีพในปัจจุบัน ร้อยละ 60.84 เชื่อว่าค่าแรงที่ปรับขึ้น จะไม่คุ้มกับค่าอาหาร ค่าครองชีพที่อาจจะสูงขึ้น, ร้อยละ 23.97 เชื่อจะคุ้มกับค่าอาหาร ค่าครองชีพที่อาจจะสูงขึ้น,
ร้อยละ 9.46 เชื่อว่าค่าแรงที่ปรับขึ้น ไม่ใช่เหตุผลหลักที่ทำให้ค่าอาหาร ค่าครองชีพสูงขึ้น ร้อยละ 4.89 เชื่อว่าค่าแรงที่ปรับขึ้น ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับค่าอาหาร ค่าครองชีพที่สูงขึ้น และร้อยละ 0.84 ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ชี้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากโควิดช้า รั้งอันดับท้ายๆ 162 จาก 189 ประเทศในโลก
https://www.matichon.co.th/economy/news_4571346
EIC เผยเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากโควิดช้าเป็นอันดับ 162 จาก 189 ประเทศในโลก
นายสมประวิณ มันประเสริฐรองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Economic Intelligence Center (EIC) และรองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานกลยุทธ์องค์กร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด มหาชน กล่าวในงานการประชุมใหญ่หอการค้าไทย 5 ภาค ประจำปี 2567 หัวข้อเสวนาจุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยกับการปรับตัวธุรกิจไทยในภูมิภาค ว่า เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากวิกฤตโควิดได้ช้ากว่าวิกฤตรอบก่อน ๆ และช้ากว่าประเทศส่วนใหญ่ในโลก ณ สิ้นปี 2566 เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากโควิดช้าเป็นอันดับ 162 จาก 189 ประเทศในโลกที่เศรษฐกิจฟื้นกลับไปสู่ระดับก่อนโควิดแล้ว สะท้อนผลกระทบจากปัญหาเชิงโครงสร้างของไทย
นายสมประวิณกล่าวว่า สาเหตุหลักๆ อาจมาจาก
1. รายได้ประชาชาติต่อหัวของไทยเติบโตชะลอลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยอยู่ในระดับสูงโดยข้อมูลไตรมาส 3/2566 อยู่ที่ 91.3% ซึ่งประเทศไทยมีสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และอันดับที่ 7 ของโลก (ข้อมูลจากธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ (BIS) ณ ไตรมาส 3/2566)
2. ธุรกิจฟื้นตัวไม่ทั่วถึงและไม่เท่ากัน โดยธุรกิจขนาดเล็กจะฟื้นช้า เปราะบาง และมีสัดส่วนในรายได้ของภาคธุรกิจน้อยลงต่อเนื่อง โดยดัชนีการฟื้นตัวของรายได้ธุรกิจปี 2565 แบ่งเป็นธุรกิจขนาดย่อยและย่อม ขยายตัวติดลบ 0.8% ธุรกิจขนาดกลาง ขยายตัว 3.5% และธุรกิจขนาดใหญ่ ขยายตัว 20.8%
3. ภาคส่งออกไทยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันไม่ทันประเทศอื่น ส่วนหนึ่งเพราะภาคการผลิตไทยยังผูกโยงกับห่วงโซ่อุปทานเก่าอยู่มาก จึงไม่ได้รับอานิสงส์ของความต้องการสินค้าและบริการในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น
4. การลงทุนในประเทศต่ำทั้งการลงทุนภาครัฐและเอกชน โดยการลงทุนต่อจีดีพีของไทยต่ำลงนานกว่า 2 ทศวรรษและต่ำกว่าค่าเฉลี่ยภูมิภาค รวมถึงความสามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนต่างชาติ (FDI) ของไทยต่ำลงเมื่อเทียบประเทศในภูมิภาค ซึ่งไทยมีการลงทุน 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ แต่สิงค์โปร์ มีเม็ดเงินลงทุนเข้าประเทศอยู่ที่ 1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
“จากสาเหตุดังกล่าว ส่งผลให้ศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปรับลดลงมาอย่างต่อเนื่อง จากปี 2560-2565 ขยายตัวเฉลี่ยที่ 3.4% แต่คาดการณ์ปี 2567 ขยายตัวลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ 2.7% ดังนั้น ธุรกิจไทยต้องปรับตัวเพื่อรับเศรษฐกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลง” นายสมประวิณกล่าว
นายสมประวิณกล่าวว่า แนะนำการเสริมเศรษฐกิจไทย โดยการเพิ่มสภาพคล่องและแก้หนี้ครัวเรือนเปราะบาง และเพิ่มภูมิคุ้มกัน โดยสิ่งที่ต้องเร่งเยียวยา อาทิ 1.มาตรการช่วยเหลือและเยียวยาผ่านการลดรายจ่ายและกระตุ้นเศรษฐกิจ สำหรับกลุ่มคนรายได้น้อย (ทาร์เก็ท) ยังคงมีความจำเป็น เพื่อให้ยังสามารถมีคุณภาพชีวิตและผ่านพ้นผลกระทบจากวิกฤตนี้ไปได้ 2.มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ ช่วยลูกหนี้ผิดนัดชำระที่ยังมีศักยภาพให้โอกาสทยอยหารายได้มาจ่ายคืนหนี้ หรือสร้างแรงจูงใจให้พยายามลดหนี้ให้เร็วขึ้น
“และ 3.ภาครัฐร่วมมือกับเจ้าหนี้ เร่งแก้หนี้ทั้งในและนอกระบบ ซึ่งให้คำปรึกษาลูกหนี้ เพื่อแก้หนี้อย่างเหมาะสม โดยลดหนี้เก่าและลดการก่อหนี้ใหม่ที่ไม่จำเป็นให้ความรู้สร้างวินัยการเงิน โดยเฉพาะทัศนคติและพฤติกรรมทางการเงิน”นายสมประวิณกล่าว
นายสมประวิณกล่าวว่า ขณะที่การเร่งเสริมภูมิคุ้มกันโดยสิ่งที่รัฐบาลควรดำเนินการ อาทิ 1.นโยบายเพิ่มความสามารถในการหารายได้ ได้แก่ การปรับทักษะแรงงาน เพิ่มความสามารถในการผลิต เช่น การสร้างแพลตฟอร์มช่วยปรับทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการจ้างงานยุคใหม่ 2.นโยบายปรับปรุงสวัสดิการขั้นพื้นฐาน และสร้างโอกาสทางการศึกษาเพื่อเป็นทุนในการดำเนินชีวิต และ 3.นโยบายเพิ่มประสิทธิภาพของกลไกภาครัฐที่เข้ามาช่วยจัดการความเสี่ยงที่มีต่อรายได้และฐานะการเงินของคนไทย เช่น ระบบประกันสังคม และระบบความช่วยเหลือจากภาครัฐ
“นอกจากนี้ การจะสร้างเศรษฐกิจไทยอย่างมีกลยุทธ์ ต้องมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ทั่วถึงและยั่งยืน สร้างเครื่องยนต์ใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ลงทุนเชิงกลยุทธ์ ลงทุนมุ่งสู่กรีนทรานฟอร์มเมชั่น ลงทุนกลุ่มเป้าหมายตอบโจทย์ห่วงโซ่อุปทานโลกที่เปลี่ยนไปตามปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ การจัดการเงินทุนเหมาะสม ดึงดูดให้เอกชนลงทุนเพิ่มด้วยแรงจูงใจที่เหมาะสม และทบทวนการจัดสรรงบลงทุนของรัฐบาล รวมถึงสร้างบรรยากาศการลงทุนที่เอื้ออำนวย” นายสมประวิณกล่าว
GISTDA เผยเตรียมรับมือ พายุสนามแม่เหล็ก โลก ไทยรุนแรงระดับ 7 เผยผลกระทบ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8227867
GISTDA เผยเตรียมรับมือ พายุสนามแม่เหล็ก โลก ไทยรุนแรงระดับ 7 เผยผลกระทบ 2 อย่าง ประเทศที่อยู่ในเขตละติจูดที่สูงมีโอกาสเห็นแสงเหนือ ดาวเทียมสื่อสารอาจถูกรบกวน
เมื่อวันที่ 12 พ.ค.67 ผู้วสื่อข่าวรายงานว่า GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) เผยแพร่ข้อมูลระบุว่า เตรียมรับมือพายุสนามแม่เหล็กโลกระดับสูงสุดตั้งแต่ค่ำคืนวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 เวลา 4 ทุ่ม โดยประมาณตามเวลาประเทศไทย
มนุษย์กำลังเผชิญกับพายุสนามแม่เหล็กโลก ที่กระทบโลกรุนแรงเป็นนับตั้งแต่มีการติดตามสภาพอวกาศ (space weather) โดยในอดีตเกิดขึ้นใน พ.ศ 2402 หรือ ค.ศ.1859 ประมาณ 165 ปีก่อน คือการเกิดปรากฏการณ์ Carrington event
ครั้งล่าสุด เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2546 หรือ ค.ศ. 2003 หรือประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา เหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า Halloween solar storm โดยในครั้งนี้ สร้างผลกระทบกับระบบไฟฟ้าของประเทศสวีเดนและสร้างความเสียหายให้กับหม้อแปลงไฟฟ้าในแอฟริกาใต้
สำหรับครั้งนี้มาจากบริเวณที่มีการประทุ (AR 3664) ของดวงอาทิตย์ ซึ่งมีขนาดมหึมาเทียบเคียงกับ 2 ครั้งที่กล่าวมา (ตามภาพที่ 1)
ด้วยข้อมูลอัพเดทล่าสุดในปัจจุบัน การประทุที่รุนแรงได้ปล่อยการปลดปล่อยก้อนมวลขนาดใหญ่จากโคโรนาของดวงอาทิตย์ (corona mass ejection : CME) เป็นระยะกว่า 6-7 ระลอก ส่งผลให้เกิดลมสุริยะ (Solar wind) กระทบโลกอย่างต่อเนื่อง (ภาพที่ 2 อ้างอิงจาก NOAA) โดยข้อมูลล่าสุดที่มีการรายงานจาก NOAA ลมสุริยะที่มีความเร็วสูงสุดที่ 835 km/s มีค่าสนามแม่เหล็กสูงสุด (Bt) 74 nT โดยมี Bz เท่ากับ -45 nT ซึ่งแสดงทิศทางมายังโลก
ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์ค่าสนามแม่เหล็กโลก โดยองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (อังกฤษ:National Oceanic and Atmospheric Administration : NOAA) ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อคืนวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมาและช่วงเย็นของวันนี้ (11 พฤษภาคม 2567) ค่าพายุสนามแม่เหล็กโลกซึ่งบ่งบอกด้วยค่า Kp index ขึ้นสู่ระดับสูงสุด Kp index = 9 หรือ ระดับ G5
โดยมีความรุนแรงขั้นสูงสุดของพายุสนามแม่เหล็กโลก (Extreme level) ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกและเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงสุดในวงรอบสุริยะ (Solar cycle) ที่ 25 (ข้อมูล ณ วันที่ 11 พฤษภาคม 2567) ซึ่งจากแบบจำลองของ NOAA บ่งชี้ว่าเรากำลังเผชิญกับพายุสนามแม่เหล็กอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงวันที่ 12 พฤษภาคม 2567
ดร.สิทธิพร ขาญนำสิน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศของ GISTDA เปิดเผยว่า จากการเฝ้าติดตามค่าสนามแม่เหล็กโลกบริเวณพื้นที่ประเทศไทย พบว่าช่วงคืนที่ผ่านมาตรวจวัดค่าสนามแม่เหล็กที่ local k index จากเซ็นเซอร์ที่ติดในประเทศไทย ผลการวิเคราะห์ค่ารุนแรงพายุสนามแม่เหล็กโลกของประเทศไทยอยู่ในระดับที่ 7 หรือระดับ G3 ซึ่งบ่งชี้ว่า ค่าสนามแม่เหล็กบริเวณไทยอยู่ในระดับรุนแรง (Strong level) ดังภาพที่ 3
โดยผลกระทบที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นมีอยู่ 2 อย่าง คือ 1.ประเทศที่อยู่ในเขตละติจูดที่สูง จะมีโอกาสได้รับชม “แสงเหนือ” หรือออโรร่าที่มีสีสันหลากหลาย และพบได้เป็นบริเวณกว้างมากกว่าปกติ และ 2.ดาวเทียมที่ปฏิบัติภารกิจในอวกาศ ดาวเทียมนำทางและดาวเทียมสื่อสารอาจจะมีการถูกรบกวนหรือใช้งานไม่ได้ชั่วคราว รวมไปถึงสัญญาณวิทยุช่วงความถี่สูงในเครือข่าย HF/VHF/UHF และ ระบบไฟฟ้า
ทั้งนี้ ปัจจุบันทาง GISTDA ได้ติดตามสภาพอวกาศ (space weather) ด้วยระบบการพยากรณ์สภาพอวกาศ (space weather forecast system : JASPER ) ซึ่ง GISTDA มีความร่วมมือกับเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ
สำหรับการติดตามเหตุการณ์ในครั้งนี้ เราใช้ข้อมูลที่ได้จากครื่องมือวัดสนามแม่เหล็กโลก (magnetometer) ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง GISTDA กับ National Institute Of Information And Communications Technology หรือ NICT จากประเทศญี่ปุ่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยติดตั้งอยู่ภายในอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ ซึ่งเป็นบริเวณที่ใกล้เส้นศูนย์สูตรแม่เหล็กโลก เพื่อติดตามสภาพอวกาศที่จะกระทบกับประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ทาง GISTDA และเครือข่าย จะติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังสภาพอวกาศที่จะกระทบประเทศไทยอย่างต่อเนื่องและจะอัพเดทข้อมูลเป็นระยะๆ