JJNY : ชาวนาเศร้า วันพืชมงคล│ชาวนาโอด เจอทุกข์ซ้ำ 3 เด้ง │กัณวีร์ห่วงเกาผิดที่ผิดเวลา│กัมพูชาโกยรายได้ส่งออกข้าวสาร

ชาวนาเศร้า วันพืชมงคล หว่านข้าวไม่ได้เพราะไม่มีน้ำ ช้ำทุ่ม 5 หมื่นขุดสระไร้ฝนมาเติม
https://www.matichon.co.th/region/news_4568815
 
จังหวัดอุทัยธานี ชาวนาสุดเศร้า วันพืชมงคลปีนี้หว่านข้าวไม่ได้เพราะไม่มีน้ำ จำใจปล่อยที่นาทิ้งร้าง รอวันมีน้ำทำนาอีกครั้ง เผยลงทุนขุดสระไป 5 หมื่นบาทหวังมีฝนตกลงมาเก็บน้ำแต่ยังไร้วี่แวว
 
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ที่จังหวัดอุทัยธานี วันนี้ตรงกับวันพืชมงคล ประจำปี 2567 ซึ่งตามปกติแล้วเกษตรกรแทบทุกรายจะต้องถือใช้ฤกษ์ดีวันพืชมงคล ลงแปลงปลูกพืชหว่านผลในพื้นไร่พื้นนากันอย่างคึกคัก แต่ปีนี้พบว่ามีเกษตรกรจำนวนมากที่ปีนี้ไม่ได้มีการลงแปลงไถหว่านทำนากัน ด้วยเพราะพิษภัยแล้งที่ยาวนาน ทำให้ไม่มีแหล่งน้ำมาใช้ในการทำนากันได้เหมือนเช่นทุกปี
 
อย่างเช่น ในพื้นที่บ้านทุ่งไอ้หุ หมู่ 7 ตำบลน้ำซึม อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ที่ นางจำรูญ เก่งธัญกรรม อายุ 69 ปี หนึ่งในเกษตรกรที่ประกอบอาชีพทำนาปลูก พาผู้สื่อข่าวเดินดูทุ่งนาที่ตอนนี้ถูกทิ้งร้าง พื้นดินแห้งแตกระแหง ต้นไม้ที่ปลูกไว้หัวไร่ปลายนาก็พากันตายลงจนหมดเพราะไม่มีน้ำ
 
โดยนางจำรูญเล่าว่า ตามปกติแล้ว จะถือฤกษ์วันพืชมงคลทำนา โดยในตอนเช้าตรู่ของวันพืชมงคลทุกปี จะต้องนำดอกไม้ธูปเทียนมาขอขมาพระแม่โพสพและหว่านเมล็ดกล้าพันธุ์ข้าว แต่ในปีนี้ไม่ได้เตรียมดอกไม้ธูปเทียนมาไหว้แม้ กระทั่งเมล็ดกล้าพันธุ์ข้าวก็ไม่มีมาหว่าน เนื่องจากสภาพอากาศแล้งจัดจนผืนนาแห้งแล้งรกร้าง มีแต่วัชพืชหรือหญ้าขึ้นมาแล้วก็แห้งตายไปในที่สุด เพราะดินแตกระแหงบ่งบอกถึงความไม่พร้อมที่จะทำนา อย่างเมื่อปีที่แล้วยังสามารถทำนาได้ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเมษายน แต่ปีนี้มาถึงวันที่ชาวนารอคอยกลับต้องผิดหวังเพราะน้ำไม่มีทำนากันเลย ต้องรอคอยเพียงให้มีฝนตกลงมาเท่านั้น
 
นางจำรูญยังเล่าต่ออีกว่า เมื่อเดือนที่แล้วตนเองยังได้ลงทุนจ้างรถแบ๊กโฮมาขุดสระไว้ใช้เนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ เพื่อหวังกักเก็บน้ำไว้ทำนา ซึ่งปกติแล้วช่วงนี้ทุกปีจะต้องมีฝนตกลงมาแล้ว แต่ก็ไร้ผลเพราะไม่มีน้ำสักหยดไหลลงมาในสระ เงินที่ลงทุนขุดสระไปกว่า 50,000 บาทก็สูญเปล่า


 
ชาวนาโอด เจอทุกข์ซ้ำ 3 เด้ง ภัยแล้ง-ดีเซลขึ้นราคา-ค่าแรง 400
https://ch3plus.com/news/economy/morning/399288
 
นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า การที่รัฐบาลประกาศตรึงราคาน้ำมันดีเซล ที่ 33 บาทต่อลิตร ยิ่งเป็นการซ้ำเติมชาวนาที่แบกต้นทุนสูงอยู่แล้ว ให้สูงขึ้นไปอีก ซึ่งปัจจุบันต้นทุนการทำนา เฉลี่ยต่อไร่ ขึ้นไปถึงไร่ละ 6,500 บาทแล้ว (ยังไม่รวมกรณีต้องเช่านา) จากปีก่อนอยู่ที่ 5,500 ถึง 5,700 บาท ซึ่งน้ำมันดีเซล เป็นต้นทุนเกือบครึ่งหนึ่งของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ยิ่งพื้นที่นาที่อยู่ห่างจากแหล่งน้ำและเข้าสู่หน้าแล้ง ต้องใช้เครื่องสูบน้ำเข้านาหลายทอดและหลายรอบ ส่งผลค่าใช้จ่ายน้ำมันพุ่งขึ้นเท่าตัว ซึ่งวันนี้ขึ้นมา 31.44 บาทต่อลิตรแล้ว ขณะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังผันผวนจากสถานการณ์ด้านสงคราม โดยราคาน้ำมันดีเซลตลาดเอเซีย เฉลี่ยยังยืนเหนือระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาเรล ทำให้มีโอกาสที่ราคาดีเซลจะขึ้นไปชนเพดานที่ลิตรละ 33 บาท ในไม่ช้า

นอกจากนี้ ยังกังวลว่า วันที่ 1 ตุลาคมนี้ ที่รัฐบาลจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาททั่วประเทศ จะยิ่งซ้ำเติมชาวนาให้ชาวนาทุกข์ยากขึ้นไปอีก เพราะทุกวันนี้ ชาวนาส่วนใหญ่ จะเป็นผู้สูงอายุ ทำเองกันไม่ไหว ต้องจ้างแรงงานเข้ามาช่วย ขณะที่ลูกหลานไม่สานต่ออาชีพ เลือกที่จะเข้าเมืองไปเป็นลูกจ้างนายทุน ส่งผลให้ขาดแคลนแรงงานรุ่นใหม่เข้ามาทดแทน ซึ่งปัจจุบันต้นทุนค่าแรงงาน ที่จ้างมาดูแลแปลงนา ตัดหญ้า ฉีดยา เฉลี่ยอยู่ที่ 960 – 1,000 บาทต่อไร่ หากมีการปรับขึ้นค่าแรงเป็น 400 บาทต่อวัน ต้นทุนส่วนนี้ก็จะพุ่งสูงขึ้นไปอีก เมื่อหักลบต้นทุน ก็แทบจะไม่มีเงินเหลือ วอนรัฐบาลเห็นใจชาวนาบ้าง พร้อมทวงสัญญารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่เคยระบุว่าจะมีมาตรการจัดทำโครงการน้ำมันราคาพิเศษให้กับเกษตรกร ชาวไร่ชาวนา ในราคาลิตรละ 25 บาท เช่นเดียวกับน้ำมันม่วงที่ใช้สำหรับเรือประมง ซึ่งจนถึงวันนี้ ยังไม่มีวี่แววว่าจะออกมา



กัณวีร์ ห่วงเกาผิดที่ผิดเวลา ย้ำเป็น ‘ตัวกลาง’ ยุติปัญหาเมียนมา ไม่ใช่แค่มีบารมีแต่ต้องน่าเชื่อถือ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4568644

“กัณวีร์” ห่วง “เกา” ผิดที่และผิดเวลา ย้ำปัญหาในเมียนมาต้องได้รับการแก้ไขปัญหาที่ถูกจุดและถูกคน “ไม่ใช่แค่มีบารมี แต่ต้องน่าเชื่อถือ ถึงจะเป็นตัวกลางในการสร้างสันติภาพเมียนมา”
 
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม นายกัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม กล่าวในเพจตนเรื่องความพยายามของหลายฝ่ายในการเป็นตัวกลางของการแก้ไขปัญหาในเมียนมาว่า เรื่องที่อยากแชร์ให้ทราบ คือ ความพยายามของอดีตผู้นำทั้งของไทยและกัมพูชาที่จะเป็นตัวกลางในปัญหาเมียนมานั้นผิดไหม เป็นสิ่งที่อาจถูกเรียกว่า Constructive Interventions (การแทรกแซงอย่างสร้างสรรค์) เสมือนเหตุการณ์ที่ไทยสมัย พล.อ.ชาติชายใช้นโยบาย “เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า” ในกัมพูชาตอนเขมร 4 ฝ่ายได้หรือไม่
 
นายกัณวีร์กล่าวว่า ความพยายามมันคล้าย แต่สารัตถะและช่วงเวลามันไม่ได้ จึงไม่แปลกใจที่จะถูกปฏิเสธจากกองกำลังชนกลุ่มน้อย และทหารเมียนมา
ข่าวที่อดีตนายกฯ ทักษิณ เรียกผู้นำกองกำลังของชนเผ่าในเมียนมามาพูดคุยนั้น คำถามคือ จะคุยอะไร ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการคุยจะทำอย่างไร มีความแน่ใจและมั่นใจได้มากน้อยขนาดไหนว่าผลการพูดคุยหรือความพยายามนี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มั่นใจถึงความรู้สึกของกองกำลังชนเผ่าฝั่งเมียนมาว่าจะดีขึ้นหรือไม่ หลังจากพูดคุยแล้วไทยจะมีความรู้เรื่องสถานการณ์ได้มากขึ้นหรือ โครงสร้างการบริหารของรัฐบาลไทยจะมั่นคงได้อย่างไรหากคุณทักษิณทำหน้าที่เป็นผู้นำรัฐบาลชุดนี้มากกว่าคนที่ชื่อว่าเศรษฐาเสียเอง ฯลฯ
 
ประธานวุฒิสภากัมพูชา นายฮุนเซน มีหน้าที่อะไรไปขอคุยกับนางอองซาน ซูจี จะคุยรู้เรื่องเหรอ แล้วที่สำคัญเค้าอยากจะคุยด้วยไหม
 
นายกัณวีร์กล่าวว่า เข้าใจครับทุกคนคงอยากเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขสถานการณ์ด้านการเมือง สิทธิมนุษยชน มนุษยธรรม การพัฒนาและสันติภาพในเมียนมา เหมือนอดีตผู้นำทั้งสองคนนี้อยากทำตัวเป็นตัวกลาง (broker) ข่าวออกมาชัดครับกลุ่มชนเผ่าปฏิเสธลงนามให้ฉันทามติให้นายทักษิณเป็นตัวกลางไปเจรจากับทหารเมียนมา และขณะเดียวกันโฆษกทหารเมียนมาก็ออกมาปฏิเสธการอนุมัติการขอคุยกับนางอองซาน ซูจี ด้วย
 
ความตั้งใจดีครับ แต่กระบวนการที่จะเป็น mediator หรือ broker ของทั้งสองท่านมันไม่ถูก ผลลัพธ์เลยโดนปฏิเสธทั้งคู่
 
เราคงต้องเรียนรู้ให้มากขึ้นนะครับว่า “สันติภาพ” เริ่มต้นด้วย “ความไว้วางใจ” และ “ความจริงใจ” ผมเดินทางตามแนวชายแดนกว่า 1,000 กม. ขณะที่ผมเขียนบทความนี้ ได้พบตัวแทนกองกำลังเกือบทุกกลุ่ม รวมถึงไปถึงมาเลเซียก็ได้พบผู้ลี้ภัยซึ่งเป็นบุคคลสำคัญของกองกำลังชนเผ่าในเมียนมาด้วย ระหว่างแคมเปญ 2,416 กม.ของผมนี้
 
ผมได้ยินคำพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การจะแก้ไขปัญหาด้านนี้ขอเถอะว่าต้องเริ่มจาก People to People Participation & Engagement (การมีส่วนร่วมและข้อตกลงระหว่างคนต่อคน) คือต้องรู้สภาพปัญหาในพื้นที่ทั้งหมดให้ได้ การจะไปเน้นแค่สถานการณ์ชายแดนฝั่งใดฝั่งหนึ่งอย่างเมียนมาอย่างเดียวคงไม่พอ อย่าลืมคนที่อยู่ฝั่งไทย มีปัญหาอะไรบ้างเคยเอามาพิจารณาหรือไม่
 
Peace Broker (ตัวกลางด้านสันติภาพ) ต้องมีมั้ยในสถานการณ์นี้ ผมยังเชื่อมั่นครับว่าต้องมี แต่ต้องมองให้ออกว่าต้องใช้กลไกที่มีอยู่และพัฒนาให้เหมาะสมมากกว่าการเลือกบุคคล หรือบุคคลเลือกตัวเองให้เป็น !! บารมีของปัจเจกชนไม่ว่าจะมีมากขนาดไหนคงทำไม่ได้ นี่อย่าลืมว่ายังมีปัจจัยภายนอกที่การมีบารมีแค่ไหนก็คงทำไม่ได้เพราะมันมีอิทธิพลของจีน สหรัฐ และแถมตอนนี้มีรัสเซียแล้วนะครับ ยุ่งยากมากขึ้นกับสถานการณ์ในเมียนมาที่มากระทบต่อไทย
 
ทรอยกา” ข้อเสนอสามฝ่ายนั่นดีนะครับ แต่ใช้ให้เป็นและปรับให้ถูกและให้เหมาะสม แต่ตอนนี้พอกลับมาดูในไทยมันสร้างความงุนงงกันมากขึ้น รัฐบาลคง งงๆ ตัวเองเช่นกันว่าใครในรัฐบาลนายเศรษฐา ที่ดูแลงานด้านนี้ที่มีมิติทั้งงานการต่างประเทศ งานความมั่นคง งานเศรษฐกิจ งานการพัฒนาเชิงพื้นที่ และงานด้านสันติภาพ ??
 
นายกัณวีร์สรุปว่า “เอาไงล่ะทีนี้ ผมนี่ชอร์ตฟิวเลยครับหลังจาก 8 วัน 7 คืนมาเจอเรื่องใหม่ๆ ที่มันดูแล้วแปลกใจ ทั้งๆ ที่เราพยายามจะบอกว่ามันต้องมีการแก้ไขทั้งระยะเฉพาะหน้า ระยะกลาง ในเรื่องพื้นที่ปลอดภัยและการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการสร้างระเบียงสันติภาพรอบประเทศเมียนมา และการแก้ไขระยะยาวเรื่องการสร้างการเมืองที่เหมาะสมในเมียนมาด้วยชาวเมียนมาเอง
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่