เป็นข้อความทางไลน์ ที่ผมได้รับแชร์มาจากกลุ่มเพื่อนๆ เกษตรกร เห็นว่าน่าสนใจเลยเอามาแบ่งปันกันครับ
- ประเทศอะไรผลิตอาหารให้โลกนี้มากที่สุด ?
คำตอบ ประเทศที่ผลิตอาหารให้โลกนี้มากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะรัฐ California, Iowa และ Texas
**** ซึ่งผลผลิตทั้งหมดเกิดจากเกษตรกรอเมริกัน ที่คิดเป็นแค่จำนวน 2% ของประชากรอเมริกันทั้งประเทศ ***
ก่อนหน้านี้จำนวนเกษตรกรก็เคยเยอะ แต่ลดลงเพราะเทคโนโลยี การทำฟาร์มขนาดใหญ่ จนปัจจุบันพื้นที่มากกว่า 1,000 ไร่ ใช้คนเพียงแค่ 2 คนเท่านั้น และการที่จำนวนเกษตรกรลดลง เกิดขึ้นในยุโรป และอีกหลายๆ ประเทศทั่วโลก จากการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแบบเกษตรกรแปลงใหญ่ ทำให้ต้นทุนลดลงอย่างมาก และเหลือ % ชาวนาเพียงไม่กี่ % เช่นเดียวกัน
- ประเทศไทยมีเกษตรกรกี่คน ?
คำตอบ ในขณะที่ประเทศไทย ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร ในเดือน สิงหาคม 2559 ระบุว่า ไทยมีจำนวนเกษตรกรจริงๆ ในปี 2558 มีประมาณ 25.07 ล้านคน ร้อยละ 38.14 ของประชากร
แต่ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ !!!! จำนวนเกษตรกรจะลดลง เพราะประเทศไทยกำลังเข้าสู่ Aging สังคมสูงวัย ซึ่งเกษตรกรไทยจะเป็นผู้สูงอายุ ในขณะที่คนรุ่นใหม่ ไม่มาเป็นเกษตรกร เพราะ ประสิทธิภาพและรายได้ของเกษตรกรต่ำ
- ประเทศไทยต้นทุนสูง กำไรต่ำจริงหรือ?? แล้วจะแข่งได้มั้ย ??
คำตอบ ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า จำนวนเกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวในประเทศไทยปัจจุบันนี้มีมากถึง 3.7 ล้านครัวเรือน ชาวนามีการปลูกข้าวทั้งหมด 80.67 ล้านไร่ มีการปลูกข้าวเฉลี่ยครัวเรือนละ 15.47 ไร่ โดยชาวนาปลูกข้าวในขนาดพื้นที่ 10-20 ไร่ มากที่สุด จำนวน 1,162,057 ครัวเรือน มีเพียง 8,700 ครัวเรือนที่ปลูกเกิน 100 ไร่ นั่นหมายถึง ต้นทุนเราสูงกว่ามาก
- แล้วพืชอื่นๆ นอกจากข้าวล่ะ ???
คำตอบ ขณะที่พืชเศรษฐกิจอื่นๆ มีอัตราการเพาะปลูกที่น้อยมาก อาทิ ยางพารามีเพียง 1.6 ล้านครัวเรือน มันสำปะหลัง 0.5 ล้านครัวเรือน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 0.4 ล้านครัวเรือน
- รายได้จากเกษตรเป็นไงบ้าง ?
คำตอบ ในทางตรงข้าม รายได้กลับสวนทางโดยสิ้นเชิง
• โดยเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันกลับมีรายได้สุทธิสูงที่สุดถึง 5,768 บาท/ไร่/ปี
• เกษตรกรปลูกอ้อยโรงงานมีรายได้สุทธิ 5,708 บาท/ไร่/ปี
• เกษตรกรปลูกยางพารามีรายได้สุทธิ 5,128 บาท/ไร่/ปี
• ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เกษตรกรมีรายได้สุทธิ 1,961 บาท/ไร่/ปี
• มันสำปะหลังทำรายได้สุทธิ 1,045 บาท/ไร่/ปี
*** ในขณะที่รายได้สุทธิจากการปลูกข้าวที่ชาวนาไทยได้รับเพียง 271 บาท/ไร่/ปี ทำให้ชาวนาใน 56 จังหวัดที่เพาะปลูกข้าว หรือ 75% ของพื้นที่เพาะปลูกข้าว มีรายได้ต่อปีต่ำกว่าเส้นความยากจนของประเทศที่ 29,064 บาท/ปี มีเพียงชาวนาใน 21 จังหวัดหรือประมาณ 25% ที่มีรายได้ต่อปีมากกว่าเส้นความยากจน ***
- ชาวนาเป็นสันหลังของชาติ ต้องให้คนรุ่นใหม่มาทำนา ?
คำตอบ ชอบหรือไม่ก็ตาม เรากำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ อีก 10 ปี ชาวนาไทยจะแก่ ทำนากันไม่ไหว และคนรุ่นใหม่จะไม่ทำนา ทำให้เกษตรกรไทยลดลง เหลือไม่ถึง 10% ของประชากร และคนที่ทำเกษตร 70% เช่าที่ทำนา
- งั้นชาวนาแข่งไม่ได้ ก็ปลูกเอง กินเอง ก็ได้ ใช่มั้ย ??
คำตอบ มันก็จริง แต่สุดท้าย ปลูกเอง กินเอง จะแพงกว่าเกษตรอุตสาหกรรม และปัญหาคือ ถ้าเป็นที่ดินตัวเองก็โอเค แต่ร้อยละ 80ของชาวนาไทยเป็นหนี้ หลายแสนบาทต่อคน ถ้าปลูกกินเอง จะไม่พอใช้หนี้
- เป็นเพราะนายทุน ทำให้เกษตรกรลดลงหรือไม่ ?
คำตอบ นายทุนใหญ่ยังแข่งยาก ประเทศไทยเป็นเกษตรแปลงเล็ก รายใหญ่ก็ลำบาก ทุกประเทศทำ Contract Farming ให้มีประสิทธิภาพเพิ่ม แต่คนไทยก็ไม่ชอบ จะทำแบบสหกรณ์ ประเทศไทยก็ทำไม่สำเร็จ ทำให้ไทยยังคุมต้นทุนไม่ได้ นายทุนใหญ่ก็ขยับตัวลำบาก สุดท้ายโดนบีบให้ไปลงทุนด้านเกษตรเพิ่มในต่างประเทศแทน
งั้นควรทำยังไง ??
ทางออก 1 : สามัคคีกัน เลิกโทษกัน มาทำเกษตรแปลงใหญ่ เอาเทคโนโลยีเข้ามา ความรู้เข้ามา สู้กับกลไกตลาดโลกด้วยขาตนเอง
ทางออก 2 : ปลดหนี้ให้ได้ก่อน ไม่สร้างหนี้เพิ่ม ปลูกเองกินเอง รัฐบาลห้ามนำเข้าสินค้าเกษตรจากต่างประเทศ และเลิกส่งออก เพราะราคาสู้ไม่ได้
ทางออก 3 : ปลูกพืชตามกลไกตลาด ชุมชนต้องเข้มแข็ง ลดการปลูกข้าว พัฒนาผลิตภัณฑ์ เอาเทคโนโลยีเข้ามา ทำแปลงเล็กแต่เพิ่มคุณภาพให้สูง
การที่ชาวนาไทยจนลง จนอยู่ไม่ได้นั้น มันจะเกิดขึ้น..แน่นอน และจำนวนชาวนาจะลดลง ...แน่นอน!!!
ไม่ว่าคนไทยจะรับได้หรือไม่ก็ตาม แต่ที่สำคัญ ไม่ใช่เพราะใคร แต่เป็นสิ่งที่ชาวนา ต้องหยุดคิด เพราะโลกใบนี้เราไม่ควรหนีจากการแข่งขันในกลไกตลาด ยอมรับมันและพัฒนา เพราะสุดท้ายขนาดปลูกพืชกินเอง นอกจากไม่พอใช้หนี้แล้ว ในอีก 10 ปีข้างหน้า อาจแพงกว่าการซื้อกิน....
#อย่าหยุดหาความรู้ พัฒนาตัวเองทุกวัน ใช้เทคโนโลยี และที่สำคัญ ต้องเข้าใจกลไกตลาด หากทำได้ก็จะรอด ...
เรื่องจริงที่ก่อนตาย...ชาวนาไทยต้องอ่าน!!!!
- ประเทศอะไรผลิตอาหารให้โลกนี้มากที่สุด ?
คำตอบ ประเทศที่ผลิตอาหารให้โลกนี้มากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะรัฐ California, Iowa และ Texas
**** ซึ่งผลผลิตทั้งหมดเกิดจากเกษตรกรอเมริกัน ที่คิดเป็นแค่จำนวน 2% ของประชากรอเมริกันทั้งประเทศ ***
ก่อนหน้านี้จำนวนเกษตรกรก็เคยเยอะ แต่ลดลงเพราะเทคโนโลยี การทำฟาร์มขนาดใหญ่ จนปัจจุบันพื้นที่มากกว่า 1,000 ไร่ ใช้คนเพียงแค่ 2 คนเท่านั้น และการที่จำนวนเกษตรกรลดลง เกิดขึ้นในยุโรป และอีกหลายๆ ประเทศทั่วโลก จากการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแบบเกษตรกรแปลงใหญ่ ทำให้ต้นทุนลดลงอย่างมาก และเหลือ % ชาวนาเพียงไม่กี่ % เช่นเดียวกัน
- ประเทศไทยมีเกษตรกรกี่คน ?
คำตอบ ในขณะที่ประเทศไทย ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร ในเดือน สิงหาคม 2559 ระบุว่า ไทยมีจำนวนเกษตรกรจริงๆ ในปี 2558 มีประมาณ 25.07 ล้านคน ร้อยละ 38.14 ของประชากร
แต่ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ !!!! จำนวนเกษตรกรจะลดลง เพราะประเทศไทยกำลังเข้าสู่ Aging สังคมสูงวัย ซึ่งเกษตรกรไทยจะเป็นผู้สูงอายุ ในขณะที่คนรุ่นใหม่ ไม่มาเป็นเกษตรกร เพราะ ประสิทธิภาพและรายได้ของเกษตรกรต่ำ
- ประเทศไทยต้นทุนสูง กำไรต่ำจริงหรือ?? แล้วจะแข่งได้มั้ย ??
คำตอบ ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า จำนวนเกษตรกรที่เพาะปลูกข้าวในประเทศไทยปัจจุบันนี้มีมากถึง 3.7 ล้านครัวเรือน ชาวนามีการปลูกข้าวทั้งหมด 80.67 ล้านไร่ มีการปลูกข้าวเฉลี่ยครัวเรือนละ 15.47 ไร่ โดยชาวนาปลูกข้าวในขนาดพื้นที่ 10-20 ไร่ มากที่สุด จำนวน 1,162,057 ครัวเรือน มีเพียง 8,700 ครัวเรือนที่ปลูกเกิน 100 ไร่ นั่นหมายถึง ต้นทุนเราสูงกว่ามาก
- แล้วพืชอื่นๆ นอกจากข้าวล่ะ ???
คำตอบ ขณะที่พืชเศรษฐกิจอื่นๆ มีอัตราการเพาะปลูกที่น้อยมาก อาทิ ยางพารามีเพียง 1.6 ล้านครัวเรือน มันสำปะหลัง 0.5 ล้านครัวเรือน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 0.4 ล้านครัวเรือน
- รายได้จากเกษตรเป็นไงบ้าง ?
คำตอบ ในทางตรงข้าม รายได้กลับสวนทางโดยสิ้นเชิง
• โดยเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันกลับมีรายได้สุทธิสูงที่สุดถึง 5,768 บาท/ไร่/ปี
• เกษตรกรปลูกอ้อยโรงงานมีรายได้สุทธิ 5,708 บาท/ไร่/ปี
• เกษตรกรปลูกยางพารามีรายได้สุทธิ 5,128 บาท/ไร่/ปี
• ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เกษตรกรมีรายได้สุทธิ 1,961 บาท/ไร่/ปี
• มันสำปะหลังทำรายได้สุทธิ 1,045 บาท/ไร่/ปี
*** ในขณะที่รายได้สุทธิจากการปลูกข้าวที่ชาวนาไทยได้รับเพียง 271 บาท/ไร่/ปี ทำให้ชาวนาใน 56 จังหวัดที่เพาะปลูกข้าว หรือ 75% ของพื้นที่เพาะปลูกข้าว มีรายได้ต่อปีต่ำกว่าเส้นความยากจนของประเทศที่ 29,064 บาท/ปี มีเพียงชาวนาใน 21 จังหวัดหรือประมาณ 25% ที่มีรายได้ต่อปีมากกว่าเส้นความยากจน ***
- ชาวนาเป็นสันหลังของชาติ ต้องให้คนรุ่นใหม่มาทำนา ?
คำตอบ ชอบหรือไม่ก็ตาม เรากำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ อีก 10 ปี ชาวนาไทยจะแก่ ทำนากันไม่ไหว และคนรุ่นใหม่จะไม่ทำนา ทำให้เกษตรกรไทยลดลง เหลือไม่ถึง 10% ของประชากร และคนที่ทำเกษตร 70% เช่าที่ทำนา
- งั้นชาวนาแข่งไม่ได้ ก็ปลูกเอง กินเอง ก็ได้ ใช่มั้ย ??
คำตอบ มันก็จริง แต่สุดท้าย ปลูกเอง กินเอง จะแพงกว่าเกษตรอุตสาหกรรม และปัญหาคือ ถ้าเป็นที่ดินตัวเองก็โอเค แต่ร้อยละ 80ของชาวนาไทยเป็นหนี้ หลายแสนบาทต่อคน ถ้าปลูกกินเอง จะไม่พอใช้หนี้
- เป็นเพราะนายทุน ทำให้เกษตรกรลดลงหรือไม่ ?
คำตอบ นายทุนใหญ่ยังแข่งยาก ประเทศไทยเป็นเกษตรแปลงเล็ก รายใหญ่ก็ลำบาก ทุกประเทศทำ Contract Farming ให้มีประสิทธิภาพเพิ่ม แต่คนไทยก็ไม่ชอบ จะทำแบบสหกรณ์ ประเทศไทยก็ทำไม่สำเร็จ ทำให้ไทยยังคุมต้นทุนไม่ได้ นายทุนใหญ่ก็ขยับตัวลำบาก สุดท้ายโดนบีบให้ไปลงทุนด้านเกษตรเพิ่มในต่างประเทศแทน
งั้นควรทำยังไง ??
ทางออก 1 : สามัคคีกัน เลิกโทษกัน มาทำเกษตรแปลงใหญ่ เอาเทคโนโลยีเข้ามา ความรู้เข้ามา สู้กับกลไกตลาดโลกด้วยขาตนเอง
ทางออก 2 : ปลดหนี้ให้ได้ก่อน ไม่สร้างหนี้เพิ่ม ปลูกเองกินเอง รัฐบาลห้ามนำเข้าสินค้าเกษตรจากต่างประเทศ และเลิกส่งออก เพราะราคาสู้ไม่ได้
ทางออก 3 : ปลูกพืชตามกลไกตลาด ชุมชนต้องเข้มแข็ง ลดการปลูกข้าว พัฒนาผลิตภัณฑ์ เอาเทคโนโลยีเข้ามา ทำแปลงเล็กแต่เพิ่มคุณภาพให้สูง
การที่ชาวนาไทยจนลง จนอยู่ไม่ได้นั้น มันจะเกิดขึ้น..แน่นอน และจำนวนชาวนาจะลดลง ...แน่นอน!!!
ไม่ว่าคนไทยจะรับได้หรือไม่ก็ตาม แต่ที่สำคัญ ไม่ใช่เพราะใคร แต่เป็นสิ่งที่ชาวนา ต้องหยุดคิด เพราะโลกใบนี้เราไม่ควรหนีจากการแข่งขันในกลไกตลาด ยอมรับมันและพัฒนา เพราะสุดท้ายขนาดปลูกพืชกินเอง นอกจากไม่พอใช้หนี้แล้ว ในอีก 10 ปีข้างหน้า อาจแพงกว่าการซื้อกิน....
#อย่าหยุดหาความรู้ พัฒนาตัวเองทุกวัน ใช้เทคโนโลยี และที่สำคัญ ต้องเข้าใจกลไกตลาด หากทำได้ก็จะรอด ...