ในขณะที่รายได้จากการส่งออกของปี 2557 มีแนวโน้มว่าจะ
"ติดลบ" เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
รายได้จากการท่องเที่ยวก็ลดลงตามไปด้วย จากปัญหาความไม่สงบทางการเมือง การประกาศ
กฎอัยการศึก และคดีครึกโครมที่สะท้านความรู้สึกของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
ปริมาณการลงทุนของภาคเอกชนก็อยู่ในระดับ
"ทรงๆ" เพราะความไม่แน่นอนทางการเมือง
เครื่องมือที่จะสามารถ
"กระตุ้นเศรษฐกิจ" ของรัฐบาลก็เหลือแต่ การใช้จ่ายภาครัฐ และการบริโภค
ในภาคประชาชน
มาตรการด้านเศรษฐกิจที่ออกมาทั้งหมด ไม่พ้นไปจากสองแนวทางนี้
กระนั้นก็ไม่ง่าย และไม่รับประกันว่าจะประสบความสำเร็จ
โดยเฉพาะมาตรการที่ถูกจับตามากที่สุดอย่างการแจกเงินอุดหนุนให้กับชาวนาในอัตราไร่ละ 1,000 บาท
ว่าจะไปถูกที่ถูกคนหรือไม่
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมร่วมระหว่าง
คณะรัฐมนตรี (ครม.)และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า
พล.อ.ประยุทธ์แสดงความเป็นห่วง
และสอบถามเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือชาวนาผู้มีรายได้น้อยโดยการจ่ายเงินให้กับชาวนาไร่ละ 1,000 บาท
รายละไม่เกิน 15 ไร่ เนื่องจากมีกระแสข่าวว่า เงินอาจไม่ถึงมือชาวนาและมีเจ้าของที่ดินมาสวมสิทธิ
โดยสั่งการว่าให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวางแผนในเรื่องนี้ให้ชัดเจน
ก่อนที่จะถึงวันที่เริ่มจ่ายเงินให้กับชาวนาในวันที่ 20 ต.ค.นี้
ขานรับกันเกรียวกราวจากฝ่ายปฏิบัติ
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
กล่าวว่า ธ.ก.ส.จะโอนเงินเข้าบัญชีของเกษตรกรโดยตรงตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค.เป็นต้นไป
และเตรียมทีมพนักงานสุ่มตรวจสอบการเพาะปลูกข้าวเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเงิน
ถึงมือเกษตรกรจริง
เจ้าหน้าที่สาขาจะเร่งชี้แจงให้เกษตรกรทราบขั้นตอนการดำเนินงาน เช่น การแจ้งขอขึ้นทะเบียน
ผู้ปลูกข้าวกับเกษตรอำเภอในพื้นที่ เพื่อตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นผู้ออกใบรับรองให้
เกษตรกร จากนั้นจึงไปแจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการที่ ธ.ก.ส. โดยแนบสำเนาใบรับรอง
เกษตรกร สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝาก สำเนาบัตรประชาชน
"คาดว่าจะมีชาวนาได้รับประโยชน์จำนวน 3.49 ล้านครัวเรือน คิดเป็นพื้นที่ปลูกข้าวนาปี
ประมาณ 63.8 ล้านไร่ และวงเงินชดเชยประมาณ 40,000 ล้านบาท นอกจากนี้อยู่ระหว่าง
ลดดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อการผลิตแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี รายละไม่เกิน 50,000 บาท"
นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า มีชาวนาขึ้นทะเบียนกับกรมแล้ว
ประมาณ 90% ของจำนวนชาวนาทั้งหมดทั่วประเทศ โดยออกใบรับรองพร้อมรับเงินจาก
ธ.ก.ส.แล้วประมาณ 700,000 ครัวเรือน
"สำหรับชาวนาที่เช่าที่ทำนาประมาณ 150,000 ครัวเรือน ส่วนใหญ่น่าสงสารเพราะถูกเจ้าของที่ดิน
ลักไก่ แจ้งสวมสิทธิรับเงินเอง โดยเฉพาะเจ้าของที่นาในสุพรรณบุรี และพระนครศรีอยุธยา แยกเป็น
การเช่าแบบมีสัญญา แต่ไม่มีโฉนดที่ดินแสดงสิทธิประมาณ 46,000 ครัวเรือน อีกประมาณ 103,000
ครัวเรือน เป็นการเช่าที่ดินปากเปล่า
"ยืนยันว่าการขึ้นทะเบียนชาวนาจะไม่มั่วข้อมูลอย่างแน่นอน เพราะเป็นการขึ้นทะเบียนเกษตรกรตาม
ปกติ ภายใต้กรอบฐานข้อมูลที่กรมวิชาการเกษตรมีอยู่ในมือแล้ว
"การขึ้นทะเบียนชาวนาล่าสุดเมื่อวันที่ 5 ต.ค. ที่ผ่านมามี 2.9 ล้านครัวเรือน ซึ่งกรมออกใบรับรอง
พร้อมที่จะไปรับเงินจาก ธ.ก.ส."
เฉพาะข้าวอย่างเดียวยังยุ่งเหยิงปานนี้
และเมื่ออุดหนุนชาวนาผู้ปลูกข้าวได้ เกษตรกรผู้เพาะปลูกพืชชนิดอื่นที่ราคาตกต่ำตามแนวโน้มตลาดโลก
ก็เริ่มทยอยออกมายื่นข้อเรียกร้องในแบบเดียวกัน
นำหน้าด้วยกลุ่มยางพาราซึ่งขอให้รัฐตั้งราคารับซื้อที่ 80 บาท/กก. จากในปัจจุบันอยู่ที่ 52 บาท/กก.
โดยคาดว่า ในช่วงไตรมาส 4/2557 จะมีผลผลิตยางพาราออกสู่ตลาดประมาณ 1 ล้านตัน
โดยรัฐบาลจะต้องใช้เงินอุดหนุนให้กับชาวสวนยางประมาณ 28,000 ล้านบาท
พร้อมไหม จะเดินหน้าต่ออีกไหม
.........
(ที่มา:มติชนรายวัน 9 ตุลาคม 2557)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1412823093
อุดหนุน ชาวนา ชาวอื่น ถามหา เงินผัน รัฐบาล ...... มติชนออนไลน์
รายได้จากการท่องเที่ยวก็ลดลงตามไปด้วย จากปัญหาความไม่สงบทางการเมือง การประกาศ
กฎอัยการศึก และคดีครึกโครมที่สะท้านความรู้สึกของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
ปริมาณการลงทุนของภาคเอกชนก็อยู่ในระดับ "ทรงๆ" เพราะความไม่แน่นอนทางการเมือง
เครื่องมือที่จะสามารถ "กระตุ้นเศรษฐกิจ" ของรัฐบาลก็เหลือแต่ การใช้จ่ายภาครัฐ และการบริโภค
ในภาคประชาชน
มาตรการด้านเศรษฐกิจที่ออกมาทั้งหมด ไม่พ้นไปจากสองแนวทางนี้
กระนั้นก็ไม่ง่าย และไม่รับประกันว่าจะประสบความสำเร็จ
โดยเฉพาะมาตรการที่ถูกจับตามากที่สุดอย่างการแจกเงินอุดหนุนให้กับชาวนาในอัตราไร่ละ 1,000 บาท
ว่าจะไปถูกที่ถูกคนหรือไม่
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมร่วมระหว่าง
คณะรัฐมนตรี (ครม.)และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า พล.อ.ประยุทธ์แสดงความเป็นห่วง
และสอบถามเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือชาวนาผู้มีรายได้น้อยโดยการจ่ายเงินให้กับชาวนาไร่ละ 1,000 บาท
รายละไม่เกิน 15 ไร่ เนื่องจากมีกระแสข่าวว่า เงินอาจไม่ถึงมือชาวนาและมีเจ้าของที่ดินมาสวมสิทธิ
โดยสั่งการว่าให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวางแผนในเรื่องนี้ให้ชัดเจน
ก่อนที่จะถึงวันที่เริ่มจ่ายเงินให้กับชาวนาในวันที่ 20 ต.ค.นี้
ขานรับกันเกรียวกราวจากฝ่ายปฏิบัติ
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
กล่าวว่า ธ.ก.ส.จะโอนเงินเข้าบัญชีของเกษตรกรโดยตรงตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค.เป็นต้นไป
และเตรียมทีมพนักงานสุ่มตรวจสอบการเพาะปลูกข้าวเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเงิน
ถึงมือเกษตรกรจริง
เจ้าหน้าที่สาขาจะเร่งชี้แจงให้เกษตรกรทราบขั้นตอนการดำเนินงาน เช่น การแจ้งขอขึ้นทะเบียน
ผู้ปลูกข้าวกับเกษตรอำเภอในพื้นที่ เพื่อตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นผู้ออกใบรับรองให้
เกษตรกร จากนั้นจึงไปแจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการที่ ธ.ก.ส. โดยแนบสำเนาใบรับรอง
เกษตรกร สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝาก สำเนาบัตรประชาชน
"คาดว่าจะมีชาวนาได้รับประโยชน์จำนวน 3.49 ล้านครัวเรือน คิดเป็นพื้นที่ปลูกข้าวนาปี
ประมาณ 63.8 ล้านไร่ และวงเงินชดเชยประมาณ 40,000 ล้านบาท นอกจากนี้อยู่ระหว่าง
ลดดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อการผลิตแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี รายละไม่เกิน 50,000 บาท"
นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า มีชาวนาขึ้นทะเบียนกับกรมแล้ว
ประมาณ 90% ของจำนวนชาวนาทั้งหมดทั่วประเทศ โดยออกใบรับรองพร้อมรับเงินจาก
ธ.ก.ส.แล้วประมาณ 700,000 ครัวเรือน
"สำหรับชาวนาที่เช่าที่ทำนาประมาณ 150,000 ครัวเรือน ส่วนใหญ่น่าสงสารเพราะถูกเจ้าของที่ดิน
ลักไก่ แจ้งสวมสิทธิรับเงินเอง โดยเฉพาะเจ้าของที่นาในสุพรรณบุรี และพระนครศรีอยุธยา แยกเป็น
การเช่าแบบมีสัญญา แต่ไม่มีโฉนดที่ดินแสดงสิทธิประมาณ 46,000 ครัวเรือน อีกประมาณ 103,000
ครัวเรือน เป็นการเช่าที่ดินปากเปล่า
"ยืนยันว่าการขึ้นทะเบียนชาวนาจะไม่มั่วข้อมูลอย่างแน่นอน เพราะเป็นการขึ้นทะเบียนเกษตรกรตาม
ปกติ ภายใต้กรอบฐานข้อมูลที่กรมวิชาการเกษตรมีอยู่ในมือแล้ว
"การขึ้นทะเบียนชาวนาล่าสุดเมื่อวันที่ 5 ต.ค. ที่ผ่านมามี 2.9 ล้านครัวเรือน ซึ่งกรมออกใบรับรอง
พร้อมที่จะไปรับเงินจาก ธ.ก.ส."
เฉพาะข้าวอย่างเดียวยังยุ่งเหยิงปานนี้
และเมื่ออุดหนุนชาวนาผู้ปลูกข้าวได้ เกษตรกรผู้เพาะปลูกพืชชนิดอื่นที่ราคาตกต่ำตามแนวโน้มตลาดโลก
ก็เริ่มทยอยออกมายื่นข้อเรียกร้องในแบบเดียวกัน
นำหน้าด้วยกลุ่มยางพาราซึ่งขอให้รัฐตั้งราคารับซื้อที่ 80 บาท/กก. จากในปัจจุบันอยู่ที่ 52 บาท/กก.
โดยคาดว่า ในช่วงไตรมาส 4/2557 จะมีผลผลิตยางพาราออกสู่ตลาดประมาณ 1 ล้านตัน
โดยรัฐบาลจะต้องใช้เงินอุดหนุนให้กับชาวสวนยางประมาณ 28,000 ล้านบาท
พร้อมไหม จะเดินหน้าต่ออีกไหม
.........
(ที่มา:มติชนรายวัน 9 ตุลาคม 2557)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1412823093