เดิมชื่อวัดโบสถ์มโนรมย์ สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ตั้งอยู่ บนเกาะเทโพ ริมแม่น้ำสะแกกรังฝั่งตะวันออก ตรงข้ามกับตลาดสดเทศบาลเมืองอุทัยธานี
มีสะพานข้ามแม่น้ำสะแกกรัง จากตลาดสดเทศบาลไปยังวัดอุโปสถาราม
วิหาร ตั้งคู่กับอุโบสถ ด้านหลังมีเจดีย์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันที่ยกสูงขึ้น
หอประชุมอุทัยพุทธสภา เป็นศาลาทรงไทย ใช้เป็นหอสวดมนต์
หน้าบันประดับลวดลายปูนปั้น
วิหาร
ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือ
หน้าบันรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
หน้าบันปีกนก ด้านซ้ายเป็นยักษ์ชื่อสุริยาภพ กายสีแดงฉานดังแสงอาทิตย์
ด้านขวาเป็นยักษ์ชื่ออินทรชิต กายสีเขียว มีฤทธิ์มากรบชนะพระอินทร์จึงเปลี่ยนชื่อเป็นอินทรชิต แปลว่าผู้ชนะพระอินทร์
จิตรกรรมฝาผนังด้านนอก ภาพงานถวายพระเพลิงและวิถีชีวิตชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา
ชาวบ้านทำอาหาร พระกลับจากงานบุญ ชาวบ้านฟังเทศน์
งานถวายพระเพลิง มีปี่พาทย์มอญบรรเลง
ภาพคล้ายเป็นมณฑปแปดเหลี่ยมด้านหลังวิหาร
การเดินทางด้วยเกวียน ช้าง เรือ
ชาวบ้าน ร้าน ตลาด สะพานข้ามไปยังวัด
มี คนต่างชาติ แต่งตัวสวย ถือร่ม มีคนจีนไว้เปีย มีควาย
ภาพบนตำข้าวใต้ถุนบ้าน ภาพล่างหาบคอนสิ่งของ ไปขายตลาดมั้ง
ภายในวิหาร
พระประธานภายในพระวิหารเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ
พระพุทธรูปองค์อื่นใส่จีวรลายดอก ซึ่งนิยมในสมัยรัตนโกสินทร์
พระพุทธบาทจำลอง
จิตรกรรมฝาผนัง
ตรงข้ามพระประธานเป็นรูปพระมาลัย ไปสัการะพระจุฬามณีบนสวรรค์ และน่าจะแสดงธรรมด้วยเพราะเหล่าเทพพนมมือรับฟัง
พระมาลัย คือ พระอรหันตสาวกในพระพุทธศาสนาในคัมภีร์พระมาลัยสูตร
เป็นพระอรหันต์ชาวลังกาชื่อ พระมาลัยเทวเถระ อยู่บ้านกัมโพช แคว้นโลหะชนบท
เป็นพระอรหันต์มีฤทธิ์ สามารถไปยังนรกและสวรรค์ และนำสิ่งที่พบมาเทศนาแก่มนุษย์ เพื่อให้เชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ
เป็นรูปพระภิกษุ ครองจีวรห่มเฉียง มือซ้ายถือตาลปัตรหรือพัด ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการแสดงธรรม
ชายตัดฟืน ถวายดอกบัวแก่พระมาลัยเถระพระมาลัย
จึงนำไปบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์
พระสงฆ์ด้านบนของผนัง เป็นพระอสีติมหาสาวก คือ พระมหาสาวกแปดสิบรูปผู้ยิ่งใหญ่ - นับดูจะพบว่ามีพระสงฆ์ 80 รูป
พัดยศที่คั่นระหว่างมหาสาวก
ชั้นบนเป็นพัดยศทรงดอกพุดตาน และ ทรงเปลวเพลิง
ชั้นล่างเป็นพัดยศทรงหน้านาง
เขียนบนพื้นสีม่วงมีดอกไม้ร่วง
พระอสุภกรรมฐาน 10
อสุภแปลว่าไม่งาม ไม่ดี เป็นกรรมฐานที่มุ่งให้มองสิ่งต่างๆ ไปตามสภาพความเป็นจริง ตัดอวิชชาและมิจฉาทิฏฐิ
โดยมองซากศพในสภาพต่าง กำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน 10 อย่างคือ
อุทธุมาตกะ ซากศพทีพองขึ้นอืด - รูปร่าง
วินีลกะ ซากศพที่เขียวคล้ำ มีสีแดง เขียว ขาว ปะปนกันไป - ผิวพรรณ
วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลือง น้ำหนองไหลเยิ้ม - เครื่องหอมก็ต้านไม่ได้
วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว - ภายในมีแต่สิ่งโสโครก
วิกขายิตกะ ซากศพที่ถูกสัตว์กัดกิน เว้าแหว่ง สำหรับมีความกำหนัดยินดีในกล้ามเนื้อ - สำคัญแค่สัตว์กัดกิน
วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาดหายไป กำหนัดยินดีในลีลา อิริยาบถ - ในที่สุดก็ขาดออกเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย
หตวิกขิตตกะ ซากศพที่ถูกบั่นเป็นท่อนๆ มีความกำหนัดยินดีในข้อต่อครบ 32
โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารมีเลือดไหลนอง กำหนัดยินดีในร่างกายที่ตกแต่งด้วยเครื่องประดับ ตายแล้วสิ่งโสโครกก็ออกมาประดับ
ปุฬุวกะ ซากศพที่เน่าเฟะคลาคล่ำด้วยตัวหนอน - ถ้าร่างกายนี้เป็นของเราจริง เจ้าของร่างคงไม่ปล่อยให้หนอนกัดกินเป็นอาหารได้
อัฏฐิกะ ซากศพที่เหลือแต่โครงกระดูก - กระดูกและฟันนี้ต้องหลุดถอนเป็นธรรมดา
อุโบสถ
หน้าบันรูปพระพุทธรูปปางสมาธิ ในซุ้มหน้ากาล
เสมา
ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย 5 องค์ (ถ้าเป็นแถวสวรรคโลกต้องบอกว่าพระพุทธรูปห้าพี่น้อง)
มีจิตรกรรมฝาผนัง เป็นฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ด้านหลังพระประธาน พระพุทธประวัติตอนมารผจญ
ขวามือของพระประธานมารเข้า - พญามารยกทัพไพร่พลเพื่อขัดขวางการบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้า
แม่พระธรณีบีบน้ำจากมวยผม ยักษ์ มารตกน้ำป๋อมแป๋ม
ซ้ายมือของพระประธานมารออก - พญามารถือดอกบัวพนมมือสักการะพระพุทธเจ้า
ตรงข้ามพระประธาน
ภาพบนเป็นรูปตอนเสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ และภาพเสด็จปรินิพพาน
ภาพล่าง พระพุทธเจ้าและพระสาวกเสด็จฉันอาหารที่?
ผนังด้านข้าง ด้านบน เทพชุมนุม
ด้านล่างพระพุทธประวัติ
เจดีย์
ทิศเหนือ เป็นเจดีย์แปดเหลี่ยม - อิทธิพลอยุธยา
ฐานเขียงแปดเหลี่ยมซ้อนสามชั้น
ฐานปัทม์แปดเหลี่ยม 3 ชั้น มีท้องไม้แคบ ๆ ลูกแก้วอกไก่ 2 เส้น
รับองค์ระฆังแปดเหลี่ยม บัลลังก์แปดเหลี่ยม
ก้านฉัตร บัวฝาละมี ปล้องไฉน บัวรองปลี - กลม
ปลีต้น บัวลูกแก้ว ปลียอด เม็ดน้ำค้าง
เจดีย์องค์กลางเป็นเจดีย์เหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสอง
ฐานเขียงสี่เหลี่ยม ฐานสิงห์ 3 ชั้นยกเก็ด ชั้นที่สองยืดสูงขึ้นเป็นเรือนธาตุ มีซุ้มพระเจ้าสี่ด้าน หลังคาซุ้มประดับสถูป
บัวกลุ่ม บัวเชิงบาตร รับองค์ระฆังบัวเหลี่ยม
บัลลังก์ บัวถลา บัวกลุ่มเถา
ปลีต้น บัวลูกแก้ว ปลียอด เม็ดน้ำค้าง
องค์ทิศใต้เป็นเจดีย์ระฆังกลม
ฐานเขียง ฐานปัทม์ บัวปากระฆัง รับองค์ระฆังกลม มีลวดรัด
บัลลังก์ ก้านฉัตร มีเสาหาน บัวฝาละมี
ส่วนยอดผสมผสาน มีทั้งปล้องไฉน และบัวกลุ่มเถา
ปลีต้น บัวลูกแก้ว ปลียอด เม็ดน้ำค้าง
มณฑปแปดเหลี่ยม
สร้างโดยหลวงพิทักษ์ภาษา (บุญเรือน พิทักษ์อรรณพ)
เพื่อถวายพระสุนทรมุนี (จัน) หรือ พระครูอุไททิศธรรมเจ้าอาวาสวัดอุโปสถารามในขณะนั้นเพื่อให้ท่านจำพรรษา
แล้วเสร็จ พ.ศ. 2442 ซึ่งพระครูอุไททิศธรรมได้มรณภาพลงเสียก่อน
มณฑปแห่งนี้จึงถูกใช้เป็นที่ทำศพ บรรจุอัฐิธาตุพร้อมข้าวของเครื่องใช้ของท่านแทน
ด้านนอกอาคารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางถวายเนตร ประดับลายปูนปั้นพรรณพฤกษาและสัตว์
รูปนี้ พ.ศ. 2562
รูปนี้ พ.ศ. 2553
ปิดท้ายด้วย ชาวแพสองฝั้งแม่น้ำสะแกกรัง
อุโปสถาราม วัดงามเมืองอุทัยธานี
มีสะพานข้ามแม่น้ำสะแกกรัง จากตลาดสดเทศบาลไปยังวัดอุโปสถาราม
วิหาร ตั้งคู่กับอุโบสถ ด้านหลังมีเจดีย์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันที่ยกสูงขึ้น
หอประชุมอุทัยพุทธสภา เป็นศาลาทรงไทย ใช้เป็นหอสวดมนต์
หน้าบันประดับลวดลายปูนปั้น
วิหาร
ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือ
หน้าบันรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
หน้าบันปีกนก ด้านซ้ายเป็นยักษ์ชื่อสุริยาภพ กายสีแดงฉานดังแสงอาทิตย์
ด้านขวาเป็นยักษ์ชื่ออินทรชิต กายสีเขียว มีฤทธิ์มากรบชนะพระอินทร์จึงเปลี่ยนชื่อเป็นอินทรชิต แปลว่าผู้ชนะพระอินทร์
จิตรกรรมฝาผนังด้านนอก ภาพงานถวายพระเพลิงและวิถีชีวิตชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา
ชาวบ้านทำอาหาร พระกลับจากงานบุญ ชาวบ้านฟังเทศน์
งานถวายพระเพลิง มีปี่พาทย์มอญบรรเลง
ภาพคล้ายเป็นมณฑปแปดเหลี่ยมด้านหลังวิหาร
การเดินทางด้วยเกวียน ช้าง เรือ
ชาวบ้าน ร้าน ตลาด สะพานข้ามไปยังวัด
มี คนต่างชาติ แต่งตัวสวย ถือร่ม มีคนจีนไว้เปีย มีควาย
ภาพบนตำข้าวใต้ถุนบ้าน ภาพล่างหาบคอนสิ่งของ ไปขายตลาดมั้ง
ภายในวิหาร
พระประธานภายในพระวิหารเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ
พระพุทธรูปองค์อื่นใส่จีวรลายดอก ซึ่งนิยมในสมัยรัตนโกสินทร์
พระพุทธบาทจำลอง
จิตรกรรมฝาผนัง
ตรงข้ามพระประธานเป็นรูปพระมาลัย ไปสัการะพระจุฬามณีบนสวรรค์ และน่าจะแสดงธรรมด้วยเพราะเหล่าเทพพนมมือรับฟัง
พระมาลัย คือ พระอรหันตสาวกในพระพุทธศาสนาในคัมภีร์พระมาลัยสูตร
เป็นพระอรหันต์ชาวลังกาชื่อ พระมาลัยเทวเถระ อยู่บ้านกัมโพช แคว้นโลหะชนบท
เป็นพระอรหันต์มีฤทธิ์ สามารถไปยังนรกและสวรรค์ และนำสิ่งที่พบมาเทศนาแก่มนุษย์ เพื่อให้เชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษ
เป็นรูปพระภิกษุ ครองจีวรห่มเฉียง มือซ้ายถือตาลปัตรหรือพัด ซึ่งเป็นเครื่องหมายของการแสดงธรรม
ชายตัดฟืน ถวายดอกบัวแก่พระมาลัยเถระพระมาลัย
จึงนำไปบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์
พระสงฆ์ด้านบนของผนัง เป็นพระอสีติมหาสาวก คือ พระมหาสาวกแปดสิบรูปผู้ยิ่งใหญ่ - นับดูจะพบว่ามีพระสงฆ์ 80 รูป
พัดยศที่คั่นระหว่างมหาสาวก
ชั้นบนเป็นพัดยศทรงดอกพุดตาน และ ทรงเปลวเพลิง
ชั้นล่างเป็นพัดยศทรงหน้านาง
เขียนบนพื้นสีม่วงมีดอกไม้ร่วง
พระอสุภกรรมฐาน 10
อสุภแปลว่าไม่งาม ไม่ดี เป็นกรรมฐานที่มุ่งให้มองสิ่งต่างๆ ไปตามสภาพความเป็นจริง ตัดอวิชชาและมิจฉาทิฏฐิ
โดยมองซากศพในสภาพต่าง กำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน 10 อย่างคือ
อุทธุมาตกะ ซากศพทีพองขึ้นอืด - รูปร่าง
วินีลกะ ซากศพที่เขียวคล้ำ มีสีแดง เขียว ขาว ปะปนกันไป - ผิวพรรณ
วิปุพพกะ ซากศพที่มีน้ำเหลือง น้ำหนองไหลเยิ้ม - เครื่องหอมก็ต้านไม่ได้
วิจฉิททกะ ซากศพที่ขาดกลางตัว - ภายในมีแต่สิ่งโสโครก
วิกขายิตกะ ซากศพที่ถูกสัตว์กัดกิน เว้าแหว่ง สำหรับมีความกำหนัดยินดีในกล้ามเนื้อ - สำคัญแค่สัตว์กัดกิน
วิกขิตตกะ ซากศพที่มีมือ เท้า ศีรษะขาดหายไป กำหนัดยินดีในลีลา อิริยาบถ - ในที่สุดก็ขาดออกเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย
หตวิกขิตตกะ ซากศพที่ถูกบั่นเป็นท่อนๆ มีความกำหนัดยินดีในข้อต่อครบ 32
โลหิตกะ ซากศพที่ถูกประหารมีเลือดไหลนอง กำหนัดยินดีในร่างกายที่ตกแต่งด้วยเครื่องประดับ ตายแล้วสิ่งโสโครกก็ออกมาประดับ
ปุฬุวกะ ซากศพที่เน่าเฟะคลาคล่ำด้วยตัวหนอน - ถ้าร่างกายนี้เป็นของเราจริง เจ้าของร่างคงไม่ปล่อยให้หนอนกัดกินเป็นอาหารได้
อัฏฐิกะ ซากศพที่เหลือแต่โครงกระดูก - กระดูกและฟันนี้ต้องหลุดถอนเป็นธรรมดา
อุโบสถ
หน้าบันรูปพระพุทธรูปปางสมาธิ ในซุ้มหน้ากาล
เสมา
ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย 5 องค์ (ถ้าเป็นแถวสวรรคโลกต้องบอกว่าพระพุทธรูปห้าพี่น้อง)
มีจิตรกรรมฝาผนัง เป็นฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ด้านหลังพระประธาน พระพุทธประวัติตอนมารผจญ
ขวามือของพระประธานมารเข้า - พญามารยกทัพไพร่พลเพื่อขัดขวางการบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้า
แม่พระธรณีบีบน้ำจากมวยผม ยักษ์ มารตกน้ำป๋อมแป๋ม
ซ้ายมือของพระประธานมารออก - พญามารถือดอกบัวพนมมือสักการะพระพุทธเจ้า
ตรงข้ามพระประธาน
ภาพบนเป็นรูปตอนเสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ และภาพเสด็จปรินิพพาน
ภาพล่าง พระพุทธเจ้าและพระสาวกเสด็จฉันอาหารที่?
ด้านล่างพระพุทธประวัติ
เจดีย์
ทิศเหนือ เป็นเจดีย์แปดเหลี่ยม - อิทธิพลอยุธยา
ฐานเขียงแปดเหลี่ยมซ้อนสามชั้น
ฐานปัทม์แปดเหลี่ยม 3 ชั้น มีท้องไม้แคบ ๆ ลูกแก้วอกไก่ 2 เส้น
รับองค์ระฆังแปดเหลี่ยม บัลลังก์แปดเหลี่ยม
ก้านฉัตร บัวฝาละมี ปล้องไฉน บัวรองปลี - กลม
ปลีต้น บัวลูกแก้ว ปลียอด เม็ดน้ำค้าง
เจดีย์องค์กลางเป็นเจดีย์เหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสอง
ฐานเขียงสี่เหลี่ยม ฐานสิงห์ 3 ชั้นยกเก็ด ชั้นที่สองยืดสูงขึ้นเป็นเรือนธาตุ มีซุ้มพระเจ้าสี่ด้าน หลังคาซุ้มประดับสถูป
บัวกลุ่ม บัวเชิงบาตร รับองค์ระฆังบัวเหลี่ยม
บัลลังก์ บัวถลา บัวกลุ่มเถา
ปลีต้น บัวลูกแก้ว ปลียอด เม็ดน้ำค้าง
องค์ทิศใต้เป็นเจดีย์ระฆังกลม
ฐานเขียง ฐานปัทม์ บัวปากระฆัง รับองค์ระฆังกลม มีลวดรัด
บัลลังก์ ก้านฉัตร มีเสาหาน บัวฝาละมี
ส่วนยอดผสมผสาน มีทั้งปล้องไฉน และบัวกลุ่มเถา
ปลีต้น บัวลูกแก้ว ปลียอด เม็ดน้ำค้าง
มณฑปแปดเหลี่ยม
สร้างโดยหลวงพิทักษ์ภาษา (บุญเรือน พิทักษ์อรรณพ)
เพื่อถวายพระสุนทรมุนี (จัน) หรือ พระครูอุไททิศธรรมเจ้าอาวาสวัดอุโปสถารามในขณะนั้นเพื่อให้ท่านจำพรรษา
แล้วเสร็จ พ.ศ. 2442 ซึ่งพระครูอุไททิศธรรมได้มรณภาพลงเสียก่อน
มณฑปแห่งนี้จึงถูกใช้เป็นที่ทำศพ บรรจุอัฐิธาตุพร้อมข้าวของเครื่องใช้ของท่านแทน
ด้านนอกอาคารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางถวายเนตร ประดับลายปูนปั้นพรรณพฤกษาและสัตว์
รูปนี้ พ.ศ. 2562