JJNY : ‘ก้าวไกล’อภิปรายเข้มข้นแน่│“ณัฐชา”นำชาวประมงร้อง“ธรรมนัส”│หอการค้าเตรียมบุกก.แรงงาน│ฝรั่งเศส-อียูกดดัน‘สีจิ้นผิง’

‘วิปฝ่ายค้าน’ รอรัฐบาล ประสานจัดสรรเวลา ชำแหละงบฯ68 ‘ก้าวไกล’ อภิปรายเข้มข้นแน่
https://www.matichon.co.th/politics/news_4563412
 
 
“วิปฝ่ายค้าน”รอรัฐบาลประสานจัดสรรเวลาชำแหละ งบฯ68 ชี้ครั้งนี้รบ.ทำเอง100 % “ก้าวไกล”อภิปรายเข้มข้นแน่
 
เมื่อวันที่ 7 พ.ค.นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) เปิดเผยว่า ตนอยู่ระหว่างการประสานงานจากวิปรัฐบาล เพื่อนัดประชุมเตรียมความพร้อมเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ เบื้องต้นทราบว่าจะเปิดประชุมช่วงสัปดาห์ที่3 ของเดือนมิ.ย.และเป็นเรื่องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ​ พ.ศ.2568 ทั้งนี้การหารือกับวิปรัฐบาลเพื่อตกลงเวลาพิจารณางบฯ โดยเวลาที่เหมาะสมกับการพิจารณาวาระแรก คือ 3 วันเป็นปกติเหมือนกับที่เคยใช้กับการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบฯ ครั้งที่ผ่านมา
 
การจัดทำงบประมาณของรัฐบาลครั้งนี้ ถือว่าทำงบด้วยตนเอง 100% ดังนั้นการอภิปรายในเนื้อหาจะมีความเข้มข้นมากขึ้น เพราะมีสาระที่ต้องพิจารณา มีงบประมาณที่งอกเพิ่มมา เป็นต้น” นายปกรณ์วุฒิ กล่าว
 
ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวถึงการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประชามติ (แก้ไขเพิ่มเติม) ว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านได้ทำหน้าที่ยื่นร่างแก้ไขต่อสภาฯแล้ว ดังนั้นจึงรอการตอบสนองจากฝั่งรัฐบาล ว่าจะดำเนินการอย่างไร หากรัฐบาลต้องการมีกฎหมายประชามติเพื่อบังคับใช้กับการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ คิดว่าต้องพิจารณาในช่วงสมัยประชุมวิสามัญนี้
 
เมื่อถามว่ามองท่าทีของรัฐบาลอย่างไรต่อการเตรียมส่งร่างพ.ร.บ.ประชามติ ประกบฉบับของสส.ที่เสนอ นายปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า เป็นบทพิสูจน์ความจริงใจของรัฐบาล หลังจากที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) เสนอให้ดำเนินการประชามติแล้ว หากคิดว่ากฎหมายประชามติปัจจุบันเป็นอุปสรรค รัฐบาลก็ควรเร่งดำเนินการ\
 


“ณัฐชา” นำชาวประมงร้อง “ธรรมนัส” แก้ปัญหาปลาหมอคางดำ
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_713764/

“ณัฐชา”นำชาวประมง ร้อง “ธรรมนัส” แก้ปัญหาผลกระทบจากปลาหมอคางดำ ชี้ทำให้สัตว์น้ำทางเศรษฐกิจหลายประเภทอยู่ในความเสี่ยง
 
นายณัฐชา บุญชัยอินสวัสดิ์ สส.เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล เป็นตัวแทนชาวประมง 7 จังหวัดที่ได้รับผล กระทบจากการระบาดของปลาหมอคางดำ เข้าร้องเรียนต่อร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในระหว่างนำทีมงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามแนวทางแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ที่วิทยาลัยการอาชีพอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
 
นายณัฐชา กล่าวว่า ผลกระทบจากปลาหมอคางดำในขณะนี้ถือว่ารุนแรงมาก เพราะลงบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของพี่น้องประชาชนเมื่อไหร่ บ่อนั้นเจ๊งยกบ่อ ไม่ว่าจะเป็นปลา กุ้ง หอย หรืออื่นๆ ส่วนการแพร่กระจายก็รุนแรง ไม่ใช่เฉพาะในจังหวัดสมุทรสงครามเท่านั้น แต่ลามไปถึง 7 จังหวัด ร่วมถึง กรุงเทพมหานคร ด้วย และกำลังทำให้สัตว์น้ำทางเศรษฐกิจหลายประเภทอยู่ในความเสี่ยง เช่น ปลาสลิดบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ถ้าหลุดเข้ามาได้ก็คือหมด ทั้งนี้จากข้อมูลที่ได้รับมาล่าสุด พบการแพร่กระจายไกลออกไปกว่าเดิม ใต้สุดที่มีรายงานการพบปลาหมอคางดำใต้สุดคือ สุราษฎร์ธานี ภาคตะวันออกไปถึงจันทบุรี และเหนือสุดไปถึงนครสวรรค์
 
โดย เมื่อปี 2549 คณะกรรมการด้านความหลากหลายและความปลอดภัยทางชีวภาพของกรมประมง (IBC) มีมติอนุญาตให้บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) นำเข้าปลาหมอคางดำ จำนวน2,000ตัว จากสาธารณรัฐกานา ทวีปแอฟริกา เพื่อนำมาปรับปรุงสายพันธุ์ปลานิลแบบมีเงื่อนไข ซึ่งจุดเพาะเลี้ยงอยู่ห่างจากจุดที่รัฐมนตรีนำทีมมาคุยที่นี่ไม่เกิน 12 กิโลเมตร หากเดินทางรถ แต่ถ้าวัดเป็นรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร ขอนำเข้าเมื่อปี 49 นำเข้ามาจริงปี 53 ต่อมาแจ้งว่าวิจัยไม่สำเร็จ ทำลายปลาทั้งหมดไปแล้ว แต่ในปี 55 เริ่มพบปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติครั้งแรก
 
ในตำบลยี่สาร ซึ่งอยู่ใกล้แหล่งเพาะพันธุ์ของบริษัทเอกชนที่นำเข้ามาดังกล่าว แต่มีการอ้างว่าปลาที่เขานำเข้ามาทำลายไปหมดแล้ว ปลาที่กระจายในแหล่งน้ำมาจากการลักลอบนำเข้า โดยพยายามเบี่ยงเบน ไปใช้คำว่า ปลาหมอสีคางดำ เพื่อจะบอกว่ามีการเพาะพันธุ์เพื่อเป็นปลาสวยงามที่นำเข้าโดยเอกชนรายอื่น 
 
นายณัฐชา กล่าวต่อไปว่า หลังมีการแพร่กระจายสู่แหล่งน้ำธรรมชาติครั้งแรกสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างมากขึ้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน จึงนำมาสู่ข้อเรียกร้องไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ใน 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือต้องติดตามเอาตัวต้นเหตุของการแพร่ระบาดที่สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนมารับผิดชอบ เพราะขณะนี้ประชาชนมองว่า การที่ปลาหมอคางดำระบาดไม่ใช่หลุด แต่อาจจะเป็นการตั้งใจ เพราะเอกชนดังกล่าวก็เพาะสัตว์น้ำขายเหมือนกัน และถ้าสัตว์น้ำประชาชนขายไม่ได้ แหล่งเดียวที่เหลือก็คือบริษัทยักษ์ใหญ่เท่านั้น
 
ประเด็นที่สอง คือการเยียวยา ที่ผ่านมาแม้ กรมประมง จะมีมาตรการดูแลเยียวยาด้วยการรับซื้อบ้างแล้ว แต่ยังไม่สำเร็จกลายเป็นยิ่งเพาะพันธุ์โดยคนบางกลุ่มมารับเงินเยียวยา พองบที่ตั้งหมด ปัญหาก็เพิ่มเพราะคนเพาะเลี้ยงพอไม่ได้เงินก็ปล่อยสู่ธรรมชาติ
 
ผลกระทบและการแพร่กระจายหลังจากนั้นรุนแรงมากขึ้น ยกตัวอย่างคลองสนามชัย กรุงเทพฯ ผมไปดูด้วยตัวเอง ทอดแห 10 ครั้ง เจอปลาสายพันธุ์
อื่น 2 ตัว ที่เหลือเป็นปลาหมอคางดำเต็มคันรถ การเยียวยาที่เกษตรกรขอว่าต้องการให้รับซื้อกิโลกรัมละ 20 บาท ต้องตั้งเป้าว่าเพื่อการเยียวยาเกษตรกรที่เพาะสัตว์น้ำขาย ซึ่งทางกระทรวงมีการขึ้นทะเบียนไว้อยู่แล้ว ใครเพาะอะไรเท่าไหร่
 
ถ้าเจอปลาหมอคางดำซึ่งเป็นเอเลี่ยนสปีชีย์ก็เยียวยาเขาไป เพราะสมมมติเขาลงกุ้งสามแสนบาทแต่ตายทั้งบ่อ จับปลาหมอคางดำได้อย่างมากกรมประมงก็รับซื้อแค่สามหมื่น ไม่คุ้มแต่ต้องทำเพื่อตัดตอน การแพร่กระจายให้ได้ และการชดเชยอาจทำได้ด้วยการลงพันธุ์สัตว์น้ำที่เขาเลี้ยงในบ่อนั้นรอบใหม่ให้เขาเป็นไปได้หรือไม่ อยากให้มองเหมือนเวลาเกษตรกรโดนโรคระบาด เช่น ลัมปีสกินระบาดในวัว
 
ท่านก็มีงบเยียวยาทันที มีวัคซีนลงไปให้ ก็ต้องมองเหมือนกัน กุ้งบ่อหนึ่งตายราคาก็เท่าวัวตายเหมือนกัน ก็ควรต้องมีมาตรการเยียวยาและจัดการให้เหมือนโรคระบาดในสัตว์ชนิดอื่น แต่ที่ผ่านมาเกษตรกรเลี้ยงปลา กุ้ง หอยที่นี่ไม่ได้อะไรเลย จนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่นี่กำลังลดลงไปเรื่อยๆ
 
ด้าน ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ หลังได้รับฟังข้อมูล กล่าวว่า เห็นด้วยว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ที่ต้องผลักดันเป็นวาระแห่งชาติ จากนั้นได้มอบหมายหน่วยงานต่างๆ ไปสำรวจการผลกระทบเพื่อเยียวยาและหาวิธีป้องกัน พร้อม ตั้ง นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รมช.เกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานคณะกรรมการแก้ปัญหาปลาหมอค้างดำ รวมถึงหาต้นเหตุผู้รับผิดชอบ
 
เพราะข้ออ้างโยนบาปให้ประชาชนว่าว่ามีเอกชนอื่นนำเข้าปลาหมอคางดำเพื่อเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ฟังไม่ขึ้น และเรื่องนี้หากไม่เร่งยกระดับแก้ไขปัญหา ขึ้นมาจะสร้างความเสียหายมากขึ้นไม่ใช่แค่ระดับประเทศ แต่ สร้างความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมระบบนิเวศไปทั้งภูมิภาค และสัตว์น้ำเศรษฐกิจต่างๆที่เป็นแหล่งรายได้ของประเทศไทย จะรับผลกระทบไปอีกด้วย



หอการค้า เตรียม บุกก.แรงงาน ค้านขึ้นค่าแรง 400 บาท อัตราเดียวทั้งประเทศ
https://www.matichon.co.th/economy/news_4563422

หอการค้า เตรียม บุกก.แรงงาน ค้านขึ้นค่าแรง 400 บาท อัตราเดียวทั้งประเทศ
 
เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย โดยคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน  ได้จัดแถลงข่าวคัดค้านนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ โดยมีหอการค้าทั่วประเทศ และสมาคมการค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นมากกว่า 50 สมาคม ร่วมแสดงจุดยืนภาคเอกชนคัดค้านค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ โดยเสนอการปรับค่าจ้างขั้นต่ำต้องเป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและกลไกการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี)
 
นายพจน์  อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ คนที่ 1  หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาชิกภาคเอกชน มีความเข้าใจนโยบายและเป้าหมายการปรับอัตราค่าจ้างเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานไทยในประเทศไทยของรัฐบาล แต่อย่างไรก็ดีนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศโดยจะให้มีผลบังคับใช้วันที่ 1 ตุลาคม 2567  ซึ่งหอการค้าทั่วประเทศ และสมาคมการค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้น ขอแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยและขอคัดค้านนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศดังกล่าว โดยยังคงสนับสนุนให้รัฐบาลพิจารณานโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี ตามหลักกฎหมายซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ตามที่คณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) ต้องศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่นโดยคำนึงถึงดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนการผลิต ราคาของสินค้าและบริการ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความสามารถของประเภทธุรกิจตามที่กฎหมายกำหนด ผ่านระบบและกลไกการพิจารณาศึกษาของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) เพื่อปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประจำปีให้เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน
 
นายพจน์กล่าวว่า การที่รัฐบาลจะปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศซึ่งเกินกว่าพื้นฐานสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจและสังคม  จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศทันทีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  โดยต้องยอมรับว่าแต่ละจังหวัด และแต่ละประเภทธุรกิจ มีความพร้อมของสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน ซึ่งการปรับอัตราค่าจ้างที่สูงเกินกว่าความเป็นจริง จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น  ต้นทุนการขนส่ง ต้นทุนการบริการ และต้นทุนการจ้างงานทั้งระบบห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะภาคเกษตร  ภาคการค้าและบริการ ภาคท่องเที่ยว และผู้ประกอบการ SMEs เนื่องจากผู้ประกอบการจะไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ดังนั้นการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยไม่คำนึงตามที่กฎหมายกำหนดจะส่งผลให้ภาคธุรกิจและผู้ประกอบการ หยุดกิจการ ลดขนาดกิจการ หรือปรับธุรกิจออกนอกระบบภาษี จนนำไปสู่การปลดลูกจ้างและเลิกจ้างพนักงานเพื่อลดต้นทุนให้อยู่รอด ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น
 
นายพจน์กล่าวว่า นอกจากนี้การปรับอัตราค่าจ้างที่สูงเกินกว่าความเป็นจริง ยังเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนในประเทศไทย ทำให้เกิดความไม่มั่นใจถึงต้นทุนของการทำธุรกิจและนโยบายภาครัฐ เนื่องจาก ภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ยังมีปัญหาจากปัจจัยหลายประการที่มีความผันผวน อาทิ ค่าเงินบาท ราคาพลังงาน มาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ และสงครามการค้าระหว่างประเทศต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันและความน่าสนใจในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยอย่างชัดเจน
 
ในวันนี้ หอการค้าทั่วประเทศ และสมาคมการค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้น ขอนำเสนอข้อคิดเห็นและข้อเสนอต่อนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาล ดังนี้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่