Vinfast เล็งขายตัวรถแยกกับแบตเตอรี เพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยจะใช้วิธีการให้เช่าแบตเตอรีใช้แทนโดยมีค่าธรรมเนียมรายเดือน เชื่อจะประสบความสำเร็จในประเทศไทย หลังทดลองใช้มาแล้วในตลาดอินโดนีเซีย
Vinfast เล็งขยายธุรกิจปีนี้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างจริงจัง โดยอาศัยประสบการณ์จากตลาดในอเมริกามาจับตลาดประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย และไทย ซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน
วินฟาสต์ ประกาศแผนเปิดตัวรถยนต์หลากหลายรุ่นในประเทศไทยภายใน 2567 นี้ ประกอบด้วย รุ่น VF e34 ในเดือนมิถุนายน 2567 รุ่น VF 5 ในเดือนสิงหาคม หรือกันยายน 2567 และรุ่น VF 6 และ VF 7 ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งเป็นกลยุทธ์เชิงรุกที่กำหนดมาเพื่อแข่งขันกับแบรนด์ EV ของจีนที่เริ่มติดตลาดประเทศไทยแล้วในช่วงที่ผ่านมา
จากการสำรวจของ Ipsos ในช่วงปลายปี 2566 พบว่าคนไทยถึงร้อยละ 84 มีแนวโน้มที่จะพิจารณาซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในการซื้อรถคันต่อไป แม้ว่าการใช้รถ EV จะช่วยประหยัดได้ในระยะยาว โดย 65% ของผู้ตอบแบบสำรวจของ Ipso เห็นว่าการประหยัดค่าเชื้อเพลิงเป็นเหตุผลหลักในการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า แต่ค่าใช้จ่ายก้อนโตก้อนแรกในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้ายังคงเป็นอุปสรรคสำหรับคนไทยถึงเกือบครึ่ง หรือ 48%
นอกจากนั้น นายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ยังได้คาดการณ์ว่ายอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าใหม่ในไทยจะสูงถึง 150,000 คัน ภายในสิ้นปี 2567 หรือเพิ่มขึ้นสองเท่าจากปีที่ผ่านมา แนวโน้มชี้ให้เห็นว่าว่าตลาด EV ในประเทศกำลังขยายตัวขึ้นทุกปี ด้วยนโยบายสนับสนุนจากรัฐบาล ซึ่งการเติบโตนี้หมายถึงศักยภาพทางธุรกิจสำหรับวินฟาสต์
ฮานา วู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินฟาสต์ ออโต้ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “เป้าหมายแรกของเราคือ การวัดผลตอบรับของตลาดไทย เราอยากรู้ว่ารถยนต์รุ่นใดของวินฟาสต์ที่โดนใจผู้บริโภคชาวไทยมากที่สุด”
แม้ว่าตลาดรถยนต์ในประเทศไทยจะมีการแข่งขันสูง แต่วินฟาสต์เชื่อมั่นว่ายังมีแนวโน้มที่ดีสำหรับการรุกตลาดยานยนต์ไฟฟ้าของไทย ยิ่งไปกว่านั้น เป็นที่รู้กันดีว่าผู้บริโภคชาวไทยมีความพิถีพิถันและความต้องการรถยนต์ที่สะท้อนถึงตัวตนของเจ้าของ มากกว่าความเหมาะสมในการใช้งานจริง และมักเลือกใช้รถยนต์ที่สอดคล้อง และสะท้อนให้เห็นถึงไลฟ์สไตล์ของตนเอง
ด้วยเหตุนี้ วินฟาสต์ให้ความสำคัญกับการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ในประเทศไทย เช่นเดียวกับ ในตลาดอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่นรุ่น VF 5 ซึ่งคาดว่าจะเปิดตัวในประเทศไทยในปลายปีนี้ จะมุ่งเน้นความเป็นรถยนต์สำหรับครอบครัว ซึ่งเหมาะสำหรับคนเมืองส่วนใหญ่
ด้านตลาด EV ที่กำลังเติบโตไม่ได้รับประกันว่าผู้เล่นทุกรายจะสามารถคว้าส่วนแบ่งได้เท่ากัน ด้วยบทเรียนจากประสบการณ์ในการขยายธุรกิจไปทั่วโลก วินฟาสต์ใช้อินไซต์จากลูกค้าเป็นข้อมูลในการตัดสินใจทางธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งปัจจัยสำคัญหนึ่งคือค่าใช้จ่าย
วินฟาสต์เชื่อว่าบริการแบตเตอรี่รถไฟฟ้าในระบบสมัครสมาชิกของบริษัทซึ่งจะเตรียมเปิดตัวเร็ว ๆ นี้ จะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ โดยวินฟาสต์จะจำหน่ายรถยนต์ที่ไม่ได้ติดตั้งแบตเตอรี่ และผู้ซื้อรถสามารถเช่าแบตเตอรี่โดยจ่ายค่าธรรมเนียมรายเดือนเพียงเล็กน้อย ซึ่งเป็นรูปแบบที่วินฟาสต์ใช้มาแล้วในอินโดนีเซีย
ด้วยการแยกแบตเตอรี่ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่แพงที่สุดในรถยนต์ไฟฟ้าออกจากตัวรถ วินฟาสต์เชื่อว่าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายก้อนแรกในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างมาก และลดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการใช้รถ EV สู่ระดับที่ใกล้เคียงกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน
ยังมีนโยบายหลังการขายที่ดี ด้วยการบำรุงรักษาและการเปลี่ยนแบตเตอรี่ฟรีเมื่อพบว่าความจุของแบตเตอรี่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (หรือ 70% ของความจุเดิม) เพื่อให้มั่นใจว่าแบตเตอรี่มีสมรรถนะที่ดีที่สุดสำหรับการใช้งาน
นายนธี กองเกตุใหญ่ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นทียูนิตี้ มอเตอร์ จำกัด หนึ่งในตัวแทนจำหน่ายวินฟาสต์ กล่าวว่า “ความมุ่งมั่นในการให้บริการหลังการขายที่เป็นเลิศนี้จะเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันที่สำคัญของวินฟาสต์ในการดึงดูดลูกค้าชาวไทย และประสบความสำเร็จในประเทศไทย”
ด้วยฐานธุรกิจที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง บริษัทรถยนต์หน้าใหม่จากเวียดนามรายนี้เชื่อมั่นว่า ด้วยประสบการณ์ในระดับโลกและความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับตลาดโลคอล ก็พร้อมจะเดินหน้าไปสู่ความสำเร็จในตลาดศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าของอาเซียนแห่งนี้
ที่มา : Amarin TV
Vinfast เล็งขายตัวรถแยกกับแบตเตอรี เพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยจะใช้วิธีการให้เช่าแบตเตอรีใช้แทน
Vinfast เล็งขยายธุรกิจปีนี้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างจริงจัง โดยอาศัยประสบการณ์จากตลาดในอเมริกามาจับตลาดประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย และไทย ซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน
วินฟาสต์ ประกาศแผนเปิดตัวรถยนต์หลากหลายรุ่นในประเทศไทยภายใน 2567 นี้ ประกอบด้วย รุ่น VF e34 ในเดือนมิถุนายน 2567 รุ่น VF 5 ในเดือนสิงหาคม หรือกันยายน 2567 และรุ่น VF 6 และ VF 7 ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งเป็นกลยุทธ์เชิงรุกที่กำหนดมาเพื่อแข่งขันกับแบรนด์ EV ของจีนที่เริ่มติดตลาดประเทศไทยแล้วในช่วงที่ผ่านมา
จากการสำรวจของ Ipsos ในช่วงปลายปี 2566 พบว่าคนไทยถึงร้อยละ 84 มีแนวโน้มที่จะพิจารณาซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในการซื้อรถคันต่อไป แม้ว่าการใช้รถ EV จะช่วยประหยัดได้ในระยะยาว โดย 65% ของผู้ตอบแบบสำรวจของ Ipso เห็นว่าการประหยัดค่าเชื้อเพลิงเป็นเหตุผลหลักในการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า แต่ค่าใช้จ่ายก้อนโตก้อนแรกในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้ายังคงเป็นอุปสรรคสำหรับคนไทยถึงเกือบครึ่ง หรือ 48%
นอกจากนั้น นายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ยังได้คาดการณ์ว่ายอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าใหม่ในไทยจะสูงถึง 150,000 คัน ภายในสิ้นปี 2567 หรือเพิ่มขึ้นสองเท่าจากปีที่ผ่านมา แนวโน้มชี้ให้เห็นว่าว่าตลาด EV ในประเทศกำลังขยายตัวขึ้นทุกปี ด้วยนโยบายสนับสนุนจากรัฐบาล ซึ่งการเติบโตนี้หมายถึงศักยภาพทางธุรกิจสำหรับวินฟาสต์
ฮานา วู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วินฟาสต์ ออโต้ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “เป้าหมายแรกของเราคือ การวัดผลตอบรับของตลาดไทย เราอยากรู้ว่ารถยนต์รุ่นใดของวินฟาสต์ที่โดนใจผู้บริโภคชาวไทยมากที่สุด”
แม้ว่าตลาดรถยนต์ในประเทศไทยจะมีการแข่งขันสูง แต่วินฟาสต์เชื่อมั่นว่ายังมีแนวโน้มที่ดีสำหรับการรุกตลาดยานยนต์ไฟฟ้าของไทย ยิ่งไปกว่านั้น เป็นที่รู้กันดีว่าผู้บริโภคชาวไทยมีความพิถีพิถันและความต้องการรถยนต์ที่สะท้อนถึงตัวตนของเจ้าของ มากกว่าความเหมาะสมในการใช้งานจริง และมักเลือกใช้รถยนต์ที่สอดคล้อง และสะท้อนให้เห็นถึงไลฟ์สไตล์ของตนเอง
ด้วยเหตุนี้ วินฟาสต์ให้ความสำคัญกับการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ในประเทศไทย เช่นเดียวกับ ในตลาดอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่นรุ่น VF 5 ซึ่งคาดว่าจะเปิดตัวในประเทศไทยในปลายปีนี้ จะมุ่งเน้นความเป็นรถยนต์สำหรับครอบครัว ซึ่งเหมาะสำหรับคนเมืองส่วนใหญ่
ด้านตลาด EV ที่กำลังเติบโตไม่ได้รับประกันว่าผู้เล่นทุกรายจะสามารถคว้าส่วนแบ่งได้เท่ากัน ด้วยบทเรียนจากประสบการณ์ในการขยายธุรกิจไปทั่วโลก วินฟาสต์ใช้อินไซต์จากลูกค้าเป็นข้อมูลในการตัดสินใจทางธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งปัจจัยสำคัญหนึ่งคือค่าใช้จ่าย
วินฟาสต์เชื่อว่าบริการแบตเตอรี่รถไฟฟ้าในระบบสมัครสมาชิกของบริษัทซึ่งจะเตรียมเปิดตัวเร็ว ๆ นี้ จะสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ โดยวินฟาสต์จะจำหน่ายรถยนต์ที่ไม่ได้ติดตั้งแบตเตอรี่ และผู้ซื้อรถสามารถเช่าแบตเตอรี่โดยจ่ายค่าธรรมเนียมรายเดือนเพียงเล็กน้อย ซึ่งเป็นรูปแบบที่วินฟาสต์ใช้มาแล้วในอินโดนีเซีย
ด้วยการแยกแบตเตอรี่ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่แพงที่สุดในรถยนต์ไฟฟ้าออกจากตัวรถ วินฟาสต์เชื่อว่าจะสามารถลดค่าใช้จ่ายก้อนแรกในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างมาก และลดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการใช้รถ EV สู่ระดับที่ใกล้เคียงกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน
ยังมีนโยบายหลังการขายที่ดี ด้วยการบำรุงรักษาและการเปลี่ยนแบตเตอรี่ฟรีเมื่อพบว่าความจุของแบตเตอรี่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (หรือ 70% ของความจุเดิม) เพื่อให้มั่นใจว่าแบตเตอรี่มีสมรรถนะที่ดีที่สุดสำหรับการใช้งาน
นายนธี กองเกตุใหญ่ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นทียูนิตี้ มอเตอร์ จำกัด หนึ่งในตัวแทนจำหน่ายวินฟาสต์ กล่าวว่า “ความมุ่งมั่นในการให้บริการหลังการขายที่เป็นเลิศนี้จะเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันที่สำคัญของวินฟาสต์ในการดึงดูดลูกค้าชาวไทย และประสบความสำเร็จในประเทศไทย”
ด้วยฐานธุรกิจที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง บริษัทรถยนต์หน้าใหม่จากเวียดนามรายนี้เชื่อมั่นว่า ด้วยประสบการณ์ในระดับโลกและความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับตลาดโลคอล ก็พร้อมจะเดินหน้าไปสู่ความสำเร็จในตลาดศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าของอาเซียนแห่งนี้
ที่มา : Amarin TV