คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
โดยหัวหน้าคนนี้ยื่นขออนุมัติคำสั่ง ยกเลิกการจ่ายค่าแรง x2 และบังคับให้พนักงานสามารถทำได้แค่รับวันหยุดเพิ่มแทน ต่อผู้บริหาร โดยไม่ผ่านการแจ้ง หรือความเห็นของผู้จัดการในแต่ละสาขาก่อนเลย ?
-----------
พรบ.แรงงานสัมพันธ์ 2518
ม.20 เมื่อข้อตกลงฯมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมิให้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงฯ เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้น จะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า
กรณีการเปลี่ยนลดเวลาทำงานและลดค่าจ้าง !
*เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง นายจ้างจะดำเนินฝ่ายเดียวไม่ได้
ต้องมีการยื่นข้อเรียกร้องตาม ม.13 เพื่อเจรจากับสหภาพO/หรือกรรมการลูกจ้าง/หรือตัวแทนลูกจ้างที่เกี่ยวข้องทุกคน เพื่อตกลง/ยินยอม-เห็นชอบร่วมกัน จึงจะมีผลบังคับใช้ได้ !
*กรณีตกลงกันไม่ได้(ภายในกำหนดตาม ม.13) ฝ่ายที่ยื่นข้อเรียกร้อง ฯ (กรณีนี้คือนายจ้าง)ต้องแจ้ง "เจ้าพนักงานตรวจแรงงาน" ภายใน 24 ชม. เพื่อดำเนินการต่อไป...!
*ระหว่างที่ดำเนินการเจรจากันนั้น....นายจ้างจะปิดงาน งดจ้าง หรือเลิกจ้างลูกจ้างไม่ได้ (ม. 31 เมื่อมีการแจ้งข้อเรียกร้องตาม ม.13 และยังอยู่ในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ย หรือการชี้ขาดข้อพิพาทฯ ตาม ม.13 ถึง ม. 29)
--------------------
-----------
พรบ.แรงงานสัมพันธ์ 2518
ม.20 เมื่อข้อตกลงฯมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมิให้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงฯ เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้น จะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า
กรณีการเปลี่ยนลดเวลาทำงานและลดค่าจ้าง !
*เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง นายจ้างจะดำเนินฝ่ายเดียวไม่ได้
ต้องมีการยื่นข้อเรียกร้องตาม ม.13 เพื่อเจรจากับสหภาพO/หรือกรรมการลูกจ้าง/หรือตัวแทนลูกจ้างที่เกี่ยวข้องทุกคน เพื่อตกลง/ยินยอม-เห็นชอบร่วมกัน จึงจะมีผลบังคับใช้ได้ !
*กรณีตกลงกันไม่ได้(ภายในกำหนดตาม ม.13) ฝ่ายที่ยื่นข้อเรียกร้อง ฯ (กรณีนี้คือนายจ้าง)ต้องแจ้ง "เจ้าพนักงานตรวจแรงงาน" ภายใน 24 ชม. เพื่อดำเนินการต่อไป...!
*ระหว่างที่ดำเนินการเจรจากันนั้น....นายจ้างจะปิดงาน งดจ้าง หรือเลิกจ้างลูกจ้างไม่ได้ (ม. 31 เมื่อมีการแจ้งข้อเรียกร้องตาม ม.13 และยังอยู่ในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ย หรือการชี้ขาดข้อพิพาทฯ ตาม ม.13 ถึง ม. 29)
--------------------
ฎีกาที่ ๘๓๙๖-๘๓๙๙/๒๕๕๐
จำเลยแก้ไขข้อบังคับฯ โดยการปิดประกาศ
และให้ลูกจ้างมารับไป โดยไม่ได้แจ้งข้อเรียกร้อง
ไม่เป็นคุณยิ่งกว่า และลูกจ้างไม่ได้ให้การยินยอม
จึงไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้มีการแก้ไข
จำเลยแก้ไขข้อบังคับฯ โดยการปิดประกาศ
และให้ลูกจ้างมารับไป โดยไม่ได้แจ้งข้อเรียกร้อง
ไม่เป็นคุณยิ่งกว่า และลูกจ้างไม่ได้ให้การยินยอม
จึงไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้มีการแก้ไข
แสดงความคิดเห็น
บริษัทเปลี่ยนนโยบายเรื่องค่าแรงแต่เราไม่ยินยอมค่ะ
หลายปีก่อนหน้านี้บริษัทมีนโยบายให้มาทำงานวันหยุดนักขัตฤกษ์โดยจ่ายค่าแรง x2 หรือ เลือกใช้เป็นวันหยุดในวันอื่นได้
แต่ต่อมาเปลี่ยนหัวหน้า โดยหัวหน้าคนนี้ยื่นขออนุมัติคำสั่ง ยกเลิกการจ่ายค่าแรง x2 และบังคับให้พนักงานสามารถทำได้แค่รับวันหยุดเพิ่มแทน ต่อผู้บริหาร โดยไม่ผ่านการแจ้ง หรือความเห็นของผู้จัดการในแต่ละสาขาก่อนเลย
ทั้งนี้จึงอยากสอบถามพี่ๆว่า คำสั่งนี้ขัดต่อ พรบ. คุ้มครองแรงงานไหมครับ ถึงแม้ ร้านอาหาร - ร้านขายเครื่องดื่ม อยู่ใน กฎกระทรวงฉบับที่ 4 กล่าวว่า "งานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดทํางานใน
วันหยุดตามประเพณีได้แก่งานดังต่อไปนี้
(๑) งานในกิจการโรงแรม สถานมหรสพ ร้านขายอาหาร ร้ายขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม สถานพยาบาล และสถานบริการการท่องเที่ยว"
แต่นโยบายนี้ถูกเปลี่ยนภายหลัง โดยส่วนใหญ่ลูกจ้าง ไม่ได้ยินยอม และคำสั่งนี้ยังไม่ได้มีหนังสือยินยอม แจ้งมา และเซ็นยินยอมก่อนด้วยครับ
อีกทั้ง หนังสือสัญญาจ้างงานที่ให้พนักงานเซ็นตอนเข้าทำงาน ยังเข้าข่าย มาตรา 150 "การใดมีวัตถุประสงค์เป็นกสรต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ"
ข้อ 1.4 กิจการเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการคุ้มครองผู้อยู่ในฐานะด้อยกว่าทางสังคมและเศรษฐกิจ เนื่องจากในสัญญาจ้างงาน กล่าวว่า "บริษัท มีสิทธิบอกเลิกจ้างโดยมิต้องกล่าวล่วงหน้าให้ทราบ และลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น" ซึ่งขัดกับ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรง 46 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างซึ่งเป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์ในอันที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ลูกจ้าง อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน (คำพิพากษาฎีกาที่ 2499/2537)
จึงอยากสอบถามเพื่อจะได้เสนอต่อผู้บริหารให้ทบทวนคำสั่ง และแสดงความร้องเรียนต่อหัวหน้าผู้เสนอคำสั้งอนุมัติ ที่อาจสร้างความเสียหายให้แก่บริษัทได้ค่ะ