JJNY : พิธาลงสื่อนอก แนะรบ.5ข้อ│ทัพภ.4 โพสต์ก่อนลบทิ้ง ถูกจับได้ก๊อปเน็ตมา│ปิดโรงงานยอดเพิ่มเท่าตัว│มัณฑะเลย์ ร้อนจัด

พิธา เขียนบทความ ลงสื่อนอก แนะรบ. 5 ข้อ ปรับนโยบายใหม่ รับสถานการณ์ในพม่า
https://www.matichon.co.th/politics/news_4559528
 
 
“พิธา” ร่ายยาวผ่าน Nikkei Asia นโยบายของไทยต่อ “เมียนมา” ต้องก้าวหน้า แนะรัฐบาลต้องปรับกระบวนทัศน์ใหม่ ชี้ “ปานปรีย์” ลาออกก่อให้สานงานไม่ต่อเนื่อง เสนอให้ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ นำทีมโดยนายกฯ ย้ำสิ่งสำคัญสุดคือ “ความซื่อสัตย์ทางการเมือง-ความกล้าที่จะเปลี่ยน”
 
เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 เว็บไซต์ Nikkei Asia เผยแพร่บทความพิเศษของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล ในหัวข้อ Thai policy toward Myanmar must move forward หรือ นโยบายของไทยต่อเมียนมาต้องก้าวหน้า
 
โดยนายพิธา ระบุว่า เมื่อพิจารณาถึงผลกระทบอย่างต่อเนื่องของความไม่มั่นคงในเมียนมา บนผลประโยชน์ของประเทศไทย , ความน่าเชื่อถือของอาเซียน และความเป็นอยู่ที่ดีของพลเรือนทั้งในและนอกเมียนมา ประเทศไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ในจุดยืนเชิงนโยบายต่อเพื่อนบ้าน
ประการแรก รัฐบาลไทยต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา ที่ผ่านมาประเทศไทยเลือกดำเนินนโยบาย ที่เอนเอียงไปทางสภาบริหารแห่งรัฐเมียนมา (SAC) ที่ก่อตั้งโดยกลุ่มนายพลเมียนมาหลังการยึดอำนาจทางทหาร แต่จากสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป การดำเนินนโยบายที่ผ่านมาของไทยนั้น เริ่มแสดงให้เห็นว่า อาจจะเป็นการเลือกเดินที่ผิดพลาด
 
ประเทศไทยควรแต่งตั้งผู้มีประสบการณ์ระดับภูมิภาคและระดับโลกเป็นผู้แทนพิเศษ (special envoy) เพื่อดูแลความสัมพันธ์กับเมียนมาโดยเฉพาะ
ดั่งที่พรรคก้าวไกลเคยได้เสนอมาก่อนหน้านี้ เราอยากให้มีการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจระหว่างหน่วยงาน ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะ และมีผู้แทนพิเศษเป็นประธานร่วม เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการตอบสนองต่อความเป็นจริงที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ที่เกิดขึ้นข้ามพรมแดนอย่างรวดเร็วและทันท่วงที คณะทำงานเฉพาะกิจนี้ควรได้รับการสนับสนุนจากชุดที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญประเด็นเมียนมาโดยเฉพาะ
 
นายพิธา ระบุอีกว่า กระบวนการที่มีอยู่นั้นติดขัดเรื่องระเบียบของระบบราชการอยู่บ่อยครั้ง และถูกมองผ่านแนวทางของความมั่นคงมากเกินไป สิ่งนี้ทำให้ประสิทธิภาพในการจัดการกับความท้าทายที่มีอยู่หลากหลายมิติมีไม่เพียงพอ
 
การปรับคณะรัฐมนตรีของไทยเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้ นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ลาออกจากตำแหน่ง ทำให้การดำเนินนโยบายเกี่ยวกับเมียนมาไม่ต่อเนื่อง และเกิดการตั้งคำถามถึงการให้ความสำคัญต่อประเด็นเมียนมาของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี” นายพิธา กล่าว
 
นายพิธา กล่าวต่อว่า ประการที่สอง ประเทศไทยควรมีจุดยืนที่ชัดเจนต่อเหตุโจมตีทางอากาศต่อพลเรือนในเมียนมา ซึ่งประเทศไทยนั้นมีอำนาจต่อรองในเรื่องนี้ ในฐานะหนึ่งในไม่กี่ประเทศในอาเซียนที่ส่งออกเชื้อเพลิงเครื่องบินไปยังเมียนมา
 
การโจมตีทางอากาศของทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่กะเหรี่ยงและกะเรนนี ได้สร้างความเสียหายให้กับพลเรือนจำนวนมาก และอาจนำไปสู่การหลั่งไหลของผู้อพยพหรือพลัดถิ่นเข้าสู่ประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่ออธิปไตยของชาติและเป็นภาระอันใหญ่หลวงของรัฐไทยที่ต้องให้การดูแลอย่างถูกหลักมนุษยธรรม
 
ประการที่สาม แม้ว่าความมั่นคงด้านพลังงานเป็นสิ่งสำคัญต่อประเทศไทย และก๊าซจากเมียนมานั้นคิดเป็น 16% ของการนำเข้าก๊าซธรรมชาติทั้งหมด แต่การซื้อก๊าซของไทยนั้น เอื้อได้ประโยชน์ และเป็นการสนับสนุนสภาบริหารแห่งรัฐเมียนมาในทางอ้อม
 
นายพิธา ระบุว่า ทางเลือกหนึ่งในการแก้ไขอาจเป็นข้อตกลงเอสโครว์ (escrow) ซึ่งเป็นโมเดลการจ่ายเงิน ที่บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จะจ่ายเงินไปพักไว้ในบัญชีกลาง โดยตั้งเงื่อนไขการนำเงินออกมา ของบริษัท Myanma Oil and Gas Enterprise ให้ต้องพิสูจน์ว่าจะไม่นำเงินไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางทหาร และจ่ายออกสำหรับการบริการสาธารณะเท่านั้น
 
ประการที่สี่ การยึดเมืองชายแดนเมียวดีโดยสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงและกลุ่มพันธมิตรเมื่อเดือนที่แล้ว ตอกย้ำถึงความจำเป็นในการใช้หลายช่องทาง เพื่อส่งความช่วยเหลือไปยังเมียนมา และเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงกว้างมีส่วนร่วมในการได้รับความช่วยเหลือ
 
แนวทางการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของประเทศไทยจะต้องครอบคลุมทุกมิติ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง เพื่อเสริมเติมโครงการที่ริเริ่มไปแล้วผ่านสภากาชาดของทั้งสองประเทศ ซึ่งหมายความว่าประเทศไทยต้องพิจารณาแนวทางด้านมนุษยธรรมคู่ขนาน ที่ทำร่วมกับองค์กรชาติพันธุ์และกลุ่มต่อต้านของเมียนมาด้วย
 
นายพิธา แนะว่า ประเทศไทยอาจมองไปถึงการจัดตั้งพื้นที่ทางเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดน เพื่อทำให้เกิดการสร้างงานให้กับผู้ที่หลบหนีจากการสู้รบ นอกจากนี้ ประเทศไทยอาจจะทำการออกใบอนุญาตพิเศษสำหรับบุคคลากรการแพทย์จากเมียนมา ให้สามารถทำงานในเขตพื้นที่ชายแดนได้ ซึ่งอาจจะช่วยแบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขไทยได้บ้าง
 
ในขณะเดียวกัน ผู้อพยพชาวเมียนมาควรถูกมองว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพ ที่สามารถมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันเรากำลังกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ ทำให้ต้องการนวัตกรรมเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ถึงเวลาแล้วที่รัฐไทยจะต้องคิดที่จะปิดค่ายผู้ลี้ภัยที่ดำเนินการมานานหลายทศวรรษตามแนวชายแดนติดกับเมียนมา และต้องทำให้บุคคลเหล่านี้มีที่ยืน และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย โดยเราต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ที่บุคคลเหล่าที่ จะสามารถสร้างให้กับประเทศไทยได้ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ควรเริ่มต้นทำได้เลยคือการการันตีสิทธิในการเข้าถึงการศึกษาของเด็กพลัดถิ่น ซึ่งจะเป็นการเริ่มพัฒนาความสามารถของบุคคลเหล่านี้
 
นายพิธา กล่าวอีกว่า การเปิดจุดผ่อนผันทางการค้าอย่างเป็นทางการแต่ชั่วคราว เพื่อทำให้การค้ากับชนกลุ่มน้อยตามชายแดนเป็นเรื่องปกติมากที่สุด จะเป็นผลดี ต่อการช่วยเพิ่มขีดความสามารถของการจัดการของรัฐชนกลุ่มน้อย และสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่กะเหรี่ยงและกะเรนนี
ในส่วนของปัญหาหมอกควันจากการเผาเกษตรกรรมในเมียนมา ซึ่งสร้างมลพิษให้กับน่านฟ้าไทย มีตัวอย่างของการบริหารจัดการป่าของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ประสบความสำเร็จ เช่น Salween Peace Park ของชาวกะเหรี่ยง ซึ่งประเทศไทยสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้ ประเทศไทยเองอาจจะให้ความสำคัญกับการรับซื้อสินค้าเกษตรจากเขตปลอดหมอกควัน ตลอดจนสนับสนุนความร่วมมือระหว่างกลุ่มชุมชนไทยและกลุ่มชาติพันธุ์ในเมียนมาในการจัดการบริหารทรัพยากรธรรมชาติ
 
ประการที่ห้า ประเทศไทยสามารถทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยไกล่เกลีย ระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญต่างๆในเมียนมา ซึ่งต้องรวมไปถึงผู้ยังไม่ได้เข้าร่วมข้อตกลงหยุดยิงแห่งชาติ พ.ศ. 2558 (NCA) ด้วย
 
ในทางปฏิบัติดั่งที่เคยได้เสนอไปแล้วคือการจัด Chiang Mai Dailogue ที่จะเป็นเวทีที่เป็นกลาง ครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญต่างๆ โดยประเทศไทยจำเป็นต้องประสานงานกับจีน เพื่อที่จะสามารถโน้มน้าวหลายๆฝ่ายให้มาสู่โต๊ะเจรจา
 
นายพิธา ย้ำว่า เป้าหมายในการบรรลุข้อตกลงหยุดยิงและการยุติความรุนแรงนั้นไม่เพียงพอ ถึงเวลาที่เราจำเป็นต้องมีภาพและเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้นว่าประเทศเมียนมา ในช่วงหลังความขัดแย้งนั้นควรเป็นอย่างไร
 
ประเทศไทย อาเซียน และประชาคมระหว่างประเทศ ต้องพร้อมที่จะช่วยเหลือในด้านต่างๆ ตามความจำเป็น เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับกระบวนการนี้ อาเซียนสามารถอ้างอิง และหาแรงบันดาลใจจากแนวคิดที่เคยถูกเสนอมาในอดีตเช่น Constructive Intervention (การแทรกแซงอย่างสร้างสรรค์) ที่ได้ถูกเสนอเพื่อมาแก้ปัญหาหลังจากรัฐประหารในกัมพูชาในปี พ.ศ. 2540 หรือ Flexible Engagement (การพัวพันอย่างสร้างสรรค์) ในปีใกล้เคียงกันเพื่อแก้ปัญหาผู้อพยพจากความขัดแย้งเมียนมา
 
นายพิธา ระบุว่า แนวทางดังกล่าวสามารถช่วยให้เราก้าวข้ามข้อจำกัดของหลักการไม่แทรกแซงในอาเซียนได้
 
แต่ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในเมียนมาคือความซื่อตรงทางการเมืองและความกล้าที่จะพยายามเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ คุณสมบัติเหล่านี้ยังมีไม่เพียงพอในผู้นำของประเทศไทยและอาเซียนในปัจจุบัน แต่นั่นก็ไม่ใช่เหตุผลที่เราจะลังเลต่อการพลักดันในสร้างแนวทางใหม่ๆในการแห้ปัญหาประเทศเมียนมา
 

 
กองทัพภาค 4 โพสต์อาหารกลางวันทหารจุก ๆ ก่อนลบทิ้ง หลังถูกจับได้ว่าก๊อปเน็ตมา
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_8215615
 
กองทัพภาค 4 โพสต์อาหารกลางวันทหารจุก ๆ ก่อนลบทิ้ง ท่ามกลางความสงสัย ก่อนจะมีผู้มาเฉลยว่า ถูกจับได้ว่าก๊อปภาพจากอินเทอร์เน็ตมา
 
จากกรณี กองทัพภาคที่ 4 โพสต์รูปอาหารกลางวันของทหาร พร้อมระบุข้อความดังนี้
 
เมนูอาหารเที่ยงวันนี้ ที่ ร.25 ผัดกะเพรา + ไข่ดาว + ต้มไก่ฟักเขียว + ปลานิลทอดสามรส + ขนมหวานข้าวเหนียวถั่วดำ + น้ำขาเย็น + น้ำอัดลม จัดเต็ม ๆ เลยครับ
 
ภายในภาพเป็นรูปทหารสีหน้าเต็มไปด้วยรอยยิ้ม และภาพอาหารกลางวันแบบอิ่ม ๆ จุก ๆ
 
อย่างไรก็ตามต่อมา แฟนเพจเฟซบุ๊ก กองทัพภาคที่ 4 ได้ลบภาพดังกล่าวทิ้งไป ท่ามกลางความสงสัยของชาวโซเชียล
 
ก่อนที่จะมีผู้โพสต์ท่านหนึ่งเข้ามาไขข้อข้องใจว่า อาจเพราะว่าถูกจับได้ว่าก๊อปภาพมาจากอินเทอร์เน็ตนั่นเอง



ปิดโรงงานยอดเพิ่มเท่าตัว จับตาธุรกิจรถมือสองเสี่ยง
https://www.prachachat.net/economy/news-1556489
 
ธุรกิจต้านไม่ไหว พ่ายพิษเศรษฐกิจ แข่งขันสูง ขาดทุนหนัก ทยอยปิดกิจการระนาว กรมโรงงานฯเผย 3 เดือนแรก ตัวเลขพุ่งกว่าเท่าตัว “ชลบุรี-กรุงเทพฯ-อยุธยา” นำโด่ง วงการรถยนต์จับตา “รถมือสอง” เสี่ยงปิดกิจการ สมรภูมิร้านอาหารไม่น้อยหน้าการแข่งขันระอุแม้แต่แบรนด์ดังยังยอมถอยทัพโบกมือลาโรง
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ภาพการทยอยปิดกิจการของหลาย ๆ ธุรกิจยังเป็นปรากฏการณ์ที่มีให้เห็นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ ล่าสุด การประกาศปิดกิจการ ลอยแพพนักงานรับวันแรงงาน 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา ของบริษัท วี.เอ็ม.ซี. เซฟตี้กลาส (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานผลิตกระจกนิรภัยรถยนต์และอาคาร ที่ประสบภาวะขาดทุนสะสม ขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างต่อเนื่องหลายปี ทำให้ปัจจุบันบริษัทตกอยู่ในภาวะวิกฤต ไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้

จากก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน บริษัทซื้อขายรถมือสอง ในชื่อ CARS24 ก็ได้ประกาศปิดกิจการทุกสาขาทั่วประเทศ เนื่องจากประสบปัญหาขาดทุน และถัดมาเป็นคิวของร้านอร่อยดี เชนร้านอาหารไทยจานเดียวในเครือบริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG ซึ่งประกาศปิดบริการสาขาที่มีอยู่ 11 สาขา ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2567 เป็นต้นไป จากปี 2565 ที่มี 19 สาขา
 
เช่นเดียวกับร้านไดโดมอน เชนร้านปิ้งย่างชื่อดัง ภายใต้การดูแลของบริษัท เจซีเค ฮอสพิทอลลิตี้ จำกัด (มหาชน) ที่ได้ประกาศปิดสาขาเซ็นทรัล อุบลฯ ผ่านเฟซบุ๊กเพจ “Daidomon” ที่เปิดให้บริการถึง 30 เมษายนที่ผ่านมาเป็นวันสุดท้าย หลังจากขาดทุนสะสมมาต่อเนื่อง และมีการทยอยปิดสาขามาเป็นระยะ ๆ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันไดโดมอนยังมีสาขาเหลือเพียงแห่งเดียว ที่ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต
 
นอกจากนี้ เมื่อช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ธุรกิจเอาต์เลตแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง ได้มีการประกาศลดราคาล้างสต๊อกสินค้าเพื่อปิดกิจการ ทั้งเครื่องนอน เฟอร์นิเจอร์ ของเล่นเด็ก ของใช้ในบ้าน เสื้อผ้า รองเท้า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่