ผมนั่งรถแท๊กซี่ไปตามทางในกทม. เห็นส่วนใหญ่รถติดมาก ทั้งที่ข่าวบอกเศรษฐกิจไม่ดี แต่คนไทยออกรถเยอะมาก ดาวน์และผ่อน แถมที่แปลกคือโดนยึดเยอะมากด้วย เพราะส่งค่างวดไม่ทัน หลายคนเงินเดือนไม่ถึง 2 หมื่น แต่กล้าดาวน์รถ ซึ่งผมมองว่ามันตึงไป
หลายคนบอกว่าเศรษฐกิจมองแค่คนออกรถไม่ได้ ต้องมองคนที่โดนยึด ซึ่งก็นั่นแหละยิ่งสงสัยเข้าไปใหญ่ สุดท้ายโดนยึดแล้วเขาจะซื้อมาทำไม
ผมเคยถามหลายคนเขาก็บอกจำเป็น ใช้รถส่วนตัวเพื่อหารายได้ (ตอนแรกก็งง พี่ขับแท๊กซี่หรือขนของกันทุกคนเลยหรอ) ปรากฏว่าป่าว ขับรถไปที่ทำงานเฉยๆ เพราะบ้านไกล รถประจำทางไม่ผ่าน BTS แพง บลาๆ สุดแต่เหตุผลจะนึกได้
ผมเลยสงสัย ถามไป แล้วทำไมไม่ย้ายที่พักไปใกล้ที่ทำงาน ส่วนใหญ่ก็ตอบอึกๆอักๆ บอกไม่สะดวก แต่ไม่รู้ไม่สะดวกยังไง
เลยงงว่าถ้าคนเราออกรถแล้วทำให้ตัวเองหนี้สินล้น รายได้ไม่เหลือเก็บ เดือนชนเดือน ชักหน้าไม่ถึงหลัง รถส่วนตัวเนี่ย มันจำเป็นจริงหรือ?
ทำไมคนรายได้น้อย ยอมผ่อนรถ โดยไม่กลัวเป็นหนี้ อ้างจำเป็น?
หลายคนบอกว่าเศรษฐกิจมองแค่คนออกรถไม่ได้ ต้องมองคนที่โดนยึด ซึ่งก็นั่นแหละยิ่งสงสัยเข้าไปใหญ่ สุดท้ายโดนยึดแล้วเขาจะซื้อมาทำไม
ผมเคยถามหลายคนเขาก็บอกจำเป็น ใช้รถส่วนตัวเพื่อหารายได้ (ตอนแรกก็งง พี่ขับแท๊กซี่หรือขนของกันทุกคนเลยหรอ) ปรากฏว่าป่าว ขับรถไปที่ทำงานเฉยๆ เพราะบ้านไกล รถประจำทางไม่ผ่าน BTS แพง บลาๆ สุดแต่เหตุผลจะนึกได้
ผมเลยสงสัย ถามไป แล้วทำไมไม่ย้ายที่พักไปใกล้ที่ทำงาน ส่วนใหญ่ก็ตอบอึกๆอักๆ บอกไม่สะดวก แต่ไม่รู้ไม่สะดวกยังไง
เลยงงว่าถ้าคนเราออกรถแล้วทำให้ตัวเองหนี้สินล้น รายได้ไม่เหลือเก็บ เดือนชนเดือน ชักหน้าไม่ถึงหลัง รถส่วนตัวเนี่ย มันจำเป็นจริงหรือ?