เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย เรื่องราวโดย SPOTLIGHT มองขาดทุกโอกาสธุรกิจ
https://www.msn.com/th-th/news/other/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C-ev-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7/ar-AA1nKJYd
รถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถยนต์ EV ถูกวางให้เป็นอนาคตของยานยนต์เพื่อมาแทนที่รถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในปี 2035 ตามมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนในหลายประเทศ ทั้งสหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และอื่นๆ อีกมากมาย
อย่างไรก็ตาม ปี 2024 กับกลายเป็นปีที่ยอดขายรถยนต์ EV ทั่วโลกซบเซา ซึ่งผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่หลายราย ต่างออกมาพับโปรเจ็กต์หรือเลื่อนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าไปจำนวนมาก และยังมีข่าวรายได้และยอดขายของรถยนต์ EV ที่ลดลงในบางยี่ห้อดังนี้:
- Ford ชะลอการลงทุน 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากแผนการลงทุนในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามูลค่ารวม 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
- General Motors ชะลอการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นสำคัญ และยกเลิกความร่วมมือในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าราคาถูกกับ Honda มูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
- Tesla ประกาศชะลอแผนโรงงานในเม็กซิโก และประกาศรายได้ไตรมาสที่ 1/2024 ที่ลดลงสูงที่สุดในรอบ 12 ปี
- Toyota เลื่อนเดินสายผลิตรถยนต์ EV ในสหรัฐฯ ไปฤดูใบไม้ผลิปี 2026
- Mercedes-Benz ลดแผนการขายเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าหลังจากปี 2030 เหลือเพียงครึ่งหนึ่ง
- Apple ยกเลิกแผนการโครงการรถยนต์ไฟฟ้า
ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า รถยนต์ EV จะเป็นอนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์ของโลก หรือเป็นเพียงกระแสที่มาแล้วก็ไป? SPOTLIGHT ได้รวบรวมการวิเคราะห์จากผลงานวิจัยและสื่อต่างประเทศมาไว้ในบทความนี้
ย้อนดูงานวิจัยและผลสำรวจอนาคตของยานยนต์
ผลสำรวจของ McKinsey Mobility พบว่า 42% ของผู้ตอบแบบสอบถามต้องการให้รถยนต์คันต่อไปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งต้องสามารถเดินทางได้เฉลี่ย 437 กิโลเมตรต่อการชาร์จเต็มหนึ่งครั้ง นอกจากนี้ ยังคาดการณ์ว่าความต้องการรถยนต์นั่งส่วนบุคคลทั่วโลกในกลุ่ม BEV หรือ รถยนต์ที่ไฟฟ้าขับเคลื่อน 100% จะเพิ่มขึ้น 6 เท่าตั้งแต่ปี 2021-2030 โดยยอดขายต่อปีเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 40 ล้านคัน จาก 6.5 ล้านคัน ส่วนภายในปี 2022-2030 ห่วงโซ่แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสามารถเติบโตได้ 27% ต่อปี มูลค่ามากกว่า 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และขนาดตลาดประมาณ 4,700 กิกะวัตต์-ชั่วโมง
ส่วนงานวิจัย ‘The future of four wheels is all electric’ ของ Goldman Sachs คาดการณ์ว่า ภายในปี 2035 รถยนต์ EV จะมีสัดส่วนถึง 50% ของยอดขายรถยนต์ใหม่ทั่วโลก สังเกตได้จากผู้ผลิตรถยนต์รายใหม่ที่ได้ผุดขึ้นมาทั่วโลก โดยเฉพาะในจีนเพียงประเทศเดียวที่มีผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า 100 ราย และในฝั่งของบริษัทยานยนต์ยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย ต่างปรับเปลี่ยนไลน์การผลิต และทยอยออกรถยนต์ไฟฟ้ามาสู้กันในตลาดยานยนต์แบบคึกคัก
ส่วนราคาแบตเตอรี่ EV จะลดลงเหลือ 91 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง หรือลดลง 40% ภายในปี 2025 จากตอนนี้ที่ราคาอยู่ที่ 110–120 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง โดยสามผู้ผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าหลัก นั่นก็คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จะมีซัพพลายแบตเตอรี่ที่เพียงพอ และผลักดันราคาให้ต่ำลง
แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้จะมาพร้อมกับการพัฒนาทางเคมีของแบตเตอรี่ เช่น แบตเตอรี่โซลิดสเตต ซึ่งสามารถเพิ่มระยะทางต่อการชาร์จจาก 300 ไมล์เป็นมากกว่า 600 ไมล์ นอกจากนี้ สำหรับการรีไซเคิลแบตเตอรี่ ยังทำให้โลหะมีค่าและสามารถหมุนเวียนได้ โดยคาดการณ์ว่าเกือบ 50% ของโลหะที่จำเป็นสำหรับแบตเตอรี่อาจมาจากวัสดุรีไซเคิลภายในปี 2040
สำหรับประเทศไทย รถยนต์ไฟฟ้ามียอดที่เติบโตพุ่งสูงขึ้นมาก จากข้อมูลของกรมขนส่งทางบก รายงานสถิติการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าในปีที่แล้วที่ 76,314 คัน หรือพุ่งสูงขึ้น 648% และสัดส่วนรถยนต์ไฟฟ้าในไทยอยู่ที่ 12% ซึ่งใกล้เคียงกับสัดส่วนตลาดโลก 13% ตัวเลขนี้บ่งชี้ว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคของรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ
ส่วนในปีนี้ ข้อมูลของ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (EVAT) คาดว่ายอดขายรถยนต์ไฟฟ้าใหม่ในไทยจะทะลุ 150,000 คัน
ปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดของรถยนต์ EV
1.สถานีชาร์จ EV ไม่เพียงพอกับจำนวนรถยนต์บนท้องถนน
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในช่วงแรกที่รถยนต์ไฟฟ้าถูกนำเข้ามาสู่ตลาดยานยนต์ กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่คือ กลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบเทคโนโลยีหรือสนใจรถยนต์ EV เป็นพิเศษ ทำให้มียอดขายและการเติบโต รวมไปถึงการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญ ที่ถูกวางตัวเป็นอนาคตของยานยนต์ มาแทนที่รถยนต์เครื่องยนต์สันดาปที่ปล่อยมลพิษจำนวนมหาศาล
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่กลุ่มคนที่ชื่นชอบ EV ได้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าไปแล้วพอสมควร ผู้ผลิตและแบรนด์รถยนต์จำเป็นต้องไปจับลูกค้ากลุ่มใหม่ เพื่อเพิ่มยอดขายให้ต่อเนื่อง แต่สิ่งที่ลูกค้ากลุ่มใหม่เผชิญก็คือ ปัญหาของรถยนต์ไฟฟ้าที่เกิดจากการเติบโตที่เร็วเกินไปกว่าความพร้อมจริง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปัญหาโครงสร้างกันเลยทีเดียว
สำหรับสาเหตุแรกก็คือ ปัญหาของ ‘สถานีชาร์จ EV’ ที่ยังไม่ครอบคลุม และไม่เพิ่มตามจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นบนท้องถนน โดยเฉพาะสำหรับการเดินทางไกล ที่ต้องวางแผนการเดินทางและสำรวจสถานีชาร์จให้ดีก่อน ซึ่งการชาร์จรถยนต์ EV ใช้เวลานานพอสมควร ใช้เวลาหลายชั่วโมงเลยทีเดียว หรือแม้กระทั่งการชาร์จแบบ fast charge ยังช้ากว่าเมื่อเทียบกับรถเครื่องยนต์สันดาป
ยกตัวอย่างสหราชอาณาจักร ในปี 2022 มียอดขายรถยนต์ EV ทั้งหมด 16.6% ของการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ แต่พบว่า เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา มีจุดชาร์จเพียง 44,408 จุดทั่วสหราชอาณาจักร ซึ่ง 8,680 จุดเป็นเครื่องชาร์จแบบรวดเร็ว ทำให้อัตราส่วนรถยนต์ไฟฟ้าต่อสถานีชาร์จ EV ต่ำมาก เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าขายดีเกินความสามารถในการรองรับการชาร์จได้
ทำให้ทางรัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายสถานีชาร์จสาธารณะจำนวน 300,000 แห่ง ภายในปี 2030 แต่สำหรับสมาคมผู้ผลิตและผู้ค้ายานยนต์ (SMMT) มองว่าจำนวนที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ ก็ยังไม่สามารถรองรับจำนวนรถที่มากพอได้ โดยเรียกร้องให้มีสถานีชาร์จ 2.3 ล้านแห่ง ซึ่งดูเหมือนเป็นหนทางอีกยาวไกลมาก ทำให้ผู้บริโภคหลายคน ถอยหลังให้กับรถยนต์ไฟฟ้า
สำหรับบางคน การมีโรงจอดรถในบ้านทำให้สามารถติดตั้งเครื่องชาร์จได้ง่ายดาย ไม่ต้องพึ่งสถานีชาร์จสาธารณะ ชาร์จรถยนต์ค้างคืนได้ แต่บางคนที่อาศัยในพื้นที่ที่จำกัด ตามคอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนต์ ทำให้ไม่สามารถชาร์จแบตได้ หรือต่อให้คอนโดมีที่ชาร์จสำหรับ EV โดยเฉพาะ ก็ต้องแย่งกันใช้กับคนอื่นอยู่ดี
2.ราคารถยนต์ EV ที่ยังสูง ทำให้หลายคนชะล่าใจ
ส่วนอีกปัจจัยคือเรื่องของ ‘ราคา’ ที่โดยเฉลี่ยสูงกว่ารถเครื่องยนต์สันดาป ซึ่งราคาของรถยนต์ก็ตามมาด้วยระยะทางที่สามารถวิ่งได้ ยิ่งรุ่นที่มีราคาแพง ก็ยิ่งวิ่งได้ระยะไกลขึ้น
โดยปัจจัยหลักที่ทำให้รถยนต์ EV ราคาแพงคือ ‘แบตเตอรี่’ โดยปัจจุบันรถยนต์ EV หลายรุ่นใช้แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน เพราะมีอายุการใช้งานที่นานกว่า ชาร์จไฟได้เร็วขึ้น และยังเก็บไฟได้เยอะด้วย ทำให้รถยนต์ EV สามารถวิ่งได้ครั้งละ 500-600 กิโลเมตรโดยเฉลี่ย ต่อการชาร์จเพียงหนึ่งครั้ง
ส่วนกระบวนการผลิตแบตเตอรี่ยังใช้เทคนิคที่ซับซ้อน ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษและแรงงานที่มีทักษะสูง ซึ่งยังรวมไปถึงการติดตั้งเทคโนโลยีขั้นสูงเพิ่มเติม ทำให้แบตเตอรี่มีราคาที่ค่อนข้างสูงมาก เรียกได้ว่ามากถึง 30% ของมูลค่ารถยนต์ไฟฟ้าทั้งคัน
นอกจากนี้ ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ผู้เล่นในตลาดลงทุนการขุดหาลิเธียมและโคบอลต์ในระดับที่สูงมาก เพราะทรัพยากรเหล่านี้หายากขึ้นมาก มีราคาแพง และกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างกันออกไปดังนี้:
- ชิลีมีการผลิตทองแดงประมาณ 1 ใน 3 ของโลก
- สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกมีโคบอลต์อยู่ที่ 3 ใน 4 ของอุปทานโลก
- จีนมีธาตุที่หายากมากกว่า 60% ซึ่งกำลังการกลั่นโลหะและแร่ธาตุจำนวน 60-90% ก็มาจากจีนเช่นกัน
นอกจากนี้ เมื่อขับรถยนต์ EV ไปหลายปี สิ่งที่ตามมาคือแบตเตอรี่เสื่อม ทำให้ผู้ใช้งานต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่เพื่อให้รถยนต์สามารถขับต่อไปไม่ได้ ซึ่งการเปลี่ยนแบตเตอรี่มีค่าใช้จ่ายที่สูงมากเช่นกัน แบรนด์รถยนต์ EV หลายยี่ห้อจึงมีการรับประกันแบตเตอรี่ไว้เฉลี่ยนานถึง 5-8 ปี ทำให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าลดลงมาเยอะพอสมควรเมื่อนำมาขายต่อ
ข้อมูลจาก iSeeCars เผยว่า หลังจากใช้งานไป 5 ปี ราคารถยนต์มือสองทั่วไปจะลดลงประมาณ 38.8% ส่วนราคารถยนต์ไฟฟ้ามือสองจะลดลงเฉลี่ยมากถึง 50% ซึ่งรถยนต์ที่มีราคาขายต่อลดลงมากที่สุดคือ Tesla Model S มูลค่าลดลงสูงถึง 55.5% ตามมาด้วย Chevrolet Bolt EV ลดลง 51.1% และ Nissan Leaf ที่ลดลง 50.8% ตามมา
‘ไฮบริด’ ตัวเลือกที่จะมาแทนที่ EV?
ถึงแม้รถยนต์ EV ได้รับความนิยมน้อยลง แต่รถยนต์ไฮบริดกลับได้รับความนิยมมากขึ้น ข้อมูลจาก MarkLines รายงานว่าในปีที่ผ่านมา ยอดขายรถยนต์ไฮบริดใน 14 ประเทศ นำโดย จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นมากถึง 30% แตะที่ 4.21 ล้านคัน ในขณะที่รถยนต์ EV และ PHEV เพิ่มขึ้นเพียง 28%
นอกจากนี้ ยอดขายรถยนต์ไฮบริดของ Toyota เพิ่มขึ้น 32% เป็น 3.44 ล้านคัน และอาจแตะ 5 ล้านภายในปี 2025 ส่วน Honda มียอดขายรถยนต์ไฮบริดทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 20% ด้าน Nissan กำลังพิจารณาที่จะเปิดตัวโมเดลที่มีเทคโนโลยีไฮบริด e-Power ในสหรัฐฯ ช่วงปลายปี 2026 และ Ford ที่คาดว่าจะนำเสนอรถยนต์ทุกรุ่นในรุ่นไฮบริดในสหรัฐฯ ภายในปี 2030
ส่วน Fortune Business รายงานมูลค่าขนาดตลาดรถยนต์ไฮบริดทั่วโลก ที่มีมูลค่าเกือบ 2.28 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2022 และคาดว่าจะเติบโตสูงถึง 4.44 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2530 ด้วยอัตราการเติบโตแบบทบต้นต่อปีที่ 7.3%
ถึงแม้รถยนต์ไฮบริดจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนประมาณ 20% และไม่ได้สอดคล้องกับเป้าหมายอากาศสะอาดในหลายประเทศ แต่หลายคนเปิดใจให้กับรถยนต์ไฮบริดมากกว่า เพราะราคาที่ถูกกว่าและไม่ต้องกังวลเรื่องการชาร์จไฟ ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์บางรายตัดสินใจเพิ่มรถยนต์รุ่นไฮบริด เพราะมีโอกาสที่คนจะขับรถยนต์ไฮบริดมากกว่ารถยนต์ EV
อย่างไรก็ตาม รถยนต์ไฮบริดเปรียบเสมือนเพียง ‘ตัวเชื่อม’ ในการเปลี่ยนผ่านระหว่างรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปสู่รถยนต์ EV มากกว่า เพราะสุดท้ายแล้ว รถยนต์ไฮบริดยังมีการใช้น้ำมันอยู่ดี ซึ่งก็หมายตวามว่ายังมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนจำนวนหนึ่ง แต่เพราะการเปลี่ยนผ่านที่ช้ากว่าคาด ทำให้รถยนต์ไฮบริดยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลานี้
(มีต่อ)
สรุปแล้ว 'รถยนต์ EV' เป็นอนาคตของยานยนต์ หรือแค่กระแสชั่วคราว?
https://www.msn.com/th-th/news/other/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C-ev-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7/ar-AA1nKJYd
รถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถยนต์ EV ถูกวางให้เป็นอนาคตของยานยนต์เพื่อมาแทนที่รถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในปี 2035 ตามมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนในหลายประเทศ ทั้งสหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และอื่นๆ อีกมากมาย
อย่างไรก็ตาม ปี 2024 กับกลายเป็นปีที่ยอดขายรถยนต์ EV ทั่วโลกซบเซา ซึ่งผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่หลายราย ต่างออกมาพับโปรเจ็กต์หรือเลื่อนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าไปจำนวนมาก และยังมีข่าวรายได้และยอดขายของรถยนต์ EV ที่ลดลงในบางยี่ห้อดังนี้:
- Ford ชะลอการลงทุน 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากแผนการลงทุนในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามูลค่ารวม 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
- General Motors ชะลอการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นสำคัญ และยกเลิกความร่วมมือในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าราคาถูกกับ Honda มูลค่า 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
- Tesla ประกาศชะลอแผนโรงงานในเม็กซิโก และประกาศรายได้ไตรมาสที่ 1/2024 ที่ลดลงสูงที่สุดในรอบ 12 ปี
- Toyota เลื่อนเดินสายผลิตรถยนต์ EV ในสหรัฐฯ ไปฤดูใบไม้ผลิปี 2026
- Mercedes-Benz ลดแผนการขายเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าหลังจากปี 2030 เหลือเพียงครึ่งหนึ่ง
- Apple ยกเลิกแผนการโครงการรถยนต์ไฟฟ้า
ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า รถยนต์ EV จะเป็นอนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์ของโลก หรือเป็นเพียงกระแสที่มาแล้วก็ไป? SPOTLIGHT ได้รวบรวมการวิเคราะห์จากผลงานวิจัยและสื่อต่างประเทศมาไว้ในบทความนี้
ย้อนดูงานวิจัยและผลสำรวจอนาคตของยานยนต์
ผลสำรวจของ McKinsey Mobility พบว่า 42% ของผู้ตอบแบบสอบถามต้องการให้รถยนต์คันต่อไปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งต้องสามารถเดินทางได้เฉลี่ย 437 กิโลเมตรต่อการชาร์จเต็มหนึ่งครั้ง นอกจากนี้ ยังคาดการณ์ว่าความต้องการรถยนต์นั่งส่วนบุคคลทั่วโลกในกลุ่ม BEV หรือ รถยนต์ที่ไฟฟ้าขับเคลื่อน 100% จะเพิ่มขึ้น 6 เท่าตั้งแต่ปี 2021-2030 โดยยอดขายต่อปีเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 40 ล้านคัน จาก 6.5 ล้านคัน ส่วนภายในปี 2022-2030 ห่วงโซ่แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสามารถเติบโตได้ 27% ต่อปี มูลค่ามากกว่า 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และขนาดตลาดประมาณ 4,700 กิกะวัตต์-ชั่วโมง
ส่วนงานวิจัย ‘The future of four wheels is all electric’ ของ Goldman Sachs คาดการณ์ว่า ภายในปี 2035 รถยนต์ EV จะมีสัดส่วนถึง 50% ของยอดขายรถยนต์ใหม่ทั่วโลก สังเกตได้จากผู้ผลิตรถยนต์รายใหม่ที่ได้ผุดขึ้นมาทั่วโลก โดยเฉพาะในจีนเพียงประเทศเดียวที่มีผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า 100 ราย และในฝั่งของบริษัทยานยนต์ยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย ต่างปรับเปลี่ยนไลน์การผลิต และทยอยออกรถยนต์ไฟฟ้ามาสู้กันในตลาดยานยนต์แบบคึกคัก
ส่วนราคาแบตเตอรี่ EV จะลดลงเหลือ 91 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง หรือลดลง 40% ภายในปี 2025 จากตอนนี้ที่ราคาอยู่ที่ 110–120 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง โดยสามผู้ผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าหลัก นั่นก็คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จะมีซัพพลายแบตเตอรี่ที่เพียงพอ และผลักดันราคาให้ต่ำลง
แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้จะมาพร้อมกับการพัฒนาทางเคมีของแบตเตอรี่ เช่น แบตเตอรี่โซลิดสเตต ซึ่งสามารถเพิ่มระยะทางต่อการชาร์จจาก 300 ไมล์เป็นมากกว่า 600 ไมล์ นอกจากนี้ สำหรับการรีไซเคิลแบตเตอรี่ ยังทำให้โลหะมีค่าและสามารถหมุนเวียนได้ โดยคาดการณ์ว่าเกือบ 50% ของโลหะที่จำเป็นสำหรับแบตเตอรี่อาจมาจากวัสดุรีไซเคิลภายในปี 2040
สำหรับประเทศไทย รถยนต์ไฟฟ้ามียอดที่เติบโตพุ่งสูงขึ้นมาก จากข้อมูลของกรมขนส่งทางบก รายงานสถิติการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าในปีที่แล้วที่ 76,314 คัน หรือพุ่งสูงขึ้น 648% และสัดส่วนรถยนต์ไฟฟ้าในไทยอยู่ที่ 12% ซึ่งใกล้เคียงกับสัดส่วนตลาดโลก 13% ตัวเลขนี้บ่งชี้ว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคของรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบ
ส่วนในปีนี้ ข้อมูลของ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (EVAT) คาดว่ายอดขายรถยนต์ไฟฟ้าใหม่ในไทยจะทะลุ 150,000 คัน
ปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดของรถยนต์ EV
1.สถานีชาร์จ EV ไม่เพียงพอกับจำนวนรถยนต์บนท้องถนน
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในช่วงแรกที่รถยนต์ไฟฟ้าถูกนำเข้ามาสู่ตลาดยานยนต์ กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่คือ กลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบเทคโนโลยีหรือสนใจรถยนต์ EV เป็นพิเศษ ทำให้มียอดขายและการเติบโต รวมไปถึงการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญ ที่ถูกวางตัวเป็นอนาคตของยานยนต์ มาแทนที่รถยนต์เครื่องยนต์สันดาปที่ปล่อยมลพิษจำนวนมหาศาล
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่กลุ่มคนที่ชื่นชอบ EV ได้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าไปแล้วพอสมควร ผู้ผลิตและแบรนด์รถยนต์จำเป็นต้องไปจับลูกค้ากลุ่มใหม่ เพื่อเพิ่มยอดขายให้ต่อเนื่อง แต่สิ่งที่ลูกค้ากลุ่มใหม่เผชิญก็คือ ปัญหาของรถยนต์ไฟฟ้าที่เกิดจากการเติบโตที่เร็วเกินไปกว่าความพร้อมจริง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปัญหาโครงสร้างกันเลยทีเดียว
สำหรับสาเหตุแรกก็คือ ปัญหาของ ‘สถานีชาร์จ EV’ ที่ยังไม่ครอบคลุม และไม่เพิ่มตามจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นบนท้องถนน โดยเฉพาะสำหรับการเดินทางไกล ที่ต้องวางแผนการเดินทางและสำรวจสถานีชาร์จให้ดีก่อน ซึ่งการชาร์จรถยนต์ EV ใช้เวลานานพอสมควร ใช้เวลาหลายชั่วโมงเลยทีเดียว หรือแม้กระทั่งการชาร์จแบบ fast charge ยังช้ากว่าเมื่อเทียบกับรถเครื่องยนต์สันดาป
ยกตัวอย่างสหราชอาณาจักร ในปี 2022 มียอดขายรถยนต์ EV ทั้งหมด 16.6% ของการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ แต่พบว่า เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา มีจุดชาร์จเพียง 44,408 จุดทั่วสหราชอาณาจักร ซึ่ง 8,680 จุดเป็นเครื่องชาร์จแบบรวดเร็ว ทำให้อัตราส่วนรถยนต์ไฟฟ้าต่อสถานีชาร์จ EV ต่ำมาก เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าขายดีเกินความสามารถในการรองรับการชาร์จได้
ทำให้ทางรัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายสถานีชาร์จสาธารณะจำนวน 300,000 แห่ง ภายในปี 2030 แต่สำหรับสมาคมผู้ผลิตและผู้ค้ายานยนต์ (SMMT) มองว่าจำนวนที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ ก็ยังไม่สามารถรองรับจำนวนรถที่มากพอได้ โดยเรียกร้องให้มีสถานีชาร์จ 2.3 ล้านแห่ง ซึ่งดูเหมือนเป็นหนทางอีกยาวไกลมาก ทำให้ผู้บริโภคหลายคน ถอยหลังให้กับรถยนต์ไฟฟ้า
สำหรับบางคน การมีโรงจอดรถในบ้านทำให้สามารถติดตั้งเครื่องชาร์จได้ง่ายดาย ไม่ต้องพึ่งสถานีชาร์จสาธารณะ ชาร์จรถยนต์ค้างคืนได้ แต่บางคนที่อาศัยในพื้นที่ที่จำกัด ตามคอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนต์ ทำให้ไม่สามารถชาร์จแบตได้ หรือต่อให้คอนโดมีที่ชาร์จสำหรับ EV โดยเฉพาะ ก็ต้องแย่งกันใช้กับคนอื่นอยู่ดี
2.ราคารถยนต์ EV ที่ยังสูง ทำให้หลายคนชะล่าใจ
ส่วนอีกปัจจัยคือเรื่องของ ‘ราคา’ ที่โดยเฉลี่ยสูงกว่ารถเครื่องยนต์สันดาป ซึ่งราคาของรถยนต์ก็ตามมาด้วยระยะทางที่สามารถวิ่งได้ ยิ่งรุ่นที่มีราคาแพง ก็ยิ่งวิ่งได้ระยะไกลขึ้น
โดยปัจจัยหลักที่ทำให้รถยนต์ EV ราคาแพงคือ ‘แบตเตอรี่’ โดยปัจจุบันรถยนต์ EV หลายรุ่นใช้แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน เพราะมีอายุการใช้งานที่นานกว่า ชาร์จไฟได้เร็วขึ้น และยังเก็บไฟได้เยอะด้วย ทำให้รถยนต์ EV สามารถวิ่งได้ครั้งละ 500-600 กิโลเมตรโดยเฉลี่ย ต่อการชาร์จเพียงหนึ่งครั้ง
ส่วนกระบวนการผลิตแบตเตอรี่ยังใช้เทคนิคที่ซับซ้อน ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษและแรงงานที่มีทักษะสูง ซึ่งยังรวมไปถึงการติดตั้งเทคโนโลยีขั้นสูงเพิ่มเติม ทำให้แบตเตอรี่มีราคาที่ค่อนข้างสูงมาก เรียกได้ว่ามากถึง 30% ของมูลค่ารถยนต์ไฟฟ้าทั้งคัน
นอกจากนี้ ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ผู้เล่นในตลาดลงทุนการขุดหาลิเธียมและโคบอลต์ในระดับที่สูงมาก เพราะทรัพยากรเหล่านี้หายากขึ้นมาก มีราคาแพง และกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างกันออกไปดังนี้:
- ชิลีมีการผลิตทองแดงประมาณ 1 ใน 3 ของโลก
- สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกมีโคบอลต์อยู่ที่ 3 ใน 4 ของอุปทานโลก
- จีนมีธาตุที่หายากมากกว่า 60% ซึ่งกำลังการกลั่นโลหะและแร่ธาตุจำนวน 60-90% ก็มาจากจีนเช่นกัน
นอกจากนี้ เมื่อขับรถยนต์ EV ไปหลายปี สิ่งที่ตามมาคือแบตเตอรี่เสื่อม ทำให้ผู้ใช้งานต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่เพื่อให้รถยนต์สามารถขับต่อไปไม่ได้ ซึ่งการเปลี่ยนแบตเตอรี่มีค่าใช้จ่ายที่สูงมากเช่นกัน แบรนด์รถยนต์ EV หลายยี่ห้อจึงมีการรับประกันแบตเตอรี่ไว้เฉลี่ยนานถึง 5-8 ปี ทำให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าลดลงมาเยอะพอสมควรเมื่อนำมาขายต่อ
ข้อมูลจาก iSeeCars เผยว่า หลังจากใช้งานไป 5 ปี ราคารถยนต์มือสองทั่วไปจะลดลงประมาณ 38.8% ส่วนราคารถยนต์ไฟฟ้ามือสองจะลดลงเฉลี่ยมากถึง 50% ซึ่งรถยนต์ที่มีราคาขายต่อลดลงมากที่สุดคือ Tesla Model S มูลค่าลดลงสูงถึง 55.5% ตามมาด้วย Chevrolet Bolt EV ลดลง 51.1% และ Nissan Leaf ที่ลดลง 50.8% ตามมา
‘ไฮบริด’ ตัวเลือกที่จะมาแทนที่ EV?
ถึงแม้รถยนต์ EV ได้รับความนิยมน้อยลง แต่รถยนต์ไฮบริดกลับได้รับความนิยมมากขึ้น ข้อมูลจาก MarkLines รายงานว่าในปีที่ผ่านมา ยอดขายรถยนต์ไฮบริดใน 14 ประเทศ นำโดย จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นมากถึง 30% แตะที่ 4.21 ล้านคัน ในขณะที่รถยนต์ EV และ PHEV เพิ่มขึ้นเพียง 28%
นอกจากนี้ ยอดขายรถยนต์ไฮบริดของ Toyota เพิ่มขึ้น 32% เป็น 3.44 ล้านคัน และอาจแตะ 5 ล้านภายในปี 2025 ส่วน Honda มียอดขายรถยนต์ไฮบริดทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 20% ด้าน Nissan กำลังพิจารณาที่จะเปิดตัวโมเดลที่มีเทคโนโลยีไฮบริด e-Power ในสหรัฐฯ ช่วงปลายปี 2026 และ Ford ที่คาดว่าจะนำเสนอรถยนต์ทุกรุ่นในรุ่นไฮบริดในสหรัฐฯ ภายในปี 2030
ส่วน Fortune Business รายงานมูลค่าขนาดตลาดรถยนต์ไฮบริดทั่วโลก ที่มีมูลค่าเกือบ 2.28 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2022 และคาดว่าจะเติบโตสูงถึง 4.44 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2530 ด้วยอัตราการเติบโตแบบทบต้นต่อปีที่ 7.3%
ถึงแม้รถยนต์ไฮบริดจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนประมาณ 20% และไม่ได้สอดคล้องกับเป้าหมายอากาศสะอาดในหลายประเทศ แต่หลายคนเปิดใจให้กับรถยนต์ไฮบริดมากกว่า เพราะราคาที่ถูกกว่าและไม่ต้องกังวลเรื่องการชาร์จไฟ ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์บางรายตัดสินใจเพิ่มรถยนต์รุ่นไฮบริด เพราะมีโอกาสที่คนจะขับรถยนต์ไฮบริดมากกว่ารถยนต์ EV
อย่างไรก็ตาม รถยนต์ไฮบริดเปรียบเสมือนเพียง ‘ตัวเชื่อม’ ในการเปลี่ยนผ่านระหว่างรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปสู่รถยนต์ EV มากกว่า เพราะสุดท้ายแล้ว รถยนต์ไฮบริดยังมีการใช้น้ำมันอยู่ดี ซึ่งก็หมายตวามว่ายังมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนจำนวนหนึ่ง แต่เพราะการเปลี่ยนผ่านที่ช้ากว่าคาด ทำให้รถยนต์ไฮบริดยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลานี้
(มีต่อ)