ไอติม เปิดคลิปมัดกกต. เคยสัญญาเอง ประวัติผู้สมัครส.ว. จะให้ปชช.เข้าถึง ไม่ใช่ส่งแนะนำกันเอง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4548036
ไอติม เปิดคลิปมัดกกต. เคยสัญญาเอง ประวัติผู้สมัครส.ว. จะให้ปชช.เข้าถึง ไม่ใช้ส่งแนะนำกันเอง
เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2567 นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธาน กมธ.การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้โพสต์ข้อเขียน เรื่อง [ กกต. ต้องเผยแพร่เอกสารแนะนำตัว ส.ว. ทุกคน ให้ประชาชน เข้าถึงได้ ตามที่เคยสัญญาไว้ในสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ 28 มี.ค. ] โดยระบุว่า
เนื้อหาของระเบียบ กกต. เกี่ยวกับการแนะนำตัวผู้สมัคร ส.ว. ที่ประกาศออกมาเมื่อวาน “น่าผิดหวัง” เป็นอย่างมาก
แม้ทุกคนทราบดีว่าการคัดเลือก ส.ว. ครั้งนี้ยังห่างไกลจากการเลือกตั้ง แต่ระเบียบที่ “เปิดกว้าง” ต่อการมีส่วนร่วมของผู้สมัครและประชาชน จะช่วยทำให้เกิดการแข่งขันที่เสรี-เป็นธรรมมากขึ้น และช่วยทำให้ผู้สมัคร (ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือก ส.ว.) เข้าถึงข้อมูลอย่างรอบด้านมากขึ้นเพื่อประกอบการตัดสินใจ
ในทางกลับกัน ระเบียบที่ออกมากลับทำให้กระบวนการทั้งหมด “ปิดกั้น” และ “แคบลง” กว่าเดิม เช่น
– ผู้สมัครแนะนำตัวได้ตามแค่เอกสารของ กกต. (ซึ่งมีพื้นที่แค่ 5 บรรทัด ในการพูดถึงประวัติ-ประสบการณ์)
– ผู้สมัครห้าม post เอกสารแนะนำตัวของตนเองทางออนไลน์ (ยกเว้นส่งให้ผู้สมัครคนอื่นเป็นการเฉพาะ)
– ประชาชนมีข้อจำกัดในการให้ข้อมูล หรือแสดงความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สมัครแต่ละคน (อาจต้องแจ้ง กกต. เป็น “ผู้ช่วยเหลือผู้สมัคร”?)
หากระเบียบนี้แก้ไม่ทัน สิ่งที่ผมจำเป็นต้องเรียกร้องให้ กกต. ยืนยัน คือ กกต. จะเผยแพร่เอกสารแนะนำตัวของผู้สมัคร ส.ว. ทุกคน ทุกกลุ่มอาชีพ ทุกอำเภอ ผ่านเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น ของ กกต. ที่ประชาชนทุกคนเข้าถึงได้ ทันทีที่มีการประกาศรายชื่อผู้สมัคร ตามที่ตัวแทน กกต. ได้ชี้แจงและให้คำมั่นสัญญาไว้ในการประชุมกับ กมธ. พัฒนาการเมืองฯ ในสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ 28 มีนาคมที่ผ่านมา (ตามคลิป)
https://twitter.com/paritw92/status/1784042389604319460
“นิด้าโพล” ไม่เชื่อพ.ร.บ.จัดระเบียบกห.ป้องรัฐประหารได้
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_709527/
“นิด้าโพล” เผยคนไม่เชื่อ ร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม ช่วยป้องกันการรัฐประหารได้ มองปี 57 ไม่ใช่ครั้งสุดท้ายของประเทศไทย
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เรื่อง “
หยุดรัฐประหาร!” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 22-23 เมษายน 2567
โดยเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหมจะช่วยป้องกันการรัฐประหาร พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 51.83 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 25.73 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 12.52 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 6.72 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 3.20 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
และเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการทำรัฐประหารในปี 2557 จะเป็นครั้งสุดท้ายของประเทศไทย พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 61.83 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 20.38 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 8.24 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 6.11 ระบุว่า เชื่อมาก
และร้อยละ 3.44 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ล้งกระหน่ำทุบราคามังคุด จากโลละ 200 เหลือ 60 บาท
https://www.prachachat.net/local-economy/news-1551642
ตลาดมังคุดป่วนต้นฤดู ล้งทุบราคาจากโลละ 220 บาท ดิ่งเหลือ 60 บาท/กก. แค่ 4 วัน หวั่นช่วงพีกหน้าฝนยังลงต่อ ด้านชาวสวนร้อง “ฟรุตบอร์ด” กู้วิกฤตด่วน นายกสมาคมผู้ส่งออกผลไม้ไทย ออกโรงรณรงค์ไม่ซื้อ “มังคุดอ่อน” ซ้ำรอยปีก่อนขาดทุนตู้ละ 1 แสน วอนคัดคุณภาพส่งออกก่อนอินโดฯแซงไทย
นาย
พิพัฒน์ เต็งเศรษฐศักดิ์ อุปนายกสมาคมมังคุดไทยฝ่ายการตลาด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้แม้ตลาดมังคุดจะอยู่ในช่วงต้นฤดู และมีผลผลิตออกสู่ตลาดไม่มากนัก คือ ประมาณ 10% แต่ปรากฏว่าราคาเริ่มลดลงตั้งแต่ช่วงหลังสงกรานต์ และราคาตกต่ำอย่างรวดเร็ว จากปกติราคาจะลดลงต่ำในช่วงเดือนพฤษภาคมที่มีผลผลิตออกมาก ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบราคามังคุดปี 2565 และปี 2567 เดือนเมษายน-กรกฎาคม มีปริมาณผลผลิตใกล้เคียงกันมากกว่าปี 2566-2567
โดยช่วงระหว่างวันที่ 1-22 เมษายน 2567 เปรียบเทียบราคาตลาดปลายทาง กว่างโจว กับราคาต้นทาง www.rakamangkud.com ปรากฏว่าราคาในตลาดจีนขึ้นสูง แต่ราคาต้นทางจากไทยไม่สูงขึ้น และเมื่อราคาปลายทางทรง ๆ ขึ้นเล็กน้อย แต่ราคาต้นทางกลับดิ่งลง และเปรียบเทียบปี 2565 ก่อนสงกรานต์ราคาต่ำลง และหลังสงกรานต์ราคาสูงขึ้น แต่ปี 2567 หลังสงกรานต์ถึงปลายเดือนเมษายนต้นฤดูมังคุดออกไม่ถึง 10% ราคากลับต่ำลงเร็วมาก
จากราคาที่ลดลง แม้ว่าเกษตรกรอาจจะยังอยู่ได้ ถ้าราคาเริ่มต้นฤดูต่ำ แต่แนวโน้มราคามังคุดที่จะออกสู่ตลาดอีก 2 ช่วงก็มีความน่าเป็นห่วง คือ ช่วงพีกในเดือนพฤษภาคม และช่วงฤดูฝนเดือนมิถุนายนที่คุณภาพไม่ดีนัก ราคาอาจจะถึงขั้นวิกฤต ตอนนั้นเกษตรกรจะอยู่ได้หรือไม่ จึงต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนบริหารจัดการ อาจจะเป็นการเตรียมการกระจายผลไม้ภายในประเทศ
“
ถ้ากราฟราคาต้นทาง-ปลายทาง เป็นเส้นขนาน แสดงว่าสัมพันธ์กัน แต่กราฟที่เห็นเป็นต้นทางดิ่งลง แต่ปลายทางสูงขึ้น มีช่องว่างกว้างมากคืออะไร ทำให้ชวนคิดว่าราคาต้นทางปลายทางสัมพันธ์กันหรือไม่ ความเห็นนี้ได้เสนอที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาและจัดการผลไม้ (Fruit Board) เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2567 เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหามังคุดในช่วงพีกและช่วงปลายฤดู ไม่ได้มองประเด็นเรื่องกดราคาของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด”
นาย
พิพัฒน์ยังให้ข้อมูลด้วยว่า ปัจจุบันมังคุดไทยมีคู่แข่งสำคัญหลัก ๆ คือ มังคุดอินโดนีเซีย โดยปี 2566 ที่ผ่านมา จีนนำเข้ามังคุดไทย 85% และอินโดนีเซีย 14% ส่วนมังคุดภาคตะวันออกของไทยออกเดือนเมษายน-มิถุนายน-กรกฎาคม ขณะที่มังคุดอินโดนีเซียออกปีละ 8 เดือน แบ่งเป็น 2 ช่วง ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม และสิงหาคม-ธันวาคม ซึ่งจะออกชนกับมังคุดภาคใต้ของไทย
ล้งเล่นเกมทุบราคาต้นฤดู
แหล่งข่าวจากวงการผลไม้จากภาคตะวันออก กล่าวในเรื่องนี้ว่า ราคามังคุดที่ลดลงมีสาเหตุหลัก ๆ คือ เนื่องจากมีผู้ประกอบการรายใหญ่ซึ่งเพียง 4-5 ราย ทำให้มีการตกลงราคากันง่าย และมีการตกลงราคารับซื้อกันได้ หรืออาจจะเรียกฮั้วราคากัน ต่างจากทุเรียนมีผู้ประกอบการรายใหญ่จำนวนมากกว่า 300 ราย
การรวมตัวกันกำหนดราคารับซื้อจึงเป็นเรื่องค่อนข้างยาก และล้งจะประกาศราคารับซื้อมังคุดช่วงเย็น และมีราคาปิดตู้ช่วง 20.00 น. แต่ชาวสวนส่วนใหญ่จะเก็บมังคุดมาขายแผงรับซื้อข้างทาง ตั้งแต่ช่วงเย็น ๆ ซึ่งทางหน่วยงานราชการได้ขอความร่วมมือให้ล้งติดป้ายราคารับซื้อมังคุด และมีล้งหลายรายประกาศราคารับซื้อทางเว็บไซต์กลาง rakamangkud.com แต่เกษตรกรเห็นว่าราคาล้งไม่ได้แข่งขันกันจริง
นาย
สัญชัย ปุรณะชัยคีรี นายกสมาคมผู้ส่งออกผลไม้ไทย และเจ้าของโรงคัดบรรจุส่งออก บริษัท ริชฟิลด์ เฟรช ฟรุท จำกัด จ.จันทบุรี กล่าวในเรื่องนี้ว่า ปัญหามังคุดภาคตะวันออกที่ราคาตกต่ำอย่างรวดเร็วในขณะนี้ ทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงต้นฤดู โดยช่วงเดือนมีนาคม เปิดรับซื้อกิโลกรัมละ 200-220 บาท ส่วนหนึ่งมาจากล้งรายเล็กมีการแย่งกันซื้อและดันราคาจนสูงเกินความเป็นจริง
ขณะที่ล้งรายใหญ่ยังไม่เปิดรับซื้อ และช่วงต้นเมษายนมีมังคุดอินโดนีเซียที่เป็นคู่แข่งสำคัญเริ่มส่งเข้าไปในตลาดจีนและราคาถูกกว่า โดยมังคุดอินโดนีเซียส่งออกวันละ 20-30 ตู้ แต่ช่วงปลายเดือนเมษายน มังคุดอินโดฯเริ่มจะลดลง ขณะที่มังคุดไทยเริ่มจะมีปริมาณและส่งออกเข้าตลาดจีนมากขึ้น
“
การที่ล้งเล็ก ๆ ดันราคาขึ้นมาในช่วงต้นฤดู ขณะที่ล้งใหญ่ยังไม่เปิดราคา ไม่ใช่ราคาแท้จริง เพราะปริมาณมังคุดมีน้อย เมื่อปริมาณของออกสู่ตลาดมากขึ้น ล้งเปิดครบคือราคาตลาดที่แท้จริง ทำให้ราคาลดลงมา 30-50 บาท/กก. อย่างไรก็ตาม ปีนี้ราคามังคุดเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดี แต่มังคุดที่ราคาตกต่ำส่วนใหญ่จะเป็นมังคุดเทรวมไม่คัดเกรด ที่ราคาอยู่ในระดับ กก.ละ 45-50 บาท
ส่วนมังคุดคัดไซซ์ส่งออก ผิวมัน หูเขียว น้ำหนัก 80 กรัม/ลูก ราคาสูงถึง กก.ละ 60-70 บาท ตอนนี้ราคาที่ลดลง หน่วยงานรัฐไม่ควรแทรกแซง เพราะยังไม่เกิดปัญหาจริง และโครงสร้างธุรกิจค่อนข้างซับซ้อน เพราะมังคุดที่รับซื้อมีหลากหลาย ชาวสวนบางคนขายเทรวม พ่อค้าบางกลุ่มที่เปิดขายข้างทางจะมีการตั้งราคาซื้อขายตามความพอใจ ทำให้ราคาแกว่ง และ/หรือราคาที่ล้งตั้งรับซื้อ แต่หากของยังไม่เต็มตู้ล้งก็จะมีการเปิดราคาคุยกัน เป็นต้น”
นาย
สัญชัยกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ปีนี้สมาคมผู้ส่งออกผลไม้ไทยพยายามรณรงค์ให้ล้งส่งออกไม่ซื้อมังคุดอ่อน หรือที่เรียกมังคุดเขียว ที่เก็บเกี่ยวระยะที่ 1 เพราะบ่มไม่สุก เนื่องจากช่วง 2 ปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน ล้งเผชิญปัญหามังคุดอ่อน เช่นเดียวกับทุเรียนอ่อน โดยเฉพาะปี 2566 ผู้ส่งออกได้รับความเสียหายจากการส่งออกมังคุดอ่อนไปตลาดจีน เฉลี่ยตู้ละ 100,000 บาท ปีนี้จึงต้องการให้ล้งส่งออกต้องช่วยกันแก้ไข คัดคุณภาพกันให้เข้มข้นขึ้น โดยรับซื้อมังคุดเขียวระยะที่ 2 ขึ้นไปเท่านั้น และหากสวนยังขายมังคุดอ่อนไม่มีคุณภาพ บ่มไม่สุกมาให้ล้งอีก ล้งส่งออกหลายรายอาจจะหันไปซื้อมังคุดของอินโดนีเซียที่ราคาถูกกว่าไปส่งออก
ส่องตลาดมังคุดในจีน
นาย
ปรัตถกร แท่นมณี กงสุล (ฝ่ายเกษตร) ประจำกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว เปิดเผยว่า ปัจจุบันจีนเปิดนำเข้ามังคุดผลสดจาก 5 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย เมียนมา โดยปี 2565 ไทยมีสัดส่วน 87% อินโดนีเซีย 12% ขณะที่ปี 2566 ไทยส่งออกปริมาณ 200,000 ตัน ลดลง 2% ขณะที่อินโดนีเซีย มีสัดส่วนการตลาดเพิ่มขึ้น 2%
ส่วนราคามังคุดในตลาดจีน ปี 2566 ราคาขายส่งอยู่ที่กิโลกรัมละ 32 หยวน (162 บาท) โดยราคาสูงสุดจะอยู่ในเดือนมกราคม-พฤษภาคม ประมาณ 51 หยวน และราคาต่ำสุดช่วงเดือนกันยายน 20 หยวน/กก. ซึ่งราคาเฉลี่ยสูงกว่าปี 2565 ที่อยู่ในระดับ 29 หยวน (148 บาท) โดยผู้นำเข้าจะตั้งราคาปลายทางที่ตลาดค้าส่งจากปริมาณและคุณภาพ ตามกลไกตลาด การปรับราคาขึ้นลงไม่มากครั้งละ 10-20 หยวน
รายงานข่าวจากสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า การส่งออกมังคุดสดไปจีน ปริมาณสะสมวันที่ 1 ม.ค.-23 เม.ย. 67 มีจำนวน 1,833 ตู้/ชิปเมนต์ ปริมาณ 31,980.96 ตัน มูลค่า 2,218.21 ล้านบาท ขนส่งทางรถยนต์ ปริมาณ 28,951.04 ตัน มูลค่า 2,106.23 ล้านบาท ทางเรือ ปริมาณ 1,957.13 ตัน มูลค่า 147.33 ล้านบาท ทางอากาศ ปริมาณ 1,072.79 ตัน มูลค่า 64.66 ล้านบาท
JJNY : ไอติมเปิดคลิปมัดกกต.│นิด้าไม่เชื่อพ.ร.บ.ป้องรัฐประหาร│ล้งกระหน่ำทุบราคามังคุด│รัสเซียยกระดับโจมตีโรงไฟฟ้ายูเครน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4548036
ไอติม เปิดคลิปมัดกกต. เคยสัญญาเอง ประวัติผู้สมัครส.ว. จะให้ปชช.เข้าถึง ไม่ใช้ส่งแนะนำกันเอง
เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2567 นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธาน กมธ.การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้โพสต์ข้อเขียน เรื่อง [ กกต. ต้องเผยแพร่เอกสารแนะนำตัว ส.ว. ทุกคน ให้ประชาชน เข้าถึงได้ ตามที่เคยสัญญาไว้ในสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ 28 มี.ค. ] โดยระบุว่า
เนื้อหาของระเบียบ กกต. เกี่ยวกับการแนะนำตัวผู้สมัคร ส.ว. ที่ประกาศออกมาเมื่อวาน “น่าผิดหวัง” เป็นอย่างมาก
แม้ทุกคนทราบดีว่าการคัดเลือก ส.ว. ครั้งนี้ยังห่างไกลจากการเลือกตั้ง แต่ระเบียบที่ “เปิดกว้าง” ต่อการมีส่วนร่วมของผู้สมัครและประชาชน จะช่วยทำให้เกิดการแข่งขันที่เสรี-เป็นธรรมมากขึ้น และช่วยทำให้ผู้สมัคร (ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือก ส.ว.) เข้าถึงข้อมูลอย่างรอบด้านมากขึ้นเพื่อประกอบการตัดสินใจ
ในทางกลับกัน ระเบียบที่ออกมากลับทำให้กระบวนการทั้งหมด “ปิดกั้น” และ “แคบลง” กว่าเดิม เช่น
– ผู้สมัครแนะนำตัวได้ตามแค่เอกสารของ กกต. (ซึ่งมีพื้นที่แค่ 5 บรรทัด ในการพูดถึงประวัติ-ประสบการณ์)
– ผู้สมัครห้าม post เอกสารแนะนำตัวของตนเองทางออนไลน์ (ยกเว้นส่งให้ผู้สมัครคนอื่นเป็นการเฉพาะ)
– ประชาชนมีข้อจำกัดในการให้ข้อมูล หรือแสดงความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สมัครแต่ละคน (อาจต้องแจ้ง กกต. เป็น “ผู้ช่วยเหลือผู้สมัคร”?)
หากระเบียบนี้แก้ไม่ทัน สิ่งที่ผมจำเป็นต้องเรียกร้องให้ กกต. ยืนยัน คือ กกต. จะเผยแพร่เอกสารแนะนำตัวของผู้สมัคร ส.ว. ทุกคน ทุกกลุ่มอาชีพ ทุกอำเภอ ผ่านเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น ของ กกต. ที่ประชาชนทุกคนเข้าถึงได้ ทันทีที่มีการประกาศรายชื่อผู้สมัคร ตามที่ตัวแทน กกต. ได้ชี้แจงและให้คำมั่นสัญญาไว้ในการประชุมกับ กมธ. พัฒนาการเมืองฯ ในสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ 28 มีนาคมที่ผ่านมา (ตามคลิป)
https://twitter.com/paritw92/status/1784042389604319460
“นิด้าโพล” ไม่เชื่อพ.ร.บ.จัดระเบียบกห.ป้องรัฐประหารได้
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_709527/
“นิด้าโพล” เผยคนไม่เชื่อ ร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม ช่วยป้องกันการรัฐประหารได้ มองปี 57 ไม่ใช่ครั้งสุดท้ายของประเทศไทย
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เรื่อง “หยุดรัฐประหาร!” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 22-23 เมษายน 2567
โดยเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหมจะช่วยป้องกันการรัฐประหาร พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 51.83 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 25.73 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 12.52 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 6.72 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 3.20 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
และเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการทำรัฐประหารในปี 2557 จะเป็นครั้งสุดท้ายของประเทศไทย พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 61.83 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 20.38 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 8.24 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 6.11 ระบุว่า เชื่อมาก
และร้อยละ 3.44 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ล้งกระหน่ำทุบราคามังคุด จากโลละ 200 เหลือ 60 บาท
https://www.prachachat.net/local-economy/news-1551642
ตลาดมังคุดป่วนต้นฤดู ล้งทุบราคาจากโลละ 220 บาท ดิ่งเหลือ 60 บาท/กก. แค่ 4 วัน หวั่นช่วงพีกหน้าฝนยังลงต่อ ด้านชาวสวนร้อง “ฟรุตบอร์ด” กู้วิกฤตด่วน นายกสมาคมผู้ส่งออกผลไม้ไทย ออกโรงรณรงค์ไม่ซื้อ “มังคุดอ่อน” ซ้ำรอยปีก่อนขาดทุนตู้ละ 1 แสน วอนคัดคุณภาพส่งออกก่อนอินโดฯแซงไทย
นายพิพัฒน์ เต็งเศรษฐศักดิ์ อุปนายกสมาคมมังคุดไทยฝ่ายการตลาด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้แม้ตลาดมังคุดจะอยู่ในช่วงต้นฤดู และมีผลผลิตออกสู่ตลาดไม่มากนัก คือ ประมาณ 10% แต่ปรากฏว่าราคาเริ่มลดลงตั้งแต่ช่วงหลังสงกรานต์ และราคาตกต่ำอย่างรวดเร็ว จากปกติราคาจะลดลงต่ำในช่วงเดือนพฤษภาคมที่มีผลผลิตออกมาก ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบราคามังคุดปี 2565 และปี 2567 เดือนเมษายน-กรกฎาคม มีปริมาณผลผลิตใกล้เคียงกันมากกว่าปี 2566-2567
โดยช่วงระหว่างวันที่ 1-22 เมษายน 2567 เปรียบเทียบราคาตลาดปลายทาง กว่างโจว กับราคาต้นทาง www.rakamangkud.com ปรากฏว่าราคาในตลาดจีนขึ้นสูง แต่ราคาต้นทางจากไทยไม่สูงขึ้น และเมื่อราคาปลายทางทรง ๆ ขึ้นเล็กน้อย แต่ราคาต้นทางกลับดิ่งลง และเปรียบเทียบปี 2565 ก่อนสงกรานต์ราคาต่ำลง และหลังสงกรานต์ราคาสูงขึ้น แต่ปี 2567 หลังสงกรานต์ถึงปลายเดือนเมษายนต้นฤดูมังคุดออกไม่ถึง 10% ราคากลับต่ำลงเร็วมาก
จากราคาที่ลดลง แม้ว่าเกษตรกรอาจจะยังอยู่ได้ ถ้าราคาเริ่มต้นฤดูต่ำ แต่แนวโน้มราคามังคุดที่จะออกสู่ตลาดอีก 2 ช่วงก็มีความน่าเป็นห่วง คือ ช่วงพีกในเดือนพฤษภาคม และช่วงฤดูฝนเดือนมิถุนายนที่คุณภาพไม่ดีนัก ราคาอาจจะถึงขั้นวิกฤต ตอนนั้นเกษตรกรจะอยู่ได้หรือไม่ จึงต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนบริหารจัดการ อาจจะเป็นการเตรียมการกระจายผลไม้ภายในประเทศ
“ถ้ากราฟราคาต้นทาง-ปลายทาง เป็นเส้นขนาน แสดงว่าสัมพันธ์กัน แต่กราฟที่เห็นเป็นต้นทางดิ่งลง แต่ปลายทางสูงขึ้น มีช่องว่างกว้างมากคืออะไร ทำให้ชวนคิดว่าราคาต้นทางปลายทางสัมพันธ์กันหรือไม่ ความเห็นนี้ได้เสนอที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาและจัดการผลไม้ (Fruit Board) เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2567 เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหามังคุดในช่วงพีกและช่วงปลายฤดู ไม่ได้มองประเด็นเรื่องกดราคาของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด”
นายพิพัฒน์ยังให้ข้อมูลด้วยว่า ปัจจุบันมังคุดไทยมีคู่แข่งสำคัญหลัก ๆ คือ มังคุดอินโดนีเซีย โดยปี 2566 ที่ผ่านมา จีนนำเข้ามังคุดไทย 85% และอินโดนีเซีย 14% ส่วนมังคุดภาคตะวันออกของไทยออกเดือนเมษายน-มิถุนายน-กรกฎาคม ขณะที่มังคุดอินโดนีเซียออกปีละ 8 เดือน แบ่งเป็น 2 ช่วง ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม และสิงหาคม-ธันวาคม ซึ่งจะออกชนกับมังคุดภาคใต้ของไทย
ล้งเล่นเกมทุบราคาต้นฤดู
แหล่งข่าวจากวงการผลไม้จากภาคตะวันออก กล่าวในเรื่องนี้ว่า ราคามังคุดที่ลดลงมีสาเหตุหลัก ๆ คือ เนื่องจากมีผู้ประกอบการรายใหญ่ซึ่งเพียง 4-5 ราย ทำให้มีการตกลงราคากันง่าย และมีการตกลงราคารับซื้อกันได้ หรืออาจจะเรียกฮั้วราคากัน ต่างจากทุเรียนมีผู้ประกอบการรายใหญ่จำนวนมากกว่า 300 ราย
การรวมตัวกันกำหนดราคารับซื้อจึงเป็นเรื่องค่อนข้างยาก และล้งจะประกาศราคารับซื้อมังคุดช่วงเย็น และมีราคาปิดตู้ช่วง 20.00 น. แต่ชาวสวนส่วนใหญ่จะเก็บมังคุดมาขายแผงรับซื้อข้างทาง ตั้งแต่ช่วงเย็น ๆ ซึ่งทางหน่วยงานราชการได้ขอความร่วมมือให้ล้งติดป้ายราคารับซื้อมังคุด และมีล้งหลายรายประกาศราคารับซื้อทางเว็บไซต์กลาง rakamangkud.com แต่เกษตรกรเห็นว่าราคาล้งไม่ได้แข่งขันกันจริง
นายสัญชัย ปุรณะชัยคีรี นายกสมาคมผู้ส่งออกผลไม้ไทย และเจ้าของโรงคัดบรรจุส่งออก บริษัท ริชฟิลด์ เฟรช ฟรุท จำกัด จ.จันทบุรี กล่าวในเรื่องนี้ว่า ปัญหามังคุดภาคตะวันออกที่ราคาตกต่ำอย่างรวดเร็วในขณะนี้ ทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงต้นฤดู โดยช่วงเดือนมีนาคม เปิดรับซื้อกิโลกรัมละ 200-220 บาท ส่วนหนึ่งมาจากล้งรายเล็กมีการแย่งกันซื้อและดันราคาจนสูงเกินความเป็นจริง
ขณะที่ล้งรายใหญ่ยังไม่เปิดรับซื้อ และช่วงต้นเมษายนมีมังคุดอินโดนีเซียที่เป็นคู่แข่งสำคัญเริ่มส่งเข้าไปในตลาดจีนและราคาถูกกว่า โดยมังคุดอินโดนีเซียส่งออกวันละ 20-30 ตู้ แต่ช่วงปลายเดือนเมษายน มังคุดอินโดฯเริ่มจะลดลง ขณะที่มังคุดไทยเริ่มจะมีปริมาณและส่งออกเข้าตลาดจีนมากขึ้น
“การที่ล้งเล็ก ๆ ดันราคาขึ้นมาในช่วงต้นฤดู ขณะที่ล้งใหญ่ยังไม่เปิดราคา ไม่ใช่ราคาแท้จริง เพราะปริมาณมังคุดมีน้อย เมื่อปริมาณของออกสู่ตลาดมากขึ้น ล้งเปิดครบคือราคาตลาดที่แท้จริง ทำให้ราคาลดลงมา 30-50 บาท/กก. อย่างไรก็ตาม ปีนี้ราคามังคุดเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดี แต่มังคุดที่ราคาตกต่ำส่วนใหญ่จะเป็นมังคุดเทรวมไม่คัดเกรด ที่ราคาอยู่ในระดับ กก.ละ 45-50 บาท
ส่วนมังคุดคัดไซซ์ส่งออก ผิวมัน หูเขียว น้ำหนัก 80 กรัม/ลูก ราคาสูงถึง กก.ละ 60-70 บาท ตอนนี้ราคาที่ลดลง หน่วยงานรัฐไม่ควรแทรกแซง เพราะยังไม่เกิดปัญหาจริง และโครงสร้างธุรกิจค่อนข้างซับซ้อน เพราะมังคุดที่รับซื้อมีหลากหลาย ชาวสวนบางคนขายเทรวม พ่อค้าบางกลุ่มที่เปิดขายข้างทางจะมีการตั้งราคาซื้อขายตามความพอใจ ทำให้ราคาแกว่ง และ/หรือราคาที่ล้งตั้งรับซื้อ แต่หากของยังไม่เต็มตู้ล้งก็จะมีการเปิดราคาคุยกัน เป็นต้น”
นายสัญชัยกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ปีนี้สมาคมผู้ส่งออกผลไม้ไทยพยายามรณรงค์ให้ล้งส่งออกไม่ซื้อมังคุดอ่อน หรือที่เรียกมังคุดเขียว ที่เก็บเกี่ยวระยะที่ 1 เพราะบ่มไม่สุก เนื่องจากช่วง 2 ปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน ล้งเผชิญปัญหามังคุดอ่อน เช่นเดียวกับทุเรียนอ่อน โดยเฉพาะปี 2566 ผู้ส่งออกได้รับความเสียหายจากการส่งออกมังคุดอ่อนไปตลาดจีน เฉลี่ยตู้ละ 100,000 บาท ปีนี้จึงต้องการให้ล้งส่งออกต้องช่วยกันแก้ไข คัดคุณภาพกันให้เข้มข้นขึ้น โดยรับซื้อมังคุดเขียวระยะที่ 2 ขึ้นไปเท่านั้น และหากสวนยังขายมังคุดอ่อนไม่มีคุณภาพ บ่มไม่สุกมาให้ล้งอีก ล้งส่งออกหลายรายอาจจะหันไปซื้อมังคุดของอินโดนีเซียที่ราคาถูกกว่าไปส่งออก
ส่องตลาดมังคุดในจีน
นายปรัตถกร แท่นมณี กงสุล (ฝ่ายเกษตร) ประจำกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว เปิดเผยว่า ปัจจุบันจีนเปิดนำเข้ามังคุดผลสดจาก 5 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย เมียนมา โดยปี 2565 ไทยมีสัดส่วน 87% อินโดนีเซีย 12% ขณะที่ปี 2566 ไทยส่งออกปริมาณ 200,000 ตัน ลดลง 2% ขณะที่อินโดนีเซีย มีสัดส่วนการตลาดเพิ่มขึ้น 2%
ส่วนราคามังคุดในตลาดจีน ปี 2566 ราคาขายส่งอยู่ที่กิโลกรัมละ 32 หยวน (162 บาท) โดยราคาสูงสุดจะอยู่ในเดือนมกราคม-พฤษภาคม ประมาณ 51 หยวน และราคาต่ำสุดช่วงเดือนกันยายน 20 หยวน/กก. ซึ่งราคาเฉลี่ยสูงกว่าปี 2565 ที่อยู่ในระดับ 29 หยวน (148 บาท) โดยผู้นำเข้าจะตั้งราคาปลายทางที่ตลาดค้าส่งจากปริมาณและคุณภาพ ตามกลไกตลาด การปรับราคาขึ้นลงไม่มากครั้งละ 10-20 หยวน
รายงานข่าวจากสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า การส่งออกมังคุดสดไปจีน ปริมาณสะสมวันที่ 1 ม.ค.-23 เม.ย. 67 มีจำนวน 1,833 ตู้/ชิปเมนต์ ปริมาณ 31,980.96 ตัน มูลค่า 2,218.21 ล้านบาท ขนส่งทางรถยนต์ ปริมาณ 28,951.04 ตัน มูลค่า 2,106.23 ล้านบาท ทางเรือ ปริมาณ 1,957.13 ตัน มูลค่า 147.33 ล้านบาท ทางอากาศ ปริมาณ 1,072.79 ตัน มูลค่า 64.66 ล้านบาท